ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจรักษาทางรังสีวิทยาหลอดเลือดระบบลำตัว


vascular dose

ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจรักษาทางรังสีวิทยาหลอดเลือดระบบลำตัวRadiation dose to patient in Body Vascular Interventional radiology


สมจิตร จอมแก้ว*         ป.รังสีเทคนิค
ตองอ่อน น้อยวัฒน์*      ป.รังสีเทคนิค
เสาวนีย์ หอมสุด**       พย.บ.
นิตยา ทองประพาฬ**   พย.บ.
วิธวัช หมอหวัง*           วท.บ.รังสีเทคนิค

*ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
** งานการพยาบาลรังสีวิทยา ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช

สมจิตร จอมแก้ว, ตองอ่อน น้อยวัฒน์, เสาวนีย์ หอมสุด,นิตยา ทองประพาฬ, วิธวัช หมอหวัง. ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจรักษาทางรังสีวิทยาหลอดเลือดระบบลำตัว . วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550 ; 1(2) : 46-50 


บทคัดย่อ
การรักษาโรคทางหลอดเลือดระบบลำตัวและรยางค์ เป็นหัตถการที่สำคัญ ใช้เวลาในการตรวจนาน และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับ การศึกษาพบว่า transarterial chemoembolication เป็นหัตถการที่มีความถี่ของหัตถการสูงสุด ใช้เวลา fluoroscopic time เฉลี่ย 32.40 นาที โดยผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ย 401.29 mGy และก็เป็นหัตถการที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงสุดต่อรายที่ 1028.80 mGy


รังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาในส่วนหลอดเลือดลำตัว (Vascular Interventional Radiology) มีเป้าหมายในการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยผ่านทางหลอดเลือด (endovascular treatment) เน้นในการรักษาหลอดเลือดส่วนลำตัวและรยางค์นั้นมีหลายประเภทหัตถการเช่น การใช้สารอุดหลอดเลือดที่ผิดปกติ การอุดหลอดเลือดเพื่อลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้อ การอุดหลอดเลือดเพื่อห้ามเลือด และการขยายหลอดเลือดตีบตัน เป็นต้น ซึ่งการรักษาผ่านทางหลอดเลือดนี้เป็นที่นิยมในการรักษาโรคทางหลอดเลือดที่สำคัญ เช่น hepatocellular carcinoma, aneurysm, vascular malformation , arteriostenosis, haemoptysis เป็นต้น


การทำหัตถการกระทำกันใน Interventional Radiology suite ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (digital subtraction angiography machine) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเข้าสู่ยุคของ flat detector system ซึ่งทำให้ได้ภาพทางรังสีที่ดีกว่า และมีระบบในการตรวจวัดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับที่ผิวหนัง (skin dose) เพื่อการติดตามว่าปริมาณรังสีที่ได้จากเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดในปัจจุบันซึ่งมีอุปกรณ์ป้องกันรังสีภายใน (inherent filtration device) ได้แก่ 0.1 mm.Cu + 1.0 mm.Al สำหรับ selected exposure prefilter และ 0.4 mm.Cu + 1.0 mm.Al สำหรับ selected fluo prefilter และเชื่อว่ามีปริมาณรังสีรั่วไหลจากแห่งกำเนิดไม่เกิน 0.87 mGy/hr ที่ระยะ 1 เมตรในทุกทิศทาง1 ดังภาพที่ 1 และ 2

วัตถุและวิธีการ
การวิจัยเป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยที่มารับการรักษาผ่านทางหลอดเลือด vascular Interventional radiology จำนวน 64 ราย โดย เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดชนิด 1 ระนาบ Phillips Integris Allura ซึ่งมีระบบวัดปริมาณรังสี Air Kerma อัตโนมัติ ซึ่งตั้งค่าเอกซเรย์อัตโนมัติที่ 80 kVp , automatic Calculated mAS

ผลการวิจัย
การศึกษาจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามประเภทของหัตถการได้ 9 กลุ่ม ได้แก่

1. Diagnostic angiogram
2. Transarterial ChemoEmbolization
3. Angioplasty
4. Venogram
5. Other interventional radiology
6. Other non interventional radiology

และได้ทำการเก็บสถิติจำนวนการถ่ายภาพ (series) ,จำนวนภาพ (image), ปริมาณรังสีที่ได้จากการถ่ายเอกซเรย์ และเวลาในการ fluoroscopy ด้วย ดังแสดงตามตารางที่ 1

ประเภทหัตถการ จำนวนผู้ป่วย สถิต no.series AP no.images AP Rad dose Total Fluoro time
Diagnosis 4 mean
sd
max
7.50
6.35
16.00
102.75
80.40
214.00
120.15
84.90
234.40
11.38
6.33
20.10
TACE 44 mean
sd
max
3.89
1.60
9.00
81.98
38.26
198.00
401.29
225.99
1026.80
32.40
22.27
96.00
Angioplasty 2 mean
sd
max
12.50
3.54
15.00
77.00
4.24
80.0
31.35
0.21
31.50
5.15
3.18
7.40

Venogram

3

mean
sd
max

6.00
3.46
10.00

24.33
31.82
61.00

80.07
46.41
97.00


10.37
9.41
21.00
Other IR 8 mean
sd
max
4.13
1.73
8.00
83.63
27.78
135.00
285.86
142.80
518.80
33.63
18.40
53.40
other nonIR 2 mean
sd
max
4.50
3.54
7.00
31.00
41.01
60.00
159.50
176.21
284.10
22.55
27.65
42.10



สรุปผลการวิจัย
จากการวิเคราะห์แยกประเภทตามหัตถการ พบว่า การถ่ายภาพในหัตถการ Angioplasty มีจำนวนการถ่ายภาพเฉลี่ยสูงสุด (12.50 series) ขณะที่ diagnostic angiogram มีจำนวนภาพเฉลี่ยสูงสุด (102.75 ภาพ) เมื่อวิเคราะห์ปริมาณรังสีเฉลี่ยสูงสุดที่ได้รับจากหัตถการทางรังสี พบว่า TACE ทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ยสูงสุดจากการถ่ายภาพที่ 401.29 mGy และ หัตถการกลุ่ม IR อื่นๆ เช่น ivalon or glue embolization ใช้ Fluoroscopic time : FT เฉลี่ยสูงสุด (33.63 นาที) อย่างไรก็ตาม TACE เป็นหัตถการที่มีการใช้ fluoroscopic time ต่อรายสูงสุด (96 นาที)

 

 วิจารณ์ผลการศึกษา
เมื่อเทียบกับหัตถการ diagnostic angiogram แล้ว หัตถการทางรังสีร่วมรักษา เช่น TACE ซึ่งมีความถี่ในการทำมากที่สุด จะใช้ fluoroscopic time มากกว่า เนื่องจากเป็นการใช้ fluoroscopy เพื่อการ superselect ไปยังเส้นเลือดหลักที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้อนั้น และมี การถ่ายภาพประกอบจึงทำให้เป็นหัตถการที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีมากที่สุด โดยอาจได้สูงสุดถึง 1026.80 mGy ขณะที่ angioplasty มีการถ่ายภาพที่น้อยกว่าและผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีไม่มาก (77 ภาพ, 31.35 mGy) เนื่องจากเป็นการทำหัตถการในตำแหน่งรยางค์เป็นหลัก หัตถการทางรังสีร่วมรักษาอื่น เช่น ivalon embolization หรือ glue embolization จะถ่ายภาพมากกว่าและผู้ป่วยได้รับรังสีปริมาณมากกว่าเช่นกัน (83.63 ภาพ, 285.86 mGy)

เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมจะเห็นได้ว่าหัตถการทางรังสีของหลอดเลือดระบบลำตัว เป็นหัตถการที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีไม่มากนัก นั่นคือน้อยว่า threshold dose สำหรับการเกิด transient erythema (2Gy) ซึ่งเป็นปริมาณรังสีที่จะก่อให้เกิดผลทางรังสีที่เด่นชัดแก่ผู้ป่วยได้


สรุปผลการวิจัย
หัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบหลอดเลือดลำตัวส่วนใหญ่ใช้เวลา fluoroscopic time น้อย และทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีไม่สูงมากนัก ยกเว้นในหัตถการที่มีการร่วมรักษาด้วยเช่น TACE และ glue or ivalon embolization ซึ่งจะใช้ fluoroscopic time มาก เนื่องจากต้องทำการ superselect ไปยังเส้นเลือดที่ต้องการให้ได้มากที่สุด และมีการถ่ายภาพประกอบ จึงทำให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูง อย่างไรก็ตาม ปริมาณรังสีที่ได้ถือว่าไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับปริมาณรังสีต่ำสุดที่ทำให้เกิดผลต่อร่างกาย


บรรณานุกรม

  1. Allura Integris EP-Workmate integration for Allura Integris. Phillips Manual, 2003
  2. Huyskens J. C. International framework of radiological protection. Technische universiteit eindhoven.,1997
  3. พิไลพร ฉัตราธิกุล, อรรถโกวิท สงวนสัตย์, ประพัฒน์ ลาภเจริญกิจและสถาพร กล่อมแก้ว. ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากวิธีรังสีร่วมรักษาทางระบบประสาท. วารสารรังสีเทคนิค,2542; 24(1-3) : 13-22

 

คำสำคัญ (Tags): #patient dose#radiation dose
หมายเลขบันทึก: 161935เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2008 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท