เจตคติของคณาจารย์มหาวิทยาลัยกรุงเทพต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการสอน


ความสำคัญและปัญหา
ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น
สืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้จัดตั้งกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร หรือที่รู้จักกัน ชื่อของกระทรวงไอซีที (Ministry of information and Communication Technology : ICT) ซึ่งมีหน้าที่หลักคือ ส่งเสริมและประสานงานกับทุกส่วน (หน่วย) อย่างมีประสิทธิภาพในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศด้วย ICT รวมถึงพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ICT ในภูมิภาค และใช้ ICT เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ประกอบกับประชากรในประเทศมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การทำงาน หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน    การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปี  พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2546 พบว่า จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในครัวเรือนต่างๆ  มีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นจาก  5.75 คน/ประชากร 100 คน เพิ่มเป็น 9.6 คน/ประชากร 100 คน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)  นอกจากนี้จากสถิติการใช้งานคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546  มีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากถึง 11.3 ล้านคน (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประกอบในการทำงานมากขึ้น  จึงเป็นแรงผลักดันให้สถาบันการศึกษาได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   แต่เนื่องจากสถาบันการศึกษาในแต่ละแห่งมีบุคลากรเป็นจำนวนมาก และบุคลากรเหล่านั้นมีลักษณะทางประชากรที่ไม่เหมือนกัน เช่น เพศ  อายุ ตลอดจนประการณ์และทัศนคติที่แตกต่างกัน จึงทำให้การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
                มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสถาบันการศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งให้การสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนอย่างเต็มที่  เพื่อสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสำหรับคณาจารย์ทุกท่าน มีการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในทุกห้องเรียน นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้นักศึกษาเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (E-Learning) เพื่อเป็นการเพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนอีกด้วย รวมถึงการให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับคณาจารย์และนักศึกษา รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียน   การสอนของคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
                การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของคณาจารย์นั้นยังมีปัญหาอยู่ อย่างเช่น คณาจารย์ยังมีความต้องการฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ ที่มีประสิทธิภาพ  และการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อสื่อสาร        เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านการเรียนการสอนให้มากที่สุด   ดังนั้น  ควรมีการยกระดับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ  มีการจัดอบรมการใช้ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ         แก่คณาจารย์และควรแก้ปัญหาเรื่องเครือข่ายเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบของมหาวิทยาลัยกับสถานที่อื่นๆ ด้วย               
ที่มา  วารสาร สออ. ประเทศไทย                                     
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15983เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจดีคะ   แต่อยากให้เน้นข้อความบางข้อความบ้างคะ จะได้อ่านง่ายขึ้น  แต่อาจจะเป็น style การเขียนของแต่ละคนก็ได้  ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้เขียนเนื้อหาที่มีสาระต่อไปเรื่อย ๆ นะคะ

http://gotoknow.org/panarat

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท