ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในระบบการเรียนทางไกล (e-Learn


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในระบบการเรียนทางไกล (e-Learning)
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในระบบการเรียนทางไกล
(e – Learning)
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพบว่า สื่อที่มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทในการศึกษาทางไกลในอนาคตมากขึ้นคือสื่อที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ 2 ทาง ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยการสื่อสารผ่านดาวเทียม เส้นใยนำแสง สายเคเบิ้ลที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะการติดต่อผ่านทางสื่อคอมพิวเตอร์ ได้มีการนำมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนกิจการรมการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์เกี่ยวกับการระดมสมอง การแก้ปัญหา การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การร่วมกันเกี่ยวกับความรู้ นอกจากนั้นการติดต่อทางสื่อคอมพิวเตอร์ยังเป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้จากสถาบันไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบในการประเมินการเรียนรู้ทาง e- Learning อาจารย์ ผู้เรียน วิธีการประเมินการเรียนรู้ทาง e- Learning การให้ข้อมูลย้อนกลับ องค์ประกอบนี้เป็นตัวแปรสำคัญในการนำมาวิจัยในระบบการเรียนการทางไกลในระบบ e- Learning และมีบทบาทสำคัญการกำหนดกรอบรูปแบบวิธีการเรียนการสอนในเหมาะสมระหว่างผู้สอนและผู้เรียนให้มีความสัมพันธ์ต่อการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด
ข้อดีการเรียนรู้ทาง e- Learning ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้สามารถทำงานผ่านทาง e-mail มีส่วนร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา นักศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ในรูปแบบของแบบทดสอบของระบบข้อสอบแบบปรนัยของอาจารย์ อาจารย์และกลุ่มนักศึกษาสามารถประเมินผ่านทาง Wab pages ได้ และในแนวการเรียนการสอนก็สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับผ่าน e-mail ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถให้ข้อมูลได้ทั้งรายบุคลและเป็นกลุ่ม ซึ่งการเรียนในระบบทางไกลก็สามารถทำให้นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มนักศึกษาด้วยกันได้
ข้อเสียการเรียนรู้ทาง e- Learning ผู้เรียนอาจต้องการเครื่องมือเป็นพิเศษในการประเมินทางอินเตอร์เน็ต เช่นทำอย่างไรจึงจะส่งแฟ้มข้อมูลไปพร้อมกันการส่ง e-mail ได้เป็นต้น หรือการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อใหม่ หรืออาจจะกังวลเกี่ยวกับความยุ่งยากในการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการประเมิน และในการประเมินทางอินเตอร์เน็ตในเวลาที่ต่างกันและใช้เวลาในการศึกษาต่างกัน ในขณะที่อาจารย์มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาที่จะควบคุมเกี่ยวกับเวลาในการส่งงาน อาจารย์ไม่สามารถทราบได้ว่า ผู้เรียนทำงานด้วยตนเองหรือมีคนอื่นมาช่วยทำให้และไม่รู้ว่าผู้เรียนที่เข้ามาทำการประเมินเป็นตัวจริงหรือไม่ ตาม password ที่ใช้หรือไม่ และก็อาจารย์ไม่สามารถควบคุมแหล่งที่มาของการเข้ามาเรียนของผู้เรียนในระหว่างการทำการบ้านได้
ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนทาง e- Learning แยกได้เป็น 2 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้
1. ปัญหาด้านโครงสร้างเทคโนโลยี จากผลการวิจัย  เช่น นักศึกษาไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไว้ใช้งานส่วนตัว ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันมีปัญหา/ขัดข้องบ่อย ความเร็วในการเรียกใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความล่าช้า ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยส่วยใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ทีมีความเร็วต่ำ(56.6 กิโลไบท์) ทำให้การเรียนการสอนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ขึ้นกับความเร็วในการสื่อสารภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าวด้วย
2. ปัญหาด้านความพร้อมของนักศึกษา ปัญหาที่พบมากที่สุดเช่น ไม่มีเวลาในการศึกษาจากอินเตอร์เน็ต ไม่มีทักษะพื้นฐานในการใช้อินเตอร์เน็ต ทำให้ส่งผลอย่างมากต่อการเรียนผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้เรียนที่มีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์มาก่อนจะมีความสามารถในการใช้บทเรียนทางอินเตอร์เน็ตได้ดีกว่า นอกจากนี้ในการวิจัยได้ว่า ถ้าผู้เรียนมีทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะช่วยให้ผู้เรียนประหยัดเวลาในการเรียนได้มากและถ้าไม่มีทักษะด้านนี้จะทำให้เป็นปัญหาในการเรียนรู้อย่างมาก
บทสรุป สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต พบว่า อุปสรรคในการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตสรุปได้ดังนี้
1. การขาดความรู้และทักษะพื้นฐานด้านอินเตอร์เน็ต
2. การขาดทักษะในการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
3. การขาดคามคุ้นเคยกับเทคโนโลยี
4. การขาดความสามารถทางด้านภาษอังกฤษ
การเรียนการสอนทางไกลในระบบ e- Learning เป็นการเรียนที่เปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาองค์ประกอบด่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เช่นองค์ประกอบทีใช้ในการประเมินปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนตลอดจนข้อดี  – ข้อเสีย เพี่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความสามารถที่แท้จริงของนักศึกษา อันจะทำให้ความสามารถวัดและประเมินผู้เรียนได้สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนทางไกล และผลการเรียนการสอนมีความเป็นมาตรฐานยุติธรรมสำหรับผู้เรียนทุกคนและนำสารสนเทศที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนได้อย่างถูกต้องมากที่สุด
อ้างอิง
วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม- มิถุนายน 2548
สุมาลี สังข์ศรี, 2545 การจัดการศึกษานอกระบบด้วยวิธีการศึกษาทางไกลเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15982เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท