ระเบียบว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงในสหภาพพม่า (เก่า)


ระเบียบว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงในสหภาพพม่า (เก่า)

ระเบียบว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงในสหภาพพม่า (เก่า) 

       ภายหลังจากที่ประเทศสหภาพพม่าได้ประกาศปิดน่านน้ำเมื่อเดือนตุลาคม 2542 ทำให้เรือประมงไทยที่เข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่าต้องนำเรือกลับประเทศ และไม่สามารถกลับเข้าไปทำการประมงได้ตามปกติ รัฐบาลได้ดำเนินการเจรจากับทางการพม่าอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ จนกระทั่งในที่สุดพม่าได้เปิดน่านน้ำเพื่อการประมงอีกครั้งหนึ่งในเดือนตุลาคม 2544 ได้มีการเจรจาในระดับรายละเอียดและมีข้อสรุปเกี่ยวกับระเบียบเงื่อนไขในการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่า ดังนี้

1. จะไม่มีการให้สิทธิการทำการประมง (Fishing Rights) แก่เรือประมงต่างชาติ (โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมการจับสัตว์น้ำ การรับสัมปทานการจับสัตว์น้ำ และการขนสัตว์น้ำไปตลาดต่างประเทศโดยตรง โดยไม่แจ้งจำนวน-ชนิด-มูลค่าสัตว์น้ำ เป็นต้น)

2. การอนุญาตจับสัตว์น้ำแก่เรือประมงต่างชาติจะให้ผ่านบริษัทร่วมลงทุนเท่านั้น (Joint Venture Company) และอยู่ภายใต้แผนงาน Joint Venture Fishing Programs ซึ่งจะให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องบนบกด้วย

3. บริษัทร่วมลงทุนจะต้องยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (Myanmar Investment Commission, MIC) พิจารณาอนุมัติ และพม่าจะอนุญาตให้เข้าไปทำการประมงได้ในระหว่างที่ยื่นคำร้องขออนุญาตจัดตั้งบริษัท/ลงทุนจาก MIC

4. การจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุน มี 3 วิธี คือ

4.1 ระหว่างบริษัทต่างชาติและกรมประมง
4.2
ระหว่างบริษัทต่างชาติและบริษัทร่วมลงทุนที่มีอยู่เดิม
4.3
ระหว่างบริษัทต่างชาติและบริษัทพม่า

5. บริษัทร่วมลงทุนจะต้องลงทุน (ก่อสร้างและดำเนินการ) ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้

5.1 โรงน้ำแข็ง ห้องเย็น
5.2
โรงงานปลากระป๋อง
5.3 โรงงานอบแห้ง (
Dehydration Plant)
5.4
โรงงานปลาป่น
5.5
โรงงานอวน
5.6
อู่ต่อเรือประมง
5.7
อู่ซ่อมเรือ
5.8 การซ่อมแซมบนบก (
Onshore Repair Facilities)
5.9
การเพาะเลี้ยงกุ้ง/กุ้งน้ำจืด/ทะเล โรงเพาะฟักและธุรกิจต่อเนื่อง
5.10
อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ บนบก

6. เขตทำการประมง

6.1 เรือประมงของบริษัทร่วมลงทุนต้องทำการประมงนอกเขตทะเลอาณาเขต (หลังเขต12 ไมล์ จากเส้นฐาน)
6.2 ให้ทำประมงในพื้นที่อนุญาตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่กรมประมงพม่ากำหนดเท่านั้น

7. กรมประมงพม่าจะกำหนดเรือประมงที่สามารถทำการประมงในเขตทำการประมงที่กำหนด โดยยึดหลักเกณฑ์ศักยภาพของการประมง อัตราการจับและสมรรถนะของเรือ

8. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
8.1 เรืออวนลากและเรืออวนล้อม - 10 เหรียญ/GRT/
เดือน
8.2 เรือเบ็ดราว 10 เหรียญ/GRT/
เดือน
8.3 เรือแม่ - น้อยกว่า 100 ตันกรอส ตันกรอสละ 5 เหรียญ/เที่ยว - ระหว่าง 100 - 150 ตันกรอส ตันกรอสละ 4 เหรียญ/เที่ยว - ระหว่าง 150 - 250 ตันกรอส ตันกรอสละ 3
เหรียญ/เที่ยว
8.4 ค่าจดทะเบียน - 50
เหรียญ/ลำ

9. การแบ่งผลประโยชน์จากการจับ (Catch Sharing) ต้องแบ่งผลประโยชน์จากการจับให้รัฐบาลพม่า (กรมประมง) ร้อยละ 15 ของสัตว์น้ำที่จับได้ (ในรูปมูลค่าหรือสัตว์น้ำ (in kind))

10. ภาษี (Tax) เก็บร้อยละ 10 ของมูลค่าสัตว์น้ำที่ส่งออกเป็นเงินเหรียญสหรัฐ

11. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการใช้ท่าเรือ ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟ เป็นต้น บริษัทร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบ

12. ลูกเรือ (Fishing Crew)

12.1 ชาวพม่า 5 คน ในช่วง 4 เดือน
12.2 ชาวพม่า 7 - 10 คน ในช่วง 6
เดือน
12.3 ลูกเรือชาวพม่าครึ่งหนึ่งหลังจาก 6
เดือน แล้ว
12.4 เจ้าหน้าที่กรมประมง 1 คน โดยบริษัทร่วมลงทุนออกค่าใช้จ่ายให้

13. จุดตรวจ (Check Points) และถ่ายปลา สิตต่วย ตันด่วย มะริด เกาะสอง ไฮจิ และย่างกุ้ง

14. การขนส่งสัตว์น้ำ

14.1 สัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมดจะต้องนำขึ้นที่ท่าเรือ ประเมินราคา ขาย และขนถ่ายไปเรือแม่เพื่อส่งออก
14.2
ไม่อนุญาตให้ส่งสัตว์น้ำออกนอกประเทศโดยเรือประมง

15. เงินประกันความเสียหาย (Security Deposit)

15.1 ต้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ ที่กรมประมงพม่า
15.2
เงินประกันจำนวนนี้ จะใช้สำหรับเป็นค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาตจับสัตว์น้ำ และ จ่ายเป็นค่าปรับกรณีกระทำผิด เป็นต้น
15.3
จำนวนเงินประกันที่เหลือสามารถขอคืนได้

16. พันธบัตรประกันการลงทุน (Performance Bond) จะต้องมีการวางพันธบัตรประกันการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่กระประมง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี

--------------------------------------------------------------------------------

คุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะเข้าไปทำ การประมงในประเทศสหภาพพม่า   

   เนื่องจากการเปิดน่านน้ำของพม่าในครั้งใหม่นี้ ฝ่ายไทยและฝ่ายพม่ามีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรได้มีกลไกในการกำกับดูแลการทำประมงร่วมกัน เพื่อให้การทำประมงมีความยั่งยืนบนผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการกรมประมงของพม่าจึงขอให้กรมประมงไทยพิจารณากลั่นกรองผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปร่วมทุนกับฝ่ายไทยเพื่อนำเรือประมงไทยเข้าไปจับปลา โดยการออกหนังสือรับรองให้กับผู้ประกอบการเพื่อนำไปแสดงต่อพม่า กรมประมงจึงได้ออกระเบียบกรมประมงว่าด้วยการประกอบการประมงในประเทศสหภาพพม่า พ.ศ.2545 เกี่ยวกับการกำหนดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการทำการประมงในน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า และการออกหนังสือรับรองสำหรับผู้ประกอบการประมงร่วมกับประเทศสหภาพพม่า ซึ่งผู้ประกอบการต้องยื่นหลักฐานประกอบการขอ ดังนี้

1.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือของหุ้นส่วนผู้จัดการในกรณีที่เป็น นิติบุคคล

2. หนังสือมอบอำนาจในกรณีไม่ได้ยื่นคำขอด้วยตนเอง

3. เอกสารจากกรมประมงหรือหน่วยงานอื่นใดในประเทศสหภาพพม่า ซึ่งแสดงว่าผู้ประกอบการเป็นผู้ได้รับโอกาสให้เข้าไปทำการร่วมกับฝ่ายพม่า หรือเอกสารอื่นใดที่ผู้ประกอบการได้ไปตกลงทำสัญญาทำการประมงร่วมกับฝ่ายพม่า

4. หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย

5. หนังสือแสดงความประสงค์ของเจ้าของเรือประมง เพื่อเข้าร่วมโครงการทำการประมงในประเทศสหภาพพม่า ของเจ้าของเรือประมงไม่น้อยกว่า 5 ลำ พร้อมสำเนาทะเบียนเรือไทยและใบอนุญาตใช้เรือ

6. หนังสือคำมั่นของผู้ประกอบการทำการประมงในน่านน้ำประเทศสหภาพพม่าต่อกรมประมง ว่าด้วยการปฏิบัติการทำประมงในน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

6.1 ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามข้อตกลง ระเบียบกฏเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงในประเทศสหภาพม่าทุกประการ
6.2
ข้าพเจ้าเข้าใจในภาระหน้าที่ควบคุมดูแลเรือประมงที่เข้าร่วมโครงการกับข้าพเจ้า เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อตกลง ระเบียบ กฎเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงในประเทศสหภาพพม่าทุกประการ
6.3
ข้าพเจ้าจะชี้แจงข้อปฏิบัติและเงื่อนไขในการทำประมงให้เจ้าของเรือประมง ผู้ควบคุมเรือ และลูกเรือประมงทราบ โดยละเอียดก่อนที่เรือประมงจะออกเดินทางไปทำการประมง
6.4
ข้าพเจ้ามีหน้าที่รวบรวมทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตรการทำ การประมงนอกน่านน้ำ และใบอนุญาตผ่านน่านน้ำเข้าไปในประเทศสหภาพพม่า เพื่อนำเรือออกไปทำการประมงในประเทศนี้เสนอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมประมง เพื่อตรวจสอบ
6.5
ข้าพเจ้าจะดำเนินการเพื่อให้เจ้าของเรือประมงที่เข้าร่วมโครงการรายงาน การนำเรือออกไปทำการประมง และนำเรือเข้าเทียบท่ากับประมงจังหวัดในภูมิลำเนาของเจ้าของเรือ เพื่อลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเก็บข้อมูล
6.6
ข้าพเจ้าจะร่วมรับผิดชอบกับเจ้าของเรือเพื่อช่วยเหลือลูกเรือที่ถูกจับกุม ตามหลักมนุษยธรรมหากเรือประมงได้กระทำความผิดและถูกจับกุม ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหนังสือคำมั่น กรมประมงจะพิจารณาถอนชื่อผู้ประกอบการประมงในน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า เป็นการชั่วคราวหรือถาวรแล้วแต่กรณี

--------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ของเจ้าของเรือหรือไต้ก๋งในการทำ การประมงในประเทศสหภาพพม่า

เจ้าของเรือประมงอาจเป็นผู้ประกอบการเองหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามและกำกับดูแลไต้ก๋งและลูกเรือ ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ทั้งก่อนและหลังที่ออกไปทำการประมงในประเทศ สหภาพพม่า ดังนี้

1. เจ้าของเรือหรือไต้ก๋งเรือต้องดำเนินการเพื่อให้มีทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ อาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำ ใบผ่านน่านน้ำจากพม่าหรือใบอนุญาตทำการประมงในพม่า เพื่อเสนอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมประมง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนออกเดินทางไปทำการประมง โดยสามารถดำเนินการผ่านผู้ประกอบการที่เรือนั้นเข้าร่วมโครงการอยู่

2. เจ้าของเรือหรือไต้ก๋ง ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อตกลง ระเบียบ กฎเกณฑ์ว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงในประเทศพม่า และชี้แจงรายละเอียดให้กับลูกเรือประมงทราบ

3.เจ้าของเรือหรือไต้ก๋งเรือต้องนำเรือประมงไปแจ้งเข้าออกไปทำการประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมประมงในภูมิลำเนาที่เรือเทียบท่า เพื่อขอรับ "ใบผ่านตรวจประมง" เป็นภาษาอังกฤษเพื่อไว้ประจำเรือ

4. เจ้าของเรือและไต้ก๋งเรือต้องรับผิดชอบร่วมกับผู้ประกอบการประมง เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกเรือ ในกรณีถูกจับหรือประสบเคราะห์กรรม ตามหลักมนุษยธรรม

   ที่มา  http://www.navy.mi.th/thaiasa/boat31.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15701เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท