ผลกระทบเรื่องการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ท


ปํญหาในการคืนภาษี

               
                             
                 กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงการคลัง  ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร
เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารประเทศ  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สำคัญทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจเอกชน  และของประเทศในเวทีโลกด้วย
ทำให้รัฐบาลต้องนำระบบ  E-Govermment  มาใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้าน  IT ให้แก่ระบบราชการทั้งระบบ  กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานหนึ่งในโครงการนำร่องของรัฐบาลในการนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ตามที่กรมสรรพากรมีนโยบายจะ
เป็น  e-Revenue  ชั้นนำของประเทศ โดยให้บริการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีผ่านระบบ
ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2544  สำหรับประเภทภาษีที่ยื่นเป็นแบบแรก
คือ ภ.พ.30
                สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้กำหนดให้ยื่นแบบและชำระภาษีตั้งแต่ปีภาษี 2545  แต่ในที่นี้จะพูดถึงการยื่นแบบและชำระภาษีตั้งแต่ปีภาษี 2547  เพราะตั้งแต่ปีภาษี 2547 เป็นต้นไป จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุพการีทั้งของตัวเอง พ่อตาแม่ยาย พ่อสามีแม่สามี แต่สำหรับหลักเกณฑ์ในการนี้ตามระเบียบของกรมสรรพากร ตัวบุพการีที่จะนำมาหักลดหย่อนได้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.    จะต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2.    มีเงินได้ในปีภาษี นั้น ๆ ไม่เกิน 30,000 บาท
3.    สำหรับบุตรที่จะนำบุพการีของตัวเองไปหัก จะนำไปหัก เพียงคนใดคนหนึ่ง เช่น คนแรกนำพ่อไปหักแล้ว คนที่สองหรือคนที่สามจะนำไปหักอีกไม่ได้  และสำหรับในส่วนของ พ่อตาแม่ยาย หรือ พ่อสามีแม่สามี จะนำมาหักได้คู่สมรสจะต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้ และจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นด้วย

                   กรมสรรพากรประชาสัมพันธ์ว่าถ้าในกรณีที่ยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจะได้รับการคืนภาษีที่รวดเร็ว เพื่อเป็นการคืนภาษีได้อย่างรวดเร็วจริง ๆ  ทำให้การตรวจสอบในเรื่องการหักค่าลดหย่อนบุพการีไม่เข้มเท่าที่ควร  เป็นไปได้ว่าอาจมีการตรวจสอบหรืออาจจะไม่มีการตรวจสอบก็เป็นได้ ทำให้ต่อมาพบว่ามีผู้เสียภาษีบางรายที่ไม่มีสิทธินำบุพการีของตนมาหักได้ ทำให้เกิดการที่จะต้องนำเงินคืนในส่วนที่หักลดหย่อนไม่ถูกต้องมาคืน บางคนก็บ่นมาว่าเงินได้ใช้หมดแล้ว  แต่ก็ต้องรีบนำมาคืนเพราะในระเบียบของการรับเงินคืนภาษีเกินไป จะต้องนำมาคืนภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับหนังสือให้นำเงินมาคืน มิฉะนั้นแล้วจะต้องเสียเงินเพิ่ม(ดอกเบี้ย) ในอัตรา 7.5% ต่อปี (ในการนี้เริ่มมีผู้เสียภาษีทยอยกันนำเงินมาคืนบางแล้ว ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 เป็นต้นมา รวมจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 160 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้นสี่แสนกว่าบาท แต่ยังมีผู้ค้างชำระยังไม่นำมาคืนประมาณ 35 ราย โดยจะเป็นหน้าที่ของส่วนกฎหมายและเร่งรัดหนี้ภาษีอากรค้างจะเป็นผู้เร่งรัดต่อไป) 

        ในการนี้เป็นการทำให้ผู้เสียภาษีเดือดร้อน ควรที่จะตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียก่อน หรือเร่งให้ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่คืนภาษีระดมกำลังในการตรวจสอบก่อนคืน เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดในการคืนเงินภาษี  เพื่อเป็นการสนองนโยบายของกรมสรรพากรเองและเพื่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีที่ผู้เสียภาษีจะพึงมีต่อกรมสรรพากรต่อไป

 

 เอกสารอ้างอิง 
รายงานการรับคืนเงินภาษีอากรที่จ่ายเกินไป จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบารัก 3  ส่งไปยัง
สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15986เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยังงงเกี่ยวกับคำว่ามีเงินได้, ไม่มีเงินได้อยู่ค่ะ เคยถามเจ้าหน้าที่สรรพากรอำเภอ ว่าสามีมีอาชีพขับรถรับจ้าง ถือว่ามีเงินได้หรือไม่ ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่สองอำเภอตอบไม่เหมือนกัน ก็เลยใส่ว่าสามีมีเงินได้ไว้ก่อนทำให้ไม่สามารถนำข้อลดหย่อนภาษีของบุพการีของสามีมาใช้ได้ น่าจะมีคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับคำว่ามีเงินได้ให้ประชาชนได้รู้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท