สาระสำคัญจากการอบรม ความรู้ด้านกฏหมาย เกี่ยวกับ ความรับผิดทางละมิดของเจ้าหน้าที่


หน่วยกฎหมาย มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้จัด อบรมความรู้ด้านกฎหมาย เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549  จากการเข้าอบรมแล้ว  ขอสรุปสาระสำคัญที่มาฝากสำหรับผู้ที่สนใจค่ะ

พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  พ.ศ. 2539  (มี 15 มkตรา) บังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นด้นมา   เหตุผลในการตรา พ.ร.บ.   

1.การใช้หลักเกณฑ์ใน ป.พ.พ. (หลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็น กฎหมายเดิมที่ใช้พิจารณากรณีเจ้าหน้าที่กระทำความผิด)  มุ่งได้เงินครบโดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรมและบั่นทอนขวัญกำลังใจ    2.เจ้าหน้าที่ที่อาจจะกระทำโดยไม่ตั้งใจหรือผิดพลาดเพียงเล็กน้อย   3.หลักเรื่องลูกหนี้ร่วมทำให้ต้องรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่อื่นด้วย  4.เจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินในเพราะเกรงความรับผิด 5. มีวิธีการบริหารงานบุคคลและวินัยควบคุมอยู่แล้ว 

ซึ่ง  พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดนี้  จะคุ้มครองเจ้าหน้าที่ให้มากกว่าเดิม แต่ไม่ทุกกรณี  กรณีเกิดความเสียหายจากเจ้าหน้าที่  ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่  หากเป็นความผิดไม่จงใจ /ประมาทธรรมดา  ผู้เสียหายจะต้องฟ้องร้องหน่วยงานให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน  แต่หากเจ้าหน้ากระทำผิดโดยจงใจ/ประมาทร้ายแรง  เจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดบางส่วน หรือ เต็มจำนวน (ไม่ใช้หลักลูกหนี้ร่วม)

การฟ้องร้อง    คดีละเมิดที่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง  มี 2 ประเภท           1.ละเมิดเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ 2. การปฏิบัติหน้าที่ใน 4 กรณี  ดังนี้

2.1 การใช้อำนาจตามกฏหมาย  2.2  กฏ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น  2.3  ละเลยต่อหน้าที่ที่กฏหมายกำหนด  2.4  ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า  *หากเป็นการกระทำผิดที่เข้าเกณฑ์ 2 ประเภทนี้  ให้ฟ้องที่ศาลปกครอง แต่หากไม่เข้าเกณฑ์  จะต้องฟ้องที่ศาลยุติธรรม*

และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จะต้องฟ้องกับหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล  และก็เพิ่งทราบจากที่อบรมว่าคณะไม่เป็นหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดการฟ้องร้องขึ้นต้องฟ้องมหาวิทยาลัย      โรงพยาบาลก็ไม่ใช่หน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล เวลาฟ้องร้องจึงต้องฟ้องร้องที่กระทรวงสาธารณสุข ตามข่าวที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ในทีวี

รู้สึกว่าจะเป็นเนื้อหาที่ยาวสักหน่อยแต่ที่จริงมีเยอะกว่านี้นะคะ  ว่าจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ประกอบด้วย  กลัวว่าคนอ่านจะเบื่อซะก่อน  เอาไว้เรื่องต่อไป  จะยกตัวอย่างให้เห็นพอนึกภาพออกนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16229เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2006 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณคุณนิตยา ครับที่ไปประชุมกลับมาและได้แบ่งปันความรู้ให้ทราบ ทำต่อไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท