พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456


พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456

พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456

          เจ้าหน้าที่ของกรมประมงได้รับมอบหมายอำนาจของเจ้าท่า ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ตาม คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ 155/2536 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2536 ในตำแหน่งอธิบดีกรมประมง ประมงจังหวัด ผู้ช่วยประมงจังหวัด ประมงอำเภอ และข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 ซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราปราบปรามตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ในตำแหน่งนักวิชาการประมงทะเล เจ้าหน้าที่บริหารงานประมง เจ้าพนักงานประมง และเจ้าหน้าที่ประมง
อำนาจที่ได้รับมอบหมายมีดังนี้
          1.การขึ้นตรวจบนเรือประมง เพื่อให้ทราบว่าเรือนั้นได้รับอนุญาตสำหรับเรือแล้วหรือไม่ตามมาตรา158
2.การตรวจว่ามีการใช้เรือประมงโดยได้รับใบอนุญาตใช้เรือแล้วหรือไม่ หรือใช้เรือที่ใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุแล้วหรือไม่ ( มาตรา 9 ) แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย            (ฉบับที่6)พ.ศ.2481)
โดยสามารถดำเนินการดังนี้
- ยึดใบอนุญาตใช้เรือมีกำหนดไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีที่ผู้ใดใช้เรือที่มิได้รับใบอนุญาตใช้เรือ หรือใช้เรือที่ใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุแล้ว หรือใช้ผิดไปจากเขต หรือตำบลการเดินเรือที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต
- ผู้ที่ถูกยึดใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมภายใน 1 เดือน
3.การออกใบอนุญาตให้เรือประมงออกจากท่าเพื่อประกอบการประมงยังเมืองต่างประเทศ     (มาตรา23)
4.ตรวจเรือประมงให้เป็นไปตามเงื่อนไขหรือข้อบังคับในใบอนุญาตใช้เรือ(มาตรา175)
5.การเปรียบเทียบปรับ
-ในกรณีที่มีโทษปรับสถานเดียวและผู้ต้องหายินยอม
- ผู้ชำระค่าปรับแล้ว คดีอาญาเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 37

http://www.cffp.th.com/laws.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16251เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท