ศักราชพม่า


พม่าเรียกศักราชตามคำบาลีว่า สักกราช
ศักราชพม่า
พม่าเรียกศักราชตามคำบาลีว่า  สักกราช   ( lddik=N) อ่านตามสำเนียงพม่าว่า  แต๊ะกะยิต หรือ ต๊ะกะยิต  ปัจจุบันพม่ามีศักราชใช้ถึง  ๓ แบบ  คือ  สาสนาศักราช  ( lkloklddik=N) เมียนมาศักราช ( e,oN,klddik=N ) และ คริสตศักราช  ( -i0Nlddik=N ) สาสนาศักราชเป็นศักราชที่ใช้สืบมาแต่สมัยราชสำนักพม่า  ส่วนคริสตศักราชนิยมใช้มาแต่ช่วงสมัยอาณานิคม
สำหรัยสาสนาศักราชนั้นเทียบได้กับพุทธศักราชของไทย  แต่พม่านับปีศักราชเริ่มจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานคือ  เมื่อ  ๕๔๔  ปีก่อนคริสตศักราช  ส่วนฝ่ายไทยถือปีถัดมาเป็นปีเริ่มนับพุทธศักราช  คือเมื่อ ๕๔๓  ก่อนคริสตศักราช  ด้วยเหตุนี้สาสนาศักราชของฝ่ายพม่าจึงเริ่มเร็วกว่าฝ่ายไทย  ๑  ปี   พม่าจึงฉลองกึ่งพุทธกาลก่อนไทย  คือ เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๙๙   ( ค.ศ. ๑๙๕๖  ) หากเทียบกับมหาศักราช (,sklddik=N ) ของอินเดียที่เริ่มใช้มาแต่สมัยเจ้ามหาสัมมตะ  (,skl,,9,'Nt ) นั้น  มหาศักราชจะมีจำนวนปีมากกว่าสาสนาศักราชของพม่า  ๑๔๘  ปี
สำหรับเมียนมาศักราชของพม่านั้น  พม่าเรียกอีกอย่างว่า   กอซาศักราช  (gdk=klddik=N )  คำว่า  กอซา มาจากภาษาบาลีสันสกฤตว่า  โคจร  (g8j0i ) เมียนมาศักราชนับเริ่มในปลายรัชสมัยของพระเจ้าโปปาซอระหัน  (x6xxjtg0kisoNt ) แห่งราชวงศ์พุกามยุคต้น  โดยหักศักราชเดิมออกเสีย  ๕๖๐  ปี  เมียนมาศักราชจะน้อยกว่าสาสนาศักราช  ๑๑๘๒   ปี และน้อยกว่าคริสตศักราช  ๖๓๘  ปี  เมียนมาศักราชจึงเป็นศักราชเก่าแก่ของพม่า  ก่อนที่จะเปลี่ยนความนิยมมาใช้คริสตศักราชในภายหลัง
พม่ายังมีคำเรียกศักราชอีก  ๒  แบบได้แก่  ศักราชสั้น (lddik=N9b6 )  หรือ  ปีรัสสะ  (ilOa0N ) และศักราชยาว (lddik=NiaPN ) หรือ ปีฑีฆะ (muSOa0N ) สำหรับศักราชสั้นนั้นเป็นศักราชที่พระเจ้าโมญีงธรรมราชา  (,b6tPa'Nt,'Nt9ikt ) แห่งราชวงศ์อังวะ  เป็นผู้คิดค้นขึ้นใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๔๓๘  ซึ่งตรงกับ เมียนมาศักราช ๘๐๐ ศักราชสั้นนี้เป็นศักราชที่หักเมียนมาศักราชออกเสีย ๗๙๘ ปีจึงเรียกว่าศักราชสั้น  แต่ศักราชสั้นไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกใช้ไป  ส่วนศักราชยาวนั้น  เป็นศักราชที่เต็มไม่ถูกหักจำนวนปีออก  การเรียกศักราชยาวก็เพียงเพื่อจำแนกให้ต่างจากศักราชสั้นเท่านั้น  แท้จริงแล้วศักราชยาวก็คือเมียนมาศักราช  หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากอซาศักราชนั่นเอง
กล่าวโดยทั่วไปพม่าจะนิยมใช้เมียนมาศักราชมากกว่าสาสนาศักราช  ซึ่งจำกัดใช้เฉพาะทางด้านพุทธศาสนา  ส่วนเอกสารและหลักฐานโบราณของพม่ามักนิยมใช้เมียนมาศักราชหรือ  กอซอศักราช  เมียนมาศักราชยังนิยมใช้ในทางโหราศาสตร์และฤกษ์ยาม  ตลอดจนกิจที่เกี่ยวข้องกับวันประเพณีในรอบปีเช่น  วันสงกรานต์  วันรดน้ำต้นโพธิ์  วันจุดประทีป  วันเข้าพรรษา  และวันออกพรรษา  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม ชาวพม่านิยมใช้ศริสตศักราชในชีวิตประจำวันมากกว่าเมียนมาศักราช
แม้พม่าจะตกเป็นอาณานิคมอังกฤษมาเป็นเวลานานและมีความนิยมใช้คริสตศักราชตามระบบราชการของอังกฤษมากกว่าเมียนมาศักราชก็ตาม  แต่ความนิยมนี้มิได้นำมาสู่ความชื่นชมและยอมรับประเพณีนิยมแบบตะวันตก  ชาวพม่ายังคงฉลองวันปีใหม่ในช่วงวันสงกรานต์  ส่วนวันปีใหม่ตามแบบสากลที่ถือวันที่  ๑  มกราคมนั้น  ชาวพม่าส่วนใหญ่มิได้ให้ความสำคัญมากนัก  การส่งบัตรอวยพรในเทศกาลปีใหม่สากลไม่ค่อยได้รับความนิยม  แม้วันคริสมาสจะถือว่าเป็นวันหยุดราชการ  แต่ก็เป็นวันหยุดที่กำหนดไว้สำหรับชาวพม่าที่นับถือศาสนาคริสต์  ชาวพุทธพม่าจะไม่นำค่านิยมคริสต์มาปะปนกับวิถีพุทธ
หลักเทียบศักราช
ปีเมียนมาศักราช        ปีคริสตศักราช – ๖๓๘
                                ปีสาสนาศักราช – ๑๑๘๒
ปีสาสนาศักราช         ปีเมียนมาศักราช + ๑๑๘๒
                                ปีคริสตศักราช + ๕๔๔
ปีคริสตศักราช          ปีเมียนมาศักราช + ๖๓๘
                                ปีสาสนาศักราช - ๕๔๔
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15589เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท