เตรียมตัว...อย่างไร ...ถ้าทีมเราจะ Train Fa


มิตรภาพที่ดี...ความสนุกสนาน...และสารพันเรื่องราว เป็นความสุข..สุดแสนพิเศษ...ที่เกิดภายใต้บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้...ทั้ง...น...น้านค่ะ

 

เรื่องมีอยู่ว่า...

และแล้ว ... ทีมเราก็ออกเดินทางจากกรมอนามัย วันที่ 6 ก.พ.49 เวลา 7.00 น. เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองย่าโม จุดหมายปลายทางอยู่ที่ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา และเวลาเริ่มต้นงาน คือ เวลา 10.00 น. การไปครั้งนี้ไม่ต่างจาก 2 ครั้งที่ผ่านมา คือ การทำหน้าที่ทีมวิทยากร ในการ Train Facilitator และ Note taker ต่างกันเล็กน้อย ในขั้นตอนของ การวางแผน และเตรียมการ

ที่ผ่านๆ มา 2 ครั้ง เราขอให้คุณอำนวยทั้งหลาย (ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งหมด) ทำหน้าที่ 2 อย่าง ในการเรียนรู้

หนึ่ง คือ เป็นผู้เล่าเรื่องความสำเร็จ เพื่อรับทราบบทบาทและเรียนรู้ ... 1.1 เทคนิคการเล่าเรื่อง 1.2 สัมผัสด้วยตนเอง กับความรู้สึกของคุณกิจ ในฐานะของผู้เล่าเรื่อง พร้อมสังเกตว่าเรื่องเล่าที่ดีเป็นอย่างไร

สอง การทำหน้าที่ Facilitatorและ Note taker สำหรับบางท่านที่ถูกคัดเลือก เพื่อเรียนรู้ถึงบทบาทการทำหน้าที่ ทั้งสองและเทคนิคการเป็น Fa / Note taker ที่ดี สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด จะได้เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง ทีมวิทยากรจะเป็น FA กลางที่เข้าไปทำหน้าที่สนับสนุน / ช่วย / กระตุ้นให้ทุกท่าน ได้เรียนรู้บทบาทที่ชัดเจนขึ้น

แต่สรุปบทเรียนที่ผ่าน พบว่าในขณะที่สมาชิกทำหน้าที่ตามข้อที่ 1 คือเป็นผู้เล่า ก็อาจเพลินไปบ้าง ... มัวแต่เกร็ง อยู่กับการเตรียมเรื่องเล่าของตัวเองบ้าง ... หรือพอเล่าเสร็จก็ ... โล่งอกไปที ... ความตั้งใจฟังคนอื่นก็ลดลงบ้าง (หลังจากภาระของตนถูกผ่อนคลาย) และเช่นกัน สมาชิกที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็น fa ของกลุ่ม ... ก็อาจเผลอลืมสังเกต และใส่ใจกับบทบาทของ Fa / note taker ....การทำหน้าที่คนๆ เดียวใน2-3 บทบาท จึงเป็นขั้นตอนที่ทีมงาน ให้มอบการบ้านหลายอย่างมากไป (หรือเปล่า???) จึงมีช่องว่างของการเก็บเกี่ยวทักษะได้ไม่เต็มที่นัก การแก้ไข ทีมเราจึงต้องคอยกระตุ้น และช่วยดึงสมาชิกกลุ่ม ... กลับมาสู่การเรียนรู้โดยการ AAR เป็นช่วงๆ

ทพ.บัญชา ภูมิอัครโภคินสำหรับการไปโคราชครั้งนี้ จึงทดลอง-ปรับใหม่ ให้ผู้ประสานงาน (เลขา KM ของศูนย์ 5) คุณเกวลิน วัฒนกูล (เลขา KM ศูนย์ฯ 5) หาคุณกิจตัวจริง มาเป็นผู้เล่าเรื่อง กำหนดเวลาในการเล่าเรื่อง 1/2 วัน (ของวันที่ 6 ก.พ.49) และ KM team ทำหน้าที่ Fa / Nt ของกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม (ขอเขียน Note taker ย่อๆ ว่า Nt) CKO ทพ.บัญชา ภูมิอัครโภคิน และพี่ยุบลรัตน์ ชาวงษ์ และหนุ่มน้อยอีก 1 คน (ขออภัยไม่ทราบว่า ชื่อ คุณสุพจน์ รื่นเริงกลิ่น รึเปล่า...ถ้าจำชื่อผิดขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้นะคะ) ... ถูกกำหนดให้เป็น observer แล้วทั้งหมด ก็ต้องโดดลงน้ำพร้อมกัน มีทีมเราเจ้าเดิม (พญ.นันทา พี่สร้อยทอง และศรีวิภา) ทำหน้าที่เป็นหน่วยกู้ชีพ ... แฮ่... แฮ่ ... (ผลักลงน้ำซ้ำ ฉุดขึ้นมาพอ ...ให้หายใจ ... แล้วผลักลงต่อ ... เพราะเวลานี้ คือการเรียนรู้ ไม่ลองซักที...แล้วจะรู้รสชาติได้อย่างไร) แล้วภาคบ่ายก็ ...

  1. ช่วยกันสกัดจากเรื่องเล่า ... ให้เป็น KA (สรุปปัจจัยความสำเร็จ ตามหัวปลา คือ ความสำเร็จในการดูแลผู้สูงอายุ)
  2. แบ่งกลุ่มใหม่-สรุปบทเรียน do/don't ของ  fa 1 กลุ่ม  do/don't ของ Nt 1 กลุ่ม do/don't ของสมาชิก 1 กลุ่ม สรุปค่านิยมในการดูแลผู้สูงอายุ 1 กลุ่ม และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับ ผู้เล่าเรื่องที่ดี / เรื่องเล่าที่ดี / สถานที่-บรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ 1 กลุ่ม

สนทนากลุ่มงานวันแรก ... ก็จบลงตามเวลาประชามติ คือ 6 โมงเย็น ด้วย ... ความอ่อนล้า ... แต่ทุกคนก็สุดแสน ... จะอดทน แล้ว ... ภาคค่ำ ... คุณหมอสุเทพ ผอ.ศูนย์ฯ 5 ... ก็พาทีมงาน 2 ฝั่ง (กรมฯ และศูนย์) ... ที่หัวใจ KM เดียวกัน ไปทานข้าว ... ทีมเราก็เพิ่งรู้ค่ะว่า ... ชาวศูนย์ ... ร้องเพลงไพเราะ ... เสนาะหูจริงๆ ... โดยเฉพาะ ... เพลงเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ... ที่ขับขาน โดย ผอ.รพ. ส่งเสริมสุขภาพ น.พ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา ... ลูกคอ ... เนี่ย ... ขยับจน ... เสียงซึ้งเชียว ...

วันที่สอง ก็เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่ม KM team ทั้งหมด เริ่มจากการทำตารางอิสรภาพ ต่อด้วยธารปัญญา Ladder Diagram เรา AAR เป็นช่วงๆ ในแต่ละ step ของการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นในช่วงท้ายสุดของการอบรมเราจึง AAR ด้วยคำถาม ... หมัดเดียว ... จากพี่สร้อยทอง คือ หลังจากการ train วันนี้แล้ว ท่านคิดว่าจะนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้นี้ ....ไปทำอะไรต่อ

คุณศรีวิภา กับกลุ่มสนทนา... คำตอบ และเรื่องราวทั้งหมด ดิฉันได้ขอให้คุณเกวลิน นำขึ้นเว็ปของ ศูนย์อนามัยที่ 5 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่า ... ตารางอิสรภาพ (อาจไม่สมบูรณ์นะคะ เพราะเวลาจำกัด ... ขอย้ำ) แต่ ... มติที่ประชุม ... ได้เรียนรู้ร่วมกันว่า ... บางระดับกระโดด ... ไป-มา ... การเคลียร์ในความหมายของคำแต่ละคำ ยังไม่ชัดเจน และทางศูนย์บอกว่า ...จะทำกันใหม่อีกครั้ง (เพราะศูนย์ฯ ให้ความสนใจเรื่องผู้สูงอายุ ... และมีเป้าหมายในการพัฒนาหน่วยงาน ให้เป็น Excellence ในเรื่องดังกล่าว) ... แต่ก็ขออนุโลม สมมุติว่าใช้ได้ไปก่อน ... เพื่อเรียนรู้ Step ต่อไป คือ การประเมินตนเอง และการใช้ตารางธารปัญญา และ Ladder Diagram ...แล้วเรื่องเล่าก็จบลง ... ด้วยประการฉะนี้ ... ค่ะ

สนทนากลุ่ม

นพ.สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมาเรื่องเล่าเรื่องนี้ ... ยังมีพระเอกอีกคน ... ที่ต้องขอเอ่ยนาม ... คือ ผอ. สุเทพ เพชรมาก ผอ.ศูนย์ฯ 5 ที่พยายามอยู่ร่วมกับเรา เกือบตลอดเวลา ... ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ... ซึ่งขออนุญาตชื่นชม ... ดังๆ ... นะคะ ... เพราะท่านลงช่วยตรวจคนใช้แทนลูกน้อง ... เพื่อให้คุณหมอ และลูกน้องของท่าน เข้าร่วมเรียนรู้ครั้งนี้ให้ได้ ... มากคน ... และมากเวลา ... ที่สุด และท่านก็ ...รีบมาเข้าร่วม observe และช่วยทีมเรา กับผู้เข้าประชุมเคลียร์ ... หลายๆ ประเด็น ... หลายๆ คำพูด ... ที่ต้องให้การให้เกิด ... ความกระจ่าง ... และในบางเรื่องที่ต้องการ ... การตัดสินใจ

ก่อนจบ ...

อยากชวน ... อีกครั้งสำหรับหลายๆ คน ... ที่ยังลังเลใจ ... หรือกังวลใจ กับการทำ KM ว่า ... ยังไม่ได้เริ่มอย่างจริงจัง ... มากนัก ... เพราะเกรง ... เล็งไม่ถูกเป้า ... โปรดลดความกังวลใจลงเถอะค่ะ ... ทำใจให้สบาย ... อ.นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ท่านเคยเขียนในบล็อก www.kmanamai.gotoknow.org ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ข้อเสนอแนะเล็กๆ จากบทสรุปการเยี่ยมชม KM ศูนย์อนามัยที่ 1 …

... อาจารย์ผมบอกไว้ ท่านเป็นคนอเมริกันสอน managment ชิ่อ Prof Ian Mayo Smith อยู่ U of connecticut ตอนนี้ท่านอายุมาก เกษียณแล้ว

ท่านเคยบอกว่า มีคนไปวิจัยบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ได้ข้อสรุปมา ข้อหนึ่ง คือ บริษัทส่วนใหญ่ ถือคติ Fire! Aim แปลว่า ยิงก่อน เล็งทีหลัง  ฟังดูแทม่งๆ แต่ประเด็นคือ อย่าเงื้อง่าราคาแพง เราไม่รู้หรอกว่าอะไรดีที่สุด ถูกที่สุด มัวแต่หาวิธีที่ดีที่สุด แล้วค่อยทำ สู้ลงมือทำ (fire คือ ยิงปืนไปเลย) แล้วตามดูว่าได้ผลยังไง (aim คือ มาส่องดูว่าตกลงเข้าเป้าหรือพลาดเป้าไปเท่าไร) ผมคิดว่านี่เป็นวิธีที่ดีกว่า ... 

แล้วคุณ ... หล่ะคะ ... คิดอย่างไร ... ที่ดิฉันเชียร์ ... เพราะนอกจากความรู้ที่ผุดขึ้น ในวงสนทนาแล้ว ... มิตรภาพที่ดี ... ความสนุกสนาน ... และสารพันเรื่องราว ... อย่างเช่น ความสามารถพิเศษ เช่น การขับขานเพลงจีน ... เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ... ก็ล้วนแล้วแต่ ... เป็นความสุข ... สุดแสนพิเศษ ... ที่เกิดภายใต้บรรยากาศ ของการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ... ทั้ง...น...น้านค่ะ                                             

                                                                         Bye…Bye…Ka'….


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15909เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนถามคุณจันทวรรณค่ะ ว่า ทำไมบันทึกของคุณศรีวิภานี้ไม่ขึ้นหน้าแรกของ Gotoknow ค่ะ ลองสังเกตมา 2 ครั้งแล้วค่ะ

ดิฉันเข้าไปตรวจสอบในฐานข้อมูลดูให้แล้วคะ ปรากฏว่าบล็อก http://kmanamai-srivipa.gotoknow.org  เป็นบล็อกส่วนตัวอยู่คะ ทำให้ไม่ปรากฏบันทึกใดๆ ขึ้นเมื่อบันทึก

ตอนนี้ดิฉันแก้ไขให้เรียบร้อยแล้ว

จันทวรรณ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท