พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510


พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510

พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510


เจ้าหน้าที่ของกรมประมงได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหารฯ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 33) พ.ศ.2545 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2545 มีอำนาจปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติยาฯ ตามาตรา 91 (1) (2) (3) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยา เภสัชเคมีภัณฑ์ และเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปที่มุ่งหมายใช้กับสัตว์
อำนาจตามมาตรา 91 ได้แก่
(1) เข้าไปในสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา สถานที่นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร หรือสถานที่เก็บยา ในระหว่างเวลาทำการเพื่อตรวจสอบควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
การตรวจสอบในกรณีนี้ได้แก่
- ตรวจสอบการปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับยาแผนปัจจุบัน
- ตรวจสอบการผลิต ขาย นำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาดังนี้
1) ยาปลอม
2) ยาผิดมาตรฐาน
3) ยาเสื่อมคุณภาพ
4) ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา
5) ยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก
6) ยาที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยา (มาตรา 73)
- ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนตำรับยา
- ตรวจสอบการโฆษณายา
(2) นำยาในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์
(3) ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจสอบยาและอาจยึดหรืออายัดยา และเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ตลอดจนภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา และเอกสารที่เกี่ยวกับยาดังกล่าวได้
การตรวจสอบดังกล่าว สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- การตรวจสอบทั่วไป ตามมาตรา 91 (1) คือ เข้าไปในสถานที่ผลิตยา สถานที่ขายยา สถานที่นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร หรือสถานที่เก็บยา ในระหว่างเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
อาจมีการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ได้
- การตรวจสอบในกรณีที่มีเหตุสงสัย ตามาตรา 91 (3) คือเหตุสงสัยว่าจะมีการกระทำผิด
ตามพระราชบัญญัติยาฯ
อาจเก็บตัวอย่าง และยึด อายัด ยา เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้
ฐานความผิดตามพระราชบัญญัติยาฯ ซึ่งมีโทษจำคุก พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรวบรวมพยานหลักฐานร้องทุกต่อพนักงานสอบสวนท้องที่ที่มีเขตอำนาจ เพื่อให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย
ฐานความผิดตามพระราชบัญญัติยาฯ ที่มีโทษปรับสถานเดียว มาตรา 126 กำหนดให้เป็นอำนาจของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
ในกรณีที่มีการยึดยา ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุยา และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดไว้ จะมีการเปรียบเทียบปรับได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดยินยอมให้สิ่งที่ยึดไว้ตกเป็นของแผ่นดิน หากผู้กระทำผิกไม่ยินยอม ต้องส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี
เมื่อมีการร้องขอจากผู้เกี่ยวข้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
อำนาจในการเข้าไปตรวจสอบในที่รโหฐานต้องพิจารณาตามรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย

 

 

http://www.cffp.th.com/law_nationalpark.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16255เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท