สาระสำคัญของอนุสัญญาไซเตส


สาระสำคัญของอนุสัญญาไซเตส

 

การอนุรักษ์เป็นการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด และยั่งยืนที่สุดที่สามารถทำได้เพื่อชนรุ่นปัจจุบันและอนุชนรุ่นต่อไป ในบทคำปรารภของอนุสัญญาฯ ประเทศภาคีที่เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ นี้ "ยอมรับว่าสัตว์ป่า และพืชป่าที่มีความงามและรูปร่างลักษณะต่าง ๆ กันนั้นเป็นของมีค่าที่ไม่อาจหาสิ่งใด มาทดแทนในระบบธรรมชาติของโลกได้ และควรคุ้มครองไว้เพื่อประโยชน์ของชนรุ่นนี้ และอนุชนรุ่นต่อไป และยอมรับว่าประชาชน และประเทศต่าง ๆ เป็นและสมควรเป็นผู้ ให้ความคุ้มครองสัตว์ป่าและพืชป่าของตนที่ดีที่สุดอีกทั้งยอมรับว่าความร่วมมือ ระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการคุ้มครองพืชป่าและสัตว์ป่าบางชนิด เพื่อมิให้เกิดการใช้ประโยชน์เกินสมควร จากการค้าระหว่างประเทศ และประเทศภาคี ในอนุสัญญาฯ  ได้ตระหนักถึงคุณค่าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาของสัตว์ป่า และพืชป่าในด้านสุนทรียภาพ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ และเศรษฐกิจ"

สาระสำคัญของอนุสัญญาไซเตส อนุสัญญาไซเตส มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ประเทศภาคี ประเทศที่ 10 ให้สัตยาบัน คือตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2518 จากเจตนารมย์ดังกล่าวแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าประชาคมโลกมีความเห็นร่วมกันว่าความ ร่วมมือระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการปกป้องคุ้มครองชนิดพันธุ์บางชนิดจากการใช้ ประโยชน์เพื่อการค้าระหว่างประเทศมากจนเกินไป อนุสัญญาฯ ได้กำหนดกรอบปฏิบัติระหว่างประเทศใน การทำการค้าชนิดพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ โดยกำหนดให้ประเทศภาคีที่เป็นผู้ส่งออกและประเทศผู้นำเข้ามี ความรับผิดชอบร่วมกันในการปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของอนุสัญญาฯ

 

     อนุสัญญาฯประกอบด้วยบทบัญญัติ 25 มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญแบ่งออกได้โดยย่อดังนี้

 

          มาตรา 1 ว่าด้วยคำนิยามของชนิดพันธุ์ การค้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการและปฏิบัติ การเหล่านี้เป็นต้น

 

          มาตรา 2 ว่าด้วยกับความหมายและขอบเขตของชนิดพันธุ์ในบัญชีแนบท้าย อนุสัญญาฯ

 

          มาตรา 3, 4 และ 5 ว่าด้วยข้อกำหนดและระเบียบในการทำการค้าชนิดพันธุ์ ในบัญชี ที่ 1, 2 และ 3

 

          มาตรา 6 ว่าด้วยใบอนุญาต ข้อความที่สำคัญต้องระบุในใบอนุญาต เช่น ต้องมีหัว ข้อของอนุสัญญาฯ ชื่อ และดวงตราของเจ้าหน้าที่ ขอบเขตของการใช้ใบ อนุญาต การทำเครื่องหมายบนตัวอย่างชนิดพันธุ์ที่ระบุในใบอนุญาต

 

          มาตรา 7 ว่าด้วยมาตรการพิเศษอื่นๆด้านการค้า เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับสมบัติ ส่วนตัว เครื่องใช้ในบ้าน การค้าชนิดพันธุ์ที่ได้มาโดยการขยายพันธุ์ใน คอก และการขยายพันธุ์เทียม เหล่านี้ เป็นต้น

 

          มาตรา 8 ว่าด้วยมาตรการที่ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ จะต้องดำเนินการ เช่นการ จัดทำรายงานการค้าของชนิดพันธุ์ในอนุสัญญาฯประจำปี การกำหนดให้ มีบทลงโทษ ต่อผู้ทำการค้าชนิดพันธุ์ที่เป็นการฝ่าฝืนอนุสัญญาฯ เหล่านี้ เป็นต้น มาตรา 9 ว่าด้วย การกำหนดให้ประเทศภาคีจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ ฝ่ายวิชาการขึ้นมาเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมใน ส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

          มาตรา 10 ว่าด้วยการยอมรับเอกสารประกอบการค้ากับประเทศที่ไม่ได้เป็น ภาคีอนุสัญญาฯ

 

          มาตรา 11 ว่าด้วยวิธีการในการประชุมประเทศภาคี เช่น กำหนดให้มีการประชุม สมัยสามัญอย่างน้อยทุก 2 ปี ต่อครั้ง ฯลฯ

 

          มาตรา 12 และ 13 ว่าด้วยหน้าที่ของเลขาธิการของอนุสัญญาฯ เช่น รับผิดชอบใน การจัดให้มีการประชุมดำเนินการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และด้าน วิชาการ ที่ได้ รับมอบหมายโดยที่ประชุมของประเทศภาคี ติดตามสถาน การณ์การค้า ชนิดพันธุ์ เหล่านี้เป็นต้น

 

          มาตรา 14 ว่าด้วยถึงความเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯอื่นๆ หรือกฎหมายอื่นๆ ที่ ประเทศภาคีได้ดำเนินการอยู่ หรือเป็นภาคีอยู่ โดยระบุว่าอนุสัญญาฯ นี้ จะไม่มีผลกระทบใดๆ

 

           มาตรา 15 และ 16 ว่าด้วยมาตรการขั้นตอนวิธีการในการแก้ไข เปลี่ยนแปลงบัญชี ชนิดพันธุ์แนบท้ายอนุสัญญาฯ เช่น การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญชีในการ ประชุมประเทศภาคี ประเทศภาคีที่จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขบัญชีแนบ ท้ายหมายเลข 1 และ 2 ต้องยื่นเสนอ ต่อเลขาธิการอย่างน้อย 150 วัน ก่อนที่จะมีการประชุมประเทศภาคี การเปลี่ยนแปลงจะมี ขึ้นได้ต้องได้รับ เสียงข้างมาก 2 ใน 3 เหล่านี้ เป็นต้น

 

          มาตรา 17 ว่าด้วยขั้นตอนวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมอนุสัญญาฯ โดยมีสาระสำคัญว่าการ พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมจะกระทำได้เมื่อประเทศภาคีอย่างน้อย 1 ใน 3 ร้องขอและจะต้องได้ รับคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของประเทศภาคีที่ เข้าร่วมประชุมจึงจะแก้ไขได้

 

          มาตรา 18 ว่าด้วยวิธีการยุติข้อพิพาทซึ่งอาจกระทำได้โดยการเจรจา หรือให้ อนุญาโตตุลาการที่ศาลโลกพิจารณา

 

          มาตรา 23 ว่าด้วยการสงวนสิทธิ์ (Reservation) กำหนดไม่ให้ประเทศภาคีสงวนสิทธิ ทั่วๆ ไป แต่อาจจะสงวนสิทธิ์เกี่ยวกับ ชนิดพันธุ์ชนิดใด ชนิดหนึ่งในบัญชี อนุสัญญาฯ ได้

 

          มาตรา 24 ประเทศภาคีอาจบอกเลิกอนุสัญญาฯได้ ( ตั้งแต่อนุสัญญามีผลบังคับใน ปี 2518 ถึงปัจจุบันมีประเทศภาคีเพียงประเทศเดียวที่เคยขอบอกเลิก อนุสัญญาฯ ในปี 2531 คือ ประเทศยูไนเต็ดอาหรับอามิเรทส์ แต่ก็ได้กลับ เป็นสมาชิกภาคีอนุสัญญาใหม่ในปี 2533 )

 

           มาตรา 25 ว่าด้วยการจดทะเบียนต้นฉบับอนุสัญญาฯ ทั้ง 5 ภาษา และการเก็บ รักษา การลงทะเบียนและประกาศตามมาตรา 102 แห่งกฎบัตรสห ประชาชาติ

 

การเข้า เป็นสมาชิกอนุสัญญาไซเตส ทำให้เกิดภาระผูกพันที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติกล่าว คือ      1. ประเทศสมาชิกจะต้องจัดให้มีบทบัญญัติทางกฎหมาย ที่จะใช้บังคับตามข้อกำหนดของ อนุสัญญา โดยการห้ามทำการ ค้าตัวอย่างพันธุ์ที่ เป็นการละเมิดอนุสัญญาฯ รวมทั้งกำหนดบทลงโทษ สำหรับผู้ฝ่าฝืน (มาตรา 8, อนุสัญญาไซเตส)

 

     2. ต้องจัดให้มีหน่วยงานหรือองค์กรขึ้น 2 ฝ่าย คือฝ่าย ปฏิบัติการและฝ่ายวิชาการ (มาตรา 9, อนุสัญญาไซเตส)

 

     3. ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการนำเข้า ส่งออกและนำผ่านชนิดพันธุ์ในอนุสัญญาฯ ประ จำปี และรายงานประจำทุก 2 ปี เกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับและมาตรการทางกฎหมาย ของประเทศภาคี เหล่านี้เป็นต้น (มาตรา 8 วรรค 7, อนุสัญญาไซเตส)

 

     4. กำหนด ให้มีด่านตรวจผ่านชนิดพันธุ์ในบัญชีแนบท้าย (มาตรา 8 วรรค 3, อนุสัญญาไซเตส) เพื่อให้การควบคุมการทำการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์ที่ กำลังจะสูญพันธุ์เป็นไปอย่างมีประ สิทธิภาพ ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ในอนุสัญญาฯ จึงได้ถูกจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม (3 บัญชี) กล่าวคือ

 

     บัญชีแนบท้ายที่1หมายถึงชนิดพันธุ์ที่ได้มาจากป่าหรือเป็นของป่า และใกล้จะสูญพันธุ์ จึงห้าม ทำการค้าโดยเด็ดขาด (ยกเว้นที่ได้จากการขยายพันธุ์เทียมหรือเพาะพันธุ์การศึกษา และวิจัย) การนำเข้า และส่งออกซึ่งชนิดพันธุ์ในบัญชีนี้จะต้องคำนึงถึงความอยู่รอด ผลกระทบต่อจำนวนประชากรในธรรมชาติ เป็นสำคัญ การส่งออกจะต้องได้รับอนุญาต ให้นำเข้าจากประเทศผู้นำเข้าเสียก่อน ตัวอย่างชนิดพันธุ์ ได้แก่ กล้วยไม้รองเท้านารี เป็นต้น

 

      บัญชีแนบท้ายที่2 หมายถึงชนิดพันธุ์ที่เหลืออยู่ค่อนข้างน้อย แต่ยังไม่ใกล้จะสูญพันธุ์ สามารถ ทำการค้าได้ (สามารถทำการค้าชนิดพันธุ์ที่ได้มาจากป่าได้ แต่ต้องไม่เป็นการละเมิด กฎหมายภายใน ประเทศ : มาตรา 4 วรรค 2 ข้อ ข.) ตัวอย่างชนิดพันธุ์ได้แก่ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้น

 

     บัญชีแนบท้ายที่3 หมายถึงชนิดพันธุ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ของประเทศใดประเทศหนึ่ง แล้วขอความช่วยเหลือจากประเทศภาคีให้ช่วยควบคุม การค้าชนิดพันธุ์นั้นด้วย ตัวอย่าง เช่นมะเมือย จากประเทศเนปาล และนกขุนทอง จากประเทศไทย เป็นต้น

 

     การเสนอชนิดพันธุ์ใด้เข้าบรรจุในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาฯ ชนิดพันธุ์นั้นต้องมีการทำ การค้า ระหว่างประเทศและต้องการให้ประเทศภาคีช่วยควบคุม ดูแลไม่ให้มีการทำการ ค้ามากจนเกินไป สิทธิและ หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ คือ การช่วยประเทศภาคีอื่นๆ อนุรักษ์ชนิดพันธุ์และ อนุรักษ์ชนิดพันธุ์ของประเทศของตัวเองด้วย หากประเทศภาคีมีความเห็นหรือมีข้อมูลว่า ชนิดพันธุ์ใดมีการ ทำการค้าระหว่าง ประเทศ มากอาจทำให้สูญพันธุ์ได้ก็เสนอให้ชนิดพันธุ์นั้นๆ บรรจุอยู่ท้ายอนุสัญญาฯ สิทธิ และ หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศภาคีอนุสัญญาฯ คือ การเสนอขอเปลี่ยนแปลง บัญชีแนบท้าย อนุสัญญาฯ (มาตรา 15 และ 16 อนุสัญญาฯ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีแนบท้ายบัญชีที่ 1 และ 2

 

     ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรชนิดพันธุ์สัตว์และพืชป่าที่หายากเป็นจำนวนมากชนิด แต่ขณะ เดียวกันก็เป็นประเทศที่มีการทำการค้าชนิดพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่า ทั้งในและนอก ประเทศมาก สัตว์ป่าและ พันธุ์พืชป่าหลายชนิดในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาฯ ที่มีแหล่งกำเนิด ในประเทศไทยและมีคุณค่าทาง เศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ในส่วนของสัตว์ป่า ได้แก่ จระเข้ น้ำจืด และสำหรับพันธุ์พืชป่านั้น พืชในตระกูล กล้วยไม้ ได้แก่ ฟ้ามุ่ย เอื้องปากนกแก้ว รองเท้านารี เป็นต้น และในคราวการประชุมสมัยสามัญประเทศ ภาคีครั้งที่ 9 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2537 ประเทศไทยได้เสนอชนิดพันธุ์กล้วยไม้เอื้องปากนกแก้ว เข้าบรรจุในบัญชีที่ 1 ของบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาฯ ประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ได้ลงมติเห็น ชอบด้วย ทำให้ ประเทศภาคีอนุสัญญาฯได้เห็นถึงความตั้งใจจริงของประเทศ ไทยในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของตน เอง

 

     อนุสัญญาไซเตส ถือว่าเป็นอนุสัญญาแห่งความร่วมมือกันของประเทศต่างๆ จึงต้องมีการจัดองค์ กรการบริหารและจัดการขึ้นให้ทำหน้าที่ในการดำเนินการต่างๆ ให้เกิดผลตามปณิฐานที่ได้ร่วมกันตั้งไว้ และจากการที่ต้องมีการจัดตั้งองค์กร การบริหารและดำเนินการนั้น จึงได้มีมติให้มีการจัดทำตราสัญญ ลักษณ์ของอนุสัญญาฯ หรือ Logo ขึ้น เพื่อให้เป็นใช้สื่อความหมายแทนอนุสัญญาฯ ได้อีกทาง โดยตรา สัญญลักษณ์ นั้นประกอบกันขึ้นจาก อักษรย่อของอนุสัญญาและได้ใช้ลายเส้นที่เป็นรูปคล้ายงาช้างเพิ่ม เติมที่ตัวอักษร เพื่อใช้สื่อความหมายที่ดีในแง่ของการอนุรักษ์

 

องค์กรในอนุสัญญาฯ สำหรับการจัดองค์กรการบริหารงานตามอนุสัญญาฯ นั้นมีการจัดโครงสร้างการบริหารงาน ประกอบ ด้วยคณะกรรมการ 6 ชุดดังนี้

 

     1. สำนักเลขาธิการ (CITES Secretariat) ทำหน้าที่ในการบริหารงานที่ได้รับ มอบหมายจาก คณะกรรมการประจำ (Standing Committee) และมีหน้าที่ ประสานงานกับประเทศภาคีเกี่ยวกับ ข่าวสาร ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ให้ความช่วยเหลือ ประเทศภาคีในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบของอนุสัญญาฯ

 

     2. คณะกรรมการประจำ (Standing Committee) มีหน้าที่กำหนดนโยบาย และให้คำแนะนำ แก่สำนักเลขาธิการในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ และเกี่ยวกับการประชุมและติดต่อ ประสานงานกับประเทศภาคีอนุสัญญา คณะกรรมการ ประกอบด้วยประเทศตัวแทนจากภูมิภาค 6 ภูมิ ภาค จำนวนประเทศตัวแทนภูมิภาคใช้สัดส่วน จากประเทศภาคี 15 ประเทศ ต่อประเทศตัวแทน 1 ประเทศ ถ้าเกิน 30 ประเทศ ส่วนที่เกิน ให้มีผู้แทนเพิ่มอีก 1 ประเทศ แต่ละภูมิภาคลงคะแนนคัดเลือกผู้แทนกันเอง ในการประชุม สมัยสามัญประเทศภาคีครั้งที่ 8 ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยได้รับคัดเลือก จากประเทศสมาชิก ในภูมิภาคเอเซียให้เป็นผู้แทนของภูมิภาค ซึ่งมีวาระการเป็นกรรมการ ระหว่างปี ค.ศ. 1992 - 1997 อย่างไรก็ตามที่ประชุมสมัยสามัญประเทศภาคีครั้งที่ 10 มีมติให้ประเทศไทยเป็นผู้แทน สำรองของภูมิภาคเอเซีย ผู้แทนในคณะกรรมการ ประจำต้องเป็น ผู้แทนภูมิภาคในคณะกรรมการดังกล่าว ต้องเป็นในนามประเทศ

 

     3. คณะกรรมการด้านสัตว์ (Animal Committee) มีหน้าที่พิจารณาทบทวนมาตราการควบคุมการ ค้าสัตว์ในบัญชีที่ความอยู่รอดของประชากร ในธรรมชาติอาจจะได้รับผลกระทบกระเทือน พิจารณาทบทวน ชนิดสัตว์แต่ละบัญชี ให้คำปรึกษาคณะกรรมการตั้งชื่อสัตว์เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้คำปรึกษาคณะ กรรมการจัดทำคู่มือจำแนกชนิดพันธุ์สัตว์ เป็นต้น ประกอบด้วยผู้แทนจากภูมิภาค 6 ภูมิภาค จำนวน 9 คน ผู้แทนในคณะกรรมการนี้จะต้องเป็นบุคคลที่รัฐบาลของประเทศภาคีเสนอชื่อ เพื่อให้ประเทศภาคีในแต่ละ ภูมิภาคคัดเลือกผู้แทนภูมิภาคในคณะกรรมการดังกล่าว

 

     4. คณะกรรมการด้านพืช (Plants Committee) มีหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการ ด้านสัตว์แต่ เน้นเฉพาะพืช ประกอบด้วยคณะกรรมการ ซึ่งเป็นผู้แทนจากภูมิภาคต่าง ๆ 6 ภูมิภาค จำนวน 9 คน ผู้แทน ในคณะกรรมการนี้จะต้องเป็นบุคคลที่รัฐบาล ของประเทศ ภาคีเสนอชื่อ เพื่อให้ประเทศภาคีในแต่ละภูมิ ภาคคัดเลือกผู้แทนภูมิภาคในคณะกรรมการ ดังกล่าว

 

     5. คณะกรรมการจัดทำคู่มือการจำแนกตัวอย่างพันธุ์ (Identification Manual Committee) คณะ กรรมการดำเนินงานในรูปอาสาสมัครบุคคลใดจะสมัครเข้า เป็น กรรมการต้องติดต่อสำนักเลขาธิการไซเตส

 

     6. คณะกรรมการจัดตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ (Nomenclature Committee) คณะกรรมการดำเนิน งานในรูปอาสาสมัคร เช่น เดียวกับคณะกรรมการจัดทำคู่มือ การจำแนกชนิดพันธุ์ การดำเนินงาน การติดตาม การดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลง กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ประเทศภาคี จะต้องปฏิบัติ และการเสนอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี แนบท้ายอนุสัญญาฯ จะถูกหยิบยกขึ้นมา พิจารณาในการประชุมสมัยสามัญของประเทศ ภาคีอนุสัญญาฯ ทุก 2 ปี ( ครั้งสุดท้ายการประชุมสมัย สามัญประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 11 จัดให้มีขึ้นที่ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 10-20 เมษายน 2543 ) กรมวิชาการเกษตร ในฐานะผู้ปฏิบัติงานตามอนุสัญญาฯ ด้านพืชของประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วม ประชุม ตั้งแต่การประชุมครั้งสมัยสามัญประเทศภาคีครั้งที่ 8 เป็นต้นมา กรมวิชาการเกษตร ได้ส่งผู้แทนเข้า ร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง

 

ที่มา. http://www.doa.go.th/data-agri/03_REGULATION/Seed/Cites/html/sara.htm

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15733เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท