ลำดับศักราชที่สำคัญในประวัติศาสตร์พม่า


ลำดับศักราชที่สำคัญในประวัติศาสตร์พม่า ๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชมอญอพยพจากทางตะวันออก
ลำดับศักราชที่สำคัญในประวัติศาสตร์พม่า
๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช           - มอญอพยพจากทางตะวันออก เข้ามายังพม่าภาคใต้
                                                - ตามตำนานมอญและพม่า พระมหาเจดีย์เกศธาตุหรือชเวดากองสร้างขึ้น
                                                  ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่
                                                - ชนเผ่าทิเบต-พม่า มีเชื้อชาติปยุเป็นผู้นำเข้าพม่าจากทางเหนือสุด
๓๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช           - พระเจ้าอโศกทรงส่งศาสนฑูตมาเผยแพร่พุทธศาสนายังอาณาจักร
                                                   สะเทิมของมอญ
ประมาณปีเริ่มคริสต์ศักราช        - ตั้งอาณาจักรปยุที่เมืองแปร ( ศรีเกษตร)
                                                - นำศักราชสักกระ (มหาศักราช) ( เริ่ม ค.ศ.๗๘ ) จากอินเดียมาใช้ในเมือง แปร
                                                - มีการค้าขายทางบกจากอินเดียถึงพม่าผ่านพม่าภาคเหนือ
                                                - พวกมอญคุมเส้นทางการค้าทางเรือระหว่างอ่าวเบงกอลกับเมืองท่าริมอ่าวไทยผ่านพม่าภาคใต้ภาคใต้ของพม่า
คริสต์ศักราช ๔๐๐                   - พวกปยุมีอำนาจเหนือมอญ
คริสต์ศักราช ๖๐๐                    - พวกปยุถอยร่นไปพม่าภาคเหนือ
                                                - ชนชาติพม่าเริ่มปรากฏตัว
                                                - ยุครุ่งเรืองของพวกมอญ         
คริสต์ศักราช ๖๓๘                   - พม่าตั้งศักราชใหม่ของตนเอง
คริสต์ศักราช ๘๐๐                   - น่านเจ้ามารุกราน
                                                - อาณาจักรปยุแตก
คริสต์ศักราช ๘๔๙                  - สร้างเมืองพุกามที่มีป้อมปราการมั่นคงแข็งแรง (ระยะเวลาเริ่มแน่นอนขึ้นในระยะนี้)
คริสต์ศักราช ๑๐๔๔                - พระเจ้าอนุรุทเป็นกษัตริย์พุกาม
คริสต์ศักราช ๑๐๕๖                 - พระเจ้าอนุรุทตีได้เมืองสะเทิม เป็นองค์อุปถัมภ์พุทธศาสนานิกายเถรวาท
คริสต์ศักราช ๑๐๘๓                - มอญกบฏ
คริสต์ศักราช ๑๐๘๔                - พระเจ้าครรชิตเป็นกษัตริย์พุกาม
คริสต์ศักราช ๑๑๑๒                 - พระเจ้าอลองสิทธูครองราชสมบัติต่อจากพระอัยกา คือ พระเจ้าครรชิต
คริสต์ศักราช ๑๑๖๑                 - เกิดคดีพิพาทกับลังกา
คริสต์ศักราช ๑๑๗๓                - พระเจ้านรปติสิทธูเป็นกษัตริย์
คริสต์ศักราช ๑๒๑๐                 - พระเจ้านะดวงมยาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายที่ทรงนิยมสร้างวัด
คริสต์ศักราช ๑๒๓๔                - พระเจ้ากยัสวารขึ้นครองราชสมบัติ  กรุงพุกามเริ่มเสื่อม
คริสต์ศักราช ๑๒๕๔                - พระเจ้านรสีหบดีขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของสมัยพุกาม
คริสต์ศักราช ๑๒๗๗               - สงครามกับกุบไลข่าน
คริสต์ศักราช ๑๒๘๗               - กรุงพุกามแตก
                                                - มอญเป็นอิสระ
คริสต์ศักราช ๑๓๐๓                - ชนชาติมองโกลถอยทัพออกจากพม่า
คริสต์ศักราช ๑๓๑๒                - สร้างเมืองปินยา
คริสต์ศักราช ๑๓๑๕                - สร้างเมืองสะแคง
คริสต์ศักราช ๑๓๖๔                 - เมืองปินยาและเมืองสะแคงหมดอำนาจ
                                                - สร้างกรุงอังวะ
คริสต์ศักราช ๑๓๖๘                - พระเจ้าสวาสอแกเป็นพระเจ้ากรุงอังวะ
คริสต์ศักราช ๑๓๘๕                - พระเจ้าราชาธิราชเป็นกษัตริย์พะโค
                                                - สงครามระหว่างอังวะและพะโค
คริสต์ศักราช ๑๔๐๑                 - พระเจ้ามังฆ้องเป็นพระเจ้ากรุงอังวะ       
คริสต์ศักราช ๑๔๐๔                - ยะไข่ประกาศอิสรภาพ  อานุภาพยะไข่ในสมัยราชวงศ์มรหัง
คริสต์ศักราช ๑๔๒๒                - พระเจ้ามังฆ้องสวรรคต
คริสต์ศักราช ๑๔๒๓                - พระเจ้าราชาธิราชสวรรคต
คริสต์ศักราช ๑๔๒๗                - พระเจ้าโมยินทาโดตั้งราชวงศ์พม่าที่กรุงอังวะ
คริสต์ศักราช ๑๔๕๓                - พระนางเชงสอบูเป็นราชินีกรุงพะโค
คริสต์ศักราช ๑๔๕๙                - ยะไข่ตีได้จิตตะเกิง
คริสต์ศักราช ๑๔๗๒                - พระเจ้าธรรมเจดีย์เป็นกษัตริย์พะโค
คริสต์ศักราช ๑๕๓๑                - พระเจ้าตะเบงชเวตี้เป็นกษัตริย์ตองอู
                                                - จักรวรรดิพม่าครั้งที่สอง
คริสต์ศักราช ๑๕๔๗                - พระเจ้าตะเบงชเวตี้บังคับทำสนธิสัญญากับไทย
คริสต์ศักราช ๑๕๕๑                - พระเจ้าตะเบงชเวตี้สวรรคต
                                                - อาณาจักรแตกแยก
                                                - มอญกบฏ
                                                - พระเจ้าบุเรงนองขึ้นเป็นกษัตริย์
                                                - พระเจ้าบุเรงนองตีได้เมืองไทย
คริสต์ศักราช ๑๕๘๗               - ไทยกู้อิสรภาพคืนได้
คริสต์ศักราช ๑๕๙๔                - กองทัพไทยยกเข้าบุกพะโค  แต่ถูกตีโต้กลับไปได้
คริสต์ศักราช ๑๕๙๙                - กองทัพยะไข่และตองอูเข้าปล้นเมืองพะโค
                                                - กองทัพไทยบุกเข้าพม่า
คริสต์ศักราช ๑๖๐๐                 - นายเดอ  บริโตตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองสิเรียม
คริสต์ศักราช ๑๖๐๕                 - พระเจ้าอนอคะเปตลุนเป็นกษัตริย์อังวะ
คริสต์ศักราช ๑๖๑๓                 - พระเจ้าอนอคะเปตลุนปราบนายเดอ  บริโตลงได้ และฟื้นฟูอาณาจักรได้ส่วนหนึ่ง
คริสต์ศักราช ๑๖๓๕                 - พระเจ้าตลุนมินย้ายเมืองหลวงจากพะโคไปอังวะ
คริสต์ศักราช ๑๖๕๐                 - จักรพรรดิจีนองค์สุดท้ายในราชวงศ์เหม็ง หนีกองทัพแมนจูเข้ามาในเขตแดนพม่า
คริสต์ศักราช ๑๖๕๘                - จับจักรพรรดิจีนส่งกลับไปและถูกปลงพระชนม์ที่มณฑลฮุนหนำ(ยูนนาน)
คริสต์ศักราช ๑๖๖๖                  - ยะไข่เสื่อม  เสียเมืองจิตตะเกิง
คริสต์ศักราช ๑๗๐๙                - อังกฤษเปิดท่าเรือที่เมืองสิเรียม
คริสต์ศักราช ๑๗๒๙                - ฝรั่งเศสเปิดท่าเรือที่เมืองสิเรียม
คริสต์ศักราช ๑๗๓๘               - ทหารม้ามณีปุระมาปล้นกรุงอังวะ
คริสต์ศักราช ๑๗๔๐                - กบฏในพม่าภาคใต้
คริสต์ศักราช ๑๗๔๗               - การกบฏกลายเป็นกบฏมอญ
คริสต์ศักราช ๑๗๕๐                - ทูตมอญไปเยือนข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสดูเปลกซ์ที่อินเดีย
                                                - ทูตฝรั่งเศส เดอ  บรูโน  มายังเมืองสิเรียม
                                                - ทูตอังกฤษมายังเมืองพะโค แต่มอญต้อนรับอย่างชาเย็น
คริสต์ศักราช ๑๗๕๒                - มอญตีได้พม่าภาคเหนือ
                                                - อลองพญากบฏต่อต้านพวกมอญ
คริสต์ศักราช ๑๗๕๓                - อังกฤษไม่ได้รับอนุญาตจากมอญให้ตั้งถิ่นฐานที่ที่นีเกรส จึงเข้ายึดเอาเมืองนั้น
คริสต์ศักราช ๑๗๕๖                - อลองพญายึดได้เมืองสิเรียมและประหารชีวิตนายบรูโนเสีย
คริสต์ศักราช ๑๗๕๗               - อลองพญายึดได้เมืองพะโค  ได้ชัยชนะพม่าทั้งหมด
คริสต์ศักราช ๑๗๕๘               - อลองพญาได้ชัยชนะมณีปุระ
คริสต์ศักราช ๑๗๕๙                - อลองพญาทรงสงสัยว่าอังกฤษจะหักหลัง  จึงทำลายที่มั่นของอังกฤษที่เมืองนีเกรสเสีย
คริสต์ศักราช ๑๗๖๐                 - อลองพญาเข้าบุกไทย
                                                - อลองพญาสวรรคตลงอย่างกระทันหัน กองทัพพม่าถอย
คริสต์ศักราช ๑๗๖๓                - พระเจ้าฉินบูชิน (มังระ) ขึ้นครองราชสมบัติ
คริสต์ศักราช ๑๗๖๖                 - พม่าเข้ารุกรานไทย
คริสต์ศักราช ๑๗๖๗                - พม่ายึดได้อยุธยา
คริสต์ศักราช ๑๗๖๖
                ถึง                }      - จีนมารุกรานพม่าถึง ๔ ครั้ง
คริสต์ศักราช ๑๗๖๙                               
คริสต์ศักราช ๑๗๖๙                - ในที่สุด พม่าต่อสู้จีนล่าถอยไปได้  ลงนามในสัญญาสงบศึก
คริสต์ศักราช ๑๗๗๐                - มณีปุระกบฏ แต่พม่าปราบลงได้
คริสต์ศักราช ๑๗๗๖                - พม่าบุกไทยเพื่อปราบกบฏ
                                                - พระเจ้าฉินบูชินสวรรคต  กองทัพพม่าถอยกลับ  และไทยเป็นเอกราช
คริสต์ศักราช ๑๗๘๒               - การต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์ที่กรุงอังวะ
                                                - พระเจ้าโพธิพญาขึ้นครองราชสมบัติ
                                                - ได้ยะไข่
คริสต์ศักราช ๑๗๘๕               - พม่าเข้าโจมตีไทย แต่ถูกตีโต้กลับมา
คริสต์ศักราช ๑๗๙๔                - กบฏในแคว้นยะไข่
คริสต์ศักราช ๑๗๙๕                - คณะทูตซิมส์มายังราชสำนักกรุงอังวะครั้งแรก
คริสต์ศักราช ๑๘๐๒                - คณะทูตซิมส์มายังราชสำนักอังวะเป็นครั้งที่สอง
คริสต์ศักราช ๑๘๑๑                - นายชินเบี่ยนชาวยะไข่ผู้ลี้ภัยเข้าไปในดินแดนอังกฤษเข้าบุกยะไข่
คริสต์ศักราช ๑๘๑๓                - พม่าอ้างสิทธิเหนือมณีปุระ
คริสต์ศักราช ๑๘๑๗                - พม่าส่งผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แคว้นอัสสัม
คริสต์ศักราช ๑๘๑๙                - พระเจ้าพะคยีดอ (จักกายแมง)ขึ้นครองราชย์
คริสต์ศักราช ๑๘๒๔                - สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง
คริสต์ศักราช ๑๘๒๖                - สนธิสัญญายันดาโบ  และการเสียมณฑลริมทะเลไป
คริสต์ศักราช ๑๘๓๐                - นายเฮนรี่  เบอร์นี่  ผู้แทนอังกฤษคนแรกมาอยู่ที่กรุงอังวะ
คริสต์ศักราช ๑๘๕๒                - สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สอง และเสียมณฑลพะโค
คริสต์ศักราช ๑๘๕๓                - พระเจ้ามินดงขึ้นครองราชสมบัติ
คริสต์ศักราช ๑๘๖๖                 - กบฏมยินกัน
คริสต์ศักราช ๑๘๗๐                - ทูตพม่าคนแรกไปอังกฤษและยุโรป
คริสต์ศักราช ๑๘๗๒               - การสังคยานาพุทธศาสนาครั้งที่ ๕ จัดขึ้นที่กรุงมัณฑเล
คริสต์ศักราช ๑๘๗๕               - เจ้าหน้าที่อังกฤษสั่งผู้แทนอังกฤษที่กรุงมัณฑเล  ไม่ให้ถอดรองเท้าเมื่อเข้าเฝ้ากษัตริย์พม่า
คริสต์ศักราช ๑๘๘๕               - (สิงหาคม) สภาลุดดอประกาศคำตัดสินเรื่องกรณีบริษัทการค้าบอมเบย์เบอร์ม่า
                                                - (พฤศจิกายน) สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม
คริสต์ศักราช ๑๘๘๖                - (มกราคม) ประกาศพม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
                                                - (กุมภาพันธ์) ประกาศพม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย
คริสต์ศักราช ๑๘๘๖
                ถึง             }             - พม่าทำสงครามกองโจรต่อต้านอังกฤษ
คริสต์ศักราช ๑๙๐๐
คริสต์ศักราช ๑๙๒๐                - การจราจลครั้งแรกในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
คริสต์ศักราช ๑๙๒๑                - การปรับปรุงรัฐบาลคู่
คริสต์ศักราช ๑๙๓๐
                ถึง              }            - กบฏชาวนา
คริสต์ศักราช ๑๙๓๒
คริสต์ศักราช ๑๙๓๓                - ความขัดแย้งเกี่ยวกับข้อเสนอของอังกฤษให้แยกพม่าจากอินเดีย
คริสต์ศักราช ๑๙๓๔                - ขบวนการตะขี่นรวบรวมกำลัง
คริสต์ศักราช ๑๙๓๖                 - การจราจลครั้งที่สองในมหาลัยย่างกุ้ง
คริสต์ศักราช ๑๙๓๗                - พม่าแยกออกจากอินเดีย
คริสต์ศักราช ๑๙๔๒
                ถึง              }      - ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า
คริสต์ศักราช ๑๙๔๕
คริสต์ศักราช ๑๙๔๗                - ฆาตกรรมนายพลอองซาน
คริสต์ศักราช ๑๙๔๘                - พม่าได้เอกราชและออกจากเครือจักรภพอังกฤษ
ที่มา : ประวัติศาสตร์พม่า,เขียนโดย หม่องทินอ่อง,แปลโดย เพ็ชรี   สุมิตร, ๒๕๑๙
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15525เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท