Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๒)_๒


Proceedings มหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๒ (๓๒)_๒

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ :
         ขอขอบพระคุณ รศ.ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์ ผู้เขียนหนังสือ เหตุเกิดที่ในห้องเรียน มีท่านอื่นที่อยากจะร่วมวง บ้างไหมครับ เชิญครับ

อาจารย์รัตนา  สถิตานนท์ :
         คงเป็นประเด็นเดียวกัน อยากจะแลกเปลี่ยนมุมมอง เพราะตนเองเป็นครูปฏิบัติการเล็กๆ อยู่ในโรงเรียน เปลี่ยนผู้บริหารหลายท่านคล้ายกับอาจารย์ทองดี  แต่ไม่ได้เริ่มก่อนการปฏิรูปการศึกษา   และไม่ได้เริ่มต้นที่ผู้บริหารท่านใดท่านหนึ่ง  คิดว่าอยู่ที่ใจและปฏิกิริยาของนักเรียนที่เราสอนนอกห้องมากกว่า  วันไหนที่สอนแล้วรู้สึกเซ็งมาก  เรารู้สึกว่าแพ้ตัวเอง  สิ่งที่พยายามทำคือหาแนวร่วม ไม่คาดหวังว่าเราจะทำให้ ตั้งแต่เป็นครูต้นแบบสิ่งที่พยายามทำ  ไม่ได้คาดหวังว่าเราจะทำได้ แต่ก็เป็นจุดเริ่ม หาแนวร่วม หาเพื่อน  พอมาเป็นครูต้นแบบครูแห่งชาติ  มีเครือข่าย เราก็จัดเวลาเรียกว่าพบกันวันเสาร์  ช่วงเช้ายังทำงานอยู่   ตอนบ่ายจึงมาคุยกัน  เวลาที่เราออกไปต่างคนต่างทดลองแล้วจดบันทึกเราเรียกว่าเล่าสู่กันฟัง  แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกันอ่าน  มีทั้งประสบผลสำเร็จ  ล้มเหลว มีทั้งคุยกัน  ซึ่งทุกคนไม่จำเป็นต้องประสบผลสำเร็จ แล้วก็มาเรียนรู้ด้วยกัน แล้วเราก็รู้จักกัน แม้กระทั่งครูที่เด็กที่สุดเขาก็ประสบความ สำเร็จและมีมุมมองที่ครูเก่าๆ มือโปรทั้งหลาย ก็เรียนรู้จากเขา  จนกระทั่งนักเรียนทำโครงงาน    นักเรียนเขียนเบื้องหลังของโครงงาน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งรอบๆ แม้กระทั่งผู้บริหารก็ไม่ได้พูด  แต่ไม่หมายความว่าผู้บริหารไม่สำคัญ   แต่คิดว่าเรามีแรง มีกลุ่มที่ขยายไปเรื่อย ๆ  ซึ่งเรามีเครือข่ายขยายผล พยายามหาเพื่อน คนสองคน ทำให้กลุ่มที่อยากทำงานได้เรียนรู้ด้วยกันและเติบโต เพราะฉะนั้นถ้าผู้บริหารยังมองไม่เห็น มันอาจจะยังเล็กเกินไปมองไม่เห็นชัดเจน ความจริงแล้วเป้าหมายเราอยู่ทางเดียวกัน ฉะนั้นก็สำหรับตนเองในฐานะคนปฏิบัติการ ทั้งสองฝ่ายสำคัญ อย่าไปหมายที่ผู้บริหารต้อง whole school   ถ้าอย่างทำไม่สำเร็จ ต้องรอผู้บริหารที่ทำให้สำเร็จ  ถ้าเช่นนั้นครูธรรมดาก็จะไม่ทำอะไร  ซึ่งจุดนั้นมันยากเกินไป   เราน่าจะเริ่มตรงจุดที่เราอยู่ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็เริ่มได้

ดร. ปฐมพงษ์   ศุภเลิศ :
         ครับ ฟังตรงนี้แล้วก็ชื่นใจ win win ทั้งผู้บริหารและครู ลองมาฟังทรรศนะของคุณคุณนภินทร ศิริไทย  จาก สคส.

 คุณนภินทร ศิริไทย:
          ในฐานะที่อยู่ สคส. อยากจะแลกเปลี่ยนในมุมมองของ สคส. ในกระบวนการของตลาดนัดความรู้ ว่ากระบวนการที่ทาง สคส. ไปจัดให้เป็นอย่างไร เพื่อผู้ที่ไม่เคยรู้จักจะได้ทราบ  เริ่มต้นด้วยว่าการจัดการความรู้คืออะไร คือเครื่องมือที่ใช้ในการเสริมพลังธรรมชาติของมนุษย์  พลังสร้างสรรค์  พลังด้านดี  สร้างพลังทวีคูณ จากการรวมหมู่  ใช้พลังปัญญาของคนทั้งมวลนำไปสู่การทำงานในรูปแบบใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ  อย่างเช่นในวันนี้เราเชิญครูมา 10 ท่านมาเสริมพลังกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อที่ทุกคนจะได้รู้ว่าการที่เราทำเช่นนี้ได้ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะว่านี่คือกระบวนการจัดการเรียนรู้จริงๆ แต่เนื่องจากเวลาที่ค่อนข้างจำกัดทำให้บางเรื่องได้หายไป  
การจัดการความรู้คือเครื่องมือ อย่างเช่นเมื่อเช้านี้ ที่ว่า KM คือเครื่องมือ  แต่ไม่ใช่เครื่องมือเดียวแต่อาจมีหลายๆ เครื่องมือ เข้ามาช่วยกัน อย่างที่โรงพยาบาลบ้านตาก จากวีดีทัศน์เมื่อเช้านี้ จะเห็นได้ว่ามีเครื่องมือหลายเครื่องมือ อย่ามองว่าเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สูงส่ง แต่เดิมเราก็ทำกันอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่เราทำตรงนี้ ให้มีทิศทางมากขึ้น  มีเป้าหมายมากขึ้น   นี่คือแก่นของ KM  แต่ไม่ใช่ทำ KM  เพื่อ KM  อย่างที่อาจารย์วิจารณ์ว่า เรากำลังหลงเป้าหมาย   ซึ่งทาง สคส. พยายามบอกทุกท่าน   และใช้ความรู้ในการจัดการจริงๆ   เช่นเรื่องของอาจารย์วิมลศรี ที่มีเรื่องส้ม   อาจารย์ศิริพงษ์  ก็ให้เด็กไปดูขี้ควาย  ตรงนี้คือพลังในด้านดีด้านบวกมาแลกเปลี่ยนกัน   ที่จริงแล้ว KM คือการจัดเวทีให้มาแลกเปลี่ยนกันมากกว่า อาจเป็นการเรียนรู้เรื่องการทำงาน มีปัญหาอะไร มาแลกเปลี่ยนกัน มาคุยกัน  เพื่อให้มีพื้นที่ในการทำงานร่วมกัน  มองว่านี่คือ แก่นของมัน  อาจไม่ถูก 100%   คิดเห็นอย่างไร  ก็แสดงความคิดเห็นได้ แท้จริงแล้ว สคส. เน้นที่ความแตกต่างกัน  อย่างอาจารย์เลือกคนที่ไปทำงานที่แตกต่างกัน อาจารย์จะทำ AAR ทุกวันศุกร์  อาจารย์จะได้สิ่งที่ไม่เหมือนกันเพราะทุกคนมาต่างกัน  จะทำให้เกิดพลังทวีคูณ เป็นสิ่งที่ สคส.ทำ  อีกประการ KM   เป็นวิธีการเรียนลัด  โดยผ่านวิธีการเป็นเลิศของคนอื่น  KM  จะไม่เริ่มต้นจากศูนย์ อาจจะสอง สามสี่ก็ได้ แล้วเราจะต่อยอด เอาจากคนอื่น คนโน้น คนนี้มาอย่างละนิด  แต่จะไม่เอาทั้งหมดจะทำให้ประสิทธิภาพนั้นไม่ดีได้ KM เป็นเรื่องของบริบทที่จะนำมาใช้ไม่ใช่ว่าจะนำมาใช้ทั้งหมดได้   จริงแล้ว KM จะเป็นเรื่องง่าย  เมื่อเช้าอาจจะเครียดนิดหนึ่ง เพราะว่าคนมาก  จริงแล้วถ้าจัดตลาดนัดของ สคส. ที่เต็มรูปแบบ ทุกคนจะมีส่วนร่วม เพราะที่ สคส. จัด ทุกคนจะมาเล่าเรื่องอย่างสนุกสนาน   เหมือนกับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้ดู  เหมือนกับเป็นการแสดงกระบวนการให้ทุกท่านเห็นเท่านั้น   
         จะพูดถึงแนวคิดของการจัดการความรู้นิดหนึ่ง จะมีวงกลมสองวง วงหนึ่งเป็นความรู้เด่นชัด อีกวงหนึ่งจะเป็นความรู้ฝังลึก  ตลาดนัด สคส. เน้นวงนี้มากที่สุด เพราะส่วนที่เป็นความรู้เปิดเผยสามารถหาได้จากตำราก็ได้ ส่วนที่ความรู้ฝังลึกนั้นหาได้ยาก  ดังนั้นจึงต้องมีคุณลิขิต พูดไม่จดก็จะหายไป สคส.เน้นฝั่งนี้มากที่สุด เพราะถือว่ายังไม่เป็นรูปธรรม  จึงได้พยายามเน้นในส่วนนี้ อย่างเวลาที่ไปเรียนทฤษฎีที่นำไปใช้นั้นพอจะมีประโยชน์บ้าง นำมาใช้ในการแก้ปัญหาน้อย  การรู้จากประสบการณ์จากเพื่อนมากที่สุด เชื่อว่าเป็นแบบนั้น จะเห็นได้ว่าวงล้อเป็นแบบนี้  เป็นแบบสองวงล้อและจะล้อไปเรื่อยๆ  ไม่มีวงไหนใหญ่กว่า ความรู้เด่นชัดจะเน้น  2 T  technology  & tool   ความรู้ฝังลึกจะเน้น 2 P คือ  people, process  เน้นกระบวนการเน้นบุคคล เน้นความรู้สึกของคนมากว่า แต่เทคโนโลยีก็มีส่วนช่วยเช่น blog ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนกันได้ ทำให้ย่นเวลา เห็นได้ว่ามีความสำคัญทั้งสองส่วน  จะให้เห็นว่าการ sharing จะไม่ง่ายเหมือนในรูป  ไม่ใช่ว่าจะเอาหัวแล้วได้ออกมา จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการที่ต้องดึงความรู้ออกมา  KM ส่วนใหญ่ไป “ผิดทาง” โดยเฉพาะ T เมื่อจะทำ จะไปผิดทาง   ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ ซื้อสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาก หากไม่มีการจัดการในการนำความรู้มาใช้ก็จะไม่มีประโยชน์ ถ้าใน สคส. จะเน้นในส่วนนี้มากกว่า แต่บอกไม่ได้ว่ากี่ % และจะนำไปปรับใช้อย่างไร   ทั้งสองฝั่งต้องสมดุลจึงจะดี  สมดุลเท่าไรต้องพิจารณากันเอง
         โมเดลนี้เป็นโมเดลปลาทู อาจารย์ประพนธ์เป็นคนคิด เป็นโมเดลอย่างง่ายๆ ที่ สคส. ใช้อยู่ จะแบ่ง เป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือหัวปลา knowledge vision (KV)  ครั้งนี้หัวปลาของเราคือ  กลยุทธ์กระบวนการสร้างการเรียนรู้: บทบาทใหม่ของครูจัดการความรู้มืออาชีพ   หัวปลานี้เริ่มจากความคิดคนในองค์กรที่คิดจะทำ แต่เนื่องจากเราจัดเองจึงคิดเองใน สคส. เราจึงไปหา case ที่ดีมาแลกเปลี่ยนกันเลยมีวันนี้ ถ้าทำในองค์กรง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะทางองค์กรอาจมีเป้าหมายอยู่แล้ว  ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร  หรือผู้ปฏิบัติที่คิดจะทำ KV  ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ที่คือที่มาของ KV    หัวปลาในวันนี้จะเป็นหัวปลาเล็ก ของหัวปลาใหญ่ นี่คือตัวองค์กร  เป้าหมายการทำตลาดนัดแต่ละครั้งจะเป็นเป้าหมายย่อย    KM ทำได้หลายๆ เรื่อง หลายๆ ครั้ง  อยู่ทีว่าเราจะทำเรื่องอะไร แต่หัวข้อย่อยนั้นจะอยู่ใต้หัวปลาใหญ่ ขององค์กร  ดังนั้นปลาจึงว่ายไปกันทั้งฝูง ถ้าตัวไหนที่ไม่ได้ว่ายไปด้วยกัน ทำให้องค์กรไปคนละทาง 
         ที่มาทำในวันนี้คือ เราคือกลางปลา คือหัวใจของ KM การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันที่อยู่ในตัวลึก share กัน  ที่ รพ.บ้านตากจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  และต้องมีการแลกเปลี่ยนที่ข้ามสายด้วย  เพราะแต่ละงานจะมีความแตกต่างกัน ในการสอนวิทยาศาสตร์จะมีการประชุมครูทั้งหมดแล้วประชุมกันเพื่อจัดสาระการเรียนรู้ให้นักเรียน ภาพนี้คือบรรยากาศที่ สคส. ไปจัดตลาดนัดให้กับ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฎที่ทำ KM  ส่วนสุดท้ายคือหางปลาก็มีความสำคัญมี คุณลิขิต บันทึกเรื่องเล่า คอยบันทึกต่างๆ ซึ่งตรงนี้คุณแก้วใจ  ขุมความรู้ ซึ่งอาจจะเอาไปขึ้น blog เพื่อแลกเปลี่ยน ทั้งประเด็นหลักการเรื่องเล่า ใครเล่าอะไร อย่างไรบ้าง  จะได้รู้ว่าใครเป็นเรื่องเล่า จะติดต่อเขาอย่างไร จะมีสามส่วนที่สำคัญ ส่วนคนอื่นจะเอาไปดีไซน์มากกว่านี้ไม่เป็นปัญหา นี่คือ KV ของเขาว่าเพื่อพัฒนาคุณภาพและสถานบริการ จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดความรู้ออกมาซึ่งจะได้ความรู้เป็นสองกลุ่ม อย่างเช่นที่คุณแก้วใจทำในวันนี้ พรุ่งนี้จะสรุปให้เห็นว่า เมื่อวานนี้ วันนี้เป็นอย่างไร  ภาพจะแสดงบรรยากาศที่ไปจัดตลาดนัด  มีเรื่องเล่า อยู่ที่ไหนก็ได้  ก็จะเล่าว่าทำอะไร อย่างไร  เป็นการจัดในเรื่องปลดหนี้ครู  โมเดลปลาทูเต็มๆคุณเอื้อจะมีความสำคัญมาก เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร  ว่าทำ KM เพื่ออะไร ซึ่ง  CKO ต้องบอกให้ได้ก่อน  แล้วจะไปสู่หางปลา ซึ่งจะมีคุณอำนวยในการแลกเปลี่ยน คุณกิจ  อย่างที่บอกว่า KM เป็นการจัดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ สคส. F2 F  จะมีประมาณ 20 %  การประชุมใหญ่แบบนี้เรากำหนดว่าเราจะเจอกันปีละครั้ง  ส่วนย่อย เราจะประชุมกันทุกสองเดือน  ที่ สคส. เน้นมากตอนนี้ คือ B2B blog to blog  อ.วิจารณ์ ชอบมากตอนนี้  มีพลังมาก  ถ้ายังไม่เคยเข้าไปให้เข้าไปที่ www. gotoknow.org  ในนั้นจะมี KM ความรู้เรื่องทำงานเยอะมาก  ใครสนใจอะไร  สามารถสมัครเข้าได้เลยวันนี้อาจารย์ทุกท่านกลับที่โรงเรียนแล้วก็ไปทำไปขยายผล  สามารถเขียนเล่ามาได้เลย   เราจะได้แลกเปลี่ยนผ่าน blog ที่ สคส. จะใช้ประมาณ  80-90%   
         วัตถุประสงค์ของการจัดตลาดนัดเป็นการทำความรู้จัก KM ผ่านจัดการปฏิบัติจริง  อย่างวันนี้ อาจไม่ได้ทั้งหมด เพราะเวลาค่อนข้างน้อย  จะสรุปให้เห็นกระบวนการมากขึ้น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ปฏิบัติระหว่างกัน  และที่สำคัญคือคนน้อย สคส. มีคนแค่ 10 คน  เราจัดงานเราจะทำเอง จ้าง organizer มาทำงานให้ เราคงไม่สามารถที่จะไปได้ทั่วประเทศ  เราจึงต้องสร้าง KM ของแต่ละหน่วยงาน 10 คนนี้  สองคนเป็น  อ.ประพนธ์ และ อ.วิจารณ์   อีกสี่คนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน เป็นวิทยากร ทั่วประเทศ ซึ่งจะให้ไปทั่วประเทศ เราไม่ไหว  เพราะทั่วประเทศมีตั้งหลายหน่วยงาน เราก็มีแผนว่าเราเลยมีแผนว่าจะสร้างแกนนำ ระยะเวลาของ สคส. มีเวลา 5 ปี  เราดำเนินการมาแล้ว 3 ปี เหลือเวลาอยู่เพียง 2 ปี  เราจึงสร้างแกนนำในหน่วยงาน   เวลาค่อนข้างน้อย หลังจากนั้นจึงสลายตัว เราจึงต้องสร้างผู้ที่ทำ KM ไว้ในหน่วยงานให้มากที่สุด  ซึ่งท่านสามารถดำเนินการที่ต่างกับ สคส.ก็ได้  ยิ่งดีมาก  และเขียนบันทึกให้ สคส.ทราบด้วย  แล้วสร้างแกนนำด้าน KM ของแต่ละหน่วยงานเพื่อเตรียมการให้แกนนำไปขยายผล  และอยากให้เกิดชุมชน KM ในพื้นที่ทั้งแบบนี้ และส่วนต่างๆ  ส่วนวิธีการเป็นการเน้นที่การปฏิบัติ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความสำเร็จในการดำเนินการ ความล้มเหลวเป็นจุดน้อย เน้นที่ความสำเร็จ ใช้กิจกรรมกลุ่มสลับการบรรยาย  แต่ทาง สคส.จะไม่เน้นบรรยาย  ใช้ภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตรเป็นกันเอง  อยากที่บอกว่า  tacit  knowledge ใช้  2P  คือ  people  &  process   เราเน้นที่คน คือถ้าเราเป็นเพื่อนกัน  เรามีอะไรดี เราก็อยากบอกเพื่อน  มีเคล็ดลับอะไร  เราก็อยากจะบอกเพื่อน  KM จึงเริ่มต้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างคน  KM  ที่สำคัญคือฝึกรับฟังผู้อื่น รู้จักชื่นชม และให้กำลังใจ เน้นเชิงบวกมาก สิ่งที่ผิดพลาดเป็นบทเรียน แต่ไม่เน้นเรื่องผิดพลาด    เครื่องมือที่  สคส. ใช้ มีหลายอย่าง เช่น   เรื่องเล่า (storytelling)  ตารางอิสรภาพ   ธารปัญญา   บันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  After Action Review: AAR   blog   ซึ่งมีมากกว่านี้  แต่เราก็ใช้แล้วแต่สถานการณ์ ขึ้นอยู่กับกลุ่ม  อาจต้องศึกษากันเอง 
         ก่อนทำตลาดนัด ข้อตกลงเบื้องต้นในการทำ KM ต้องมีบรรยากาศที่ดี เป็นมิตร ไม่มีคุณอำนวย หรือคุณอำนาจ บรรยากาศของการทำตลาดนัดนั้น ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน คุณอำนวยก็คือทำหน้าที่ให้เกิดกระบวนการ  เพราะ storytelling  เป็นเรื่องที่เกิดมานานแล้ว เป็นเหตุการณ์ ไม่อาจแก้ไขได้   ดังนั้นในวงจรได้เล่า จะไม่บอกว่า ทำไมจึงต้องเช่นนั้น ทำไมไม่ทำเช่นนี้ และ   KM  ของ สคส. จึงต้องเริ่มต้นด้วยการผ่านประสบการณ์เรื่องเล่า  ไม่ตัดสินถูก-ผิด   สิ่งที่เหมาะสมกับเพื่อน  อาจไม่เหมาะกับเรา  เคารพตนเองและผู้อื่น  เน้นการแลกเปลี่ยนเชิงปฏิบัติ เราไม่อยากได้ทฤษฎี  แต่ว่าสิ่งที่อยู่ในตัวคนมากกว่า เราหาไม่ได้  การเล่าเรื่องที่เห็นเป็นการเล่าคนละสองสามนาที  เล่าจากข้อมูลดิบ เล่าแบบไม่ตีความ ทำข้อตกลงกันก่อน แต่วันนี้ เวลาน้อยอาจจะไม่ได้อย่างที่ต้องการ  ผู้ฟังก็ฟังอย่างตั้งใจ  แล้วมีการถอดขุมความรู้ เมื่อเล่าเรื่องเรียบร้อยแล้ว   ซึ่งขุมความรู้นั้นเราก็มาจัดกลุ่ม แต่ก็ยังไม่ได้ทำ  นี่คือเรื่องเล่าที่เป็นตัวอย่างของอาจารย์ ศิริพงษ์  เป็นการนำการ์ดขุมความรู้เป็นแก่นที่ทำอย่างที่บอก ส่วนใหญ่จะไม่เกินสิบสองเพราะว่ามันจะมากไปประเมินลำบาก  แล้วนำมาสร้างเป็นตารางแห่งอิสรภาพ  ซึ่งเป็นอิสรภาพแห่งการคิดเกณฑ์ตนเอง ชื่อมันบอกอยู่  จะเป็นการคิดกันเอง ว่า สคส. คิดแบบนี้  คิดได้เต็มที่  นำแก่นความรู้ที่ได้มาหาความรู้เกณฑ์ แห่งความสำเร็จ  วันนี้ก็ไม่ได้เห็นกระบวนการทั้งหมด  ตัวอย่างตารางอิสรภาพที่นำมาให้ดูวันนี้อาจจะไม่ดีที่สุด  แต่ใกล้เคียงกับวันนี้จึงนำมาให้ดูเป็นตัวอย่างในครั้งนี้  นี่คือ ดีไซน์ ว่า ระดับหนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า  ระดับห้าคือ  ขึ้นอยู่กับที่เราจะใช้เกณฑ์  เครื่องมืออีกชนิดที่ใช้คือ  AAR :  After Action Review   เครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือที่เขาใช้ในการรบของทหาร ใช้เพื่อที่ว่าต้องทำอย่างไร  แล้วถ้าต่อจากนี้จะทำอย่างไร  ไม่ใช่สรุปกระบวนการ แต่เป็นการทำให้กระบวนการครบถ้วน  AAR  เริ่มจากแนะนำตนเองสั้นๆ  ทบทวนเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของตนเองต่อการเข้าร่วมตลาดนัดครั้งนี้ มีส่วนใดบ้างที่บรรลุเกินเป้าหมาย  เพราะอะไร?  มีส่วนใดบ้างที่ไม่บรรลุ หรือ ต่ำกว่าเป้าหมาย  เพราะอะไร? พูดได้อย่างเปิดใจ เพื่อที่ สคส. จะได้นำไปปรับปรุง   จะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ กลับไปทำอะไร หากท่านไปจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เอง  คิดว่าจะปรับปรุงขั้นตอนใดบ้าง?  นี่เป็นสิ่งที่ สคส.ต้องการมาก ในวงอาจพูด ผู้ที่อยู่ในวงนอกอาจจะให้เขียน นี่คือ  AAR  ซึ่งบางอย่างจะไม่อยู่ในตำราแต่จะมาจากประสบการณ์ของ สคส.  AAR เป็นการพูดจากใจ พูดแบบเปิดใจ พูดอย่างเป็นอิสระ ไม่มีถูก-ผิด นี่คือ เวปไซต์ของ สคส.  kmi.org.th  ส่วนนี้เป็นของอาจารย์วิจารณ์  นี่เป็นของ อ.ประพนธ์   จะขอแลกเปลี่ยนเพียงเท่านี้ ก็ขออภัยว่ามันไม่ใช่ทั้งหมด ถ้าสนใจให้ดูจากเวปไซต์ของ สคส. ได้ผลอย่างไร เมื่อนำไปใช้ได้ผลอย่างไร ตอบกลับมาให้  สคส. ทราบบ้าง  ขอบคุณมากค่ะ
มีต่อ
 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16183เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท