ภูมิสังคมวัฒนธรรมของมณฑลและรัฐต่างๆในสหภาพพม่า


รัฐกะฉิ่นหรือ Kachin State) ตั้งอยู่บนสุดของประเทศ มีพื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกติดกับประเทศจีน ต้านใต้ติดกับรัฐฉาน และด้านตะวันตกติดกับมณฑลสะกาย รัฐกะฉิ่นมีพื้นที่ ๓๔,๓๗๙ ตารางไมล์
ภูมิสังคมวัฒนธรรมของมณฑลและรัฐต่างๆในประเทศสหภาพพม่า
รัฐกะฉิ่น (d-y'NexPNopN หรือ Kachin State) ตั้งอยู่บนสุดของประเทศ มีพื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกติดกับประเทศจีน ต้านใต้ติดกับรัฐฉาน และด้านตะวันตกติดกับมณฑลสะกาย รัฐกะฉิ่นมีพื้นที่ ๓๔,๓๗๙ ตารางไมล์
ในรัฐกะฉิ่นแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอมิจจีนา(Myitkyina) อำเภอบะมอ(Bhamo) และอำเภอปูตาโอ(Putao) ทั้งรัฐมี ๑๘ ตำบล กับ ๗๐๙ หมู่บ้าน มิจจีนาเป็นเมืองหลวงของรัฐ
รัฐกะฉิ่นมีประชากร ๑.๒ ล้านกว่าคน ความหนาแน่นของประชากร ๓๔ คน/ตารางไมล์ ประกอบด้วยชนเผ่ากะฉิ่น พม่า ไทใหญ่(ฉาน) ฉิ่น และนาคา นับถือพุทธศาสนาร้อยละ ๕๗.๘ และนับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ ๓๖.๔ นอกนั้นนับถือฮินดู อิสลาม และนับถือผี ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาพม่า และมีภาษาท้องถิ่น ได้แก่ จิงผ่อ(Jinphaw) ระวาง(Rawan) ลีซอ(Lisu) และละเชก(Lacheik)
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ พิธีมะนอ(Manao) การเต้นทองกา(Htaungka) วันฉลองรัฐตรงกับ ๑๐ มกราคม
รัฐคะยา (dpktexPNopN หรือ Kayah State) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของสหภาพพม่า ติดกับไทยทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตอนเหนือของรัฐคะยาติดกับรัฐฉาน ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับรัฐกะยีง รัฐคะยามีพื้นที่ ๔,๕๓๐ ตารางไมล์
ในรัฐคะยาแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอลอยก่อ(Loikaw) และอำเภอบอลาแค(Bawlakhe) ทั้งรัฐมี ๗ ตำบล กับ ๑๐๖ หมู่บ้าน ลอยก่อเป็นเมืองหลวงของรัฐ
รัฐคะยามีประชากรประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ คน ความหนาแน่นของประชากร ๕๓ คน/ตารางไมล์ หากเป็นเมืองลอยก่อและดีมอโซ(Dimawhso) จะมีความหนาแน่นของประชากรถึง ๑๐๐ คน/ตารางไมล์ ประกอบด้วยชนเผ่าคะยา(Kayah) ปะด่อง (Paduang หรือ Kayan) ปะเย (Paye) ยินบอ (Yinbaw) ยินกะเล (Yinkale) กะเหรี่ยงปะกี (Paki Kayin) และชนกลุ่มเล็กๆ เช่น มะนูทะเนา (Manumanao) เกโค (Gaykho) และเกบา (Gaybar) ส่วนพวกไทใหญ่ อีงตา(Intha) และพม่า จำนวนไม่มากอาศัยอยู่ที่ลำน้ำบะลู(Balu)ซึ่งอยู่ด้านเหนือของรัฐคะยา ส่วนพวกปะโอ(Pa-o) หรือตองสู มักอยูตามเขตภูเขา
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีกูโตโบ(Kutobo) วันฉลองรัฐ ตรงกับวันที่ ๑๕ มกราคม
รัฐกะยีง หรือ รัฐกะเหรี่ยง (di'NexPNopN หรือ Kayin State) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของสหภาพพม่า ติดกับไทยทางตอนล่างของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และกาญจนบุรี ตอนเหนือของรัฐกะยีงติดกับรัฐฉาน รัฐคะยา และมณฑลมัณฑะเล ตอนตะวันตกและด้านใต้ติดกับมณฑลพะโคและรัฐมอญ รัฐกะยีงมีพื้นที่ ๑๑,๗๓๑ ตารางไมล์
ในรัฐกะยีงแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอพะอัง(Pha-an)อำเภอเกาะกริก(Kawkareit) และอำเภอเมียวดี(Myawady) ทั้งรัฐมี ๗ ตำบล กับ ๔๑๐ หมู่บ้าน พะอังเป็นเมืองหลวงของรัฐ
รัฐกะยีงมีประชากร ๑,๔๓๑,๓๗๗ คน ความหนาแน่นของประชากร ๑๒๒ คน/ตารางไมล์ ประกอบด้วยชนเผ่ากะเหรี่ยง(Kayin) พม่า (Bamar) ปะโอ (Pa-o) ไทใหญ่ (Shan) มอญ (Mon) และยะไข่ (Rakhine) กะเหรี่ยงเป็นชื่อรวมๆของชนเผ่านี้ ซึ่งจำแนกได้เป็น สะกอ (Sakaw /Sawhaw) โป(Poe/Sho) บเว(Bwe) ปะด่อง(Padaung) กะเหรี่ยงแดง(Kayinni) และซะเยง(Zayein) และยังอาจจำแนกกลุ่มกะเหรี่ยงเป็นกะเหรี่ยงเหนือ และกะเหรี่ยงใต้ บเวเป็นกลุ่มกะเหรี่ยงเหนือ ส่วนสะกอและโปเป็นกลุ่มกะเหรี่ยงใต้ ศาสนาหลักในรัฐนี้ได้แก่ พุทธ คริสต์ และ เลเก(Leke)
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีตีกลองกบ หรือพาสี่ (Phasi) งานรำตง(Kayin Don) ประเพณีอุ่นเรือน งานเล่นกองไฟ งานฉลองปีใหม่ งานก่อเจดีย์ทราย งานแข่งเรือ พิธีเก็บอัฐิ และพิธีเลี้ยงผี
รัฐฉิ่น (-y'NtexPNopN หรือ Chin State) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศสหภาพพม่า ทางเหนือและตะวันตกติดกับอินเดีย ทางใต้ติดกับรัฐยะไข่ และทางตะวันออกติดกับมณฑลสะกายและมะเกว รัฐฉิ่นมีพื้นที่ ๑๓,๙๐๗ ตารางไมล์
ในรัฐฉิ่นแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอมิงดัต(Mindat) และอำเภอฟะลัม(Falam) ทั้งรัฐมี ๙ ตำบล กับ ๕๐๕ หมู่บ้าน เมืองหลวงของรัฐคือเมืองฮาคา(Haka)
รัฐฉิ่นมีประชากร ๔๖๕,๓๖๑ คน ความหนาแน่นของประชากร ๓๒ คน/ตารางไมล์ ประกอบด้วยชนเผ่าฉิ่นเป็นส่วนมาก นอกนั้นมีเผ่ามโร(Mro/Mago) คะมี(Khami) และพม่า(Bamar) อาศัยทางใต้และพื้นที่ตะวันตกของรัฐ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และบางส่วนถือพุทธศาสนา เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาจึงทำให้มีความแตกต่างทางภาษาท้องถิ่นอยู่ทั่วไป
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีเก็บเกี่ยว หรือ ลามะคา(Hla-ma-ka) ประเพณีอุ่นเรือน หรือ เองคา (Ein-Ka) นอกนั้นก็มีประเพณี ยูลัก(Yu-hlak), ควาโด(Khwar-do) หรือวันปีใหม่ และ ควางเจว(Khwang-Kywe) วันฉลองรัฐตรงกับวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์
รัฐมอญ (,:oNexPNopN หรือ Mon State) ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของสหภาพพม่า ทิศเหนือติดกับมณฑลพะโค และรัฐกะยีง ทิศตะวันตกติดกับอ่าวเมาะตะมะ ทิศใต้ติดกับมณฑลตะนาวศรี และมีพื้นที่บางส่วนติดกับประเทศไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี รัฐมอญมีพื้นที่  ๔,๗๔๗.๘ ตารางไมล์
ในรัฐมอญแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมาะลำไย(Mawlamyine) และอำเภอท่าตอนหรือตะโทง(Thaton) ทั้งรัฐมี ๑๐ ตำบล กับ ๔๕๐ หมู่บ้าน เมาะลำไยเป็นเมืองหลักของรัฐ
รัฐมอญมีประชากรเกือบ ๒.๔ ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร ๕๐๕ คน/ตารางไมล์ ประกอบด้วยชาวมอญ และพม่า เป็นส่วนมาก นอกนั้นยังมีกะเหรี่ยง ยะไข่ ฉิ่น กะฉิ่น ไทใหญ่ และปะโอ ศาสนาหลักคือพุทธศาสนา และมีบางส่วนนับถือคริสต์
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ งานพุทธบูชาที่เจดีย์ไจทีโย งานต้อนรับแขก และงานถวายน้ำมัน วันฉลองรัฐตรงกับวันที่ ๑๙ มีนาคม
รัฐยะไข่ (i-6b'NexPNopN หรือ Raknine State) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศสหภาพพม่า ทิศเหนือติดกับรัฐฉิ่น ทิศตะวันออกติดกับมณฑลมะเกว ทิศใต้ติดกับมณฑลเอยาวดี และทิศตะวันตกติดกับอ่าวเบงกอล รัฐยะไข่มีพื้นที่ ๑๔,๒๐๐ ตารางไมล์
ในรัฐยะไข่แบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอซิจต่วย(Sittway) มองตอ(Maungtaw) บูตีต่อง(Buthiduang) เจ้าก์ผยู่(Kyaukpyu) ตั่งตแว(Thandwe) ทั้งรัฐมี ๑๗ ตำบล กับ ๑,๑๖๔ หมู่บ้าน ซิจต่วยเป็นเมืองหลวงของรัฐ
รัฐยะไข่มีประชากร ๒.๖ ล้านกว่าคน ความหนาแน่นของประชากร ๑๘๓ คน/ตารางไมล์ อยู่หนาแน่นที่สุดในเมืองซิจต่วย ชาวยะไข่และพม่าอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ เกาะยาม-บแย(Yambye) และเกาะมะนอง(Manaung) พวกฉิ่นอาศัยทางด้านเหนือของรัฐ ส่วนในพื้นที่ภูเขาด้านตะวันตกและเหนือของเมืองซิจต่วย มีเผ่าต่างอาศัยอยู่ ได้แก่ มโร(Mro) แต๊ะ(Thet) คามี(Khami) ไดแนะ(Dainet) มะรามะจี(Maramagyi) และคะมาน(Kaman) ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ งานพุทธบูชาที่เจดีย์ซังดอฉิ่ง เจดีย์ชิตทอง เจดีย์บูดอมอ ประเพณีตำข้าวในวันออกพรรษา งานแข่งเรือ งานแข่งมวยปล้ำ วันฉลองรัฐตรงกับวันที่ ๑๕ ธันวาคม
รัฐฉาน (ia,NtexPNopN หรือ Shan State) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหภาพม่า ทิศเหนือติดกับมณฑลสะกาย รัฐกะฉิ่นและประเทศจีน ทิศตะวันออกติดกับประเทศจีนและลาว ทิศใต้ติดกับไทยและรัฐคะยา ส่วนทิศตะวันตกติดกับมณฑลมัณฑะเล รัฐฉานมีพื้นที่ ๖๐,๑๕๕ ตารางไมล์
ในรัฐฉานแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๑๑ อำเภอ ได้แก่ ต่องจี(Taunggyi) ลอยลีง(Loilem) ลาโช(Lashio) มูแซ(Muse) เจ้าก์แม(Kyaukme) กุนลง(Kunlong) เล่าก์ก่าย(Laukkai) ไจ้โตง หรือเชียงตุง (Kengtung) มายซัต(Monghsat) มาย-พยัต(Monghpyak) และ ตาชีเละ หรือท่าขี้เหล็ก (Tachilek) ทั้งรัฐมี ๕๔ ตำบล กับ ๑๙๓ หมู่บ้าน ตองจีเป็นเมืองหลวงของรัฐ
รัฐฉานมีประชากร ๔.๗ ล้านกว่าคน ความหนาแน่ของประชากร ๗๕ คน/ตารางไมล์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทยใหญ่ อาศัยในที่ราบลุ่มน้ำ และตามหุบเขา นอกจากนี้ยังมีชนเผ่า ดานุ ต่องโย อีงตา และชาวพม่า อาศัยอยู่ทางด้านตะวันตก ปะหล่อง ลีซอและกะฉิ่นอาศัยทางด้านเหนือ  ปะโอพบอาศัยแถวด้านใต้ ว้าที่เมืองโฮบัง ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน โกกั้งในเขตปกครองโกกั้ง และอีก้อกับมูเซออาศัยแถบเมือง
เชียงตุง ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และมีจำนวนมากที่เป็นมุสลิม คริสต์ และฮินดู ส่วนใหญ่พูดภาษาพม่าเป็นภาษากลาง
ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีแห่พระพองด่ออูที่ทะเลสาปอีงเล งานบูชาเจดีย์ปีงดายะ และเจดีย์อีกหลายแห่ง และงานลอยโคมไฟที่ต่องจี วันฉลองรัฐตรงกับวันที่ ๗ กุมภาพันธ์
มณฑลสะกาย ( 00Nd6b'Nt96b'Nt หรือ Sagaing Division) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสหภาพพม่า มีชายแดนติดกับอินเดียและรัฐกะฉิ่น ด้านตะวันออกและด้านใต้ติดกับรัฐฉานและมณฑลมัณฑะเล ด้านใต้ติดกับมณฑลมัณฑะเล และมณฑลมะเกว มณฑลสะกายมีพื้นที่ ๓๖,๕๓๕ ตารางไมล์
มณฑลสะกายแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๘ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสะกาย(Sagaing) อำเภอชเวโบ(Shwebo) อำเภอโมง-ยวา(Monywa) อำเภอกะตา(Katha) อำเภอกะเล(Kale) อำเภอตะมู(Tamu) หม่อไล่ก์(Mawlaik) และคำตี่(Hkamti) ทั้งมณฑลมี ๓๘ ตำบล กับ ๑๙๘ หมู่บ้าน สะกายเป็นเมืองหลักของมณฑล
มณฑลสะกายมีประชากรกว่า ๕ ล้านคน ความหนาแน่นของประชากร ๑๓๙ คน/ตารางไมล์ และหนาแน่นเป็นพิเศษทางตอนล่างบริเวณแม่น้ำชิดวิน(Chindwin) กับ แม่น้ำมู(Mu) ชาวพม่าเป็นชนส่วนใหญ่ที่อาศัยในพื้นที่แห้งแล้งและตลอดเส้นทางรถไฟจากมัณฑะเลถึงมิจจีนา พวกไทใหญ่อาศัยแถบแม่น้ำชิดวินตอนบนและในตำบลกอลีง(Kawlin) วุนโต่(Wuntho)และปี่งแหล่บู(Pinlebu) พวกนาคาอาศัยตามเทือกเขาด้านเหนือ พวกฉิ่นอาศัยทางตอนล่างของมณฑล ส่วนพวกกะดู(Kadu) และกะนาง(Ganang) พบอาศัยตามลุ่มแม่น้ำมูและเมซา(Meza)
ประเพณีสำคัญในมณฑลสะกาย ได้แก่ ประเพณีถวายข้าวที่เจดีย์ปะดะ-มยา(Padamya Pagoda)
มณฑลตะนาวศรี (9ol§kiu96b'Nt หรือ Taninthayi Division) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของสหภาพพม่า ด้านเหนือติดกับรัฐมอญ ชายแดนด้านตะวันตกติดกับไทยนับจากกาญจนบุรีไปจนถึงระยอง ด้านตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน ซึ่งประกอบด้วยเกาะต่างๆเกือบ ๘๐๐ เกาะ มณฑลตะนาวศรีมีพื้นที่ ๑๖,๗๓๕.๕ ตารางไมล์
มณฑลตะนาวศรีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอทวายหรือดะแว(Dawei) อำเภอมะริดหรือมเยะ(Myeik) และอำเภอเกาะสองหรือเก๊าะตอง(Kawthoung) ทั้งมณฑลมี ๑๐ ตำบล และ ๓๒๘ หมู่บ้าน ทวายเป็นเมืองหลักของมณฑล
มณฑลตะนาวศรีมีประชากรกว่า ๑ ล้าน ๒ แสนคน ความหนาแน่นของประชากร ๖๔ คน/ตารางไมล์ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยตามที่ราบริมฝั่งทะเลและตามลุ่มแม่น้ำ ตำบลที่ประชากรอาศัยมากได้แก่ ลองโลง(Launglon) และมะริด ส่วนที่ตำบลตะนาวศรีและโป๊ะปยีง(Bokpyin) มีประชากรเพียง ๑๔–๑๕ คนต่อตารางไมล์ ในมณฑลตะนาวศรีมีประชากรเชื้อชาติต่างๆอาศัยอยู่หลายเผ่า ได้แก่ พม่า กะเหรี่ยง มอญ ไทใหญ่ ยะไข่ ปะซู(มาเลย์) ซะโลนซึ่งอยู่ตามเกาะเขตมะริด ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาพม่าและนับถือพุทธศาสนา
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีลุจา(Lukya)ที่มะริด ประเพณีลอบบาตรที่ทวาย ประเพณีฝังไหทองที่เย้(Ye) และประเพณีแห่พระเจ้า ๒๘ องค์ที่ทวาย มะริด และปะลอ(Palaw)
มณฑลพะโค หรือ บะโก (xc-^t96b'Nt หรือ Bago Division) ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคกลางตองล่าง ด้านเหนือติดกับมณฑลมะเกวและมณฑลมัณฑะเล ด้านตะวันออกติดกับรัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ และอ่าวเมาะตะมะ ด้านใต้ติดกับมณฑลย่างกุ้ง และด้านตะวันตกติดกับมณฑลเอยาวดี และรัฐยะไข่ มณฑลพะโคมีพื้นที่ ๑๕,๒๑๔ ตารางไมล์
ในมณฑลพะโคแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๔ อำเภอ ได้แก่ พะโค หรือบะโก(Bago) อำเภอแปรหรือปยี(Pyay) อำเภอตายาวดี(Thayawady) และอำเภอตองอูหรือต่องหงู่(Taungoo) ทั้งมณฑลมี ๒๘ ตำบล กับ ๑,๖๑๙ หมู่บ้าน พะโคเป็นเมืองหลักของมณฑล เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของพม่า
มณฑลพะโคมีประชากรกว่า ๔.๙ ล้านคน ความหนาแน่นของประชากรเกินกว่า ๓๐๐ คน/ตารางไมล์  ประชากรที่อาศัยในมณฑลนี้ได้แก่ กะเหรี่ยง พม่า มอญ ฉิ่น ยะไข่ ไทใหญ่ และปะโอ ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา บางส่วนนับถือคริสต์ ฮินดู และอิสลาม ภาษาพม่าเป็นภาษากลางของประชาชนในมณฑล
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีแห่พระเขี้ยวแก้วที่ปองแด่(Paungde) ประเพณีแห่เจ้าแม่ที่ญองเลปี่ง(Nyaunglebin) ประเพณีลอยประทีปที่ชเวจีง(Shwekyin) ประเพณีแห่พระเจ้า ๒๘ องค์ ที่ตองอูและได้ก์อู(DaikU) และงานธรรมฉันทะที่ตายาวดี-โตงแส่
มณฑลมะเกว (,gd:t96b'Nt หรือ Magway Division) ตั้งอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งทางภาคกลางของสหภาพพม่า ด้านเหนือติดกับมณฑลสะกาย ด้านตะวันออกติดกับมณฑลมัณฑะเล ด้านใต้ติดกับมณฑลพะโค ด้านตะวันตกติดกับรัฐยะไข่และรัฐฉิ่น มณฑลมะเกวมีพื้นที่ ๑๗,๓๐๕ ตารางไมล์
มณฑลมะเกวแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอมะเกว(Magway) อำเภอมีงบู(Minbu) อำเภอตะแยะ(Thayet) อำเภอปะโคะกู่(Pakokku) และกั้งกอ(Gangaw) ทั้งมณฑลมี ๒๕ ตำบล กับ ๑,๖๙๖ หมู่บ้าน มะเกวเป็นเมืองหลักของมณฑล มีประชากรประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน
มณฑลมะเกวมีประชากร ๔,๒๑๘,๖๙๙ คน ความหนาแน่ของประชากร ๒๔๔ คน/ตารางไมล์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า นอกนั้นเป็นพวกฉิ่น ยะไข่ กะเหรี่ยง และไทใหญ่เป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา มีเพียงส่วนน้อยที่นับถือคริสต์ ฮินดู อิสลาม และนับถือผี
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ งานฉลองเจดีย์มยะตะลูน(Myathalun Pagoda) ที่มะเกว และงานฉลองพระธาตุชเวแซะด่อ(Shwesettaw) ที่มีงบู
มณฑลมัณฑะเล (,Oµg]t96b'Nt หรือ Mandalay Division) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหภาพพม่า ด้านเหนือติดกับมณฑลสะกาย ด้านตะวันออกติดกับรัฐฉาน ด้านใต้ติดกับรัฐกะเหรี่ยงและมณฑลพะโค ด้านตะวันตกติดกับมณฑลมะเกวและมณฑลสะกาย มณฑลมัณฑะเลมีพื้นที่ ๑๔,๒๙๕ ตารางไมล์
มณฑลมัณฑะเลแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอมัณฑะเล(Mandalay) เจ้าก์แซ(Kyaukse) ญองอู(Nyaung-u) ปยีงอูละวีง(Pyin-Oo-Lwin) มิตถิลา(Meiktila) มยีงฉั่ง(Myingyin) ยะมีตีง(Yamethin) ทั้งมณฑลมี ๓๐ ตำบล กับ ๒,๓๒๐ หมู่บ้าน มัณฑะเลเป็นเมืองหลักของมณฑล มีประชากรประมาณ ๖๕๐,๐๐๐ คน
มณฑลมัณฑะเลมีประชากร ๖,๓๑๓,๙๓๘ คน ความหนาแน่นของประชากร ๔๒๔ คน/ตารางไมล์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นพม่า นอกนั้นเป็นไทใหญ่ ดะนุ(Danu) ลีซอ(Lisu) และปะหล่อง(Palaung) อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงด้านตะวันออกของมณฑล  มีพวกฉิ่นแถวแหล่เว (Leway) และปีงมะนา(Pyinmana) และยังมีพวกกะฉิ่นและกะเหรี่ยง อาศัยในมณฑลนี้ด้วย ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา แต่ก็มีที่นับถือฮินดู มุสลิม และคริสต์ ภาษาพม่าเป็นภาษาที่พูดเป็นส่วนใหญ่ในรัฐนี้
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ งานบูชานัตที่ต่องปะโยง(Taungpyone) และที่ยาตะนากู(Yadanagu) และประเพณีเต้นช้างที่เจ้าก์แซ(Kyaukse)
มณฑลย่างกุ้ง (ioNd6oN96b'Nt หรือ Yangon Division) ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนล่างของสหภาพพม่า ด้านเหนือและตะวันออกติดกับมณฑลพะโค ด้านใต้ติดกับอ่าวเมาะตะมะ ด้านตะวันตกติดกับมณฑลเอยาวดี มณฑลย่างกุ้งมีพื้นที่ ๓,๙๒๗.๕ ตารางไมล์
มณฑลย่างกุ้งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอย่างกุ้งตะวันออก อำเภอย่างกุ้งตะวันตก อำเภอย่างกุ้งเหนือ และอำเภอย่างกุ้งใต้ ทั้งมณฑลมี ๔๕ ตำบล กับ ๑,๓๐๕ หมู่บ้าน เมืองย่างกุ้งเป็นทั้งเมืองหลวงของมณฑลและของประเทศ และเป็นเมืองศูนย์กลางทางการคมนาคม เป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาล สถานศึกษา และแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญ
มณฑลย่างกุ้งมีประชากรมากกว่า ๕ ล้านคน ความหนาแน่นของประชากรประมาณ ๑,๓๐๐ คน/ตารางไมล์ ประกอบด้วยชนหลากหลายชาติพันธุ์ แต่ชาวพม่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ของมณฑลนี้ และมีประชากรเชื้อสายแขกและจีนจำนวนมาก ชาวย่างกุ้งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ รองลงไปเป็นชาวมุสลิม และชาวคริสต์ตามลำดับ
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีไหว้เจดีย์ชเวดากอง เจดีย์แม่ละมุ ประเพณีสงกรานต์ และงานถวายตำแหน่งทางศาสนาแด่พระสงฆ์
มณฑลเอยาวดี (Vik;9u96b'Nt หรือ Ayeyawady Division) ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนล่างของสหภาพพม่า ด้านเหนือติดกับมณฑลพะโค ด้านตะวันออกติดกับมณฑลพะโคและมณฑลย่างกุ้ง ด้านใต้และด้านตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล ส่วนด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับรัฐยะไข่ มณฑลเอยาวดีมีพื้นที่ ๑๓,๕๖๗ ตารางไมล์
มณฑลเอยาวดีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๕ อำเภอ ได้แก่ พะสิมหรือปะเตง (Pathein) ฮีงต่าดะ (Hinthada) มยอง-มยะ (Myaungmya) มะอูบีง (Maubin) และ พยาโปง (Pyapon) ทั้งมณฑลมี ๒๖ ตำบล ปะเตงเป็นเมืองหลวงของมณฑล
มณฑลเอยาวดีมีประชากรมากว่า ๖.๕ ล้านคน ความหนาแน่ของประชากร ๔๖๖ คนต่อตารางไมล์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าและกะเหรี่ยง บางส่วนเป็นชาวยะไข่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา รองลงมาเป็นผู้นับถือคริสตศาสนา และมีบางส่วนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษากลาง
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ งานไหว้พระเจดีย์ปะเตง มอตีงซูน และงานบูชาพระปยีด่อเปี่ยงที่เมืองสะลูน
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15545เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

1241228836_m

727850228_m

          I Am Terror

เราแตกต่างเพื่ออยู่รอด

ร่วมขบวนการ"ไร้การก่อ"กันเถอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท