คำอวยพร


ชาวพม่าส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกับไทยเรา แต่เทียบวิถีชีวิตระหว่างชาวไทยกับชาวพม่าในยุคนี้ คนพม่าดูจะมีความเหนือกว่าในด้านศรัทธา
คำอวยพร
ชาวพม่าส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกับไทยเรา  แต่เทียบวิถีชีวิตระหว่างชาวไทยกับชาวพม่าในยุคนี้  คนพม่าดูจะมีความเหนือกว่าในด้านศรัทธาและความใกล้ชิดต่อศาสนาิ จนอาจกล่าวได้ว่าวิถีพุทธกับวิถีชีวิตของชาวพม่าเป็นสิ่งเดียวกัน  ชาวพม่าจึงชื่นชมกับการเป็นชาวพุทธ  และภูมิใจที่จะได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเมืองพุทธ  โดยทั่วไป  พบว่าชาวพุทธพม่ามักจะไม่ห่างเหินจากวัดและเจดีย์  นิยมถวายอาหารและปัจจัยแก่สงฆ์และชี  มีการสร้างและบูรณะศาสนะสถานอยู่เสมอ  นิยมจัดงานบวชให้กับบุตรธิดาและยังสืบทอดประเพณี 12 เดือนของชาวพุทธไว้อย่างครบถ้วน  จนอาจพูดได้ว่าพุทธศาสนาถือเป็นสถาบันหลักอันหนึ่งที่ช่วยวางรูปแบบอย่างฝังรากลึกต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมพม่ามาเนิ่นนาน
ชาวพุทธพม่ามีค่านิยมในการปฏิบัติธรรม  ทำบุญและบริจาคทาน ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสั่งสมเป็นกุศลที่จะช่วยส่งให้ชีวิตพบความสุขและสิ่งดีงามทั้งในภพนี้และภพหน้า  ชาวพุทธพม่าเชื่อเสมอว่าพุทธศาสนาคือที่พึ่งทั้งทางกายและทางใจ  ความสุขทางโลกจะสามารถสัมฤทธิ์ได้ด้วยการสร้างกุศล  ซึ่งเป็นไปตามแนวทางพุทธศาสนาอย่างที่สืบทอดกันมาจนบัดนี้
นอกเหนือจากวิธีปฏิบัติเพื่อสั่งสมบุญกุศลให้กับตนแล้ว  ชาวพุทธพม่ายังมีข้อปฏิบัติอย่างหนึ่งซึ่งจะพบเห็นอยู่เสมอ  คือ  การขอพรหรือที่พม่าเรียกว่า  ซุตอง (C6g9k'Nt)  คำว่า ซุ (C6) แปลว่า “พร” หรือ “รางวัล” ส่วน ตอง (g9k'Nt) แปลว่า “ขอ”  คนพม่านับแต่วัยเยาว์ จะได้รับการปลูกฝังให้กราบไหว้ และขอพรจากองค์พุทธเจดีย์และพระพุทธรูป  และสอนให้รู้จักรับพรจากปูชนียบุคคลอันได้แก่  พระสงฆ์ พ่อแม่และครูบาอาจารย์  โดยต้องกระทำด้วยใจกายที่นอบน้อม  อีกทั้งชาวพม่าอีกไม่น้อยยังยำเกรงต่อองค์เทพ  วิญญาณและผู้วิเศษที่พม่าเรียกรวมๆว่า  นัต (o9N)  และนิยมขอพรต่อสิ่งเหล่านี้ตามโอกาส  ทั้งนี้เป็นเพราะชาวพม่ามีความเชื่อมั่นว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งที่เป็นองค์แทนวิสุทธิเทพ (พระพุทธเจ้า  พระอรหันต์)  อุปัตติเทพ (เทวดา)  และวิญญาณศักดิสิทธิ์ (ภูตผี)  ต่างมีอิทธิฤทธิ์ที่จะช่วยคุ้มครองและป้องกันภัยให้กับตนได้  พม่าจึงมีการนับถือทั้งพุทธ  เทพ และเจ้าพ่อเจ้าแม่
การกล่าวขอพรเป็นภาษาพม่า  จะกล่าวเริ่มที่คำที่เป็นพรต่างๆแล้วตามด้วยถ้อยคำว่า บ่าเส่ ( xjg0 Xซึ่งเทียบกับไทยว่า “ขอให้” เช่น ขอให้มีความสุข พม่าจะพูดว่า ชางต่าบ่าเส่ ( -y,Ntlkxjg0 X คำว่า ชางต่า ( -y,NtlkX แปลว่า “มั่งมี ,สุขสบาย ,สงบสุข”พรที่ชาวพม่านิยมขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีมากมาย หากไม่รู้จะขออะไร  พรที่ขอมักจะเป็นเรื่องดังต่อไปนี้
                ขอให้มีความสุข                        -y,Ntlkxjg0                         ชางต่าบ่าเส่
                ขอให้มีสุขภาพดี                       dyoNt,kxjg0                            จางหม่าบ่าเส่
                ขอให้พ้นภยันตราย                    g4tioNd'Ntxjg0                    เบยางกีงบ่าเส่
                ขอให้อายุยืนยาว                        vldNiaPNxjg0                      อะแต๊ะเชบ่าเส่
                ขอให้ประสบผลสำเร็จ                               gvk'Ne,'Nxjg0                        อ่องเหมี่ยงบ่าเส่
                หากประสงค์ที่จะได้พรอย่างเฉพาะเจาะจงตรงกับความต้องการที่หมายมั่นไว้ ก็ต้องแล้วแต่จะขอกันไป เช่น
                ขอให้ถูกหวย                             5ugxjdNxjg0                          ถี่เป้าบ่าเส่
                ขอให้สอบไล่ได้                         0kg,tx:cgvk'Nxjg0                 ซาเมบแวอ่องบ่าเส่
                ขอให้ได้เลื่อนตำแหน่ง               ik5^t96btw,aa'Nhxjg0                   ยาทูโตเมี่ยงบ่าเส่
                ขอให้เป็นเศรษฐี                        l^g{tez0Nxjg0                         ตะเทพิ๊จบ่าเส่
                ขอให้ได้ไปต่างประเทศ             Ob6'N'"e-kt gikdNxjg0            ไหน่หงั่งชาเย่าก์บ่าเส่  
               
สำหรับคำขอที่พระท่านมักจะพร่ำสอนอยู่เสมอ แต่คงมีน้อยคนนักที่จะปรารถนาอย่างจริงจัง ก็คือ
ขอให้เข้าถึงนิพพาน                   obrrkoNgikdNxjg0                     เนะบานเย่าบ่าเส่
ในการทำบุญขอพร จะพบว่าชาวพุทธพม่าก็ดูคล้ายชาวพุทธทั่วๆไป ในด้านหนึ่งเราอาจจะได้พบกับชาวพม่าที่มีความรู้และศรัทธาในหลักธรรมอย่างแท้จริง  อีกด้านหนึ่งเราจะได้พบชาวพม่าที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจพุทธคุณ  ชาวพุทธพม่าจำนวนไม่น้อยจะยึดคำสวดมนต์เป็นดุจคาถาอันศักดิสิทธิ์  มีความนิยมบริกรรมขณะที่นับลูกประคำเพื่อบูชาและวิงวรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีพระเจดีย์เป็นอาทิ  และสังเกตได้ว่าชาวพม่าทำบุญโดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขในโลกนี้เป็นหลักแรก  รองลงไปอาจเป็นไปเพื่อความสุขในโลกหน้าหากมีจริง  แต่คงมีน้อยคนที่จะหวังบรรลุนิพพาน  อย่างไรก็ตามความดีงามของพุทธศาสนาคงจะซึมอยู่ในพิธีกรรมและวัตรปฏิบัติเหล่านั้น  และแม้พุทธศาสนาจะสอนให้พึ่งตนเองแทนที่จะพึ่งอำนาจวิเศษใดๆแต่การขอพรก็กลายเป็นวิถีชีวิตหนึ่งของชาวพุทธพม่าที่สืบทอดปรากฏเป็นหลักฐานชัดเจนมาแต่โบราณ  ชาวพม่าที่เชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์จึงอาจไม่จำเป็นต้องแสวงหาทางออกให้กับชีวิตด้วยปัญญาเพราะคงจะพอใจกับความสุขลึกๆจากการสร้างกุศลและขอพร 
วิรัช นิยมธรรม

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15590เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รถโดยสารหมายเลข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท