ชื่อพม่า หม่อง-มะ


“หม่อง” เป็นนามที่ไทยเราใช้เรียกชาวพม่ากันเล่นๆ พบเห็นบ่อยๆตามหน้าหนังสือพิมพ์ ชาวพม่าทั่วไปมักไม่ทราบว่า ไทยเราตั้งฉายาให้พม่าเช่นนั้น
ชื่อพม่า หม่อง-มะ
“หม่อง”เป็นนามที่ไทยเราใช้เรียกชาวพม่ากันเล่นๆพบเห็นบ่อยๆตามหน้าหนังสือพิมพ์  ชาวพม่าทั่วไปมักไม่ทราบว่าไทยเราตั้งฉายาให้พม่าเช่นนั้น พม่าเขียนคำนี้ว่า g,k'Nปกติจะหมายถึง “น้องชาย” เดิมทีเป็นคำเครือญาติสำหรับผู้หญิงใช้เรียกน้องชายของตนเองด้วยความเอ็นดู แต่ปัจจุบันมักใช้ในความหมายว่า “พ่อหนุ่ม”ได้ด้วย อีกทั้งภรรยาหรือหญิงสาวอาจเรียกสามีหรือแฟนของตนว่า “หม่อง”พบบ่อยในถ้อยคำว่า  g,k'Ngi(หม่องเย ) เทียบกับไทยได้ว่า “เธอจ๊ะ”  และใช้คำว่า   g,k'NWdut Z หม่องจี )ในความหมายว่า “คุณพี่” (คำว่า Wdut (จี ) แปลว่า “ใหญ่” ) คำว่า“หม่องจี” นี้เป็นคำที่ผู้หญิงใช้เรียกพี่ชายหรือสามีของตน หากเป็นคู่สามีภรรยา  พม่าจะใช้ว่า =outg,k'NOa" (ซะนีหม่องหนั่ง ) คำ ซะนี (=out )  เป็นคำสุภาพหมายถึง “ภรรยา” คำนี้ยืมจากภาษาฮินดี   ส่วน  Oa" (หนั่ง )หมายถึง “รวง ( ข้าว )”  พม่าผูกศัพท์นี้โดยอุปมาสามีและภรรยาดุจรวงข้าวที่กำลังจะออกผล และถ้าเป็นพี่น้องชายหญิง พม่าจะใช้ว่า  g,k'NOa, ( หม่องนะมะ)  คำว่า Oa,  ( นะมะ ) จะหมายถึง “น้องสาว” ของพี่ชาย
ผู้ใหญ่มักเรียกชายหนุ่มว่า   g,k'N,'Nt  ( หม่องมีง )คำว่า  ,'Nt  (มีง )เป็นสรรพนามหมายถึง “เอ็ง” หรือ “เจ้า” ดังนั้น คำว่า  หม่องมีง  จึงน่าจะเทียบได้กับ “เจ้าหนุ่ม”  และหากใช้ในราชาศัพท์ในความหมาย “พระอนุชา”หรือ  “ องค์ชาย” พม่าจะใช้คำว่า  g,k'Ng9kN (หม่องด่อ )คำสรรพนามสำหรับสามเณรอาจใช้ว่า  g,k'Nia'N (หม่องชิ่น ) และเรียกนาคเณรว่า g,k'Nia'Ng]k'Nt ( หม่องชิ่นลอง )คำว่า  ia'Ng]k'Nt  ( ชิ่นลอง ) ตรงกับ “ส่างลอง” ในคำ“ปอยส่างลอง” ซึ่งเป็นประเพณีบวชลูกแก้วที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  คำว่าg]k'Nt  ( ลอง ) หมายถึง  “ ว่าที่” เช่นพระโพธิสัตว์   พม่าเรียกว่า  46iktg]k'Nt (พยาลอง )หรือ ลูกอ๊อด พม่าเรียกว่า พาลอง                          (zktg]k'Nt ) คำว่า พา  ( zkt ) นั้น  หมายถึง  กบพม่ายังใช้คำว่า “หม่อง”เป็นคำนำหน้าชื่อสำหรับเด็กชายหรือชายในวัยหนุ่ม  อาทิ  หม่องมโยอ่อง  เป็นต้น อีกทั้งชายพม่ายังนิยมชื่อขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วย  “หม่อง”เช่น  หม่องขิ่นหมิ่ง    อั้งหม่อง  และหม่องหม่อง  เป็นอาทิ  นอกจากนี้  คำว่า “หม่อง” ยังหมายถึง “ชายงาม”ที่ได้รางวัลชนะเลิศจากการประกวด   จะเห็นว่า คำว่า“หม่อง”  จะนิยมใช้กับชายที่อยู่ในวัยเยาว์หรือวัยหนุ่ม
คำคู่กับ  “หม่อง” ที่ใช้กับเด็กหญิงหรือหญิงสาว  คือคำว่า“แม”  เขียนว่า  ,pN คำนี้อาจใช้เป็นคำสรรพนามสำหรับเรียกหญิงสาวด้วยความเอ็นดู และอาจใช้เป็นคำนำหน้าชื่อหญิงสาวก็ได้ พม่าใช้คำนี้ผูกเป็นศัพท์ต่างๆ  เช่น  ,pN,'Nt  (แมมีง ) น่าจะเทียบได้กับ  “แม่หนู”  หรือ “นางหนู”  คำว่า  ,pNg9kN  ( แมด่อ )เป็นราชาศัพท์เทียบได้กับ  “ เสด็จแม่” หรือ  “ชนนี” และอาจเป็นคำที่พระพม่าใช้เรียก   “โยมแม่” ก็ได้  พม่าเรียกแม่ชีว่า   ,pNlu]  ( แมตีละ )นอกจากนี้  พม่ายังใช้คำว่า  แม  ในความหมาย “หญิงงาม” หรือ  “นางงาม”  ในคำ  v]a,pN   (อะละแม )  คำว่า   v]a  Z อะละ ) หมายถึง  “ความงาม” หากผสมคำ  หม่อง  และ แม   เข้าด้วยกัน  เป็น   g,k'N,pN  Zหม่องแม )  จะกินความรวมๆ หมายถึง “หนุ่มสาว”
คำนำหน้าชื่อสำหรับผู้หญิงพม่าอีกคำหนึ่งคือคำว่า “มะ” ( , Xเทียบได้กับคำว่า “นาง” และ “นางสาว”แต่คำนี้ใช้ได้กับผู้หญิงทั้งที่อยู่ในวัยเด็กหรือวัยสาว  และใช้ได้กับผู้หญิงที่ออกเรือนแล้วหรือยังโสดอยู่  เช่นหากชื่อว่า  โฉ่โฉ่เหว่  เวลาเรียกชื่อจะใช้ว่า มะโฉ่โฉ่เหว่  เป็นต้น  คำว่า  หม่อง  แม  และ  มะ จึงใช้ได้กับชายหรือหญิงที่มีอายุรุ่นเดียวกัน หรือใช้กับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า  คำเหล่านี้เป็นคำสุภาพ หากใช้อย่างเหมาะสมกับวัย
  
วิรัชนิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15584เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2018 02:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ออออออออออออออออออออออออออออ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท