ความเข้าใจในเกณฑ์ประเมิน การฝึกอบรม


      วันนี้ได้มีโอกาสมาอ่านสรุปข้อคิดเห็นจากการตรวจประเมินคุณภาพของกลุ่มต่าง ๆ ข้อเสนอแนะที่กล่าวถึงเกือบทุกกลุ่มคือความเข้าใจในดัชนีประเมิน ความเข้าใจของบุคลากรในระบบประกันคุณภาพ หรือ ให้มีการจัดอบรมความเข้าใจของดัชนี 

      ทำให้ต้องมานั่งทบทวนว่าควรจัดหลักสูตรอบรมแบบใดดี ได้มีโอกาสไปอบรมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตเพื่อที่จะเป็นผู้ประเมินของสถาบันฯ ซึ่งหลักสูตรที่ไปอบรมตอนแรกงงอยู่นานเหมือนกันว่าวิทยากรให้เราทำอะไร วิทยากรให้อ่านคู่มือและดึงคำหลักออกมาจากคู่มือ หาว่าคำถามที่ถูกถามในคู่มือคือคำถามประเภทอะไร เช่น อย่างไร(how) อะไร (what) ซึ่งคู่มือ TQA มี 7 หมวด ให้เวลานั่งอ่านและเขียนดึงออกมา และต้องดึงออกมาให้ครบ ถ้าดึงไม่ครบก็ได้ดัชนีประเมินไม่ครบ (คิดในใจเหมือนกันทำไมไม่เขียนเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน ต้องมานั่งอ่านและดึงออกมาเขียนเป็นข้อ ๆ อีก) เรียนๆ ไปก็น่าเบื่อมากเลย คิดในใจว่าเมื่อไหร่จะได้อ่าน SAR ตัวอย่าง พอได้อ่าน SAR ตัวอย่างก็ประเมินไม่ได้ เพราะยังจำไม่ได้ว่า key Issue คืออะไร

      ทำให้ต้องย้อนกลับไปอ่านคู่มืออีกครั้ง ใช้เวลาในการอ่านคู่มือโดยวิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการอยู่เกือบ 2 วัน อ่านกรณีศึกษาอยู่ประมาณ 1 วัน

      ถ้าเอารูปแบบดังกล่าวมาจัดเชื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่อยากอบรมแน่เลย ให้นั่งจับกลุ่มอ่านคู่มือ

      ได้พยายามให้สร้างเว็บแห่งการเรียนรู้ โดยให้เจ้าหน้าที่สำนักเอาดัชนีมาอ่าน และ ยกตัวอย่าง ทำได้ไม่เกินหนึ่งเดือน โครงการก็ยกเลิก เพราะเมื่ออ่านแล้วไม่สามารถหาตัวอย่างออกมาได้ เว็บบอร์ดไม่มีผู้รู้เพียงพอที่จะนำเสนอตัวอย่างแปลก ๆ และหลาย ๆ คนไม่นิยมการอ่าน แต่นิยมการฟัง (หลักฐานเลยหายหมด)

       ในการจัดการอบรม ถ้าหัวข้อไม่น่าสนใจ ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ส่วนใหญ่ก็ไม่นิยมมาฟัง เพราะเสียเวลา

       อยากได้ความเห็นจากชุมชนแห่งนี้ว่า ประโยชน์ของการประกันคุณภาพต่ออาจารย์ ต่อบุคลากรคืออะไรบ้าง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15631เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  หลังจากกลับมาทบทวนหนึ่งคืนผ่านไป กระบวนการทำงานมีจุดอ่อนที่ใด การอบรมผู้ตรวจประเมิน อาจให้เวลาน้อยเกินไปในการอธิบายดัชนี เพราะในการอบรมผู้ตรวจมุ่งเน้นการทำกรณีศึกษา ซึ่งจำลองสถานการณ์จริง

   อย่างไรก็ตามในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพของ มก. เรามีคณะกรรมการพัฒนาระบบและดัชนี ซึ่งคุณสมบัติของกรรมการชุดนี้จะเป็นผู้บริหารระดับรองคณบดี รอง ผอ. สำนักและสถาบัน ซึ่งดูแลระบบประกันคุณภาพของหน่วยงาน (ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้--อยู่ในสายงาน (บางคณะอาจไม่ตรงสายงาน) หรือ อาสาเข้ามาช่วย -- อาสา (ตาม พรบ.การศึกษากำหนดไว้อย่างชัดเจนต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง และ มีงบประมาณสนับสนุน) และกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยให้ความรู้ (มีการอบรม สัมมนา) และหน้าที่ของกรรมการขุดนี้นอกจากช่วยพัฒนาระบบประกันคุณภาพและ ยังคาดหวังว่าจะนำไปเผยแพร่ภายในหน่วยงานต่อ เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างเครื่อข่าย

        ทำอย่างไรจึงทำให้เครือข่ายสามารถนำข้อมูลไปขยายต่อ

        หรือทางสำนักประกันคุณภาพควรจัดชั่วโมงการอ่านคู่มือประกันขึ้นโดยทำเลียนแบบ TQA ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่าไม่ work (ต้องเปลี่ยนเครือข่าย) เพราะถ้าเชิญผู้บริหาร อาจารย์ มานั่งอ่านหนังสือท่านคงไม่มา

        สำหรับสถิติการประชุมของคณะกรรมการดังกล่าวจะให้เจ้าหน้าที่สำนักฯ แจ้งให้ทราบบนเว็บ

นางสาวชมพูนุท ภาณุภาส

 ขอนำเสนอสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพสำหรับคณะวิชา สำนัก สถาบัน รวมทั้งการประชุมที่พิจารณาดัชนีประเมินและเกณฑ์มาตรฐานระบบประกันคุณภาพ ภายในปี 2548 คือ

ครั้งที่ 1 วันที่ 7 มกราคม 2548 จัดส่งรายงานการพัฒนาดัชนีประเมินเพื่อพิจารณา  ซึ่งได้ส่งให้คณะกรรมการฯ พิจารณา และมีคณะกรรมการเข้าร่วม จำนวน 10 ท่าน ผู้ไม่เข้าร่วม จำนวน 2 ท่าน มีข้อคิดเห็นจากเอกสารเพิ่มเติมกลับมา 13 หน่วยงาน

ครั้งที่ 2 วันที่ 17-18 มีนาคม 2548 โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การพัฒนาดัชนีและเกณฑ์ประเมินคุณภาพภายในของ มก. มีผู้เข้าร่วม 39 ท่าน แยกเป็นคณะกรรมการประจำสำนัก จำนวน 12 ท่าน ผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม จำนวน 15 ท่าน มาจริง 8 ท่าน มาแทน จำนวน 2 ท่าน คณะกรรมการพัฒนาระบบฯ จำนวน 8 ท่าน

วันที่ 3 วันที่ 5 เมษายน 2549 เป็นการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักประกันคุณภาพ จำนวน 13 ท่านและเป็นผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม จำนวน 1 ท่าน ผู้ไม่เข้าร่วมการประชุม จำนวน 10 ท่าน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท