R2R from Patho-Otop (3) : โครงการลดเวลาการทดสอบ reticulocyte count


"นำความรู้จากประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนางานประจำ"แถมด้วยการ "ได้ความรู้ใหม่"
   พี่เม่ยได้รับมอบหมาย (ผ่านทางบล็อกนี้แหล่ะค่ะ) ให้เขียนบันทึกเกี่ยวกับ โครงการพัฒนางานที่จัดเป็น R2R เรื่อง “การลดเวลาการทดสอบ reticulocyte count” ซึ่งเป็นโครงการของทีมเก็บตกแห่ง ฮีมาโตหรรษา  เป็นการเขียนต่อเนื่องจากบันทึกของ CKO ซึ่งได้เล่าไว้ก่อนหน้านี้
Reticulocyte count เป็นงานบริการทดสอบหนึ่งของห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนที่ไม่มีนิวเคลียสแล้ว แต่ยังมี RNA หลงเหลืออยู่ ซึ่งคนปกติพบในกระแสเลือดน้อยมาก (0.2 - 2.0%)  จะพบสูงขึ้นในภาวะที่ร่างกายต้องมีการสร้างเม็ดเลือดมากขึ้น แพทย์มักจะสั่งตรวจเพื่อใช้ในการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาโรคโลหิตจางบางชนิด
 
(ซ้ายไปขวา) ลัดดาวัลย์,นวลตา,กันตา สามแรงแข็งขัน ผู้จัดทำโครงการนี้
ที่มาของปัญหา  
   ในขั้นตอนการทดสอบต้องมีการอุ่นส่วนผสม (เลือด+ สีย้อม)ไว้ที่อุณหภูมิห้องนานถึง 30 นาที ก่อนนำมาตรวจนับ ทำให้การรายงานผลต้องใช้เวลาถึง 58 นาทีต่อราย (โดยเฉลี่ย) และเนื่องจากต้องใช้เวลาในการทดสอบนานจึงต้อง กำหนดเวลางดรับตรวจตั้งแต่เวลา 14.30.ของทุกวัน เป็นเหตุให้มีข้อร้องเรียนให้ขยายเวลารับตรวจให้เป็น 15.30 น.
   จากการสังเกตขณะปฏิบัติงานและค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา พบว่าการเพิ่มอุณหภูมิจะช่วยเร่งปฏิกิริยาให้เร็วขึ้นได้ ทีมงานจึงคิดศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อลดเวลาการทดสอบนี้ 
วัตถุประสงค์
   เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยผล และลดปัญหาข้อร้องเรียน
ตัวชี้วัด
   1)ลดระยะเวลาการรอคอยผลให้น้อยกว่า 58 นาที 
   2)ปัญหาข้อร้องเรียน ลดลงหรือหมดไป
ผลการดำเนินงาน 
เริ่มจากการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของการเกิดปฏิกิริยา ที่อุณหภูมิและเวลาต่างกัน ได้ข้อสรุปว่า
"ที่อุณหภูมิ 37 องศานาน 15 นาที ให้ผลดีที่สุด"
    จากนั้นก็นำมาใช้งาน และติดตามประเมินผลด้วยตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ พบว่าระยะเวลาการรอคอยผลการทดสอบ reticulocyte count ลดลง จาก 58 นาทีเหลือเพียง 30 นาทีต่อราย นอกจากนี้จำนวนข้อร้องเรียนลดลง จากเดือนละ 4 ราย เป็น 0-1 ราย  สร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน นอกจากนี้ทีมงานพบว่าวิธีใหม่นี้ทำให้การติดสีคมชัดขึ้น เพิ่มความแม่นยำในการตรวจนับด้วย
    นับว่าเป็นความสำเร็จของการ "นำความรู้จากประสบการณ์มาใช้ในการพัฒนางานประจำ" แถมด้วยการ "ได้ความรู้ใหม่" จึงจัดเป็น R2R ที่ดีอีกโครงการหนึ่งค่ะ
หมายเลขบันทึก: 16079เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2006 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอเสนอให้เขียนเป็นรายงานผลการวิยลงวารสารเทคนิคการแพทย์ด้วย    ลงใน section Technical Report (ไม่ทราบว่ามีไหม)

วิจารณ์ พานิช

เรียน อ.วิจารณ์ ค่ะ
ได้บอกให้ทีมผู้จัดทำทั้งสามเข้ามาอ่านคำแนะนำของอาจารย์แล้วค่ะ ดูท่าทางมุ่งมั่นที่จะ "เขียน" ค่ะ
ชวดี

เข้ามาติดตามอ่านบันทึก r2r เก่าๆ เก็บเกี่ยวเป็นความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท