การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบง่าย :เพื่อให้ห้องสมุดมีชีวิต


คำถาม-คำตอบ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคนหลากหลายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตของห้องสมุดโรงเรียน
  • มีการแลกเปลี่ยนจากคุณ จำลอง ทาต่อย เมื่อวัน พ. 21 พ.ย. 2550 @ 19:57 เกี่ยวกับการทำห้องสมุดโรงเรียนให้มีชีวิตว่า "คุณจำลองซึ่งเป็นบรรณารักษ์ ....จำเป็น   ได้รับมอบหมายให้จัดห้องสมุดโรงเรียน  หลังจากเจ้าหน้าที่คนเก่าทิ้งไปนาน เมื่อก่อนแค่เก็บกวาด  จัดหนังสือให้อยู่บนชั้น  แต่ไม่ได้จัดให้เป็นหมวดหมู่ตามเลขหมู่หนังสือ  ตอนนี้ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร  แยกหนังสือไม่เป็น ไม่รู้ว่าหนังสือใดควรจะไปอยู่หมู่ไหน ศาสนา กับปรัชญา  หรือ ความรู้ทั่วไปเป็นแบบไหน   อยากได้คำแนะนำค่ะ   ตอนนี้นำหนังสือลงมากอง ปัดฝุ่นเรียบร้อย ได้แต่นั่งมอง ยังไม่ได้ขึ้นชั้นเลย"

  P  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทัศนะของตัวเองท้ายบันทึกไปแล้ว  และคิดว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่เรื่องที่จะยากเกินความจึงขอนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกครั้ง

ดิฉันคิดว่าหลักการของการจัดห้องสมุด ขั้นแรก เราต้องจำลองตัวเราเป็นผู้ใช้บริการก่อน คิดว่าตัวเองเป็นนักเรียน เป็นอาจารย์ในโรงเรียน เมื่อเวลาจะใช้ห้องสมุดจะทำอย่างไร หากไม่แน่ใจลองสุ่มถามนักเรียนสัก 10-15 คน ซึ่งตรงนี้ตรงตามหลักการของการศึกษาผู้ใช้เลยทีเดียว ผลที่ได้คือ การทราบพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด ผู้จัดบริการจะได้จัดบริการได้อย่างเหมาะสม...แต่ไม่ใช่ว่าจัดให้ตรงกับพฤติกรรมของผู้ใช้ทุกอย่างนะคะ แต่จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถนำมาประกอบการพัฒนาระบบงานห้องสมุดต่อไปได้ (สามารถพัฒนาเป็นวิจัยสถาบันได้อีก 1 เรื่องเชียวนะ) ทั้งนี้หากเราไม่เคยใช้/หรือไม่ทราบว่าผู้ใช้บริการมีการใช้บริการอย่างไร จะจัดบริการที่ดีได้อย่างไร

ต่อมาคือในการจัดหมวดหมู่นั้นพูดง่ายๆ คือ จัดอย่างไรก็ได้ขอให้ค้นเจอ แต่ไม่ใช่เราคนเดียวที่ค้นเจอ...ต้องให้คนหมู่มากค้นเจอด้วยนะคะ ดังนั้นในศาสตร์ของบรรณารักษศาสตร์จึงต้องมีการเรียนถึง 4 ปี มีการอบรมให้ครูผู้รับผิดชอบให้จัดหมวดหมู่เป็น โดยใช้เวลา 3-5 วัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว....การจัดหมวดหมู่แบบสมบูรณ์ในระบบดิวอี้นั้น เหมาะสมกับสภาวะการณ์ของโรงเรียนหรือไม่ แล้วผลลัพท์ คือผู้อ่านอ่านหนังสือมากขึ้นหรือไม่ หนังสือถูกใช้เพิ่มขึ้นหรือไม่ หากเป็นอย่างนั้นคือผลสัมฤทธิของการพัฒนาระบบในการจัดเก็บและค้นคืน ซึ่งการจัดหมวดหมู่อย่างเต็มระบบ ควรพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่

  • ปริมาณหนังสือทั้งหมด และปริมาณหนังสือที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
  • ความรู้ ความสามารถของผู้รับผิดชอบ
  • กระบวนงาน/ภาระงาน
  • วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานประเภทสิ้นเปลือง และประเภทถาวร
  • คู่มือในการจัดหมวดหมู่
  • ความพอเพียงของอุปกรณ์ในการทำงานและให้บริการผู้ใช้
  • งบประมาณ
  • อัตรากำลัง

แต่สำหรับโรงเรียนที่อาจจะมีทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่มากนัก อัตรากำลังอาจจะจำกัด อาจจะใช้การแยกหมวดหมู่ ใช้เทปสีติดที่สัน และให้หมายเลข 1,2,3....ไปเรื่อย ๆ  เวลาเรียงก็แยกตามหมวดหมู่และลำดับหมายเลขที่ได้รับเข้ามา

เช่น

  •  หนังสือเด็ก ได้แก่ หนังสือภาพและนิทาน ใช้แถบสีเขียว

  • คู่มือครู ใช้แถบสีแดง

  • คณิตศาสตร์ ใช้แถบสีเหลือง

  • ภาษาไทย ใช้แถบสีน้ำเงิน....
  • สิ่งพิมพ์ท้องถิ่น ใช้แถบสีม่วง เป็นต้น

การค้น หากมีระบบคอมพิวเตอร์ ก็สามารถสืบค้นได้จาก เขตข้อมูล (field) ที่กำหนดเป็นคำค้น เช่น

ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ หมวดหมู่ (เช่น หนังสือเด็ก คู่มือครู คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สิ่งพิมพ์ท้องถิ่น เป็นต้น)

เช่น

 ชื่อเรื่อง สนุกกับภาษาไทย

ผู้แต่ง   มัทรี  บุญทวาย

หมวดหมู่  ภาษาไทย

ได้รับเข้ามาเป็นลำดับที่ 5 ของหมวดหมู่ภาษาไทย

และกำหนดให้ใช้เทบสีน้ำเงินแทนหมวดหมู่ภาษาไทย

เมื่อค้นแล้ว จะได้เลขเรียกหนังสือ ที่เป็นระบบสัญญลักษ์ (Code) ประกอบด้วยเทปสีแยกตามหมวด หมุ่และลำดับของหมายเลขที่ได้รับเข้ามาตามหมวดหมู่ ดังตัวอย่าง

111111111

5

ผู้ใช้บริการก็ไปที่ชั้นหมวดหมู่ภาษาไทย ไปที่เล่มที่ 5 ก็จะหยิบหนังสือออกมาใช้ได้โยง่าย

หรือไม่ก็ใช้ระบบดิวอี้ ที่แบ่งหนังสือออกเป็น 10 หมวด ตั้งแต่ 000-999  แต่ทั้งนี้การจัดแบบนี้ต้องได้รับการอบรม และการนำหนังสือขึ้นชั้นต้องมีความรู้สามารถจัดเรียงได้ถูกต้อง ซึ่งการค้นคืนด้วยคอมพิวเตอร์ก็สะดวกเช่นเดียวกัน เหมาะกับห้องสมุดที่มีขนาดเล็ก-ขนาดปานกลาง

สำหรับระบบแถบสี...นักเรียนก็สามารถช่วยเก็บขึ้นชั้นได้ เหมาะกับห้องสมุดที่มีขนาดเล็ก มีอัตรากำลังน้อย และใช้ ซึ่งเป็นนักเรียนยังเป็นระดับอนุบาลหรือประถม ในระบบการควบคุมอาจใช้สมุดทะเบียนแยกตามประเภท แล้วนำหมายเลขที่ได้รับเข้ามาติดที่สันประกอบกับแถบสี เป็นสัญลักษณ์ในการจัดเก็บและเรียกใช้ได้ ที่สำคัญ นำหนังสือใหม่ออกให้บริการได้รวดเร็วมากกว่า

เรื่องแถบสีนี้อาจอธิบายได้ว่า ในบางสภาวะ หนังสือที่มีการจัดกระบวนการทำให้ผู้อ่านได้อ่านเร็วขึ้น คงดีกว่าหนังสือที่กองอยู่รอกระบวนการที่สมบูรณ์

สำหรับคำถามของคุณจำลอง ข้างต้นนั้นดูเหมือนว่าจะใช้ระบบดิวอี้ต้องใช้คู่มือค่ะ ซึ่งจะมีขอบเขตอธิบายเนื้อหาในแต่หมวดหมู่ไว้ เช่นเดียวกับระบบ LC. ซึ่งจะมีการอธิบายลักษระเนื้อหาของแต่ละหมวดหมู่ ตั้งแต่หมวดหมุ่ใหญ่และหมวดหมู่ย่อยเลยทีเดียว  สำหรับการจำแนกเนื้อหาของหนังสือ บางเล่มแบ่งได้ชัดเจน แต่บางเล่มมีความเป็นบูรณาการของหลายสาขา ทำให้บรรณารักษ์ต้องรับบทหนัก คำนำและสารบัญจะช่วยได้เยอะค่ะ  หากจัดไม่ได้จริงๆ ก็จัดให้อยู่ในหมวดทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ดไป (ดิฉันไม่มีประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้เลยค่ะ...ได้แต่ฝึกตอนเป็นนักศึกษา...พอได้คือระบบ LC.)

และขอบคุณอีกครั้งที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณจำลองและอีกหลายๆ ท่าน ทำให้มีบันทึกฉบับนี้ 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นห้องสมุดจะใช้ระบบใดทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับนโยบาย รูปแบบในอนาคตและศักยภาพของแต่ละห้องสมุดนะคะ

 

  •  สงวนลิขสิทธิ์โดยสิริพร ทิวะสิงห์ ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 10 สิงหาคม 2552
หมายเลขบันทึก: 157266เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2008 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)
ในส่วนของผู้รับบริการ อยากเห็นห้องสมุดที่เหมือนเสนออะไรดีๆถึงผู้รับบริการโดยตรง เหมือน ห้องสมุด ดิลิเวอร์รี่ จะฝันมากไปไหมคะ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรเหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณใบบุญ

  • สิ่งที่คุณคิดเป็นความจริงได้ค่ะ...ไม่ใช่ความฝันเลย แค่เป็นความจริงที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของห้องสมุดแต่ละแห่ง เรื่องงบประมาณ อัตรากำลัง อะไรทำนองนี้ ถ้าศักยภาพมาก ก็สร้างสรรค์บริการได้มาก
  • สำนักวิทยบริการ มข.และห้องสมุดอีกหลายแห่ง มีการส่งหนังสือ/เอกสาร ถึงคณะ/ตัวบุคลแล้ว บางแห่งอาจมีค่าใช้จ่าย เพระถือเป็นบริการพิเศษ และเป็นทุนในการดำเนินงานด้วยค่ะ
  • ปล. ห้องสมุดชอบนะคะ สำหรับความคิดและความฝันของผู้รับบริการ

ความฝันของบรรณารักษ์คนหนึ่งค่ะอยากมีระบบที่ ผู้ใช้สามารถยืม-คืนหนังสือที่ห้องสมุด แต่คืนได้ทั้งหย่อนตู้ไปรษณีย์ หรือคืนที่ 7Eleven เคาน์เตอร์เซอร์วิส ประมาณนี้ค่ะ

ไอน์สไตน์เคยบอกว่า "จินตนาการ สำคัญกว่าความรู้" ถ้ามีระบบคืนหนังสือแบบนี้ คงจะดีนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณ ณเส้นขอบฟ้า

จินตนาการแบบนี้ของบรรณารักษ์ ต้องเป็นที่โปรดปรานของผู้ใช้เป็นแน่
(แต่อาจจะทำให้ผู้บริหารเวียนหัว)
สำหรับตัวเอง อยากให้มี Drive Throught สำหรับขับรถไปหย่อนหนังสือลงตู้รับคืนจัง...
เอ..แต่ว่าไม่รู้เมื่อไหร่ฝันจาเป็นจิงเสียทีเนาะ...

สวัสดีค่ะพี่ตุ่น จำได้มั้ยเอ่ย แอบอ่านบล๊อกพี่มานาน พึ่งจะเกิดความอยาก(แสดงความคิดเห็น)ในวันนี้ บอกเลยแล้วกัน...

ในความเป็นจริงการจัดหมวดหมู่แบบวิชาการที่ได้รับการสั่งสอนตลอดระยะเวลา 4 ปีนั้น พอได้มาสัมผัสกับการให้บริการจริงแล้ว ใช้ไม่ได้ในยุคปัจจุบันเสียแล้ว เพราะคนที่มาใช้บริการ ต้องการเพียงแค่ชื่อเรื่องก็หยิบหนังสือออกจากชั้นหนังสือได้แล้ว ยกเว้นแต่หาไม่เจอ จึงได้มาถามบรรณารักษ์ เค้าไม่ได้สนใจเลขหมู่ที่เราเหล่าชาวบรรณารักษ์ได้จัดหมวดหมู่ออกมาให้ อาจเป็นเพราะหนูอยู่ห้องสมุดประชาชนก็ได้

จินตนาการพี่น่าสนใจ แต่หนูอยากเหมือนสิงค์โปร์นะ ยืมเอง ส่งเอง บางที่(ที่ไม่ใช้สิงค์โปร์ )ทราบมาว่าหนังสือสามารถเก็บขึ้นชั้นเองได้ เฮ้อ !!!ตื่นๆๆๆๆ

หวัดดีจ้า น้องอ้อ...

จำได้จ้า...เมื่อไหร่จะเขียนบล๊อคให้พี่ตุ่นตามไปอ่านมั่งหล่ะคะ

ขอบคุณมากนะคะ ที่ให้ความกรุณาไปแสดงความคิดเห็น คือ ตอนนี้ทางดิฉันหัดทำ เลยยังไม่สวยเท่าไร ยังไงก็ขอคำปรึกษาด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

สวสัสดีค่ะ อ.กอบแก้ว

Blog ไม่สวยไม่สำคัญค่ะ

แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการนำมาใช้เชิงพัฒนานี่แหละของจริง

ขอให้มีความสุขกับนักเรียนและห้องสมุดนะคะ

ชมรมห้องสมุดดิจิตอล

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา ในการสร้างห้องสมุดเสรี

www.todaystep.com

แวะมาอ่านข้อมูลดีดีค่ะ..ขอบคุณค่ะ

ดีใจจังค่ะ ที่ ศน.add ว่าข้อมูลนี้มีประโยชน์ และยินดีมากขึ้น เมื่อได้รู้จักแหล่งเรียนรู้ใหม่จาก คุณชมรมห้องสมุดดิจิตอล

อยากได้ข้อมูลทำPower Point ค่ะ

ข้อมูลที่อยากได้ คือ หลักการ แนวคิด ห้องสมุด และห้อมสมุดมีชีวิตค่ะ

ค้นไม่เจอ เลยอยากถามผู้รู้ มากความสามารถค่ะ

จะมีคณะมาดูงานในวันที 22 กันยายน 2552 ค่ะ

ขอความอนุเคราะห์ด้วยนะค่ะ

คุณ taikhaw

ห้องสมุดมีชีวิต" (Living Library)
หมายถึง ห้องสมุดที่มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยครบถ้วน
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืนสำหรับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ด้วยบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีบริการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (http://www.phutti.net/lib/) หรือบทความนี้ www.itmc.tsu.ac.th/paper/lib002.doc ก็น่าสนใจ

หรือบทความที่สิริพร เคยเขียนไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/library-librarian/66054 โดยอิงจากหนังสือ ห้องสมุดมีชีวิต ของ อ.น้ำทิพย์ วิภาวิน อาจจะพอใช้ได้

สรุปห้องสมุดมีชีวิตประกอบด้วยปัจจัย; บุคลากร ทรัพยากรสารสนเทศ สถานที่+บรรยากาศ สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดจัดขึ้น

ประเด็นเหล่านี้คงทำให้ คุณ taikhaw ทำ PPT ได้ง่ายขึ้นนะคะ

รบกวนหน่อยค่ะ พอดีไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ต้องมาทำงานห้องสมุดมีปัญหาเรื่องลงทะเบียนหนังสือค่ะ ห้องสมุดเพิ่งเปิดใหม่ตอนนี้ที่ห้องสมุดจะใช้ระบบ LC ในการจัดหมวดหมู่หนังสือ ซึ่งตอนนี้มีหนังสือ วิทยานิพนธ์ กับ ศิลป์นิพนธ์ บริจาคเข้ามา ก็เลยอยากทราบว่าต้องลงทะเบียนและจัดหมวดหมูยังไงค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณต้องคะ ตอบช้าไปหรือเปล่านี่

ในการลงทะเบียนนั้นควรจะมีเพื่อเป้นการควบคุมทรัพยากร ระบบนั้นอาจใช้ระบบง่ายๆ รันตัวเลขไปเรื่อยๆ ง่ายๆ หากเป็นพี่จะใช้การแยกประเภท คือ หนังสือซื้อ หนังสือบริจาค วิทยานิพนธ์ หากบ่งประเภทต้องกำหนดรหัสของเลขทะเบียนให้แตกต่างกัน

งานลงทะเบียน ให้คำนึงถึงความสามารถที่จะควบคุมทรัพยากรได้ว่าในปีงบประมาณหนึ่งๆ ได้รับหนังสือประเภทต่างๆ เข้ามากี่เล่ม ไม่ควรคิดระบบให้วุ่นวาย หรือต้องใช้เวลาในการดำเนินการมาก สามารถให้ผู้อื่นชาวยทำได้ เช่น อาสาสมัคร เพราะงานบรรณารักษ็มีอย่างอื่นให้ทำอีกเยอะ เมื่อระบบลงตัวแล้ว อย่าลืมเขียนคู่มือไว้ด้วยว่ารหัสที่กำหนดขึ้นหมายถึงอะไร

สำหรับการ CATLOG LC ต้องใช้คู่มือค่ะ คงจะมีคู่มือแล้ว

เคื่องมือที่จะทำให้ทำงานได้ไว คือ ค้นจาก OPAC ของห้องสมุดอื่นๆ ที่ใช้ระบบเหมือนเรา จะทำให้การกำหนดหมวดหมู่ และหัวเรื่องทำได้ง่ายขึ้น

เอามะพร้าวห้าวใสขายสวนหรือเปล่าค่ะนี่

คนชอบอ่านหนังสือค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอขอบคุณผู้ที่สนับสนุนข้อมูลนี้มานะค่ะ ข้อมูลนี้ทำให้คนเราที่ใฝ่ฝันอยากเป็นบรรณารักษ์ จะได้รู้ถึงการจัดห้องสมุดให้ถูกวิธี รู้สีของหนังสือ เป็นความรู้ที่ทุกคนต้องรู้ เช่น นักเรียน เด็กๆ คุณครู ผู้ใหญ่ และครอบครัว ดิฉันอยากให้ทุกคนเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือค่ะ

ขอบคุณค่ะจาก

(นางใฝ่หาควมรู้ ในห้องสมุด)

  • ต้องขอบคุณ คุณคนชอบอ่านหนังสือค่ะ ด้วยค่ะ ที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กำลังใจ
  • การอ่าน...เป็นการฝึกทักษะหลายเรื่อง การสรุป วิเคราะห์ พัฒนาทักษะการรับรู้ทางสายตาและประมวลผล
  • อยากให้คนไทยอ่านเยอะๆ เช่นกันค่ะ...

มาพบทางสว่างที่นี่เอง^^

พอดีรร.วัดในหมู่บ้านกำลังปรับปรุงห้องสมุด เนื่องจากเพิ่งได้รางวัลรร.ดีประจำตำบล ได้งบซื้อหนังสือสามหมื่นกว่าบาท กับคอมฯ2เครื่อง และก็บังเอิญได้งบครูภูมิปัญญามาสอนดนตรี น้องที่เป็นครูภูมิปัญญาเค้าเป็นศิษย์เก่าเลยอาสาทำห้องสมุด

ที่เข้าไปเกี่ยวข้องเพราะให้น้องมาสอนดนตรีลูกที่บ้านแล้วเค้าเล่าให้ฟังเลยขอร้องว่าได้โปรดให้พี่ไปช่วยด้วย เพราะอยากทำมานานแล้วแต่ไม่กล้าไปเสนอตัว^^"

เนื่องจากครูที่ดูแลห้องสมุดเสียไปสองปีแล้ว ห้องไม่มีใครดูแล เด็กก็ไม่ได้ใช้เนื่องจากพอใช้แล้วไม่มีคนดูแลห้องก็เลยปิดไว้เฉยๆ(น่าเสียดาย) พอน้องเค้ามาก็เข้าไปเก็บหนังสือโดนปลวกกิน หนังสือเก่าๆสมัย20ปีแล้วมั๊งคะ

เมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับผอ. บอกว่าหาข้อมูลในเนตได้และอยากช่วย ผอ.ยินดีและต้องการอยู่แล้ว เราก็แอบดีใจ(มากมาย) ผอ.ให้ช่วยเลือหนังสือเข้าห้องสมุดด้วย อยากขอคำปรึกษาว่าเป็นหนังสือแบบไหนดีคะ

ที่นี่เป็นโรงเรียนประถมค่ะ อนุบาล-ป.6 เรื่องการจัดห้องด้วยเพราะที่นี่มีเด็กอนุบาล(ซนๆ) เดี๋ยววันอังคารจะไปถ่ายรูป ห้องก่อนทำใหม่ ที่วางไว้คือเก็บของทั้งหมดออกมาก่อน เพราะต้องจัดการชั้นหนังสือที่มีปลวกและมีหนังสือที่ต้องซ่อม

อยากจะขอเมลเอาไว้ติดต่อกันหลังจากนี้ได้มั๊ยคะ อ่านเกี่ยวกับแถบสีแล้วคงต้องใช้แบบนี้เพราะหลังจากห้องนี้เสร็จแล้วจะให้เด็กป.5เทอมหน้า เป็นคนดูแลตอนนี้น้องเค้าอยู่ป.4 วันอังคารจะเข้าไปที่รร.เพื่อนัดกันหลังปิดเทอมและดูห้องให้ระเอียดอีกที

ผอ.อยากให้ชาวบ้านเข้าไปใช้ห้องสมุดด้วย และเมื่อเข้าที่เข้าทางจะให้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยังไงต้องขอรบกวนด้วยนะคะ เพราะไม่มีความรุ้เรื่องนี้เลย แต่อยากให้เด็กในหมูบ้านอ่านหนังสือกันเยอะๆ

รบกวนด้วยนะคะ

ปอ^_^

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปอ

เป็นกำลังใจในการทำงานให้คณะอาจารย์ด้วยนะคะ

ถ้ามีอะไรจะช่วยได้ติดต่อที่ [email protected] นะคะ

ฝากบันทึกหนึ่งที่ ตุ่นและเพื่อนๆ ได้ไปช่วยทำห้องสมุดโรงเรียนมาให้เยี่ยมชมค่ะ http://gotoknow.org/blog/life-is-beautiful/263426

แล้วเดี๋ยวจะแวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง การคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด และแนวทางการมีส่วนร่วมในการใช้ห้องสมุดของคนในชุมชนนะคะ

ก่อนอื่นต้องขอบคุณมากๆเลยนะคะ แต่ปอไม่ได้เป็นอาจารย์หรอกค่ะ เกี่ยวข้องกับรร.ในฐานะผู้ปกครองเด็ก^^

ตอนนี้รู้สึกโล่งใจที่อย่างน้อยก็มีที่ปรึกษาแล้วค่ะ พรุ่งนี้คงไม่ได้ไปถ่ายรูปอย่างที่คิดเพราะลูกชายคนเล็กป่วย

และอาทิตย์นี้รร.สอบปลายภาคคงต้องเป็นอาทิตย์หน้า เดี๋ยวยังไงปอจะมาส่งข่าวอีกที

น้องปอคะ

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนทั้งเด็กและผู้ใหญ่...สุขภาพแย่ไปตามๆ กัน

ขอให้เจ้าตัวเล็กหายป่วยเร็วไวนะคะ

กรณีมีหนังสือ 20 หมวด จะจัดอย่างไรให้ผู้มาใช้ไม่ต้องมาสอบถามเจ้าหน้าที่ สามารถไปค้นหาด้วยตนเองเเละเจอเลยค่ะ

รบกวนช่วยตอบคำถามส่งไปทางเมลด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่ ลูกชายหายป่วยแล้วค่ะ ไปโรงเรียนแล้ว ส่วนเรื่องที่พี่แนะนำมามีประโยชน์มากเลย

เดี๋ยวจาแวบมาส่งข่าวเรื่อยๆนะคะ^^

ตอบน้องส้มนะคะ

หนังสือจะมีกี่หมวดก็ช่าง....และลดการตอบคำถาม เครื่องมือที่ช่วยได้ คือ ป้ายนิเทศ หรือ ป้ายข้อความ ค่ะ

ทำป้ายแสดงหมวดหมู่ หรือประเภทสิ่งพิมพ์ รวมทั้งหมด ติดไว้ที่ที่เห็นได้ชัด และทำป้ายติดหน้าชั้นที่จัดเก็บ ถ้ามีเว็บไซต์เฉพาะ หรือแผ่นพับด้วยยิ่งดีใหญ่นะคะ

ขอโทษนะคะที่ตอบทางเมล์ไม่ได้ เพราะน้องส้มไม่ได้ให้ E-mail ไว้

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้องปอ ซึ่งเป็นผู้ปกครอง นร. แต่ได้มีส่วร่วมในการพัฒนาห้องสมุดแห่งหนึ่ง

วันนี้ปอไปรร.มา ห้องสมุดนี่แบบเหนือคำบรรยาย
ปัญหาคือ ชั้นวางทั้้งหมดต้องซ่อม เก่ามากๆ (ปอว่าบางอันเหมือนจะซ่อมไม่ได้แล้ว)
หนังสือเก่าๆๆมากๆๆ เปนหนังสือสมัยเรียนตอนเด็กๆ
แบบ มานี มานะ เรื่องสั้น เรื่องแปล สังคม ปรัชญา ฯลฯ
ล้วนเก่าแก่ทั้งนั้น แถมบางส่วนปลวกกิน คือนักเรียนไม่มีใครอ่านหนังสือพวกนี้แล้ว
แล้วที่ปอสังเกตุหนังสือมีแถบสีเล็กๆ บางเล่มมีหลายสี
เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะประชุมอีกทีว่าจะทำเมื่อไหร่ แบบไหน
ที่คิดไว้คือเก็บหนังสือทั้งหมดลงกล่อง แยกหมวด แยกหนังสือชำรุด
เก็บบอร์ดที่ผนังทั้งหมด ผอ.จะทาสีใหม่ และซ่อมแซมชั้นวาง

ตอนนี้ปัญหาคือหนังสือที่ต้องซ่อมทำไงดีคะ^^"
ปอกะว่าจะแยกหนังสือที่ไม่มีปัญหาทำความสะอาดและเก็บใส่ถุงพลาสติกไว้ก่อน
ส่วนที่เสียหายแยกไว้อีกถุงนึง แต่จะอยู่ในกล่องเดียวกัน

คราวก่อนปอหาข้อมูลในเนตเค้าบอกว่าถ้าหนังสือไม่ได้ใช้แล้วให้เก็บแยกไปเลย
เพราะถ้ายังขึ้นชั้นก็ต้องดูแล และกินที่หนังสือที่ใช้จริงๆ อันนี้ปอเห็นด้วย พี่คิดว่าไงคะ

ประเด็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเรา คือ

  • การจัดการหนังสือเก่า
  • การจัดการชั้นหนังสือ
  • การจัดหมวดหมู่

 

 

มักจะปวดกบาลเมื่อรื้อกองหนังสือมารวมๆ กันไว้…บ้างเป็นร้อย บ้างเป็นพันเล่ม ทำงัยดี

ต้องตกลงด้านนโยบายให้ได้ ก่อนลงมือทำด้านปฏิบัติดีมั๊ยค่ะ  เพราะจะทำให้ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน มีแผนและทิศทางการดำเนินงาน

1. กำหนดหมวดหมู่ จะแยกตามระบบดิวอี้ก็ 000-999 หรือ แยกตามหมวดหมู่ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น ประเภทหนังสือนิทาน/ วรรณกรรมเยาวชน นวนิยาย เกษตร เทคโนโลยี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คู่มือครู เป็นต้น ซึ่งต้องมีขึ้นตอนก่อนหน้านี้คือ

    1.1 ผู้ดูแลร่วมกันกำหนดหมวดหมู่ และมีรายละเอียดและขอบเขตว่าอะไรเป็นพุทธศาสนา อะไรเป็นเบ็ดเตล็ด ลักษณะใดเรียกว่าครูมือครู

    1.2 จัดทำป้าย (ชั่วคราว) เพื่อติดให้ทราบว่ากองนี้คือหนังสือหมวดอะไร ที่เคยทำก็แยกไว้ตามพื้นริมผนังห้อง

2. แยกหนังสือสภาพดี หนังสือชำรุดที่พอซ่อมได้ หนังสือที่ล้าสมัย จัดทำป้ายบอกประเภท กรณีหนังสือล้าสมัยจะพิจารณายาก ให้ดูปีพิมพ์และความทันสมัยของเนื้อหาว่ายังใช้ได้ในสภาวะปัจจุบันหรือไม่ หากเล่มใดไม่นำเข้าห้องสมุดให้จำหน่ายออก หากหนังสือมีการลงทะเบียนต้องขออนุมัติให้ถูกต้องตามหลักพัสดุ หลังจากนั้นนำไปชั่งกิโลขาย เป็นเงินงบประมาณต่อไป หนังสือรอซ่อม ควรมีมุมจัดเก็บเฉพาะ ไม่แน่ใจว่าที่โรงเรียนมีชมรมห้องสมุดหรือไม่ ถ้าไม่มีควรจัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนในชมรมนี้มาช่วยซ่อมหนังสือต่อไป

3. จัดทำเครื่องมือช่วยค้น

      3.1 หากใช้คอมพิวเตอร์มีหลายโปรแกรมที่สามารถใช้ได้ เช่น Access ที่มากับ Window รายการที่ต้องลง คือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และ Code ที่ใช้เป็นเลขเรียกหนังสือ หรือมีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ขายพรอมการแนะนำในการใช้งาน

     3.2 การลงในสมุดทะเบียน อาจจะไม่สะดวกในการค้น แต่เหมาะกับห้องสมุดขนาดเล็ก และงบประมาณน้อย วิธีการ คือแยกสมุดทะเบียนตามประเภทหนังสือที่กำหนดในข้อ 1 และเขียนรายละเอียดดังข้อ 3.1 สามารถกำหนดช่วงปีงบประมาณ และหมายเหตุรายการที่หาย ชำรุด จำหน่ายออกได้ หรือบางครั้งอาจประยุกต์ใช้ Microsoft word พิมพ์ ที่จะสามารถพิมพ์ได้หลาย copy การค้นค้นได้จากเอกสารที่สั่งพิมพ์หรือค้นหาเรื่องที่ต้องการโดยใช้คำสั่ง ค้นหา จากเมนูแก้ไข ใน tool bar ได้

4. เตรียมตัวเล่มในการให้บริการ โดยทำตามรูปแบบที่ห้องสมุดกำหนดขึ้น ทั้งหนังสือใหม่และหนังสือเก่า หากทำไม่ทัน ควรทำหนังสือใหม่ก่อน

 

  • สำหรับเรื่องชั้นพิจารณาค่าซ่อม ระวังอย่างแพงกว่าซื้อใหม่....
  • ถ้าเป็นไปได้จัดผ้าป่าหนังสือสักปีก็ดีนะคะ โดยกำหนดเลยว่าอยากได้อะไรบ้างของห้องสมุด อย่าลืมนะคะ - หากอยากให้ชุมชนมาใช้บริการ อย่าลืมให้ชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การทำโครงการขอรับบริจาคนิตยสาร สิ่งพิมพ์จากชุมชน แต่ไม่ใช่จะนำเข้าห้องสมุดทุกรายการนะคะ ต้องพิจารณาตามเกณฑ์การจำหน่ายหนังสือออกที่คิดไว้ประกอบด้วย - เก็บสิ่งพิมพ์ หรือเอกลักษณ์เกี่ยวกับชุมชน โดยเฉพาะภูมิปัญญาชาวบ้าน หากเมื่อต่อยอดไปอาจจะได้รับงบประมาณจาก อบต. ได้ เช่น ชุมชนที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำ อาจทำมุมเครื่องมือจับสัตว์น้ำเป็นต้น

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนะคะ เดี๋ยวค่อยคุยกันต่อนะคะ

โชคดีมากที่มีเว็บดี ๆ แบบนี้ ทำให้คนที่ไม่เรื่องอย่างเราได้รู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกเยอะ

หนูก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์ ด้วยความเป็นคนที่รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ จึงได้รับหน้าที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในงานที่ทำอยู่ ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของ มูลนิธิกตเวทิตา ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การสนับสนุนนักกีฬาเทเบิ้บเทนนิส (เรามีสโมสร CCP ปิงปองแลนด์ น้อง ๆ สนใจกีฬาด้านนี้ติดต่อมาได้นะค่ะ) และวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งของมูลนิธิคือต้องการจัดทำห้องสมุดขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้คนในชุมชน ให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านหนังสือ ตอนนี้เลยทำโครงการห้องสมุดมีชีวิต หนึ่งเล่ม หนึ่งความคิด ปันชีวิต เพื่อสังคมไทยขึ้น เพื่อต้องการขอรับบริจาคหนังสือเพื่อเข้าโครงการห้องสมุด หนูมองว่าคุณสิริพร และ ผู้เข้าชมเว็บไซด์ เป็นผู้ที่มีความคิดที่ดี มีประสบการณ์ หากมีสิ่งใดบ้างที่คนเพิ่งนับหนึ่งอย่างหนูควรรู้ หนูยินดีรับทุกข้อเสนอแนะเพื่อให้โครงการห้องสมุดประสบความสำเร็จจะได้มีแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก หนึ่งให้กับเด็กต่างจังหวัด หรือถ้าท่านประสงค์จะบริจาคหนังสือหนูก็ยินดีนะค่ะ มูลนิธิตั้งอยู่ที่ 123/903 อาคารนภาลัยเพลส ถนนราษฏร์ยินดี ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

มูลนิธิยังไม่มีเว็บไซด์นะคะ กำลังจัดทำอยู่ e-mail ส่วนตัว [email protected] ยินดีรับฟังทุกความคิดเห็น ขอบคุณค่ะ

ชอบอ่านหนังสือค่ะ ทางโรงเรียนเขาก็เลยให้เป็นบรรณารักษ์ หนังสือเก่ามากจะจำหน่ายออกจากห้องสมุด ควรทำอย่างไรค่ะ ไม่ทราบวิธี หาข้อมูลก็ไม่ได้ ช่วยบอกด้วยค่ะ ขอบคุณมาก

@น้องบรรณารักษ์คนใหม่ เมื่อสำรวจพบว่าจะจำหน่ายทรัพยากรออกจากห้องสมุด วิธีการคร่าวๆ มีประมาณนี้นะคะ

1. จัดทำรายชื่อทรัพยากรที่ต้องการจำหน่อยออก ซึ่งจะเหตุผลประกอบ เช่น เก่าล้าสมัย ชำรุดไม่สามารถซ่อมแซมได้ ถ้าเป็น Database อาจกำหนด code ให้ทราบ เช่น weed2554-B จำหน่ายออกปี 2554 ประเภท B-ล้าสมัย เป็นต้น

2. ขออนุมัติจำหน่ายออก ซึ่ง

   2.1 หากมีการลงทะเบียนทรัพยากร ให้ปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ (สอบถามเพิ่มเติมที่ จนท.พัสดุ)

   2.2 หากไม่มีการลงทะเบียน สามารถจำหน่ายออกได้เลย

(ก่อนจำหน่ายออกจากห้องสมุดแ ต้องทำลายตราประทับของห้องสมุดด้วยนะคะ)

3. การจัดการกับทรัพยากรที่จำหน่ายออก

   3.1 จัดบูธขายหนังสือเก่าสภาพดี ที่ราคาถูก เผื่อมีผู้สนใจอยากซื้อไปเก็บ

   3.2 ช่างกิโลขาย

ปล. ก่อนการสำรวจ ควรต้องมีเกณฑ์การพิจารณาหนังสือเพื่อจำหน่ายออก ให้เป้นแนวปฏิบัติเดียวกันด้วยนะคะ

   3.2

ดีมากๆ เลยค่ะ ชอบๆ จะไปขอคำปรึกษาถึงที่ได้ป่าวค่ะ อิอ

ฮือๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ตอนนี้หนูก็อยู่ในสถานะนั้น งงงงงงงงงงงงงงงงง

ช่วยด้วยยยยยยยย

ตอนนี้หนูมีปัญหามากเลยค่ะ โรงเรียนเปิดมา3วันแล้ว แต่ขอย้อนไปช่วงก่อนเปิดเทอมก่อน หนูเป็นบบรรณารักษ์อัตราจ้างนะคะปิดเทอมไม่ได้ปิดต้องมาทำงานหนูก็มาทาสี มาเก็บของ จัดระบบหนังสือให้ดูเข้าที่กว่าเดิม ที่สำคัญคือห้องสมุดที่นี่ไม่ได้จัดชั้นมา3ปีแล้ว หนูเลยใช้เวลาว่างตอนเปิดเทอมจัดชั้นใหม่ หนังสือมีหกหมื่นกว่าเล่ม มีคนมาช่วยค่ะ จ้างมาต่างหาก จัดชั้นแบบละเอียดแบ่งย่อยตามเลขหมู่เลยค่ะ ดำเนินการทั้งหมดจากหมวด 000-600 ที่เหลือทำไม่ทันค่ะ เลยพักไว้ก่อน

ไม่กี่วันเปิดเทอมมานักเรียนที่เข้าห้องสมุดประจำดูตื่นเต้นกันชั้นหนังสือที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่คนที่ไม่รู้ก็ค้นๆแบบเดิม ยิ่งมีวิชาค้นคว้าเทอมนี้ห้องสมุดต้องรองรับนักเรียนกว่า500คนต่อวัน มีบบรรณารักษ์ควบคุมและให้บริการห้องสมุดคนเดียว บ้างทีก็ไม่ไหวนะคะ

คือหนูอยากจะถามว่าสิ่งที่หนูทำถูกหรือป่าว หรือหนูจัดชั้นละเอียดไป เพราะนี่เป็นแค่โรงเรียนมัธยม 1-6 ที่สำคัญคือนักเรียนถูกปล่อยปะละเลยเรื่องระเบียบการเข้าใช้ห้องสมุด ไม่มีการสอนมานานทำให้เด็กไม่รู้วิธีค้นหาหนังสือที่ถูกต้อง

หนูแทบจัดชั้นไปร้องไห้ไปเลยค่ะ

ต้องขออภัยน้อง Walen ด้วยที่พี่ตอบช้า มัวลาราชการไปปกิบัติธรรมอยู่ 3 เดือน

ไม่รุว่าความคิดเห็นพี่จะยังเป็นประโยชน์หรือไม่

-พี่อยู่วงการห้องสมุดมา 23 ปี ไม่มีวันไหนที่หนังสือบนชั้นจะเรียงถูกต้อง100 %

-หากหนังสือบนชั้นถูกต้อง...แสดงว่าห้องสมุดปิดบริการ...งดการใช้งาน หรือให้บริการแบบชั้นปิด

ตอบคำถามหนู...หนูไม่ผิดหรอกค่ะที่จัดแบบละเอียด

ดีมากขอชมเชยที่บรรณารักษ์มีการจัดชั้น...แต่เรื่องใช้แล้วไม่เก็บที่และรื้อค้นนี่เป็นธรรมดาของมนุษย์

แต่ถ้าบรรณารักษ์ถอย ห้องสมุดเละแน่นอน

--ลองหากอาสาสมัครมาช่วยติดแถบสีกำกับแต่ละหมวด แต่อยากแยกย่อยแยะ...เพิ่มงาน อย่างน้อยก็ให้หมวดเดียวกันอยู่ด้วยกัน

--ลองสำรวจหนังสือเก่า หนังสือที่ไม่มีคนใช้ หนังสือชำรุด จำหน่อยออกบ้าง ชั้นจะไ้มีหนังสือจำนวนน้อยลง จัดได้ง่ายขึ้น

--เสนอโครงการประกวด Ambassador แล้วให้เด็กๆ เป็นตัวแบบ จัดให้มีกิจกรรมการจัดหนังสือ หรือคุณสมบัติผู้ใช้บริการที่น่ารักของห้องสมุด จัดในปีแรกๆ เช่น ม.1 กับ ม.4 เพื่อใช้ความเป็นตัวแบบระยะยาว

--บรรจุเรื่องการใช้ห้องสมุดในวิชาการค้นคว้า อย่างน้อย 30 นาทีใน คลาสก่อนปล่อยเด็กมาค้นงาน น่าจะทำให้เด็กได้ฟังและได้ยิน สิ่งที่ห้องสมุดต้องการอีกครั้ง

เป็นกำลังใจให้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท