วีรบุรุษพม่าผู้ปราบยุคเข็ญแห่งพุกาม


ตำนานเรื่องนี้กล่าวถึงการปราบยุกเข็ญในยุคแรกตั้งราชธานีพุกาม ทางการพม่าได้นำมาบรรจุใน “หนังสืออ่านประวัติศาสตร์พม่า” สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓
สารัตถะจากตำราเรียนพม่า :
ปยูซอที วีรบุรุษพม่าผู้ปรายยุคเข็ญแห่งพุกาม
ตำนานเรื่องนี้กล่าวถึงการปราบยุกเข็ญในยุคแรกตั้งราชธานีพุกาม ทางการพม่าได้นำมาบรรจุใน “หนังสืออ่านประวัติศาสตร์พม่า” สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓ หน้า ๓ - ๔ มีเนื้อหากล่าวถึงกษัตริย์เมืองตะกองเชื้อสายศากยะต้องหนีภัยในแผ่นดิน ภายหลังจึงได้ให้กำเนิดราชบุตรซึ่งต่อมาได้เป็นใหญ่ในเมืองพุกามต่อจากพระเจ้าสมุททะราชปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พุกามยุคต้น เหตุที่ราชบุตรได้รับการยอมรับจากชาวพุกามนั้น ก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงช่วยพระเจ้าสมุททะราชปราบยุคเข็ญให้หมดไปจากแผ่นดินพุกาม เนื้อความในตำราว่าไว้ดังนี้ …..
"ในราชวงศ์ตะกอง มีพระราชาทรงพระนามว่า สะโตอาทิจจะราชา(l96btvkmb0¨ik=k) ในสมัยนั้นได้เกิดความไม่สงบขึ้นในแผ่นดิน พระราชาจึงต้องหนีไปหลบซ่อนอยู่ ณ เมืองมะแล(,]PN) ต่อมาไม่นาน พระมเหสีของพระองค์ได้ให้กำเนิดราชบุตรพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ซอที(g0k5ut)  พอซอทีมีวัยได้เพียง ๗ ชันษาพระองค์ก็ช่ำชองในการยิงธนู
จากนั้น ซอทีถูกนำไปฝากไว้กับพระฤษีเพื่อร่ำเรียนวิชา พระฤษีได้ทำนายไว้ว่าซอทีจะได้เป็นกษัตริย์ ณ เมืองทางตอนล่าง ดังนั้นจึงได้เรียกพระองค์เสียใหม่ว่า มีงที(,'Nt5ut) พร้อมกับอบรมสั่งสอนราชศาสตร์ให้กับมีงที
พอมีงทีมีวัยได้ ๑๖ ชันษา พระองค์ได้ขออนุญาตพระบิดาลงไปยังเมืองพุกาม (x68") พร้อมด้วยธนูคู่กาย พอมาถึงบ้านมะเยแค-ดวีง (ge,-c9:'NtU:k) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองพุกาม มีงทีได้ไปพำนักกับสองผู้เฒ่าผัวเมียชาวปยู สองผู้เฒ่าได้เลี้ยงดูมีงทีอย่างรักใคร่เสมือนบุตรในอุทร
ในเวลานั้น พระเจ้าสมุททะราช(l,6m·ik=N,'Nt)ได้สร้างราชธานีปกครองอยู่ ณ เมืองพุกามโดยรวบรวมหมู่บ้าน ๑๙ บ้านเข้าด้วยกันเป็นรัฐ แต่ในพื้นที่ดงดอยของเขตพุกามนั้น พญาหมู(;dNWdut) พญานก('adNWdut) พญาเสือ(dyktWdut) และพญากระรอกบิน(ia&txy"Wdut) มักเข้ามารบกวนจนเป็นภัยต่อชีวิตของชาวเมือง นอกจากนี้ ยังมีต้นน้ำเต้าป่าขึ้นรกเมืองพุกามจนมิอาจถางกันได้หมดสิ้น เป็นผลให้ชาวเมืองไม่อาจปลูกธัญพืชได้ ชาวเมืองมีความทุกข์ยากเช่นนั้นมานานถึง ๑๒ ปี โดยมิมีผู้ใดสามารถขจัดภัยนั้นลงได้สักที
พอมีงทีทรงทราบข่าวดังนั้น ก็ปรารถนาที่จะสำแดงฝีมือเพื่อหมายช่วยชาวพุกามให้พ้นจากภัยดังกล่าว  และพระองค์เองก็ประสงค์ให้ข้าวปลาอาหารในพุกามประเทศกลับบริบูรณ์ ดังนั้นมีงทีจึงเริ่มกำจัดภยันตรายเหล่านั้น เริ่มแรกได้เดินทางไปยังที่ซ่อนตัวของพญาหมู พญาหมูนั้นมีกายใหญ่มหึมาแถมมีพละกำลังเหลือล้น พอเห็นมีงทีพญาหมูก็ตะกุยดินแล้ววิ่งรี่เข้ามาหมายทำร้ายมีงที ฝ่ายมีงทีนั้นก็น้าวศรเล็งยังพญาหมูแล้วยิงไปโดยพลัน พอพญาหมูโดนศรก็ล้มตายในทันที
จากนั้น มีงทีก็ไปยังที่อยู่ของพญานกซึ่งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของเมืองพุกาม ขนาดของพญานกนั้นใหญ่โตมาก พอพญานกเห็นมีงที ก็ส่งเสียงร้องดังน่ากลัว แล้วมันก็โฉบเข้าหาหมายจิกมีงที มีงทีหลบได้ทันพลันก็แผลงศรไปยังพญานก พอพญานกต้องศรก็ตกลงมาตาย ในทำนองเดียวกัน มีงทีก็สามารถปราบพญาเสือ พญากระรอกบิน และเถาน้ำเต้า หลังจากปราบเถาน้ำเต้าได้ พระองค์ได้สร้างเจดีย์น้ำเต้า ซึ่งยังดำรงอยู่จนบัดนี้
พอได้สดับเรื่องราวนั้น พระเจ้าสมุททะราชเจ้าเมืองพุกาม ก็เสด็จมาด้วยพระองค์ยังสถานที่พำนักของมีงที ฝ่ายชาวเมืองพุกามทั้งหลายนั้นต่างก็มาชุมนุมแซ่ซ้องสรรเสริญมีงที พระเจ้าสมุททะราชทรงได้ยกพระธิดาของพระองค์ให้กับมีงทีผู้เพียบพร้อมไปด้วยบุญบารมี ซ้ำยังมีความเก่งกาจและกล้าหาญ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงแต่งตั้งมีงทีให้เป็นอุปราชเมืองพุกาม พอพระเจ้าสมุททะราชสิ้นพระชนม์ มีงทีจึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า ปยูซอที(xy&g0k5ut)"
ในทำนองเดียวกับเรื่องกังราชาจีกับกังราชาแหง่แห่งตะกองที่กล่าวถึงในตอนที่แล้ว ตำนานเรื่องปยูซอทีก็มีกล่าวไว้ในพงศาวดารฉบับหอแก้วเช่นกัน ตำนานปยูซอทีมีประเด็นที่น่าสนใจตรงที่ปยูซอทีมีชื่อขึ้นต้นด้วย ปยู และยังได้รับการดูแลโดยชาวปยู จึงพอจะบอกได้ว่าปยูหรือพยูน่าจะเป็นชนพื้นถิ่นแถบพุกามก่อนที่ชาวพม่าจะสร้างพุกามขึ้นมา ซึ่งก็สอดคล้องกับเรื่องที่ชาวปยูขอเจ้านายจากกังราชาจีมาปกครองพวกตน  พุกามจึงมีชาวพม่าเป็นเจ้าและน่าจะมีชาวปยูเป็นชนพื้นเมืองอยู่ด้วย ตามหลักฐานทางโบราณคดีและตำนาน ชาวปยูเคยมีอาณาจักรของตนมาก่อนในแผ่นดินเมียนมา เชื่อว่าเมืองราชธานีของพวกปยู คือ ตะกอง(9gdk'Nt) บิตตะโน(rbÊO6bt) ฮังลีง(soN]'Nt)  และศรีเกษตร(lgig-9µik)เมืองดังกล่าวต่างตั้งอยู่แถบอิรวดีซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่
อีกประเด็นหนึ่งคือชื่อซอที(g0k5ut)ของปยูซอทีในวัยเยาว์และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นมีงทีนั้น อาจเป็นการเปลี่ยนชื่อตามภาษาของชาวเมืองที่อยู่แวดล้อมปยูซอที นั่นคือ เมื่อตอนอยู่ทางเหนือได้ใช้นามว่า ซอที คำว่า ซอ(g0k)โดยอักษรน่าจะเทียบได้กับคำว่า "เจ้า" ในภาษาไทใหญ่ แต่พอฤษีทำนายว่าซอทีจะได้เป็นกษัตริย์ในเมืองล่าง คือเมืองพุกามของพม่านั้น จึงเปลี่ยนจากการใช้คำนำหน้าชื่อว่า ซอ มาใช้ มีง(,'Nt) แทน กลายเป็น มีงที(,'Nt5ut) มีง เป็นคำพม่า แปลว่า "เจ้า" เหมือนกับคำว่า ซอ ซึ่งน่าจะเป็นคำที่ไทใหญ่ใช้ในความหมายว่า "เจ้า" เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพม่ามีคำเรียกเจ้าฟ้าของไทใหญ่ว่า ส่อ-พวา(g0kN4:kt) ส่วน ซอที(g0k5ut)นั้น พม่าเชื่อว่าเป็นคำโบราณที่ใช้เรียก "เจ้านาย" และ มีงที(,'Nt5ut) จะหมายถึง "พระราชา" นั่นคือ มีงทีใช้กับเจ้านายที่มีฐานะสูงกว่าซอที อาจเป็นนัยบอกได้ว่าเจ้าฝ่ายพม่ามีฐานะสูงว่าเจ้าของชาวพื้นเมืองอย่างชนในกลุ่มวัฒนธรรมฉาน อันมีไทไหญ่เป็นอาทิ
ตำนานเรื่อง ปยูซอที เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมพม่ามานาน ตำนานเรี่องนี้ได้พยายามให้ภาพการสร้างบ้านแปลงเมืองของพม่าในยุคพุกามตอนต้น ว่ามีเจ้าชายเชื้อสายศากยะวงศ์จากเมืองตะกองมาช่วยพระเจ้าสมุททะราชปฐมกษัตริย์แห่งพุกามปราบทุกข์เข็ญ ประวัติการกำเนิดเมืองพุกามจึงต้องมีเรื่องการปราบภัยภายในของแผ่นดินเป็นจุดเริ่ม และในสมัยรัฐบาลอูนุ เมื่อต้องปราบกบฏหลากสีนั้น ทางการได้ให้แต่ละหมู่บ้านตั้งกองกำลังอาสาสมัครป้องกันตนเองโดยใช้ชื่อว่า ทัพปยูซอที ดังนั้นหากถือว่าปยูซอทีเป็นวีรบุรุษของพม่าที่เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละในการสร้างสันติภาพแล้วละก็ ฝ่ายพญาหมู พญาเสือ พญากะรอกบิน และเถาน้ำเต้าป่านั้นคงจะหมายถึงผู้ก่อการร้ายทั้งหลายที่ถูกมองว่าเป็นภัยของแผ่นดินนับแต่พม่าได้เอกราช ·
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15569เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท