การทะเลาะกันคือการเรียนรู้


ทะเลาะกัน คือความคิดเห็นไม่ตรงกันไม่ได้แปลว่าต้องเกลียดกัน
องค์กรของผมจะมีการประชุมทบทวนการจัดการประจำไตรมาสทุก 3เดือนและในไตรมาสที่ 2ที่ได้ประชุมผ่านไปทำให้ผมได้รับความรู้เพิ่มเติมคือในระหว่างการประชุมได้มีการนำเสนอหัวของงานงานหนึ่งจากผู้จัดการท่านหนึ่งที่ต้องการช่วยปรับปรุงการทำงานของผู้จัดการอีกท่านหนึ่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยมุมมองของบุคคลต่างแผนกซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจกันเกิดขึ้นถึงขนาดที่สามารถเรียกได้ว่าทะเลาะกันแต่ผลสุดท้ายเมื่อใช้เวลาในการพูดคุยและให้เหตุผลกันในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ได้ชี้แจงที่มาและการแก้ไขร่วมกันก็ทำให้ได้ผมสรุปออกมาเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายและได้ผลประโยชน์กับองค์กรดังนั้นผมจึงได้ไปค้นหาเพิ่มเติมจึงได้ทราบว่า การทะเลาะกันคือการเรียนรู้ได้หากว่าสามารถฝึก Learn how to learn ในการทะเละมาได้ถูกวิธี ซึ่งผู้บริหารองค์การจะต้องสร้างบรรยากาศการทะเลาะแบบเรียนรู้ ทะเลาะกันแบบไม่โกรธกัน เอาคนที่มีหลาก ความคิดฝังใจ (mental model )มาเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเมื่อทะเลาะแล้วได้ความรู้สึกขึ้นมีสติในการเรียนรู้ผ่านกรรมวิธีทะเลาะกัน คำว่า ทะเลาะกัน คือความคิดเห็นไม่ตรงกันไม่ได้แปลว่าต้องเกลียดกัน Tom Peters เขียนในหนังสือ Re-Imagine ว่า องค์กรที่จะอยู่รอดได้สมัยใหม่ คือคนในองค์กร ต่างความคิดกัน ทำงานร่วมกัน ทะเลาะกัน แต่ได้ผลดีออกมา แต่อย่างไรก็ตามคนจะต้องแบ่งแยกให้ออกระหว่างความรู้สึกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงาน ซึ่งผมก็เห็นด้วยเพราะอย่างตัวอย่างที่ผมได้พูดไว้ข้างต้นหลังจากที่ได้ทะเลาะกันแล้วในเรื่องงาน หลังจากได้ลงมติแล้วก็จะพูดคุยและประสานงานเรื่องอื่นได้เหมือนเดิม ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการประสานงาน เพราะทั้งสองคนไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวเป็นเพียงเรื่องของงานที่ต่างฝ่ายต่างต้องการให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1564เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2005 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

        ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ จะมีประโยชน์...หรือไม่มีประโยชน์ ขึ้นอยู่กับมุมมองและการนำไปใช้ เช่น พิษของงู ถ้ามองในด้านไม่ดี...มันก็คือยาพิษอย่างหนึ่ง  แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ก็สามารถนำมาสกัดเซรุ่มเพื่อรักษาคนถูกงูกัดได้ 

         ผมจึงเห็นด้วยว่าบางครั้งการทะเลาะกันบ้าง  ก็ก่อให้เกิดประโยชน์  แต่จะเกิดประโยชน์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตัวบุคคล  หากมีการโต้แย้งกันด้วยเหตุผล  โดยมีอารมณ์...อคติ...อัตตา...เจือปนอยู่น้อย  ก็ย่อมที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการทำงาน  เพราะจะได้รับฟังความคิดเห็นและมุมมองที่หลากหลาย...ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องพร้อมที่จะรับฟังเหตุผลคนอื่นด้วยเช่นกัน...เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม...หากเริ่มมีประเด็นที่แตกต่างทางความคิด...และมีการโต้แย้งเกิดขึ้น...หากมีฝ่ายใดที่ยึดมั่นว่าความคิดของตนเองถูกต้องที่สุด...การทะเลาะนั้นก็คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย

         สำหรับสังคมไทย...ยังเป็นเรื่องยากน่ะครับ...ที่จะเกิดประโยชน์จากการโต้แย้งหรือทะเลาะ...เพราะวัฒนธรรมของสังคมไทย  ไม่ได้เป็นเช่นนั้น  เรามีวัฒนธรรมเคารพผู้อาวุโส  พูดจากันด้วยความสุภาพ   ลองนึกเหตุการณ์ดูน่ะครับ...ถ้าในการประชุม  คุณเป็นพนักงานระดับอาวุโส กำลังเสนอความคิดเห็นต่อหัวหน้า  และมีพนักงานใหม่หรือรุ่นน้องโต้แย้งว่า...ความคิดของเราไม่ถูกต้อง...จะมีสักกี่คนที่จะยอมรับเรื่องเหล่านี้ได้...โดยไม่มีอคติกับรุ่นน้องคนนั้น

         ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุด...หากคุณจะโต้แย้งความคิดเห็นกับใคร...คุณควรจะมีศิลปในการนำเสนอ...ไม่ให้ผู้ถูกโต้แย้งเสียหน้าและมีทางถอยให้เขาด้วย...เพราะคนไทย...หน้าตาคือสิ่งสำคัญที่สุด  ลองดูจากวัฒนธรรมการจัดงานของคนไทยก็ได้ครับ  จัดงานบวช งานแต่งงานกันยิ่งใหญ่มาก...เพราะว่าอะไร  เพราะว่าหน้าตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนไทยส่วนใหญ่ 

         เพราะฉะนั้น...อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง...ที่การทะเลาะกัน...จะก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงในสังคมไทย...แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรจะโต้แย้งความคิดเห็นของใครน่ะครับ...แต่ขอให้โต้แย้งอย่างมีศิลปและให้เกียรติผู้ร่วมสนธนา...แล้วคุณจึงจะได้รับประโยชน์จากการทะเลาะหรือโต้แย้งอย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท