คำถาม..สุดยอดฮิต...ติดปากชาวกรมอนามัย


ถามอะไร...ตอบยากชะมัดเลย

    ดิฉันขอเปิดคอลัมภ์นี้...เพื่อนำเสนอ...

         คำถาม(KM)..สุดยอดฮิต...ติดปากชาวกรมอนามัย  มาเล่าสู่กันฟัง

Concept ของการเขียนคอลัมภ์นี้ ขอเป็นแบบ...มุมสบาย...สบาย...สไตล์KM ...นะค่ะ
กติกา      มีอยู่ว่า ดิฉันจะพยายามประมวลคำถามของชาวกรมอนามัยและอาจเป็นนอกกรมฯที่ส่งคำถามมาทางสายโทรศัพท์บ้าง  จากการถามแบบ F2F(Face to Face) จากการถาม-ตอบในช่วงsite visit หน่วยงานของกรมฯบ้างมาเล่าสู่กันฟัง...(ตามข้อเสนอของท่านผู้บริหารKM และแฟนๆ...ฮิ..ฮิ...  ที่ร้องขอเข้ามา (พูดให้ดูดี๊...ดูดี...สักหน่อย)

การเล่าเรื่อง จะเล่าครั้งละ1คำถาม

ระยะเวลา ...ไม่แน่นอนค่ะ...สุดแต่ใจจะไข่วคว้า หมายถึง สดวกเมื่อไร ก็จะเขียนนะค่ะ  ช่วงไหนติดงานด่วน...ถึงด่วนที่สุด..ก็อาจหายไป..เพื่อเข้าสู่สนามสงครามบ้าง (ลุยงานด่วน..) และช่วงไหนออกรบ(ออกไปต่างจังหวัด ด้วยเหตุผลตามหน้าที่) ก็ขออภัยจะหายไปบ้างค่ะ
การตอบคำถาม ดิฉันขออนุญาตตอบบนพื้นฐานประสบการณ์ในการทำKM จากเสี้ยวหนึ่งของสมองอันน้อยนิด...หากส่วนใดสามารถนำทฤษฎีมาเชื่อมโยงให้ดูขลังได้ ก็จะเขียนลงไปด้วยค่ะ...

ด้วยเหตุนี้ ...ข้อพึงระวังสำหรับท่านผู้อ่าน คือ ...โปรดใช้วิจารณญาณในการเรียนรู้

หากท่านใดประสงค์ร่วมแสดงความคิดเห็นจะเป็นพระคุณยิ่งค่ะ...เพื่อเปิดโลกทัศน์...เสมือนหนึ่ง...โลกทั้งโลกเป็นห้องทดลอง  KM และเพื่อเป้าหมายสุดท้ายค่ะ พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กรของเรา  ประเทศของเราค่ะ


คำถามแรก จาก คุณสุกัญญา อุชชิน หรือคุณชมพู่...ถามบ่อยมาก...จนอายค่ะ..ว่า...ชอบมากเลยเวลาพี่สรุปประเด็นจากเรื่องที่เวลาเชิญวิทยากรมาบรรยายให้ฟัง พี่มีเทคนิคอย่างไร? เล่าให้หนูฟังหน่อยสิ...
                  พี่สร้อยทอง เตชะเสน บอกดิฉันว่า...ไหน...ไหน...ยูบอกมาซิ...เวลายู capture เรื่องเล่า ยูใช้เทคนิคอะไร? 
                  คำถามนี้ฮิตที่สุด ตั้งแต่กระแส...การTrain Faเกิดขึ้น เพราะ KM Team ที่ฝึก รู้สึกว่ามันยากส์แฮะ...
สรุปประเด็นคำถาม คือ ในการทำหน้าที่ note takerที่ดี  ควรใช้เทคนิคอย่างไร เพื่อการcapture ?

ตอบ  ถามอะไร...ตอบยากชะมัดเลย


        ดิฉันรู้แต่ว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ ดิฉันจะตั้งใจฟังอย่างมาก ฟังให้รู้ ฟังให้เข้าใจว่าคนพูดกำลังพูดอะไร หมายถึงอะไร ถ้าเป็นการฟังในระหว่างการทำหน้าที่Fa ดิฉันก็จะขอตั้งกติการ่วมกันในกลุ่ม ลปรร. ว่า หากเวลาผู้พูดเล่าเรื่อง  หากมีประเด็นที่ดิฉันหรือสมาชิกกลุ่มเกิดความสนใจเพิ่มเติมก็ขออนุญาต ซักถามเพื่อการเรียนรู้นะค่ะ  เพราะด้วยวัยขนาดนี้บางทีรอจบสุดท้ายบางครั้งก็ลืม การถามเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อควานหา tacit จากเรื่องเล่าค่ะ ...อย่าคิดว่าไป interupt หรือถามเพื่อลองวิชานะค่ะ  แล้วสมาชิกกลุ่มก็จะโอเคเข้าใจว่านี่คือ กติการ่วมกัน

        เพราะฉะนั้นเมื่อตั้งใจฟังอย่างดีแล้ว ดิฉันก็จะสอบถามบ้างในสิ่งที่ควรรู้ ในสิ่งที่เป็นกลเม็ดเด็ดพลายสู่ความสำเร็จ  และถามเพื่อสอบทานว่า...ที่เราฟัง และตีความนั้นถูกต้องตามความหมายที่ผู้เล่าเรื่อง...ใช่หรือไม่
        และระหว่างที่ฟัง ก็จะคิดตามนะค่ะ เวลาคิดดิฉันจะใช้เทคนิคของการวิเคราะห์(analysis) และสังเคราะห์(synthesis) บอกไม่ถูกค่ะ คุณชมพู่...จังหวะไหนวิเคราะห์ จังหวะไหนสังเคราะห์ ดูเหมือนมันจะเป็นแบบอัตโนมัตินะค่ะ (แบบเสียบสวิทซ์ปุ๊บ เครื่องก็เดินปั๊บ) แล้วก็จดบันทึกไป...


        และเผอิญเมื่อวันเสาร์ ดิฉันนั่งรีดผ้าไป ลูกชายอ่านหนังสือสอบไป  แว่วเสียงที่ลูกกำลังท่องหนังสือ คือคำว่า สุ-จิ-ปุ-ลิ ...ลูก..ท่องต่อว่า


สุ. คือ สุต การฟัง ข้อนี้ได้แก่การแสวงหาความรู้  คนจะเป็นปราชญ์ได้ต้องฟังอย่างมากและอ่านมากด้วย


จิ. ออกจาก จินตนะ แปลว่า ความคิด ในที่นี้ท่าน(พระยาอุปกิตศิลปสาร) หมายความว่า ให้ใช้ความคิด  กล่าวคือ เมื่อเราฟังหรืออ่านเรื่องราวใดๆ เราต้องคิดตามไปด้วย ไม่ใช่ปล่อยจิตไปตามยถากรรมอย่างฟังเสียงนกเสียงกา


ปุ. หัวใจตัวที่3 ออกจาก ปุจฉา ว่าการถาม ผู้ที่จะเป็นปราชญ์ ต้องพยายามหาความรู้ในการถามด้วย  การทะนงตัวว่าเรารู้มาก1 ดูถูกผู้อื่นว่ไม่รู้1 และการถือเกียรติว่า ไม่ควรถามคนต่ำต้อยกว่าตน1 ทั้ง3นี้ เป็นมารที่จะรั้งเราให้ลงจากฐานะเป็นนักปราชญ์


ลิ. หัวใจนักปราชญ์ตัวที่4 ลิ มาจากคำว่า ลิขิต แปลว่า เขียนไว้ กล่าวคือท่านให้บันทึกข้อความที่ควรรู้ควรจำไว้ นี่แหละสำคัญกว่าอื่น เพราะเป็นการแสดงผลของการฟัง การอ่าน การใข้ความคิด และการถาม คือการสอบสวนของผู้ที่จะเป็นนักปราชญ์


ทั้งหมดนี้ เป็นสาระการเรียนรู้ วิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ เรื่อง "หัวใจนักปราชญ์" ...หนังสือเรียนของนายธีรวัต เลี้ยงพันธุ์สกุล ...
           ดิฉันเลยบอกลูกว่า...อ่านอีกครั้งซีลูก...ขอบคุณหนึ่ง(ชื่อเล่นของลูกชายค่ะ)มากเลย...แม่ได้คำตอบให้กับเพื่อนแม่...แล้วครับ

           คุณ...คุณ...ว่าอย่างไรค่ะ 
                                           เอ! คำตอบข้อนี้คือ สุ-จิ-ปุ-ลิ...รึปล่าว!!ค่ะ
                                                                   

คุณเห็น...คุณคิด...เหมือนเช่นดิฉันรึเปล่า...โปรดร่วมลปรร.ด้วยค่ะ...Bye...Ka' *_*

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 16058เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2006 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เราเห็นด้วยอย่างยิ่งกับสิ่งคุณศรีวิภา เล่ามาทั้งหมด แต่ว่าคนที่จะมีลักษณะแบบนี้ ไม่ได้หาง่ายนะคะ  ในความรู้สึกของตัวเองที่ได้สัมผัส (ตั้งแต่รู้จักกันมาก็นานมากเลย ตั้งแต่อยู่ศูนย์1) เขาเป็นผู้ฟังที่ดี มีข้อคิดอยู่เสมอเวลาคุยกัน  คุยด้วยแล้วอยากคุยอีก เป็นผู้หญิงที่มีเสน่ห์นะตัวเอง(นี่ถ้าเป็นชายคงจีบแล้วแหละ)ซึ่งเรากำลังพยายามจะทำอย่างที่คุณศรีวิภาบอกนะ 

ผมเห็นด้วยว่าการสรุปจับความเป็นเรื่องไม่ง่าย ทั้งการทำ และการบอกวิธีทำ อาจจะเป็น tacit knowledge ขนานแท้และดั้งเดิมชนิดที่แคะไม่ออกง่ายๆ

หลักสำคัญคือ deep listening with conceptualisation นะครับ

บอกแล้วไงว่าบอกยาก ว่าทำไง ทั้ง deep listening หรือ conceptualisation

ผมเข้าใจเอาเองว่า deep listening เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเราหยุดตัดสิน (ชอบไม่ชอบ ใช่ไม่ใช่) และมีปฏิกริยา( ฉันว่าแบบนี้นะ ฉันว่าขี้ฝอยน่าดูเลย) กับทุกคำพูดที่ได้ยิน

ส่วน conceptualisation เกิดพร้อมกับความสามารถในการปะติดปะต่อเรื่องราวที่ได้ยิน ภายใต้กรอบความคิดใด กรอบความคิดหนึ่ง แล้วลองถามตัวเองว่ามันสรุปอีกแบบได้ไหม โดยไม่พยายามบอกว่าแบบหนึ่งถูกน้อยกว่าหรือมากกว่าอีกแบบหนึ่ง

ใครที่ไม่เคยหัดตั้งกรอบความคิดในเรื่องที่ได้มีโอกาสรับรู้ ก็จะมีความสามารถในการ conceptualise o้อยกว่าคนที่ฝึกฝนบ่อยๆ

เห็นด้วยกับหลักสุจิปุลิค่ะ และมีหลักอีกอย่างคือถ้าจดตัวหนังสือที่เล็กและใช้ปากกาเขียนแผ่นใสจะทำให้จดได้เร็วขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท