หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ประเทศ


ในระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสหภาพพม่านั้น พม่าแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลและรัฐ
หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ประเทศ
ในระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสหภาพพม่านั้น พม่าแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลและรัฐ พม่าเรียกมณฑลว่า ตาย (96b'Nt) และเรียกรัฐว่า ปะหยี่แหน่ (exPNopN) สหภาพพม่ามีตายตาย และอาจเรียกตายทั้ง ๗ รวมกันว่า ปะหยี่มะ (exPN,) ซึ่งอาจแปลว่า“แผ่นดินใหญ่” ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อยู่ตอนกลางของประเทศ และประชากรที่อยู่ในปะหยี่มะจะเป็นชนเชื้อสายพม่าเป็นส่วนมาก ส่วนปะหยี่แหน่นั้น อาจแปลว่า “แผ่นดินย่อย” เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่รอบนอกปะหยี่มะ และประชากรส่วนใหญ่ในปะหยี่แหน่จะมิใช่ชนเชื้อสายพม่า หากแต่เป็นชนเผ่าอื่นๆ อาทิ กะฉิ่น กะเหรี่ยง ฉิ่น ฉาน คะยา มอญ ยะไข่ ฯลฯ พม่ามีปะหยี่แหน่ทั้งหมด ๗ ปะหยี่แหน่ ในภาษาอังกฤษ เรียก ตาย ว่า Division และเรียก ปะหยี่แหน่ว่า State ในภาษาไทย ตายอาจเทียบได้กับ มณฑล หรือ จังหวัด ส่วนปะหยี่แหน่นั้น อาจแปลว่า รัฐ
ในแต่ละตายและปะหยี่แหน่จำนวน ๑๔ เขตการปกครองนี้ พม่าจะแบ่งการปกครองในแต่ละเขตเป็นระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน พม่าเรียกอำเภอว่า ขะหย่าย (-U6b'N = district) เรียกตำบลว่า มโยะแหน่ (1,bhopN = township) และเรียกหมู่บ้านว่า -หว่า หรือ เจ-ย-หว่า (U:k หรือ gdytU:k = village) แต่ถ้าเป็นเขตชุมชนเมืองที่มีเทศบาลหรือสุขาภิบาลจะเรียกว่า ยะแกวะ (ixNd:dN) ซึ่งอาจแปลว่า ย่าน หรือ เขต ในปัจจุบันพม่ามีอำเภอ ๖๔ ขะหย่าย มีตำบล ๓๒๔ มโยะแหน่ มีหมู่บ้าน ๑๓,๗๔๗ -หว่า และ และย่าน ๒,๔๗๐ ยะแกวะ
พม่ายังมีคำสำหรับเรียก “เมือง” โดยทั่วไป ว่า มโยะ (1,bh) คำนี้ใช้เทียบได้กับ มโยะแหน่ แต่ต่างกันที่ มโยะแหน่เป็นท้องที่ที่มีที่ว่าการตำบลตั้งอยู่ ในขณะที่มโยะเป็นท้องที่ในระดับตำบลโดยทั่วไป จึงย่อมต่างจากเมืองในภาษาไทยที่คำว่าเมืองมักใช้เรียกท้องที่ในตัวจังหวัด และหากเป็นเมืองหลวงพม่าจะเรียกว่า มโยะด่อ (1,bhg9kN) ในที่นี้คำว่า ด่อ (g9kN) เป็นคำลงท้ายนามที่เกี่ยวข้องกับประเทศหรือราชสำนัก
สำหรับ ขะหย่าย นั้น เคยใช้ในสมัยรัฐบาลอูนุ (ค.ศ.๑๙๔๘–๑๙๖๒) แต่ในสมัยสังคมนิยมหรือยุคนายพลเนวิน(ค.ศ.๑๙๖๒–๑๙๘๘)กลับเลิกใช้คำนี้ โดยได้ใช้คำว่า แหน่มะเย (opNge,) ซึ่งแปลว่า “เขต”แทนขะหย่าย  พอถึงปัจจุบันได้นำคำขะหย่ายกลับมาใช้ใหม่ อย่างไรก็ตาม ชาวพม่าอาจไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ตนอาศัยนั้นขึ้นอยู่กับขะหย่ายไหน เพราะส่วนมากมักจะจำเพียงชื่อ มโยะแหน่ และชื่อ -หว่า ที่ตนอาศัยอยู่เท่านั้น
ผู้ปกครองในระดับต่างๆ จะเรียกว่า อุกกะถะ (fd¡D) ซึ่งแปลว่า “ประธาน” โดยจะเรียกผู้ว่าการมณฑลว่าตาย-อุกกะถะ(96b'Ntfd¡D) เรียกผู้ว่าการรัฐว่า ปะหยี่แหน่-อุกกะถะ (exPNopNfd¡D) เรียกนายอำเภอว่า ขะหย่าย-อุกกะถะ (-U6b'Nfd¡D) และเรียกกำนันว่า มโยะแหน่-อุกกะถะ (1,bhopNfd¡D) ส่วนหมู่บ้าน หรือ -หว่า นั้น จะมีผู้ใหญ่บ้านปกครอง เรียกว่า เจ-ย-หว่า-อุกกะถะ(gdytU:kfd¡D) หรือ-หว่าตะจี (U:kl^Wdut)
ปัจจุบันผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น อุกกะถะ ในระดับมณฑล รัฐ และขะหย่ายจะเป็นนายทหารเท่านั้น ระดับมณฑลหรือรัฐจะมีนายทหารยศระดับพลตรีหรือ โบโจะ (r6b]N-y7xN) ขึ้นไปเป็นอุกกะถะ และอุกกะถะของมณฑลหรือรัฐนั้นจะกินตำแหน่งแม่ทัพภาค หรือ ตายมู (96b'Nt,qt) อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ส่วนในระดับขะหย่ายนั้นจะมีนายทหารยศระดับพันตรีหรือ โบมู (r6b]N,qt) ขึ้นไปเป็นอุกกะถะ  สำหรับระดับมโยะแหน่และ-หว่านั้น ปัจจุบันผู้ปกครองจะเป็นพลเรือน ซึ่งเรียกว่า อยัตตา (vixNlkt) โดยจะได้รับการเสนอแต่งตั้งจากขะหย่ายอุกกะถะซึ่งเป็นนายทหารระดับนายพัน ปกติอุกกะถะในระดับมโยะแหน่ซึ่งเป็นพลเรือนจะต้องผ่านการศึกษาด้านการปกครองของกระทรวงมหาดไทย และส่วนใหญ่มักจะต้องผ่านการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาก่อน ส่วนอุกกะถะในระดับ-หว่านั้นควรต้องจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่พม่าเรียกว่าเกรด ๑๐
พม่ามีคำที่นิยมใช้เรียก “ประเทศ” อยู่ ๒ คำ คือคำว่า ปะหยี่(exPN) และ ไหน่หงั่ง (O6b'N'") เดิมทีคำว่าปะหยี่นั้นจะหมายถึง “เมืองที่กษัตริย์ประทับ” ปัจจุบันมีความหมายเท่ากับประเทศ และเทียบได้กับคำว่าเมืองที่ทางไทยก็หมายถึงประเทศได้ อย่างไรก็ตามมักใช้ปะหยี่กับบางประเทศเท่านั้น เช่น เมืองญี่ปุ่น พม่าจะเรียกว่า จะปังปะหยี่ (8yxoNexPN) เมืองพม่าจะเรียกว่า เมียนมาปะหยี่ (e,oN,kexPN)  เมืองจีนจะเรียกว่า ตโยะปะหยี่ (9U69NexPN) ส่วนอินเดียอาจเรียกว่า กะลาปะหยี่(d6]ktexPN) แปลว่า “เมืองแขก”  เป็นต้น  ส่วน ไหน่หงั่ง พบใช้มากกว่า ปะหยี่  เช่น เรียกประเทศไทยว่า ไท้ไหน่หงั่ง (56b'NtO6b'N'") และเรียกประเทศลาวว่า หล่าโอไหน่หงั่ง (]kv6bO6b'N'")  เป็นต้น
โดยนัย ไหน่หงั่งจะหมายถึง “ประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย” บ้างว่า น่าจะหมายถึง “ประเทศที่เกิดขึ้นด้วยการชนะศึก” เพราะ ไหน่ (O6b'N) แปลว่า ”มีชัยชนะ” และมองว่าชาวพม่าสามารถรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นจากการทำศึกสงครามใน ๓ ยุคสมัย คือ สมัยอโนรธาแห่งพุกาม สมัยบุเรงนองแห่งตองอู-หงสาวดี และยุคอลองพญาแห่งคองบอง จึงเรียกว่าประเทศในยุคนั้นว่า อาณาจักร หรือ ไหน่หงั่งด่อ (O6b'N'"g9kN)
สำหรับผู้นำสูงสุดของประเทศในคณะรัฐบาลทหารในปัจจุบันนั้น จะเรียกว่า ไหน่หงั่งด่อ-อุกกะถะ  (O6b'N'"g9kNfd¡D) แปลว่า “ประธานประเทศ” ปัจจุบันก็คือ พลเอกตันฉ่วย ส่วน ประชาชน หรือ ราษฎร นั้น พม่าจะใช้ว่า ปะหยี่ตู่-ปะหยี่ตา (exPNl^exPNlkt) หรืออาจจะเรียกว่า ไหน่หงั่งตา (O6b'N'"lkt) ก็ได้
พม่าปกครองด้วยรัฐบาลทหารซึ่งเรียกว่า ซิจ-อโซยะ(00Nv06bti)  ผู้ปกครองจึงเป็นนายทหารจากกองทัพแห่งชาติ ซึ่งเรียกว่า ตัตมะด่อ (9xN,g9kN) ในการปกครองระดับท้องถิ่นก็จะมีกองทัพภาคคอยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ระดับมณฑลหรือรัฐลงไป โดยเฉพาะนายทหารระดับพันตรีขึ้นไปที่ปกครองระดับอำเภอจะมีอำนาจและมีอิทธิพลในระดับท้องถิ่นค่อนข้างมาก จนมีคำกล่าวจากชาวบ้านค่อนแคะทหารไว้ว่า “หากบวชพระมา ๑๐ พรรษา หรือเป็นทหารมา ๑๐ ปี ยังสึกหรือออก ถือว่าใช้ไม่ได้ !! ” ทั้งนี้เพราะชาวพม่ามองว่าไม่มีอาชีพใดมั่นคงและสุขสบายไปกว่าการเป็นพระหรือทหาร และยังกล่าวอีกว่าหากบวชหรือเป็นทหารมานาน ก็คงไม่อาจคิดอ่านหรือริเริ่มทำอาชีพอื่นได้ดี ด้วยพระนั้นรู้แต่ธรรมะ ส่วนทหารนั้นก็ถนัดเพียงรับคำสั่ง จึงไม่เหมาะกับชีวิตสามัญที่ต้องดิ้นรน
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15598เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท