5 ส่วนประกอบที่สำคัญของการออกแบบ ( จุด , เส้น )


ส่วนประกอบที่สำคัญของการออกแบบ [ Element of Design ]

ต้นไม้จะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบไปด้วยรากแก้ว  รากฝอย  ลำต้น  กิ่ง ก้านใบ  ดอก ผล  การออกแบบก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยส่วนประกอบต่าง ๆ  ของศิลปะหรือองค์ประกอบศิลป์มาประกอบกันเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกลมกลืน  เกิดประโยชน์ใช้สอยและมีคุณค่าทางความงาม  จึงจะเป็นงานออกแบบที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง    

ส่วนประกอบที่สำคัญของงานออกแบบทีสำคัญนั้นประกอบด้วย  

1. จุด [ Dot ]

2.  เส้น [ Line ]

3.  รูปร่างและรูปทรง [ Shape & From ]

4.  สี  [ Color ]

5.  ลักษณะผิว [ Texture ]

6. จังหวะ [ Rhythm ]

7.  ลวดลาย [ Pattern ]

8.  ขนาดและสัดส่วน [ Proportion ]                  

1.จุด [ Dot ] หมายถึง รอยกด จุด แต้ม มีลักษณะกลมเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดเป็นพื้นฐานที่สำคัญในงานออกแบบทุกชนิด แม้แต่ตัวอักษร  และภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ยัง ประกอบ ด้วยจุดหลายพันหลายหมื่นจุด  เมื่อนำจุดมาเรียงกันในตำแหน่งที่เหมาะสมก็จะเกิดเป็นรูปร่าง รูปทรงระยะใกล้  ไกล  ทำให้งานออกแบบสร้างความรู้สึกตื่นเต้น และดึงดูดความสนใจ                      

ลักษณะจุดแบ่งได้   2  ประเภทคือ                        

1.1   จุดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  จุดในลายของสัตว์  เช่น  แมว   หมา  กวาง  เสือดาว  ปลา  เปลือกหอย จุดที่พบเห็นทั่วไปในส่วนต่าง ๆ ของพืช  เช่น  ลำต้น ดอกไม้  ใบ  ข้าวโพด ปะการัง  เมล็ดถั่ว และจุดในแมลงต่างๆ เช่น ผีเสื้อ เต่าทอง เป็นต้น                              

1.2 จุดที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น  การแต้ม ขีด  จิ้ม กด  กระแทก  ด้วยวัสดุ   อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น  ดินสอดำ  ปากกา   พู่กัน  วัสดุปลายแหลมหรือเครื่องมืออื่น ๆจุดมีอิทธิพลกับมนุษย์มากในการออกแบบ  มนุษย์ออกแบบลูกคิดสำหรับคิดเลข ออกแบบร้อยลูกปัดเป็นสร้อยคอและเครื่องประดับต่าง ๆ  สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากจุดทั้งสิ้น                                        

การนำจุดมาใช้ในงานออกแบบสามารถทำได้หลายแบบดังนี้  

1. ลักษณะการจัดที่เรียงกันและทำซ้ำกัน ( Repetition )

2. ลักษณะการจัดโดยใช้ช่องจังหวะที่ซ้ำกัน ( Rhythm  ) 

3. ลักษณะการจัดโดยให้เหมือนกับ  สมดุลกันทั้ง  2  ด้าน( Symmetry  Balance )          

4.  ลักษณะการจัดโดยให้สมดุลไม่เท่ากัน  2  ด้าน ( Asymmetry Balance)                                             

5. ลักษณะการจัดให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ( Pattern  )                      

ลักษณะการจัดในรูปองค์ประกอบศิลป์( Composition )

2. เส้น ( Line                               

    เส้น หมายถึง  จุดหลาย ๆ จุดเรียงติดต่อกันและเคลื่อนไหวไปในบริเวณว่าง บนแผ่นระนาบ  เส้นเกิดจากการลาก   ขูด  ขีด เขียนด้วยดินสอ  ปากกา  พู่กัน  แปรง เมื่อนำไป ประกอบกันก็จะเกิดเป็น  รูปร่าง  รูปทรง  นอกจากนี้เส้นยังรวมถึงทิศทาง  การเกี่ยวโยง  การเคลื่อนไหวและพลังอีกด้วย    เส้นแต่ละชนิดให้ความรู้สึกทางอารมณ์ดังนี้  

  2.1    ลักษณะและความรู้สึกที่มีต่อเส้น                            

 2.1.1  เส้นตรงแนวตั้ง ( Straight Line )  คือเส้นที่ลากจากจุดใดจุดหนึ่งตรงไปในทิศทางหนึ่งในแนวตั้งเส้นตรงในแนวตั้งให้ความรู้สึกแข็งแรง    แน่นอน   ถูกต้อง   รุนแรง  เข้มแข็ง  เด็ดเดี่ยว    

2.1.2  เส้นแนวนอน   ( Horizontal  Line )  คือเส้นตรงที่ลากจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งในแนวนอน  เส้นแนวนอนให้ความรู้สึก  กว้าง   สงบ  นิ่ง  ราบเรียบ  ถ้าโยง เข้ากับธรรมชาติ     ทำให้เรานึกถึงที่ราบ   ขอบน้ำตัดกับขอบฟ้าของทะเลยามสงบให้ ความรู้สึกสงบปลอดภัยในอีกมุ่มหนึ่งอาจนึกถึงเกี่ยวกับความตาย   

2.1.3    เส้นเฉียง ( Diagonal  line )    คือ  เส้นตรงที่ลากในแนวเฉียง  เส้นเฉียงให้ ความรู้สึกไม่มั่นคง   ไม่แน่นอน  เคลื่อนไหวรวดเร็ว      เปรียบเส้นเฉียงมีลักษณะเหมือนท่าคนวิ่งหรือคนล้ม  ไม่มั่นคง

2.1.4   เส้นตั้งฉาก  ( Vertical   Line )  คือ  เส้นตรงที่ลากมาตั้งฉากกับเส้นแนวนอน  เส้นตั้งฉากให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง   สง่างาม  ถ้าเราโยงความรู้สึกให้เข้ากับภาพ ในธรรมชาติเปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเรียงรายอยู่กลางทุ่งกว้าง   ซึ่งมีความสง่างามโดดเด่นและเป็นนิรันดร

2.1.5  เส้นซิกแซ็ก ( Zigzag  Line )  หรือ เรียกว่าเส้นหยัก  คือ  เส้นเฉียง ที่ลากสลับกัน  เส้นซิกแซ็กให้ความรู้สึก   รุนแรง  กระแทกเป็นห้วง ๆ  ตื่นเต้น  สับสนวุ่นวาย    ไม่แน่นอน   ต่อสู้   ทำลาย  ถ้าเราเขียนเส้นหยักในแนวเฉียง  จะหมายถึงสายฟ้าหรือรอยแตก    ให้ความรู้สึกไม่สงบ

2.1.6   เส้นโค้ง ( Curved  Line )   คือ เส้นที่ลากในลักษณะโค้ง  เส้นโค้งให้ความรู้สึกอ่อนหวานนุ่มนวล   คลายความกระด้าง  ถ้าเปรียบกับธรรมชาติจะให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว  ไม่สงบนิ่ง เช่น  ระลอกคลื่นบนผิวน้ำ และให้ความรู้สึกอึดอัด   บางครั้ง เราเรียกเส้นโค้งว่าเส้นเหลว   โฮการ์ด  เรียกเส้นโค้งแบบตัวเอส ( S ) ว่าเส้นแห่งความอ่อนช้อย  ซึ่งเกิดจากการสังเกตทรวดทรง ของผู้หญิง   และเราอาจเปรียบเส้นโค้งว่า  เป็นเส้นแห่งสตรีเพศ 

2.1.7    เส้นคลื่น  ( Undulating  Line ) คือ  เส้นโค้งที่สลับขึ้นลง    เส้นคลื่นให้   ความรู้สึกเคลื่อน ไหวช้า ๆ   สุภาพอ่อนโยน  สบายนุ่มนวลเย้ายวน

2.1.8   เส้นโค้งก้นหอย ( Spiral line )  คือ เส้นโค้งวนจากวงนอกเข้าวงใน    เป็นรูปก้นหอย   ให้ความรู้สึกงุนงง  เคลื่อนไหวหมุนเวียนไปมา เส้นเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่ใช้ลากเพื่อเป็นสื่อให้เกิดภาพ  เส้นง่าย ๆ เกิดจากการลากโดยมือเด็กกับเส้นที่เขียนโดยมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์   จะมีลักษณะเป็นสากล  ที่ทุก คนเข้าใจได้                             

ลักษณะการแสดงออกทางความรู้สึก การใช้เส้นแบบต่าง ๆ

1 . แบบขัดแย้ง

2.  แบบต่อเนื่อง  จะเห็นได้ว่าถ้าเส้นมีความหนาบางไม่เท่ากัน  จะให้ความรู้สึกพริ้ว  อ่อนหวาน  แต่ถ้าเส้นเท่า กันตลอดจะทำให้งานดูแข็งทื่อและให้ความรู้สึกน่าเบื่อ

3.  แสดงทิศทางในภาพ   ทิศทางเฉียงเพื่อสร้างความลึกเพื่อเน้นจุดสนใจ  

        Master. Thani  Phunopakun. Audio Visual & Art                            

                                 

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 155330เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้รู้ส่วนประกอบที่สำคัญของงานออกแบบทีสำคัญนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง

ทำให้มีบทเรียน หลายๆๆอย่างมากขึ้น

วชิราพรรณ อุทัยเลี้ยง

พอดีเลยคะ คุณครูให้หา ความรู้สึกที่เราได้เล่นเส้น

พอดีเลยคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท