ERP


Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นโปรแกรมที่เป็นเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่กำลังเติบโต ช่วยในการจัดการกับกระบวนการต่างๆของบริษัท และช่วยให้ระบบธุรกิจมีประสิทธิภาพ บริษัทที่ผลิตสินค้าเพื่อทำการขายมีกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตการปฎิบัติงานพื้นฐานได้แก่ ฝ่ายการตลาดและการขาย, ฝ่ายการผลิตและการจัดการทรัพยากร, ฝ่ายบัญชีและการเงิน และทรัพยากรมนุษย์

- ฝ่ายการตลาดและการขาย มีหน้าที่ตั้งราคาสินค้า, ส่งเสริมการขาย, ความสัมพันธ์กับลูกค้า และประเมินการขาย

- ฝ่ายการผลิตและการจัดการทรัพยากร มีหน้าที่พัฒนาแผนงานผลิตสินค้า, การสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้จัดหา, การรับวัตถุดิบ, การขนย้าย และส่งสินค้าไปให้ลูกค้า

- ฝ่ายบัญชีและการเงิน มีหน้าที่จัดสรรและควบคุมราคา, การวางแผนงบประมาณการผลิต,บันทึกการขายทางธุรกิจ การจ่ายเงินของลูกค้า ใบส่งสินค้าของผู้จัดหารวมถึงการจ่ายเงินให้ผู้จัดหาวัตถุดิบ

- ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ มีหน้าที่ หาสมาชิกใหม่, ว่าจ้าง, ฝึกฝน, ประเมินลูกจ้าง รวมถึงโบนัส

ขอบเขตการปฎิบัติงานได้ถูกนำมาใช้เป็นระบบข้อมูลข่าวสาร ดำเนินการและจัดเก็บข้อมูล จะได้ประสานงานกันเพื่อแบ่งปันข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมกับเวลา ERP จึงกระตุ้นให้ผู้บริหารพยายามคิดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจที่ประสานงานกันในแต่ละขอบเขตการปฎิบัติงาน จึงช่วยให้มีการส่งเสริมประสิทธิภาพและการแข่งขันกันขึ้น.

                ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมากขึ้น บริษัทต่างต้องการให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า การบริการที่รวดเร็วและราคาถูก  นำมาสู่การพัฒนา ERP ปัจจัยสำคัญคือการรวมกันในระบบข่าวสารจะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกิจ  ปัจจัยต่างๆที่นำไปสู่การพัฒนา ERP

- ความเร็ว และกำลังของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่วนราคาและขนาดกลับลดลง

- ยุคแรกของสถาปัตยกรรมผู้ให้บริการลูกค้า (Client-Server) ได้จาก เฟรมเวิร์ค (Framework) สำหรับผู้ใช้หลายๆคนใช้ข้อมูลร่วมกัน

- การผสมผสานของซอฟต์แวร์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ บัญชี/การเงิน (Accounting/Finance) และการวางแผนทรัพยากรการผลิต (Manufacturing Resource Planning)

- การเติบโตของขนาดธุรกิจ ซับซ้อนมากขึ้น และการแข่งขันทำให้ผู้บริหารธุรกิจ ปรารถนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น.

SAP AG สร้างอย่างซับซ้อนประกอบด้วยโปรแกรม ERP ที่เรียกว่า R/3. ซอฟต์แวร์สามารถผสานกับธุรกิจทั้งหมดของบริษัทโดยการใช้ข้อมูลพื้นฐานร่วมกันที่เชื่อมต่อกับการทำงานทั้งหมด, แบ่งสรรการใช้ข้อมูล real-time ร่วมกัน และหน้าที่ปรับปรุงประสิทธิภาพให้เพิ่มขึ้น.
                ในอนาคต, ผู้เชี่ยวชาญคาดหวังว่า จุดน่าสนใจของ ERP จะเป็นการจัดการกับความสัมพันธ์ลูกค้า, การวางแผนการปรับปรุง และ การตัดสินใจทำ และ การเชื่อมต่อของการทำงานต่างๆบนอินเตอร์เน็ท.
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15794เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท