AAR สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนางาน” ในทีมผู้จัด


เกิดบรรยากาศก็เป็นเชิงบวก ประมาณว่า ทำ เอ เอ อาร์ แล้ว เฮ เฮ ฮา ไปด้วย

วันนี้ ทีมผู้จัดสัมมนา (ปารมี เสาวรัตน์ จำนงค์ ชวดี อานุไร จำเป็น ณัฐิยา) ได้ประชุมทำ AAR กัน ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน สรุปได้ดังนี้

จุดมุ่งหมายในการจัดสัมมนาครั้งนี้ ดังได้กล่าวในบันทึกก่อนหน้านี้บ้างแล้วโดยสังเขป คือ
1. บุคลากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนางาน ผ่านกิจกรรมเรื่องเล่าความประทับใจ
2. เผยแพร่แนวคิดการจัดการความรู้ และ
3. เปิดตัวโครงการต่อเนื่อง Patho Otop 2

อะไรที่ได้เกิดคาด
1. ผู้เข้าร่วมสัมมนาสนใจแนวทาง KM มากขึ้น สังเกตจากการพูดคุยในระหว่างสัมมนา เช่น คลังเลือดวางแผนว่า จะนำเทคนิค AAR ไปใช้ในระหว่างเดินทางกลับจากการออกไปรับบริจาคเลือด หรือหลังจากกลับมาแล้ว ก็เห็นสมาชิกหน่วยเคมี กระตือรือร้น ที่จะบอกเล่าเรื่องดีให้คนอื่นรับรู้ผ่านการบันทึกบน blog เป็นต้น
2. มีโครงการเข้าร่วม Otop 2 มากว่าที่คิด

อะไรที่ได้น้อยกว่าที่คาด
1. สมาชิกทีม otop ที่ทำได้ดี (ได้รับรางวัล) ไปร่วมน้อย ตรงนี้ อาจเกิดจากหลายปัจจัยได้แก่ อาทิ:-
           แรงจูงใจในการไปสัมมนาไม่มี เนื่องจากมีการประกาศผลรางวัล Patho Otop ไปแล้ว
           ตารางการสัมมนาที่เผยแพร่ ดูเป็นกิจกรรมวิชาการมากเกินไป
           ไม่มีการสื่อสาร ชี้แจงเชิงรุก
2. กิจกรรม storytelling ยังติดขัด ผู้เล่ายังไม่รู้จุดประสงค์และบทบาทของตนเองชัดเจน สาเหตุน่าจะเป็นเพราะ การชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และ บทบาทของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ชัดเจน  
นอกจากนี้ facilitator บางคน ยังไม่สามารถช่วยกลุ่มให้ดำเนินการไปในแนวทางที่ควรจะเป็นได้ อาจเป็นเพราะ facilitator หลายคน ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม Patho Otop มาตั้งแต่ต้น จึงไม่เข้าใจโครงการชัดเจนลึกซึ้ง
3. หัวหน้าหน่วยและอาจารย์สนใจไปร่วมน้อย อาจเป็นเพราะไม่ทราบบทบาทตนเองในการสัมมนา รวมทั้ง ไม่ได้ร่วมกิจกรรม Patho Otop ตั้งแต่ต้น มองเห็นว่ากิจกรรมนี้ เป็นเรื่องของบุคลากรสาย ข ค ลูกจ้าง

ข้อเสนอแนะ และสิ่งที่จะปรับปรุงในคราวต่อไป

1. การจัดประชุม ไม่ได้จัดแบ่งทีมรับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ให้ชัดเจน ควรดึงบุคลากรเข้ามาเป็นทีมจัดงานมากกว่านี้ เพื่อการมีความรู้สึกมีส่วนร่วมมากขึ้น ฝ่ายต่างๆ ที่ต้องมีเช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ แสงเสียง ฝ่ายประชาสัมพันธ์งาน ฝ่ายสถานที่ ทีมพิธีกร ฝ่ายสันทนาการ เป็นต้น และเพื่อติดตามความพร้อมของการเตรียมงาน ควรจัดทำ check list รายการที่ต้องเตรียมต่างๆ ให้ครบถ้วน
2. การประชาสัมพันธ์ นอกจากใช้สื่อทางเอกสาร โปสเตอร์ วารสาร แล้ว อาจจำเป็นต้องมีการชี้แจงแบบ face to face หากต้องมีกิจกรรมกลุ่มที่ต้องให้ทำด้วย
3. การจัดนอกสถานที่ยังเป็นสิ่งที่ควรมี เพราะสร้างบรรยากาศ relax ส่วนการจัดในภาคมีอยู่แล้ว
4. จัดให้มีกิจกรรมสันทนาการเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้น
5. ควรแจกเอกสารล่วงหน้า
6. ไม่ควรมีเปลี่ยนสถานที่จัดประชุมกระทันหัน (อันเนื่องจากห้องพักไม่พอ) ในการสำรวจการเข้าร่วมประชุม ต้องสอบถามความต้องการห้องพักแต่เนิ่นๆ

การประชุมหลังการจัดประชุมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ทำ AAR รู้สึกดีมาก เพราะมีการพูดทั้งในส่วนบวก (ได้เกินคาด) เป็นกำลังใจให้ผู้จัดงาน และส่วนติดลบ (ได้น้อยกว่าที่คาด) รวมทั้งได้สิ่งที่ต้องปรับปรุงเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน บรรยากาศก็เป็นเชิงบวก ประมาณว่า ทำ เอ เอ อาร์ แล้ว เฮ เฮ ฮา ไปด้วย  ดีจริงๆ ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 15855เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ขอขอบคุณสำหรับแรงกายแรงใจที่ทีมลงไปค่ะ เห็นด้วยกับทั้งสามส่วนที่อาจารย์รายงานค่ะ ครอบคลุมจนไม่มีอะไรจะเพิ่มเติมเอาเสียเลย ต้องขอปรบมือดังๆอีกครั้งให้กับทุกๆท่านในทีม และรับรองจะสนับสนุนทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เลยค่ะ

ขอเสนอให้จัดอบรม (ฝึก - workshop) storytelling ครับ   หรือซื้อหนังสือ บริษัทกระรอกน้อย จำกัด ไปอ่านและฝึกกันเองก็ได้

วิจารณ์ พานิช

 อาจารย์เขียนไว้ชัดเจน 3 ประเด็นเลยครับโดยเฉพาะประเด็นที่สองครับ
 อาจารย์เขียนไว้ชัดเจนทุกประเด็นเลยครับโดยเฉพาะประเด็นที่ว่า"อะไรที่ได้น้อยกว่าที่คาด"ครับ
การจัดนอกสถานที่ ในภาคกลางคืนน่าจะมีกิจกรรมสันทนาการบ้างก็ดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท