แผนที่ความคิด


จัดระเบียบความคิด

ช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษา ผมเองได้มีโอกาสพาบุคลากรในหน่วยงานไปร่วมทำบุญที่วัดจุฬามณี ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสพาบุคลากรไปร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษาและผ้าป่า นอกจากนี้ได้มีโอกาสไปทำบุญส่วนตัวกับญาติพี่น้องก็เป็นความสุขใจอย่างหนึ่งเมื่อได้อ่านบทสวดมนต์และน้อมใจให้ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งทำให้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต เวลาที่เรามีความสงบความคิดไม่ฟุ้งซ๋านไปในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้มีสมาธิในการคิดนึกสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบ สุดท้ายแล้วการที่เราจะทำอะไรให้ดีนั้นจะต้องทำเป็นเรื่อง ๆ อย่างเป็นระบย การใช้แผนที่ความคิด Mind Map ในการวางแผนการทำงาน หรือสิ่งใดก็ตามที่เรามีความตั้งใจอยากจะทำ โดยการหากระดาษที่วางเปล่ามาแผ่นหนึ่ง แล้วเขียนหัวข้อเรื่องที่สำคัญไว้ที่กลางกระดาษ แล้วใช้ความนึกคิดต่อว่ามีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สำคัญที่เราตั้งใจจะทำและทำให้เรื่องดังกล่าวสำเร็จ โดยการลากเล้นต่าง ๆ จากหัวข้อสำคัญที่กลางกระดาษและเขียนหัวข้อย่อย ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยทำให้เรามองภาพรวมของเรื่องนั้นอย่างเป็นระบบ ผมนำตัวอย่างการเขียนแผนที่ของคุณบุญศิริ เทพภูธร มาแบ่งปันให้ชุมชนสำนักงานเลขานุการทราบครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1566เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2005 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นพี่บอยพูดเรื่อง mindmap ป๋มขอเสริมในส่วนของการทำ mindmap นิดนึงนะครับ ^^
คำกุญแจ                                            

 

            คำกุญแจฟื้นความจำ หรือวลีเป็นสิ่งซึ่งโดยตัวมันเองแล้วสามารถก่อให้เกิดภาพพิเศษได้หลากหลาย เมื่อเห็นมันอีกครั้งก็จะนำไปสู่ภาพเดิม เพราะมันนำไปสู่คำนาม หรือคำกริยาที่สำคัญ โดยการล้อมรอบด้วยการเพิ่มกุญแจคำคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์

 

            ส่วนคำคิดสร้างสรรค์เป็นคำที่กระตุ่นความคิด และช่วยในการนึกภาพโดยเฉพาะ แต่จะเป็นคำที่กว้างขวางมากกว่าคำกุญแจฟื้นความจำซึ่งตรงไปตรงมา ยกตัวอย่าง คำว่า "เยิ้ม" และ"มหัศจรรย์" เป็นคำที่กระตุ้นความคิดโดยเฉพาะแต่ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ภาพที่เจาะจงลงไปเสมอไป

 

            นอกจากจะเข้าในถึงความแตกต่างระหว่างคำคิดสร้างสรรค์กับคำช่วยฟื้นความจำแล้วก็จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของคำเอง รวมไปถึงธรรมชาติของสมองในการใช้คำต่างๆด้วย

 

 

 คำกุญแจกับการจดบันทึกแบบปกติ

 

            เนื่องจากพวกเรามักจะคุ้นเคยกับคำพูดและการเขียนตัวหนังสือมากเกินไป เราจึงคิดอย่างผิดๆ ว่า โครงสร้างประโยคปกติเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการขจดจำภาพลักษณธและความคิดที่สื่อด้วยถ้อยคำ ดังนัเน นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ หรือแม้แต่ผู้ที่จบการศึกษาไปแล้ว ก็มักจะจดบันทึกแบบปกติ

 

            จากความรู้ใหม่เรื่องแนวความคิดหลักและการฟื้นความจำที่แสดงให้เห็นว่า การจดบรรทึกแบบปกตินี้ 90 % ของคำต่างๆ นั้น ไม่จำเป็นสำหรับการฟื้นความจำ ตัวเลขที่สูงลิ่วอย่างมากเช่นนี้กลับยิ่งสร้างความน่าตกใจมากขึ้น เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับการจดบรรทึกแบบประโยคๆ นั้นคือ

 

1.เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์กับการจดบันทึกคำไม่ได้ช่วยในการจำ

 

2.เสียเวลาไปกับการอ่านซ้ำคำที่ไม่จำเป็น

 

3.เสียเวลาในการค้นหาคำซึ่งเป็นคำกุญแจฟื้นความจำ ซึ่งมันถูกกลืนหายไปโดยการที่ไม่มีการทำเครื่องหมายไว้ และถูกรวมอยู่กับคำที่ไม่ช่วยฟื้นความจำอื่นๆ

 

            ในที่สุดแแล้ว การเชื่อมกันระหว่างคำกุญแจฟื้นความจำ และแนวคิดควรถูกเน้นควรหลีกเลี่ยงการบันทึกคำกุญแจในลักษณะบัญชีหางว่าว และต่อยาวบนบรรทัดเดียว

 

 

การจดบันทึกแบบ Mind Map

 

            ถ้าเราต้องการให้สมองโยงใยใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรจำรูปแบบการบรรจุข้อมูลให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการจัดในลักษณะ "แบ่งเป็นช่อง" ซึ่งจะเป็นไปตามที่ว่า ถ้าหากสมองทำงานขั้นต้นกับคำสำคัญในการเชื่อมโยง และประสานรวมกับแล้ว ความสัมพันธ์ของการจดบันทึกและคำของเรา ก็ควรจะได้รับการจัดรูปแบบเดียวกัน แทนที่จะเป็นแบบ "เส้นตรง" อย่างที่เคยทำกันมา

 

            แทนที่เราจะเริ่มจากบรรทึกบนแล้วเขียนลงมาเป็นประโยค หรือลำดับรายการ เราควรเริ่มจากศูนย์กลางด้งความคิดหลัก แล้วแตกสาขาออกมาเป็นความคิดย่อย ตามลักษณะของความคิดและโครงเรื่องหลัก

 

 

ข้อดีของการเขียนบันทึก Mind map                   

 

   Mind Map หรือแผนที่ความคิดนั้น มีข้อดีหลายประการ เมื่อเทียบกับการจดบันทึกแบบเส้นตรง

 

1. ศูนย์กลางหรือความคิดหลักจะถูกกำหนดขึ้นอย่างเด่นชัดกว่าเดิม

 

2. ความสัมพันธ์ที่สำคัญของแต่ละความคิดเชื่อมโยงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยความคิดที่สำคัญกวาอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางมากกว่า ความคิดที่สำคัญน้อยลงไปจะอยู่บริเวณขอบ

 

3. การเชื่อมโยงระหว่างคำสำคัญจะเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตำแหน่งที่ใกล้กันและการเชื่อมต่อกัน

 

4. ผลจาก 3 ประการดังกล่าวข้างต้น ทำให้การฟื้นความจำ และการทบทวบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น

 

5. ธรรมชาติของโครงสร้างดังกล่าวช่วยให้การเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ ทำได้ง่ายขึ้น โดยข้อมูลจะไม่กระจัดกระจาย หรือต้องอัดใส่เข้าไป

 

6. Mind Map แต่ละแผ่นจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ช่วยฟื้นความจำง่ายขึ้น

 

 

กฎของ Mind Map                           

 

1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ ภาพๆเดียวมีค่ากว่าคำพันคำ ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มความจำมากขึ้นด้วย ให้วางกระดาษตามแนวนอน

 

2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ

 

3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เพื่อที่ว่าเมื่อย้อนกลับไปอ่านจะให้ภาพที่ชัดเจน สะดุดตาอ่านง่าย และก่อผลกระทบต่กความคิดมากกว่า การใช้เวลาเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยในการเขียนตัวให้ใหญ่ อ่านง่ายชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง

 

4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ  เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ

 

5. คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เช่น คำละเส้น เพราะจะช่วยให้แต่ละคำเชื่อมโยงกับคำอื่นๆ ได้อย่างอิสระ เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยือหยุ่นได้มากขึ้น

 

6. ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา

 

7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่ามัวแต่คิดว่าจะเขียนลงตรงไหนดี หรือว่าจะใส่หรือไม่ใส่อะไรลงไป เพราะล้วนแต่จะทำให้งานล่าช้าไปอย่างน่าเสียดาย

อันนี้เป็นเพียงแนวทางในการทำ เฉยๆ นะครับ จริงๆแล้วผมคิดว่าการทำ mindmap นั้นทำให้เราได้มีการเรียบเรียงความคิดของตัวเราเองด้วยนะครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท