บันทึกการเมืองไทย (2)


บันทึกการเมืองไทย (2)

         หลังจากได้ข่าวว่านายกทักษิณเชิญอธิการบดีไปพบและมอบหมายให้แต่ละมหาวิทยาลัยดำเนินการวิจัยและเสนอนายกว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรบ้าง   ผมก็รู้สึกว่าเป็นโจทย์ที่แปลก   และคิดจะเขียนบทความเตือนอธิการบดีให้ระวังว่ามหาวิทยาลัยจะได้รับผลร้ายมากกว่าถ้ารับโจทย์วิจัยแบบนี้มาทำ

         ก็พอดีวันนี้ (21 ก.พ.49) พบ ศ. ดร. วิชัย  บุญแสง  ท่านบอกว่า ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์ก็ออกมาเตือนอธิการบดีในเรื่องนี้   มีพิมพ์อยู่ในผู้จัดการรายวันหน้า 1 วันนี้   ผมเข้าไปดูเว็บ http://www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9490000023383   หรือดูได้ที่นี่ (click)   และคิดว่า ศ. ดร. เขียน มีมุมมองกว้างกว่าผมมาก   มุมมองของผมคือ
1. การวิจัยเรื่องแก้ไข รธน. ต้องมีการจัดการ   เพื่อรวมตัวกันวิจัยไม่ใช่ต่างคน/มหาวิทยาลัยต่างทำ   จึงจะได้ผลการวิจัยที่ดี
2. ต้องการทรัพยากร
3. การมอบหมายงานวิจัยโดยไม่ให้ทรัพยากร   ไม่สนับสนุนด้านการจัดการ   ทำให้มีข้อสงสัยด้านความจริงใจหรือการทำลาย
4. มีโจทย์วิจัยที่สำคัญ ๆ ต่อการไขความกระจ่างในเรื่องจริยธรรม,  กฎหมายและผลประโยชน์ทับซ้อนอีกมากที่มหาวิทยาลัยควรดำเนินการ

วิจารณ์  พานิช
 21 ก.พ.49

คำสำคัญ (Tags): #การเมือง
หมายเลขบันทึก: 16226เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท