Blog กับ ลปรร. ?


2 creators ที่อยู่เบื้องหลัง ดร.จันทวรรณ และ ดร. ธวัชชัย ผู้ที่คอยประดิษฐ์เครื่องมือตัวนี้ให้เราได้ใช้ และคอยปรับแต่งให้มันเหมาะกับ "จริต" ของ Thai users มากขึ้น

ขออนุญาติ ลปรร. ประเด็น  "แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจริงหรือ"  

แม้แต่ตอนนี้เรากำลัง ลปรร. เรื่องการพัฒนาเครื่องมือกันอยู่นะ!

ความเข้มข้นของการ ลปรร.  น่าจะมีมากกว่า 2 ระดับ (จริง  หรือ ไม่จริง) 

ความชัดเจนของการ ลปรร. หากจะวัดสิ่งที่ปรากฏเพียงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์  ผมคิดเห็นว่าค่อนข้างจะติดแข็งๆไปหน่อยหนึ่ง   มีอีกหลายสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่ถูกนำขึ้นหน้าจอ   ผมเข้าใจว่าปรากฎการณ์นี้เป็นเรื่องปกติสำหรับบ้านเรา    สิ่งหนึ่งที่เห็น  คือ จำนวนคนอ่านเยอะ  แต่คนเข้ามา post ใน comment  ดูเหมือนจะน้อย    ยิ่งเป็น website  ยิ่งนิ่งเข้าไปใหญ่เลย 

จนถึงวันนี้ปี 2006  ผมยังเชื่อว่า E-Culture ยังเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นชินสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ซักเท่าไร    คำว่า "ส่วนใหญ่" ดูเหมือนจะไกลตัวไปนิดหนึ่ง   เอาแค่ในรั้วสถาบันการศึกษาก็ยังเป็นที่น่าสนใจในประเด็นนี้   เรามักจะเห็นนิสิตนักศึกษาเป็นส่วนมากที่ปรากฏตัวบ่อยในพื้นที่ cyber ที่เป็นเวทีสาธารณะ   แต่มีข้อสังเกตว่าอาจารย์หรือบุคลากรปรากฏตัวน้อยกว่านักศึกษา    แต่ช่องทาง ICT ที่ใช้กันมากยังเป็น private channel เช่น E-mail  แต่ไอ้ที่เป็น public ผมยังเห็นไม่ชัดเหมือนกัน

ส่วนตัวผมเชื่อว่ามันไม่ได้เป็นที่เครื่องมือนะ    แต่   ความคุ้นชินเดิม, ความกล้าที่จะแสดงความเป็นตัวตนออกมาในเวทีสาธารณะ, นิสัยการเริ่มเป็นฝ่ายให้ก่อน, นิสัยการขีด-การเขียน-การบันทึก นิสัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน, นิสัยกลัวลึกๆว่าเขียนแล้วคนอื่นจะว่าไม่ดี ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นกำแพงลมยืนขวางเราอยู่

สิ่งหนึ่งที่ผมได้มากจากการอ่าน blog  คือ  หยิบเรื่องดีๆไปใช้เป็นตัวอย่างวิธีการเล่าเรื่อง  ในหลายๆเวทีตลาดนัดความรู้     ผมยังได้วิธีคิดดีๆ ที่เอาไปใช้กับชีวิตส่วนตัวได้อีก  เช่น บางแง่มุมของการทำงานกับชุมชนจากคุณชายขอบ, แง่มุมการเลี้ยงลูกที่ไม่มีในตำรา (ในฐานะที่ผมกำลังจะเป็นพ่อมือใหม่) จากคุณหมอพิเชฐ  บ้านตาก    หรือแม้แต่บางครั้ง  ได้รู้สึกผ่อนคลายจากการอ่านบันทึกเล็กๆบางฉบับที่เป็นเรื่องเบาๆ   มันก็ OK นะ

Gotoknow  มันจึงน่าจะเป็นการออก start แบบลงมือทำก่อน  แล้วเรียนรู้กับมัน    ที่แน่ๆเรียนรู้ว่าต้องพัฒนาอย่างไรต่อ ใน  version 2    โดย 2 creators ที่อยู่เบื้องหลัง  ดร.จันทวรรณ และ ดร. ธวัชชัย ผู้ที่คอยประดิษฐ์เครื่องมือตัวนี้ให้เราได้ใช้  และคอยปรับแต่งให้มันเหมาะกับ "จริต" ของ Thai users  มากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16093เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความชัดเจนของการ ลปรร. หากจะวัดสิ่งที่ปรากฏเพียงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์  ผมคิดเห็นว่าค่อนข้างจะติดแข็งๆไปหน่อยหนึ่ง   มีอีกหลายสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่ถูกนำขึ้นหน้าจอ   ผมเข้าใจว่าปรากฎการณ์นี้เป็นเรื่องปกติสำหรับบ้านเรา    สิ่งหนึ่งที่เห็น  คือ จำนวนคนอ่านเยอะ  แต่คนเข้ามา post ใน comment  ดูเหมือนจะน้อย    ยิ่งเป็น website  ยิ่งนิ่งเข้าไปใหญ่เลย

ขอบคุณครับที่สนใจประเด็นนี้ จะมองว่าแข็งก็ยอมรับครับ แต่ว่าในความแข็งของการมองในอีกมุมของผมแล้ว เห็นว่า จำนวนการอ่านที่เยอะ เป็นการ Share (KS) มากกว่า ส่วน gotoknow นั้นทำหน้าที่เป็น KA

แต่ประเด็นที่ผมตั้งข้อสังเกตุ คือว่ากระบวนการ KM นั้นเกิดขึ้นในส่วนหนึ่ง(บน Bolg gotoknow.org) เท่านั้น แต่การ ลปรร.กันมีน้อยมากในชุมชน thaiukm ดูจาก comment = 0 หรือมีบ้างเล็กน้อย

ส่วนจะได้อะไรจากการ Share บน gotoknow ก็เป็นประเด็นที่น่าจะเป็นผลพลอยได้ล่ะครับ คนละอย่างกับการ ลปรร.

version 2 ของ gotoknow ก็คงต้องพัฒนาให้สังเคราะห์ ความรู้ที่ได้จากการ share ในบล็อก - ชุมชนต่างๆ

จะพยายามทำคะ:) มีความสุขและสนุกที่ได้ทำคะ 

แต่ก็นั่นหละคะ "ท้าทาย" เพราะการทำ Knowledge Mining ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยคะสำหรับภาษาไทย อันนี้เรียกว่าต้องคุยกันเรื่อง Natuพal language Processing คะ

แต่ถ้าในเบื้องต้นแล้ว การช่วยกันกำหนด Tags หรือ Keywords ของบันทึก ก็จะช่วยให้เกิดการทำ Mining ได้ระดับหนึ่งคะ และเราจะใช้เทคนิค Tagging นี้มากขึ้นในหลายๆ จุดในเวอร์ชันสองคะ เรียกว่า เตรียมพร้อมเต็มที่สำหรับการเป็น Folksonomy คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท