น้ำ


พม่าเรียกน้ำว่า เหย่ พม่าถือว่าน้ำเป็นสื่อแห่งกุศล ดังมีคำกล่าวว่า “ หมากหนึ่งคำ น้ำหนึ่งถ้วย เมี่ยงหนึ่งก้าน อ้อยหนึ่งท่อน เป็นทานอันประเสริฐ”
น้ำ
           
พม่าเรียกน้ำว่า  เหย่ ( gi X  พม่าถือว่าน้ำเป็นสื่อแห่งกุศล ดังมีคำกล่าวว่า “ หมากหนึ่งคำ  น้ำหนึ่งถ้วย เมี่ยงหนึ่งก้าน  อ้อยหนึ่งท่อน เป็นทานอันประเสริฐ” พม่าจึงนิยมบริจาคน้ำเป็นทาน ด้วยถือเป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่งที่ควรมีต่อเพื่อนมนุษย์  ดังพบว่าตามละแวกบ้านหรือริมทางเดิน มักมีการตั้งร้านน้ำที่พม่าเรียกว่า เหย่ชางสี่ง (gi-y,Nt0'N X หรือ เหย่โอสี่ง Z givb6t0'N X  สำหรับให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้อาศัยดื่มกิน  ร้านน้ำมักทำเป็นหิ้งมุงหลังคา พื้นร้านปูทรายเพื่อวางโอ่งดินเผา  โดยมีฝาโอ่งปิดมิดชิด พร้อมกระบวยสำหรับตักน้ำดื่ม หิ้งน้ำมักทำไว้ที่ใต้ร่มไม้  พบเห็นง่ายทั้งในชนบทและย่านชุมชน บางทีอาจพบเห็นต้นข้าวงอกอยู่กับร้านน้ำดูสดชื่น การตั้งร้านน้ำเพื่อเป็นทานจึงนับเป็นกุศลเจตนาที่น่ายกย่อง  เป็นทานน้ำใจที่บริสุทธิ์และงดงาม  และเป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่มีค่าของสังคมพม่า
การทำร้านน้ำบริจาคเป็นทานนั้นพบในสมัยอังวะ  ดังมีกล่าวว่า    ร้านน้ำตั้งไว้ให้พระ  โยมและผู้มาพักพิงได้อาศัยดื่มกิน  เพื่อเป็นทานอย่างหนึ่ง  เชื่อว่าการบริจาคน้ำดื่มจะได้อานิสงส์ช่วยให้ปราศจากภัยทั้งปวง  ก่อความสงบสุขให้กับผู้บริจาค   และกล่าวว่ากุศลจากการบริจาคน้ำนั้นมี  ๑๐ ประการ ได้แก่  ๑. มีอำนาจวาสนา  ๒.มั่งมีศรีสุข  ๓.แวดล้อมด้วยบริวาร   ๔. ผิวกายนุ่มนวล  ๕.ปราศจากภัยพิบัติ  ๖.มีเกียรติระบือไกล  ๗.ไร้รอยมลทิน  ๘.รูปงาม  ๙.ค้าขายราบรื่น  และ ๑๐.สุขสงบทั้งกายและใจ  กุศลจึงเป็นแรงจูงใจของการบริจาคน้ำเป็นทาน
นอกจากการตั้งร้านน้ำตามละแวกบ้านแล้ว  ชาวพม่ายังนิยมบริจาคโอ่งดินเผาให้กับวัด  โอ่งดินเผาที่นิยมบริจาคจะทำด้วยดินปนทราย  ซึ่งจะเก็บความเย็นได้ดี  พม่าเรียกโอ่งชนิดนี้ว่า  โอ่งทราย  หรือ แตโอ ( lcvb6t X จวบจนปัจจุบัน  แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป  แต่การบริจาคน้ำก็ยังเป็นที่นิยม  บ้างเริ่มเปลี่ยนจากการทำร้านน้ำด้วยโอ่งดินเผามาเป็นน้ำก๊อก  และบ้างถวายเป็นแท้งค์น้ำที่ทำด้วยพลาสติกแทนการถวายเป็นโอ่งดิน  ความเย็นชุ่มฉ่ำคงตัวของน้ำที่เคยได้จากโอ่งดินเผาจึงกำลังถูกทดแทนด้วยน้ำก๊อกและน้ำแทงค์ที่ร้อนเย็นตามสภาพอากาศ
ในการทำบุญถวายสิ่งของให้กับวัด  พม่าจะมีการกรวดน้ำ ที่เรียกว่า  เหย่แซะชะ ( gi0dN-y X เพื่อประกาศให้พระแม่ธรณี ( ge,g0k'NHo9N X เป็นสักขีพยาน  พม่าถือว่าการทำบุญร่วมกันหรือการกรวดน้ำร่วมขันนั้น  จะส่งผลให้พบกันในชาติหน้า  ฉะนั้นหากได้คบกันในชาตินี้   ก็มักจะพูดว่าเป็นเพราะได้ทำบุญร่วมกันมาแต่ปางก่อน ดังคำกล่าวว่า  หยาดน้ำจรด หรือ เหย่แซะโส่ง  ( gi0dNC"6 X แต่ถ้าหากมีเรื่องผิดใจกันหรือจำต้องร้างลาจากกันไปก็จะอ้างว่า  หยาดน้ำสุดสิ้น หรือเหย่แซะโก่ง ( gi0dNd6oN X ดังนั้นไม่ว่าจะคบกันหรือตัดขาดจากกัน  พม่าจึงอาจยกเอากุศลจากการร่วมบุญมาอ้างได้เสมอ
พม่ามีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำ  อาทิ  ในกลางเดือนเมษายน  พม่าจะมีเทศกาลสงกรานต์ หรือประเพณีเล่นสาดน้ำ ( gid0kt X ชาวพม่าเชื่อว่าน้ำที่ใช้รดกันในช่วงสงกรานต์เป็นน้ำมงคล  ช่วยให้ชีวิตมีความสงบสุข  และป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย  พม่ามีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และปล่อยปลาในช่วงสงกรานต์ด้วย  และยังมีประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์ ( gPk'Ngil:oNx:c X ในเดือนพฤษภาคม  หรืออาจทำบุญด้วยการเติมน้ำให้กับบ่อในวัด  โดยเฉพาะในวัดที่อยู่ในพื้นที่กันดาร  นอกจากนี้ชาวพม่ายังนิยมสรงน้ำพระพุทธรูปประจำวันเกิดที่รอบองค์พระเจดีย์  และเรียกการสรงน้ำว่า เหย่-ต๊ะแป่ ( gilxxkpN X ชาวพม่าสรงน้ำพระก็เพื่อการสะเดาะเคราะห์และขอพรจากองค์พระ  น้ำจึงเป็นสื่อประสานศรัทธาให้บังเกิดความสุขใจได้อย่างอัศจรรย์
พม่ามีภาษิตที่เกี่ยวกับน้ำอยู่มาก  เช่น น้ำเชี่ยวเป็นครา  ไหลช้าเป็นที  หมายถึง  ชีวิตเหมือนสายน้ำที่มีทั้งทุกข์และสุข ,  บัวไม่ให้พันนัว  น้ำไม่ให้ขุ่นมัว  เหมือนกับ  บัวไม่ให้ช้ำ  น้ำไม่ให้ขุ่น , น้ำมากน้ำชนะ  ไฟมากไฟชนะ  เหมือนกับน้ำน้อยแพ้ไฟ , น้ำสูง บัวสูง หมายถึง ผู้น้อยย่อมเจริญด้วยผู้ใหญ่  เช่น หากนายตนเลื่อนตำแหน่งฐานะ  ลูกน้องก็พลอยเจริญตาม  เป็นต้น
ในด้านสุขภาพ  ตำรายากลางบ้านของพม่ามีกล่าวว่า  ตาคู่กับน้ำ  ฟันคู่กับเกลือ  หูกับน้ำมันงา  หลังล้างหน้าจึงให้เอาน้ำสะอาดประพรมที่ตาด้วยเชื่อว่าจะทำให้ดวงตาแจ่มใส  ในเวลาเช้าหลังล้างหน้าให้ดื่มน้ำเพื่อจะช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ  ชาวพม่าจะห้ามอาบน้ำทันทีเมื่อเดินผ่านแดดมา  และมักกำชับให้อาบน้ำเฉพาะในเวลาแดดอ่อนเท่านั้น  นอกจากนี้การอาบน้ำจากบ่อบาดาลที่เย็นยะเยือกอาจทำให้เจ็บไข้ได้ง่าย  พม่าเรียกน้ำบาดาลอย่างชวนให้ฉุกคิดว่า  น้ำอเวจี หรือ อะหวีซิ-เหย่ ( v;u0bgi X อเวจีเป็นขุมนรกที่ลึกที่สุด  สำหรับลงอาญาสัตว์นรกที่บาปหนา  เพียงยินแค่ชื่อก็แทบไม่ต้องเตือนซ้ำ
วิรัช นิยมธรรม
 
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15594เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท