เล่าสู่กันฟังหลังการทำงานก่อนและหลัง HA เพื่อการเรียนรู้ สถาบันบำราศนราดูร


โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในสถาบันบำราศนราดูรส่วนที่ต้องคำนึงถึง

เล่าสู่กันฟังหลังการทำงานก่อนและหลัง HA เพื่อการเรียนรู้ สถาบันบำราศนราดูร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในสถาบันบำราศนราดูรส่วนที่ต้องคำนึงถึง

แพทย์หญิงอัจฉรา  เชาวะวณิช
สถาบันบำราศนราดูร
   

9  กุมภาพันธ์  2549

     วันนี้ทาง  คุณจันทรา  จากศูนย์พัฒนาคุณภาพได้เชิญ  อาจารย์ทัศนีย์  สุมามาลย์  Surveyor  จาก พ.ร.พ. มาให้ความรู้เรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในส่วนที่สถาบันไม่ได้แสดงให้เห็นชัดในมิติของนโยบายและการดูแลผู้ป่วยในที่จะบอกได้ว่า  คนไข้ที่  Admit แล้วหลังจากกลับไปจะช่วยตัวเองได้  หัวใจของการให้ความรู้ในวันนี้น่าจะเป็นส่วนของ  Learning, Participation, และ Empowerment

     ในความเป็นจริงทางสถาบันได้ใส่  Empowerment  ไว้ใน  Core  value  แต่ความเข้าใจอาจจะไม่ตรงกัน  อาจารย์ได้ให้ความรู้ในส่วนที่เจ้าหน้าที่ยังขาดความเข้าใจดีมาก  หลังจากการให้ความรู้ในวันนี้คาดว่าชาวบำราศจะเตรียมตัวสำหรับการสอบซ่อมในวันที่  22  กุมภาพันธ์ 2549  ได้ดียิ่งขึ้น  ในสมัยก่อนการให้ข้อมูลผู้ป่วยมักจะเป็นลักษณะ  Education  หรือให้สุขศึกษา  แต่แนวทางของโรงพยาบาลสำหรับสุขภาพต้องเน้นที่การให้ผู้ป่วยต้องช่วยตัวเองได้ทั้งกาย  จิต  สังคม  และจิตวิญญาณ

 

10  กุมภาพันธ์  2549

     ในเวลากลางวันช่วง  12.00 – 13.00 น.  ปกติจะมีการประชุมผู้บริหารเพื่อประสานงานและแก้ปัญหาในช่วงเตรียมการให้ พ.ร.พ.  มาเยี่ยมอีกครั้งในวันที่  22 กุมภาพันธ์ 2549  คุณหมอนภา    จิระคุณ  ได้เตรียม Slide เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่หัวหน้าตึกที่ พ.ร.พ. (อาจารย์ทัศนีย์)  จะมาตรวจเยี่ยมอีกครั้ง  เพื่อดูขบวนการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยและการเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน  คุณหมอนภาได้เตรียม  Slide  เป็นอย่างดีเหมาะสำหรับตึกต่างๆ จะนำไปดัดแปลงไปใช้  สิ่งที่เป็นปัญหาอาจจะเป็น  Learning  Setting  ซึ่งในช่วง พญ.นันทา  อ่วมกุล  มาช่วยแนะนำเราไม่ได้กล่าวมากทำให้เราต้องมาเพิ่มเติมและเตรียม  Case  5 case  เสนออาจารย์  เจ้าหน้าที่เราท่าทางจะวิตกกังวลเหมือนกัน  แต่คิดว่าน่าจะพอทำได้

     ในช่วง  15.00 – 16.00 น.  ผู้อำนวยการได้เชิญระดับหัวหน้างานมา  Review  เรื่อง  HPH  เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันและทราบโยบาย  ซึ่งผู้อำนวยการจะได้กล่าวไว้บ่อยๆ  แต่อาจจะไม่ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานชัดเจน

 

14  กุมภาพันธ์  2549

     วันนี้ในเวลา  12.00 – 13.00 น.  พญ.จริยา  แสงสัจจา  ประธานยาได้เชิญแพทย์เข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาเรื่องการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับ  Drug  error  ส่วน  พญ.รุจนี  สุนทรขจิต  ก็ได้เสนอถึงการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องการส่งยาผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยมียาที่ต้องรับประทานก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและได้พัฒนาแนวคิดเรื่องการกำหนด  High  Alert  Drug  ให้เป็นไปตามแต่ละหน่วยงาน  ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการใช้ยาแตกต่างกันแล้วแต่โรคที่ผู้ป่วย  Admit 

     ในเวลา  15.30  ผู้อำนวยการได้กล่าวถึงนโยบายที่บุคลากรควรจะต้องทราบหลังจากประเมิน  HA  และ  HPH  เพื่อเตรียมการรับภาวะการประเมินผลของระบบราชการและระบบคุณภาพที่กลุ่มอำนวยการ
     หลังการประเมินของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พ.ร.พ.) ในวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2549 ทางกลุ่มอำนวยการได้มาจัด KM โดยการเล่าสู่กันฟังระหว่างหัวหน้างานของกลุ่มอำนวยการโดยเชิญให้ผู้อำนวยการสถาบันมาให้แนวคิดในการใช้ KM เพื่อการพัฒนางานในอนาคต โดยการใช้การประเมินของ พ.ร.พ. เป็นบทเรียน

ผู้เข้าประชุมเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มอำนวยการ จำนวน 120 คน

วาระที่ 1 แนวทางการทำงานของสถาบันหลัง H.A. โดย ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร

วาระที่ 2 วิกฤตการณ์ 7 วัน ก่อน H.A. โดย นายดิเรก สุขแจ่ม และนายธนู คุณยศยิ่ง

วาระที่ 3 สรุปผลการตรวจเยี่ยมงานสิ่งแวดล้อมฯ และงานกลุ่มอำนวยการ (เราได้อะไร / H.A. ให้อะไร) โดย รองผู้อำนวยการสถาบันฝ่ายอำนวยการ

วาระที่ 4 หลัง H.A. เราจะทำอะไร โดย รองผู้อำนวยการสถาบันฝ่ายอำนวยการ

ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร (แพทย์หญิงอัจฉรา  เชาวะวณิช)


  

     ให้ความรู้ เรื่อง การจัดการความรู้ (KM) และแนวทางการดำเนินงานหลังเยี่ยมสำรวจรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA)

สรุปสาระสำคัญ
  • การทำงานของ HA ต้องมีดังนี้  การทำงานเป็นทีม / ต้องมีผู้รับผลงาน เช่น ผู้ป่วย บุคลากรภายใน / CQI / ระบบคุณภาพอื่นๆ
  • KM การบริหารจัดการความรู้  จะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความชำนาญด้านต่าง ๆ มาแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และบันทึกความรู้นั้นไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
  • สถาบันเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต้องปฏิบัติดังนี้
  1. เรื่องเจ้าหน้าที่   ต้องมีสุขภาพแข็งแรง / รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ / ไม่ดื่มสุรา / ไม่สูบบุหรี่
  2. เรื่องผู้ป่วย   ต้องดูแลตัวเองได้ / ไม่กลับมาในเวลาไม่สมควร
  3. เรื่องญาติผู้ป่วย  ต้องมีสุขภาพแข็งแรง / รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

นายดิเรก  สุขแจ่ม   หัวหน้างานสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และซ่อมบำรุง

สรุปสาระสำคัญ

     เมื่อได้รับนโยบายจากผู้บริหาร ก็รู้สึกหนักใจ เพราะในอดีตมีอาคารไม่มาก งานก็น้อย  ปัจจุบันอาคารต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ตลอดจนต้องทำงานรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยจากการที่ได้รับการอบรม เรื่อง KM ทำให้มีกำลังใจขึ้น เพราะรู้จักคิดในทางที่ดี เอาเรื่องที่ประสบความ สำเร็จมาใช้ในการทำงาน เข้าใจบทบาทของตนเองที่จะขายบริการด้านใดให้กับองค์กรภายนอก และภายในก็เลยสนใจที่จะทำงาน ขยะ และน้ำเสียให้มีคุณภาพ

     ความภูมิใจจากสิ่งที่ทำก็คือ คำวิจารณ์จากคณะผู้เยี่ยมสำรวจ การได้รับความร่วมมือร่วมใจจากเพื่อนร่วมงานทุกคน

 

นายธนู  คุณยศยิ่ง   หัวหน้างานซ่อมบำรุงทั่วไป

     อดีตงานซ่อมบำรุง จะทำงานซ่อมต่อเมื่อมีผู้แจ้งซ่อมเท่านั้น ซึ่งเป็นการทำงานสืบต่อกันมาเป็นวัฒนธรรมเดิมๆ ไม่มีแผน ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการพัฒนา ต่อมาเมื่อมีการรับรองคุณภาพ ISO จึงได้มีการพัฒนาระบบงานขึ้นมาระดับหนึ่ง จนกระทั่งมีกระแส HA จึงได้มีการจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เช่น การจัดความรู้ (KM) ทำการ BSC มาใช้การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง CQI ฯลฯ ทำให้มีแนวคิดที่จะพัฒนางานเพิ่ม ขึ้น เริ่มเน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และการทำงานเชิงรุก โดยจัดทีมช่างเยี่ยมตามตึกทุกวันจันทร์ และรับแจ้งซ่อมทางโทรศัพท์ ตลอดจนจัดแบ่งทีมช่างดูแลรับผิดชอบบำรุงรักษากลุ่มอาคารต่างๆ  

ผลจากการพัฒนา

  • ใบแจ้งซ่อม เดิม 100% ลดลงเหลือเพียง 20%
  • ความพึงพอใจของผู้รับบริการ 87%

เราทำงานอะไรก่อน HA

          ช่วงเวลา 1 เดือน มีความวุ่นวายมาก เพราะแต่ละตึก แต่ละงานก็ต้องการปรับปรุงงานของตนเอง ทุกงานต้องการเร่งด่วนทั้งสิ้น ต้องระดมสมอง และสรรพกำลังช่วยกันอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้คำนึงเวลาปฏิบัติปกติ รีบทำงานให้เพื่อนร่วมงาน และงานของตนเองจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สิ่งที่ได้จากประสบการณ์ครั้งนี้

1. การมองเป้าหมายใหญ่เป็นสำคัญ

2. ความสามัคคี กำลังใจ การปฏิบัติตามพรหมวิหาร 4

3. การปฏิบัติให้ต่อเนื่อง จนเป็นนิสัย และเป็นประเพณี

4. การวางแผนล่วงหน้า

นายศิริชัย  เลี้ยงอักษร  รองผู้อำนวยการสถาบันฝ่ายอำนวยการ


สรุปผลการเยี่ยมสำรวจของ HA ได้รับคำชมเชย 2 ประเด็น ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2 ประเด็น

1. เราได้อะไร / HA ให้อะไร เราได้อะไร

  • ความสามัคคี / ความเสียสละ / การมององค์กรเป็นศูนย์รวม / การใช้วิกฤตเป็นโอกาส
  • HA ให้อะไร การทำงานโดยมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง / การตั้งเป้าหมายคุณภาพ ผลผลิตที่ชัดเจน ตอบสนองความต้องการของลูกค้า / การทำงานจะต้องเชื่อมโยงกัน / มีการประเมินตรวจสอบอย่างมีระบบและต้องประเมินตรวจสอบเชิงรุกด้วย

2. หลัง HA เราจะทำอะไร

  • ทุกงานต้องมองกิจกรรมที่ให้บริการ หรือสินค้าให้ชัดเจน บางงานอาจจะมีกิจกรรมเดียวร่วมกัน บางงานอาจจะแยกสินค้า / บริการ เช่น ธุรการ / สิ่งแวดล้อมฯ / การเงิน ทำ Unit Profile แยกประเภทสินค้าให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการกำหนดตัวชี้วัด และประเมินผล · การทำงานต้องเชื่อมโยง ระดับปฏิบัติต้องรู้ บทบาท เป้าหมาย ตัวชี้วัดของตนเองอย่างชัดเจน (รู้ตัวตนของตนเอง) 
  • ต้องมีการตรวจ หรือประเมินตนเองเชิงรุก เก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการพิจารณา แก้ปัญหา / พัฒนา
  • ต้องทำงาน CQI หรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยวางแผนงานประจำปีที่ชัดเจน

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15720เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอเป็นกำลังใจอีกคนค่ะ

สิ่งที่บันทึกไว้เป็นความทรงจำที่ดีของความสามัคคีและการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคลากรบำราศฯ ทุกหน่วยงานในการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อผ่านการรับรอง HA และสิ่งที่ต้องทำต่อไปเพื่อความยั่งยืนของคุณภาพงานนั้น ในเบื้องต้นคิดว่าน่าจะเป็นการเสริมกำลังใจของบุคลากรให้มีความรักความสามัคคีกัน มีขวัญกำลังใจและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จากนั้นต้องเสริมพื้นความรู้ในเรื่องความเสี่ยง, HPH และ Competency ให้แน่นยิ่งขึ้นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 

ช่วงเดือน กค.-กย.48บำราศฯของเราได้มีกิจกรรมกลุ่มCOPลดนำหนัก(BMI>29) ประมาณ 54 คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาสมาชิกภายในกล่มหลังจากนั้นคุณกรองแก้ว(ทีมส่งเสริมสุขภาพ)ได้เชิญผ้เชียวชาญด้านอาหารและออกกำลังกายมาให้ความรู้สลับกับให้สมาชิกกลุ่มได้ลองนำสูตรอาหารไปทดลองปฏิบัติและนำมาแลกเปลี่ยนกันเช่นสูตรพระเทพฯ มีสมาชิกท่านหนึ่ง"คุณตระกาน"ได้เสนอตัวเองจัดทำอาหารลดนำหนักสำหรับเพื่อนๆ วันละ 2 มื้อๆละ 30 บาทโดยมีคุณศุภิดาจัดทำเมนูอาหารลดนำหนักให้ มีสมาชิกในกลุ่ม 7 ท่าน ทดลองประมาณ 2 สัปดาห์และได้แนวทางไปปรับใช้สำหรับตนเอง  ในส่วนการออกกำลังกายจะมีรำไม้พลองป้าบุญมี รำดอกบัว แอโรบิค และลีลาศ สลับกันไป ตลอดระยะเวลา 3 เดือนจากการพูดคุยกับสมาชิกกล่มได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  มีสมาชิก 5 ท่านที่มีการออกกำลังกายและควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งนำหนักลดได้>10% ซึ่งประสบการณ์ของทั้ง 5 ท่านเป็นที่ประทับใจทีมงานอย่างมากถ้ามีโอกาสจะได้เล่าสู่กันฟังต่อไป

บทเรียนที่สำคัญที่ได้รับและคิดว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนางานต่อไป คือ "การทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างตอบแล้วเอามารวมกันส่ง" เพราะทีแรกคิดว่าพอเราถูกมาเยี่ยมสำรวจซ้ำเฉพาะจุด (Focus Survey) แล้วคงหมดปัญหา  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกข้อมูลที่เราตอบ พรพ.ไป จะต้องเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน ตั้งแต่ระดับสถาบัน ระดับทีมนำทางคลินิก ระดับทีมเฉพาะด้านและระดับหน่วยงาน ซึ่งพวกเราทุกคนต่างก็รับผิดชอบในงานของตนเองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ขาดการเชื่อมโยงกันจริง ๆ เช่น เรื่องความเสี่ยงด้านยาที่ตอบในข้อมูลระดับสถาบัน และกรรมการความเสี่ยงนำเสนอในกรณีพึงสังวรณ์ ก็ต้องดูข้อมูลของคณะกรรมการยาว่ามีประด็นนี้หรือไม่ เป็นต้น

จากการที่ได้ร่วมไปในทีมอ.ทัศนีย์ ในการประเมินด้าน HPH ได้เห็นโอกาสพัฒนาที่เป็นประโยชน์ในหลายๆด้านโดยเฉพาะการ empower ตนเอง ซึ่งคิดว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป  จะ empower ตนเองอย่างไรให้มีอิทธิบาท 4 กับการทำงาน  ถ้าทำได้ถือว่าได้สร้างกุศลให้กับตนเองและสถาบันอย่างน่าอนุโมทนา

อยากให้ปิ่งและมอมอ่านของอาจารย์วิจารณ์ในเรื่องkMภาคปฏิบัติตอนที่14 15 16 เรื่องการพัฒนาบุคลากรค่ะ

                                         อัจฉรา

สิ่งที่แสดงว่าชาวบำราศฯ เอื้ออาทรต่อผ้ป่วยและอยากช่วยให้พ้นทุกข์ที่นอกเหนือจากการป่วยทางกาย ก็คือกำเนิดหน่วยงานแนะแนวฯ ในปีประมาณ 2534 และกำเนิดชมรมกัลยาณมิตรพิชิตทุกข์ ในปี 46 ซึ่งในส่วนของชมรมกัลยาณมิตรพิชิตทุกข์ เกิดจากเจ้าหน้าที่บำราศฯเห็นและเข้าใจในความทุกข์ของผ้ป่วยมีจิตใจอยากช่วยเหลือผ้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยช่วยกันบริจาคเงินคนละ 100 บาทต่อเดือนเพื่อเป็นทุนสำหรับเด็กติดเชื้อฯซึ่งนับวันจำนวนเงินบริจาคก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อยากให้ผ้มีส่วนร่วมและรับร้ได้อนุโมทนา สาธุ ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท