การสร้างศูนย์กลางความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


การสร้างศูนย์กลางความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


          สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดการประชุม “การสร้างศูนย์กลางความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ”  ที่ รร.มิราเคิล แกรนด์   เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.48   ผมไม่ได้ไปร่วมประชุม   แต่ ดร. บุญดี  บุญญากิจ กรุณาให้ยืมเอกสารการประชุมมาดู


          การประชุมนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัย 2 เรื่องคือ
1.      โครงการวิจัยเพื่อสร้างศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ  เสนอโดย รศ. ดร. สมเกียรติ โอสถสภา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2.      โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาจังหวัดขอนแก่นไปสู่เมืองเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT City)  กรณีศึกษา : การพัฒนาชุมชนแห่งข้อมูล (i-community) และผู้นำสารสนเทศชุมชน (Community – CIO) โดย ดร. บดินทร์  รัศมีเทศ  มก.,   นายบรรพต  นิจพาณิชย์  คณะกรรมการบริการโครงการพัฒนาชุมชนแห่งข้อมูล,   และนายสมาน  สุขสงวน  หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการโครงการพัฒนาชุมชนแห่งข้อมูล


          เรื่อง IT มีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรม KM   ทำให้การแลกเปลี่ยนและเข้าถึงความรู้อยู่ในลักษณะ “anytime & anywhere” โดยเฉพาะโครงการที่ 2   อาจทำให้ชาวบ้านในชุมชนได้รับอานิสงส์นี้


          ชุมชนในกรณีศึกษาได้แก่ ต.ทรายมูล,  ต.บัวเงิน,  ต.น้ำพอง,  ต.หนองถุง   และ ต.วังชัย   


          คณะผู้วิจัยได้เข้าไปฝึกอบรมแก่กลุ่มนักเรียนโรงเรียนน้ำพองศึกษา   และระบุว่าโครงการได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ   ให้บริการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตแก่ชุมชน   มีการติดตั้งเครือข่าย Kiosk ตามแหล่งชุมชน   เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวก   และพบว่าเมื่อศูนย์ปฏิบัติการได้เปิดให้บริการแก่ชุมชนแล้ว   มีสมาชิกในชุมชนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง   ทั้งประชาชนทั่วไป   นักเรียน  นักศึกษา  และข้าราชการ


          สิ่งที่ผมอยากเห็น   คือการใช้ IT สำหรับเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชาวบ้าน   ให้เป็น 2 – way communication ได้   ไม่ใช่แค่เพียงเพื่อการเข้าถึงข้อมูล   ซึ่งเป็นกิจกรรม one way


          IT สำหรับเพียงให้ชาวบ้านรับรู้จากส่วนกลาง   เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณครับ   เพราะจะเป็นการตอกย้ำอำนาจรวมศูนย์   ผมมีความเห็นว่า IT ควรเป็นเครื่องมือช่วยปลดปล่อยอิสรภาพของคน   ทำให้คนเชื่อมโยงกันโดยตรง   แลกเปลี่ยนกันโดยตรง   เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ความรู้ปฏิบัติ” ได้ง่ายและสะดวกขึ้น
         
          พรุ่งนี้ผมจะไปขอนแก่น   จะลองไปสอบถามดู   ว่าโครงการที่ 2 ช่วยสร้างพลังอำนาจในการเรียนรู้อย่างอิสระของคนในชุมชนอย่างที่ผมระบุไว้บ้างหรือไม่

 

 

                                                                                                วิจารณ์  พานิช
                                                                                                   1 ก.ค.48

หมายเลขบันทึก: 1616เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2005 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท