การตั้งชื่อ


ชาวพม่าไม่ใช้นามสกุล แต่ละคนจะมีชื่อเป็นนามตัวเท่านั้น
การตั้งชื่อ
ชาวพม่าไม่ใช้นามสกุล  แต่ละคนจะมีชื่อเป็นนามตัวเท่านั้น พ่อ แม่ ลูกและพี่น้องจึงไม่มีนามบ่งชี้ความสัมพันธ์อย่างเด่นชัด  และภรรยาจึงไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี
ชื่อพม่ามักต้องเป็นชื่อที่มีความหมายเป็นมงคล  บ่งบอกรูปลักษณ์และลักษณะนิสัย  ชื่อที่นิยมใชัมักประกอบด้วยคำดังต่อไปนี้
                หม่อง (g,k'N)           “หนุ่ม”                     นุ (O6 )                       “อ่อน, นุ่ม”
                อ่อง (gvk'N )           “ชนะ”                     หนั่ย ( Ob6'N)                “สามารถ”
                จ่อ (gdykN)                “โด่งดัง”                  โฉ่ (-y7b )                   “หวาน”
                ขิ่ง ( -'N)                  “รัก , สนิท”              หละ ( ]a)                 “สวย”
                ข่าย (-6b'N)                  “ทน”                       เส่ง ( 0boN)                 “เพชร”
                ฉเหว่ (gU­)               “ทอง”                     มยะ(e,)                    “มรกต”
                เตง ( lboNt)               “แสน”                     ตัน ( loNt)                “ล้าน”
                เอ ( gvt)                 “เย็น”                       หนี่ (ou)                     “แดง”
                ผยู่ (ez&)                    “ขาว”                      จี่ ( EdPN)                 “แจ่มใส”
                ทูน (5:oNt)                “รุ่งจรัส”                  อู ( fut)                      “แรก , ต้น”
               
ชาวพม่านิยมชื่อที่ให้ความหมายอันน่าภาคภูมิ  แสดงความมั่งมีศรีสุขและแฝงด้วยเสน่ห์  เช่น นายหย่านอ่อง  (ioNgvk'N) แปลว่า “ ชนะศัตรู” นายเมตตาอ่อง (g,99kgvk'N) แปลว่า “ได้รับเมตตา” คือมีนัยว่า“ ชนะใจ” นายตันฉ่วย (loNtgU­) แปลว่า “ทองเป็นล้าน” นายเตงหนั่ย (lboNtOb6'N)  แปลว่า  “แสนชัย” นายจ่อเตงเด (gdykNlboNtg{t)  แปลว่า “ร่ำรวยเงินแสนระบือนาม”  นายเนลีงแทะ ( go]'Nt5dN)  แปลว่า “คมแสงตะวัน” นางตันตีง (loNt9'N)  แปลว่า “เทิดล้าน” นางโฉ่โฉ่หละ  (-y7b-y7b]a)  แปลว่า “หวานสวย ” นางมยะโมหนั่ย (e,,b6tOb6'N)  แปลว่า “ ได้ชัยฝนมรกต ” นางนุนุ (O6O6) แปลว่า “ นิ่มนวล” ผู้หญิงพม่านิยมใช้ชื่อที่ให้ความหมายอ่อนโยนน่ารัก  ในขณะที่ผู้ชายนิยมชื่อที่มีนัยเข้มแข็ง  มั่งมีและชาญฉลาด
ในสมัยพุกาม มีการตั้งชื่อด้วยคำว่า  ตี่ง (l'N) เป็นคำเก่าที่มีนัยว่า  “ อิสระ” มักหมายถึง  “ผู้ประเสริฐ”หรือ “ภิกษุ” ปัจจุบันเป็นคำสรรพนามหมายถึง  “ท่าน” มีการสันนิษฐานไว้ว่า คำนี้น่าจะนิยมใช้ในสมัยนั้น  ก็เพื่อต้องการจำแนกตัวเองให้ต่างจากผู้ตกเป็นทาส  โดยเฉพาะทาสพุทธเจดีย์  ที่เรียกว่า  พยาจู่น  (46iktdyoN ) คำว่า  จู่น  (dyoN ) นั้นหมายถึงทาส  และคำว่า พยา (46ikt) หมายถึง  พุทธเจดีย์  การเป็นทาสพุทธเจดีย์ถือว่ามีฐานะต่ำต้อย  อันที่จริงคำว่า จู่นที่แปลว่า ทาส นั้น  ได้ใช้เรื่อยมาเป็นคำสรรพนามอย่างสุภาพในคำว่า  จู่นด่อ (dyoNg9kN) แปลว่า “กระผม” หรือ “ข้าหลวง” และ จู่นมะ (dyoN, ) แปลว่า“ ดิฉัน” หรือ “ข้าหญิง” การเรียกตนเองเป็น  “ข้า”  ในภาษาพม่ากลับดูสุภาพในปัจจุบัน  ส่วนคำว่า  ตี่ง  อาจใช้ว่า  อะตี่ง (vl'N) ในความหมายว่า “ คุณท่าน”ได้เช่นกัน
ในการตั้งชื่ออาจตั้งตามลำดับผู้เกิดก่อนหลัง  เช่นหากเป็นลูกคนโต จะใช้คำว่า อู (fut) แปลว่า  “แรก ,ต้น”หรือ จี(Wdut)  แปลว่า “ใหญ่” ประกอบชื่อ หากเป็นคนกลางจะมีคำว่า ลัต (]9N) และหากเป็นคนสุดท้องจะมีคำว่า  แหง่ ('pN) เล (g]t) หรือ ทเว  หรือ ทวย (g5:t) เช่น  พระนางสุพยาลัต (06z6ikt]9N) เป็นพระธิดาคนกลางของพระนางอะเลนันดอ  มเหสีของพระเจ้ามินดง  พี่สาวของพระนางสุพยาลัตมีพระนามว่า สุพยาจี (06z6iktWdut) และน้องสาวของพระนางมีพระนามว่า สุพยาแหง่ (06z6ikt'pN)
คนพม่ามักเชื่อเรื่องโชคลาง เด็กบางคนอาจมีชื่อเล่นเป็นชื่อทำนองให้ผีชัง เช่น เจ้าหมา ('g-:t)  เจ้าดำ (',PNt)  เจ้าขี้เหล่ (U6xNCb6t) เจ้าขี้แมว (gEdk'Ng-yt) ชื่อเหล่านี้ตั้งเรียกเพียงชั่ววัยเด็กเท่านั้น ชื่อบางคนมีความหมายพิเศษ  เช่น คนที่รอดพ้นจากภัยเกือบต้องสิ้นชีวิต อาจชื่อว่า แต๊ะเปี่ยง (ldNexoN) แปลว่า “คืนชีพ,ฟื้น” หรือ คนที่พี่ตายไปก่อนอาจชื่อว่า หม่องจ่าง (gvk'NdyoN) แปลว่า “ นายเหลือ”
นอกจากนี้การตั้งชื่อของชาวพม่ายังนิยมตั้งตามวันที่เกิด  โดยกำหนดอักษรประจำวันเป็นอักษรตัวแรกของชื่อ ดังนี้
วันอาทิตย์                 เริ่มด้วยอักษร            อ (v)
วันจันทร์                   เริ่มด้วยอักษร            ก (d )     ข (- )       ค (8 )       ฆ (S)      ง  (')
วันพุธ                       เริ่มด้วยอักษร            จ (0 )       ฉ (C)      ช (= )       ฌ (G)      ญ (P)
วันพฤหัสบดี             เริ่มด้วยอักษร            ป (x )       ผ ( z)       พ (r)       ภ  (4)     ม  (, )
วันศุกร์                     เริ่มด้วยอักษร            ส (l)      ห (s)
วันเสาร์                     เริ่มด้วยอักษร            ต (9)      ถ (5)      ท (m)       ธ  (T)       น  (o )
พม่าเชื่อว่าวันที่เกิดจะช่วยบ่งบอกลักษณะนิสัย จึงมักนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเลือกคู่ครองว่ามีดวงสมพงศ์กันหรือไม่  และเชื่อว่าหากทราบอักษรตัวแรกของชื่อก็พอจะคาดเดานิสัยใจคอได้  แต่ถ้าไม่ทราบชื่อก็ให้สังเกตตอนไปไหว้พระเจดีย์  เพราะชาวพม่านิยมไปสรงน้ำพระประจำวันเกิดที่ตั้งอยู่รายรอบพระเจดีย์นั้น  วิธีนี้เป็นเพียงข้อชี้คร่าวๆ สำหรับคนที่เชื่อถือดวงชะตา
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15586เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอตัวอย่างรายชื่อหญิงสาวชาวพม่าที่เพราะๆพร้อมคำแปลด้วย ได้มั้ยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท