สรุปผลการดำเนินงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (ตอนที่ 1)


                                                                     กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 

                                                                                                                                           โดย ทีมงานของ รมว. และ รมช.พม.

                        กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสร้างสวัสดิภาพ สวัสดิการ และพัฒนามาตรฐานชีวิตที่ดีแก่ประชากรกลุ่มต่างๆในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี กลุ่มชาติพันธุ์ และสถาบันครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง

                รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อ  ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๙  กำหนดให้การบริหารราชการแผ่นดินมุ่งสร้างสังคมเข้มแข็ง  คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรม

                กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงได้นำนโยบายของรัฐบาลมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์สังคม (หน้า ๑๓) ใน ๓ ด้าน คือ สังคมไม่ทอดทิ้งกัน สังคมเข้มแข้ง และสังคมคุณธรรม โดยจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเพื่อให้เป็นสังคมที่พึงปรารถนา คือ สังคมแห่งความดีงามและอยู่เย็นเป็นสุข

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

จากยุทธศาสตร์ทางสังคม ทั้ง ๓ ด้าน ได้แปรเป็นนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

                ๑. ยุทธศาสตร์สังคมไม่ทอดทิ้งกัน เพื่อระดมพลังทางสังคมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากลำบาก 

                                ๑.๑ ส่งเสริมการจัดระบบ สวัสดิการท้องถิ่น จัดสำรวจผู้ถูกทอดทิ้งในทุกตำบลและให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น สนับสนุนให้

                                คณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมในแต่ละจังหวัดจัดทำแผนการช่วยเหลือผู้ยากลำบาก เพื่อช่วยเหลือผู้ยากลำบากและผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ คน สนับสนุนงบประมาณเพื่อส่งเสริมการจัดระบบสวัสดิการชุมชน จากงบกลาง ปี ๒๕๕๐ ให้การช่วยเหลือผู้ถูกทอดทิ้งในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล เฉลี่ยแห่งละ ๑๐,๐๐๐ บาท และสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม โดยนำร่องใน ๕ จังหวัด คือ ขอนแก่น ลำปาง พัทลุง และกรุงเทพมหานคร จังหวัดละ ๑ ล้านบาท 

                                ๑.๒ สร้างความสมานฉันท์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายในการปกป้องและรักษาทุนทางสังคมในพื้นที่ไว้ให้ได้มากที่สุดท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง  และความพยายามแก้ไขปัญหาของฝ่ายความมั่นคง  ดังนี้ 

                                () โครงการส่งเสริม อาสาสมัครเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ความไม่สงบ  โดยผ่านศูนย์เยียวยาชุมชนปอเนาะ ๗๐ แห่ง  อาสาสมัคร ๒๕๐ คน  ดูแลประชาชนประมาณ ๒,๐๐๐ ราย

                                (๒) โครงการส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนเพื่อ เยียวยาผู้บาดเจ็บและช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมีมัสยิด ๖๐๐ แห่ง ร่วมเป็นศูนย์แจ้งเหตุและศูนย์ปฏิบัติการ  ครอบคลุม ๓๓ อำเภอ ๒๕๐ ตำบล  ช่วยเหลือผู้อยู่ในภาวะลำบากประมาณ ,๐๐๐ ราย

                                () โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ชุมชนพหุศาสนิก ในการเยียวยาฟื้นฟูความสมานฉันท์ในชุมชนท้องถิ่น  นำร่องใน ๑๓ชุมชน

                                () โครงการส่งเสริมบทบาทปอเนาะเป็น ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง   จำนวน ๑๕ แห่ง

                                ()  โครงการพัฒนา ระบบกองทุนซะกาต เพื่อดูแลเด็กกำพร้าในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้  จำนวน ๒๐ ปอเนาะ

                                ()  โครงการ บ้านมั่นคง ๖๒ ชุมชน ๕,๕๐๐ ครัวเรือน

                                ()  โครงการแก้ปัญหา ชุมชนประมงพื้นบ้านเดือดร้อนจากเรืออวนรุนอวนลาก ๘๑ หมู่บ้าน ๒๕ ตำบล ๒๓,๓๒๔ ครอบครัว

                                ()  โครงการแก้ปัญหา ที่ดินทำกิน  ๓๐ ตำบล  ผู้เดือดร้อนจากอุทยานทับที่ทำกิน ,๘๐๐ ครอบครัว

                                ()  โครงการระดมความคิดต่อ ร่างกฎหมาย ที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ฉบับ  ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน  ร่างพระราชบัญญัติฟื้นฟูชุมชนและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้  และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการกองทุนซะกาต

                                (๑๐)  โครงการผลิตละครโทรทัศน์ เรื่อง รายากุนิงเพื่อสร้างเสริมทัศนคติต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันของคนไทยทั้งประเทศ  ความยาว ๖๐ชั่วโมง  เผยแพร่ในปี ๒๕๕๑

                                ๑.๓ ส่งเสริมอาสาสมัครเพื่อสังคม คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ เรื่อง การให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินโครงการหลากหลาย   อาทิ   การรณรงค์จิตสำนึกการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมในโอกาสปีเฉลิมฉลอง ๘๐ พรรษา โดยประกาศให้ปี ๒๕๕๐ ซึ่งตรงกับโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา เป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม รณรงค์วันสังคมสงเคราะห์และวันอาสาสมัครไทย ๒๑ ตุลาคม  วันอาสาสมัครสากล ธันวาคม และวันจิตอาสา ๒๗ ธันวาคม การจัดทำแผนแม่บทการเงินการคลังเพื่อสังคม  การเพิ่มหลักสูตรการเรียนว่าด้วยการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมาตรการเอื้อให้บุคลากรของรัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัคร โดยไม่ถือเป็นวันลา  ได้ไม่เกิน ๕ วัน และจัดทำเว็บไซต์คนใจดีเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้และผู้รับ  เป็นต้น

                                ๑.๔ ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมในภาคธุรกิจและรัฐกิจ โดยการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม (CSR Promotion Center)  ขึ้นในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีเครือข่ายนักธุรกิจเข้าร่วมกิจกรรม ๒๕๐ คน

                                ๑.๕ ป้องกันและแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ ดำเนินการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพหญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ ๖๙๕ คน อบรมทำแผนปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ระดับจังหวัด ๖๑๐ คน อบรมทีมสหวิชาชีพเพื่อต้านการค้ามนุษย์ ๒๙๙ คน ทำบันทึกข้อตกลงในพื้นที่ กลุ่มจังหวัด (ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคเหนือ) บันทึกความเข้าใจองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่น (IOM) และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยร่วมมือกันในกลุ่ม ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (COMMIT)

                ๒. ยุทธศาสตร์สังคมเข้มแข็ง โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเป้าหมายและสถาบันครอบครัว (สตรี เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ) ผ่านการรวมตัวกัน เพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

                                .๑ ขยายระบบสวัสดิการชุมชน เพื่อเป็นฐานของชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง โดยสนับสนุนงบประมาณประจำปี ๒๕๕๐ จำนวน ๒๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการจัดสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ ๒,๐๐๐ ตำบล  

                                ๒.๒ วิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอ ใน ๑๒ จังหวัด

                                ๒.๓ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย โดยสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัด  ๖๙ จังหวัด ๔๙๖ โครงการ ๕๓,๑๙๐ ครัวเรือน และโครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งได้ดำเนินโครงการทั้งสิ้น ๓๐๐,๕๐๔ หน่วย ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ๘๙,๖๐๗ หน่วย (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน๒๕๕๐) 

                                ๒.๔ ส่งเสริมเครือข่ายสตรีเข้มแข็ง  ผ่านกิจกรรมรณรงค์ความเสมอภาคเท่าเทียมของหญิงชาย รณรงค์ส่งเสริมสตรีมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง  โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนสตรีอาสาสมัคร ในอบต. ,๗๕๐ คน  เพื่อเพิ่มสัดส่วนได้รับเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ ๑๐

                                ๒.๕ สร้างเสริมความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว  ผ่านกิจกรรมศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ,๑๖๖ แห่ง,   รณรงค์วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว (We love Sunday),   โครงการครอบครัวสมานฉันท์   และสื่อรณรงค์ครอบครัวอบอุ่น

                                ๒.๖ พัฒนาเด็กและเยาวชน ผ่านการขับเคลื่อนวาระเพื่อเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๕๐ ใน ๕ ด้าน  ได้แก่  ) สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน   ผ่านการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเด็กบนโลกออนไลน์  ) ด้านกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน   ) ด้านสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล  ) ด้านจังหวัดน่าอยู่สำหรับเด็ก และ ๕) ด้านกฎหมายส่งเสริมครอบครัว รวมถึงการจัดทำโครงการบูรณาการสร้างบทบาทและพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โครงการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่เด็กและเยาวชน โดยอบรมผู้นำเยาวชนคนสร้างชาติ ๕๔๓,๑๖๕ คน ทั่วประเทศ โครงการหอพักสีขาว และโครงการเครือข่ายเยาวชนประชาธิปไตย  เป็นต้น

                                ๒.๗ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้จัดบริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร โดยอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมเพื่อช่วยเหลือคนพิการ จำนวน ๑,๒๘๕ คน ใน ๒๕ จังหวัด ส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนพิการและรณรงค์การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานภาครัฐ ๑๐ จังหวัด การให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพสำหรับคนพิการ ผ่านกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จำนวน ๕,๐๕๘ ราย เป็นเงิน ๑๔๖.๒๒ ล้านบาท และสนับสนุนโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน จำนวน ๑๖๖ โครงการ เป็นเงิน ๒๐.๙๗ ล้านบาท

                                ๒.๘ ส่งเสริมศักยภาพและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ ผ่านโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ใน ๗๕ จังหวัด ๙๕ เขตพื้นที่  มี อผส. ,๖๓๘ คน  ดำเนินการดูแลผู้สูงอายุ ๒๗,๐๘๘ คน โครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุ (ธนาคารสมอง หน้า ๓๓) ได้ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง ๔ ภาค ๑๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม สกลนคร เพชรบุรี จันทบุรี สุพรรณบุรี พัทลุง สงขลา และตรัง โดยมีผู้สูงอายุขึ้นทะเบียนคลังปัญญาผู้สูงอายุ จำนวน ๔,๑๔๕ คน และเกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุสู่ชุมชน ๑๒๕ กิจกรรม มีเด็ก เยาวชน และประชาชน ได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอด ๑๔,๐๐๐ คน 

                                ๒.๙ ส่งเสริมการสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยองค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันจัดกระบวนการประเมินและรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน จำนวน ๓๕,๐๐๐ องค์กร 


                . ยุทธศาสตร์สังคมคุณธรรม มีภารกิจสำคัญคือ  การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม  และการสร้างสังคมที่สงบและสันติยุติธรรม

                                ๓.๑ การถอดสลักความรุนแรงในสังคมไทย

                                ()  โครงการสนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง  จัดตั้งศูนย์สนับสนุนการป้องกันและลดความรุนแรง (ศปลร.) ขึ้นในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   และเชื่อมโยงเครือข่ายสายด่วน ๑๑๘ เครือข่าย  เข้ามาร่วมปฏิบัติงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                                ()  โครงการศูนย์สันติยุติธรรม  จัดตั้งศูนย์สันติยุติธรรมใน ๔๖ จังหวัด จำนวน ๖๐ แห่ง

                                ()  ดำเนินโครงการเวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ในระดับอำเภอจำนวน ๙๒๖ เวที  เพื่อสร้างการเมืองเชิงสมานฉันท์ในระดับชุมชนท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 162476เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2008 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ที่ผ่านมา กฎ กติกา ดี ๆ อยู่บนหิ้งไม่น้อย 
  • อ่านแล้วได้ความรู้ดี และที่สำคัญ เมื่อเป็นระเบียบกฎหมาย ควรขยายไปสู่การปฏิบัติ หรือขับเคลื่อนจะดีอย่างยิ่ง
  • ร่วมด้วยช่วยกันครับ  ที่อาจาย์และคณะทำงานเสนอมา ขอขอบพระคุณ ทำให้เห็นแนวทางแล้ว  และเชิญชวนร่วมมือกันให้มีการขับเคลื่อนในทางปฏิบัติต่อไป.

 

 

"มังกร" ต่างถิ่น กับ "งูดิน" ในชุมชน วันที่มีท่านเป็นเจ้ากระทรวง งานหลายอย่างขับเคลื่อน

วันนี้ "งูดิน" ขออาสาเป็นผู้ขับเคลื่อนงานต่อ "เพื่อชุมชน"

กระผมชื่นชมในการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน แต่จะทำอย่างไรให้มีการทำงานอย่างสอดรับและต่อเนื่อง ในความเป็นจริงกระผมยังไม่ค่อยเห็น เพราะโครงการร่วมส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาดังกล่าวข้างต้นหรือเปล่าครับ อาจจะด้วยปัจจัยด้านงบประมาณหรือบทบาทหน้าที่ของบุคลากร

และโครงการทุกโครงการก็ต้องใช้งบประมาณ จากข้อมูลที่ท่านไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้นำเสนอหลายโครงการยังเป็นเพียงการนำร่อง หากจะทำให้สมบูรณ์ รัฐบาลในอนาคตจะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ครับ แล้วประเทศของเรามีงบประมารเพียงพอหรือเปล่าครับ แล้วถ้ามีไม่เพียงพอโครงการต่างๆจะสมบูรณ์ได้หรือไม่ครับ

ขอขอบพระคุณครับสำหรับการทำหน้าที่บริหารกระทรวงพัฒนาสังคมฯอย่างโปร่งใส (แม้จะเป็นการบริหารในช่วงเวลาที่จำกัดและสั้น)พร้อมทั้งได้นำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจมานำเสนอให้ได้เรียนรู้   เปรียบประดุจครูของกระผมเลยครับ

กระผมเห็นข่าวของท่านบ่อยๆครับ และบางครั้งก็จะได้เห็นข่าวเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมด้วยเช่นกัน มีเรื่องหนึ่งที่กระผมคิดเสมอว่าเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุที่รัฐจัดให้ดูแล้วไม่น่าจะช่วยให้เขาสามารถยังชีพได้อย่างพอเพียงในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและอนาคต ลองคิดเล่นๆครับแค่กินข้าวอย่างเดียวจานละ 20 บาท สามมื้อ ก็ 60 บาท แล้วเดือนหนึ่งสามสิบวันก็ 1800 บาท แต่ที่ออกข่าวได้ 500 บาท และไม่พอจะซื้ออาหารได้ตลอดเดือน ก็น่าเห็นใจทุกฝ่ายครับ

ขอบพระคุณค่ะท่าน   ที่เข้ามากำกับ ดูแล  และการพัฒนามนุษย์ฯ

รู้สึกชื่นชมการทำงานของท่าน "ที่เป็นผู้ใหญ่ใจดี"

ภูมิใจที่ได้ทำงานกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นหน่วยงานที่ทำงานด้านสังคมที่อยู้ภายใต้ภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทุกมิติ ทุกทิศทาง ตลอดเวลา การสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ของสังคมจึงเป็นต้องทำไปพร้อมกันทุกมิติ ทุกภาส่วน กระทรวง พม.กำหนดนโยบายการทำงานทางสังคมให้ความสำคัญ กับคนทุภาส่วน และครอบคุมทุกมิติ แต่ความสำเร็จของงานส่วนหนึ่งขึ้ออยูกับภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชการส่วนภูมิภาค ที่ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นโดยตรง ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านทำงานทุ่มเท สร้างการมีส่วนร่วม สร้างความแข้มเข้ง ให้ชุมชน องค์กรภาคประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผ่านบทบาทกลไก ที่พม.สนับสนุน ดิฉันมั่นใจว่าบทบาท ก.พม ส่งผลกระเพือมทางสังคมแน่นอน ทั้งระดับบุคคลและประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท