ประวัติศาสตร์แห่งชาติของสหภาพพม่า


ประวัติศาสตร์แห่งชาติของพม่ากล่าวไว้ว่า ในราวคริสตศักราช ๘๐๐ ชาวพม่าและผู้คนร่วมเชื้อสายได้อพยพจากตอนเหนือลงมาตามลำน้ำสาละวิน แล้วเข้าสู่แผ่นดินพม่า
ประวัติศาสตร์แห่งชาติของสหภาพพม่า
ประวัติศาสตร์แห่งชาติของพม่ากล่าวไว้ว่า ในราวคริสตศักราช ๘๐๐ ชาวพม่าและผู้คนร่วมเชื้อสายได้อพยพจากตอนเหนือลงมาตามลำน้ำสาละวิน แล้วเข้าสู่แผ่นดินพม่าตรงบริเวณช่องเขานัตเทะ(o9N5bxN) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเจ้าก์แซ(gdykdNCPN)    ในช่วงเวลานั้นได้มีชนเผ่าแต๊(ldN) และกะดู(dm^t)อาศัยอยู่ที่เมืองตะกองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีตอนบน มีชาวยะไข่โบราณอาศัยอยู่ทางด้านตะวันตกแถบเมืองเวสาลี มีชาวมอญ(,:oN)อาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิมทางริมทะเลด้านใต้  มีชาวพยู(xy&)อาศัยอยู่ที่เมืองศรีเกษตร หรือ ตะเยเขตตะยา(lgig-9µik) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำอิระวดี ปัจจุบันคือที่หมู่บ้านมอส่า(g,ak=kU:k)ทางทิศตะวันออกของเมืองแปร ในกาลต่อมาเมืองพะโค หรือ หงสาวดี ซึ่งเป็นถิ่นฐานของคนมอญ ได้กลายเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์พม่า
ในระยะแรกนั้น พ่อค้าจากอินเดียตอนใต้และมัชฌิมประเทศได้เดินทางด้วยเรือสำเภามายังเมืองสะเทิม ศรีเกษตร และพะโค ซึ่งเป็นเมืองท่าชายทะเลในเวลานั้น บรรดาพระสงฆ์ก็ได้ติดตามมาพร้อมกับเรือสำเภาเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา  กาลเวลาผ่านไป ชาวเมืองสะเทิม ศรีเกษตร และพะโค ได้หันมานับถือพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้นับถือพระโลกนาถของพุทธศานาฝ่ายมหายาน อีกทั้งยังมีผู้นับถือเทพเจ้าของศาสนาฮินดูรวมอยู่ด้วย
ในช่วงเวลานั้น น่านเจ้าซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่มณฑลยูนนานของจีน มีชาวฉานและชนร่วมเชื้อสายอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น พอถึงคริสตศักราช ๘๓๒ กษัตริย์น่านเจ้าได้ยกทัพเข้าตีเมืองตะเยเขตตะยา พร้อมกับจับตัวชาวพยูจำนวนมากไปเป็นเชลย  ส่วนชาวพยูที่ตกค้างก็ได้กระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ บางพวกได้เข้าไปอยู่ปนกับชาวมอญทางตอนล่างแถบลุ่มแม่น้ำสะโมง(0,6oNe,0N;a,Nt) และมีบางพวกอพยพไปทางตะวันตกกลมกลืนอยู่กับชาวยะไข่
ในปีคริสตศักราช ๘๓๕ แม้ทหารน่านเจ้าจะสามารถตีได้เมืองสะเทิม แต่เมื่อทหารน่านเจ้ายกทัพกลับไป ชาวมอญบางส่วนก็หวนกลับมารวมตัวกันได้อีก   ในขณะที่ชาวพยูและชาวมอญได้รับความทุกข์ยากจากการรุกรานของน่านเจ้าจนแตกพ่ายไปนั้น  พม่าและชนร่วมเชื้อสายได้เริ่มเข้ามาสู่แผ่นดินพม่าตอนกลาง โดยผ่านช่องเขานัตเทะซึ่งอยู่ใกล้เมืองเจ้าก์แซ พื้นที่นั้นเป็นที่ราบกว้างขวาง มีแม่น้ำปางหลวง แม่น้ำสะโมง และแม่น้ำซอจีไหลผ่าน และมีความอุดมสมบูรณ์ ชาวพม่าจึงยกคาราวานม้าเคลื่อนลงมาอาศัยบนที่ราบนั้น แล้วตั้งเป็นชุมชนเมือง เรียกว่า มีจตา(e,0Nlkt) หรือ แหล่-ดวีง(]pN9:'Nt) ต่อมาชาวพยู มอญ และแต๊ะ ก็ได้มาอาศัยอยู่ปนเปกับชาวพม่า  นานเข้าก็มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น บางส่วนจึงได้โยกย้ายไปอยู่ในเขตเทือกเขาทางด้านใต้ บ้างข้ามแม่น้ำอิระวดีไปอยู่กับชาวกะเหรี่ยงและชาวปะหล่องที่คลองซะลีง และคลองโมง เรียกพื้นที่นี้ว่า มีงบูเช้าก์ขะหย่าย(,'Nt4^tge-kdN-U6b'N) หรือ มีงบู ๖ แขวง  บ้างอพยพไปอยู่ที่เทือกเขาฉิ่น  บ้างก็เคลื่อนย้ายไปจนถึงเขตยะไข่ และบ้างก็อพยพทวนแม่น้ำอิระวดีขึ้นไปถึงเขตแม่น้ำเมาทางตอนเหนือ
ในปีคริสตศักราช ๘๔๙ กษัตริย์ปยีง-มยา(xyfNe,kt) ได้ตั้งเมืองพุกามขึ้น โดยรวบรวมชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายมาอยู่รวมกัน ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ครอบครองกว้างออกไปจนถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเมาตอนเหนือและที่ราบลุ่มแม่น้ำชิดวิน ส่วนด้านใต้ขยายอำนาจไปจนถึงเมืองมีงบู ต่อง-ดวีง(g9k'N9:'Nt) ทางด้านตะวันออกถึงเทือกเขาฉาน และทางด้านตะวันตกถึงเมืองยะไข่ และเรียกดินแดนนี้ว่า แผ่นดินพุกาม หลักฐานประตูเมืองโบราณที่ชื่อว่า ประตูตะระบา(lirk) ยังประจักษ์ได้จนบัดนี้
ในสมัยพุกาม กษัตริย์พระองค์แรกที่รวมชนเผ่าพม่าให้เป็นปึกแผ่นได้ ก็คือ พระเจ้าอโนรธา(ค.ศ.๑๐๔๔–๑๐๗๔) พระองค์ปกครองพุกามอยู่ราว ๓๓ ปี และสามารถสะกัดกั้นภัยจากน่านเจ้าทางตอนบน และยังสามารถขยายอำนาจไปจนถึงเขตบะมอ  มิจจีนา  และยึดเมืองเวสาลีของยะไข่ไว้ได้ ในขณะนั้นชาวพุกามมีความเชื่อในลัทธิต่างๆแบบปนเป มีการยึดถือในพระรัตนตรัย เทพเจ้า นาค ผี และพวกอเยจี ในค.ศ.๑๐๕๗ พระเจ้าอโนรธาได้อัญเชิญพระไตรปิฎกมาจากเมืองสะเทิม พร้อมกับได้นำเหล่าศิลปินและช่างฝีมือจำนวนมากมาด้วย พร้อมกับยึดครองจากเมืองสะเทิมไปจนถึงตะนาวศรีไว้เป็นแผ่นดินเดียวกับพุกาม พระไตรปิฎกนั้นยังคงเก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎกที่พุกาม ซึ่งยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ นอกจากนี้พระเจ้าอโนรธายังได้สร้างพระเจดีย์ชเวซีโข่งไว้ที่เมืองพุกามอีกด้วย
ในสมัยพระเจ้าจันสิตตา(ค.ศ.๑๐๘๙–๑๑๑๒) พระชินอรหันต์แห่งเมืองสะเทิมยังคงเป็นที่ปรึกษาทางการปกครองสืบต่อจากสมัยพระเจ้าอโนรธา กล่าวว่าพระชินอรหันต์เป็นผู้ชี้แนะให้กษัตริย์พุกามปกครองบ้านเมืองด้วยราชธรรม มีความเสมอภาคอย่างไม่จำแนกเผ่าพันธุ์และศาสนา พม่าถือว่าพระเจ้าจันสิตตาเป็นกษัตริย์ที่ให้ความสำคัญต่อชาวมอญไม่น้อยไปกว่าชาวพม่า ทั้งยังพบจารึกเป็นภาษามอญในสมัยของพระองค์อีกด้วย ในด้านงานศาสนาได้มีการชำระพระไตรปิฎก และสร้างพระเจดีย์อนันดาที่งดงาม  นอกจากพระองค์จะให้ความสำคัญกับชาวพื้นเมืองเผ่าต่างๆโดยเฉพาะชาวมอญแล้ว พระเจ้าจันสิตตายังสามารถกระชับสัมพันธ์กับกษัตริย์ต่างแคว้นได้อย่างราบรื่น  มีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนและอินเดียตอนกลาง(มัชฌิมเทศ) ซึ่งมีส่วนให้แผ่นดินพุกามมีความมั่นคงตลอดมาอีกเกือบสองร้อยปี
ในช่วงเวลาที่พระเจ้าจันสิตตาปกครองพุกามอยู่นั้น ชาวพยู มอญ และพม่าอาศัยกระจายกันไปทั่วแผ่นดินพุกาม นับจากตอนบนถึงตอนล่าง ตลอดไปจนถึงเขตยะไข่ ส่วนพวกแต๊ะและกะดูอาศัยอยู่ทางเมืองตะกอง และเชิงเขาตู่-ยวีง (9^U:'Nt) ชาวยอและฉิ่นอาศัยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำชิดวิน (-y'Nt9:'Nt) พวกกะเหรี่ยงและปะหล่องอยู่ในเขตมีงบู      ตองสูอาศัยกระจายไปทั่ว ละว้าอยู่ทางด้านตะวันออกของเมืองเจ้าก์แซ ส่วนชาวไทใหญ่ก็อยู่กระจายทั่วไปเช่นเดียวกับตองสู ชาวพุกามนั้นเป็นชาวไร่ชาวนา ในบริเวณที่ฝนดีจะปลูกข้าว ในบริเวณที่ฝนน้อยจะปลูกธัญพืช  อาทิ  ข้าวฟ่าง ถั่ว ข้าวโพด งา และฝ้าย พม่าได้เมล็ดพันธุ์ฝ้ายจากอินเดีย ในพื้นที่ดินตมจะมีการปลูกน้ำเต้า แตงกวา มะเขือ ฟัก พริก หอม และกระเทียม  และมีการปลูกพืชสวน อาทิ หมาก พลู มะพร้าว ตาล กล้วย อ้อย มะนาว มะขาม และมะม่วง น้ำที่นำมาใช้ในการเกษตรได้จากการทดน้ำทำเป็นทำนบกั้นน้ำจากคลองและภูเขา แล้วขุดคูน้ำชักน้ำเข้าไร่นา และยังมีการปรับปรุงทำนบเดิมที่มีอยู่แล้วในเมืองมีงบูและแหล่-ดวีง อีกด้วย
ในสมัยพุกามนั้น พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มีพระสงฆ์และนักปราชญ์เดินทางไปยังเกาะสิงหล  อินเดียตอนกลางและตอนใต้ เพื่อศึกษาคัมภีร์พระธรรมศาสตร์  คัมภีร์ตำรายา คัมภีร์นักขัต และพระไตรปิฎก จากนั้นได้ถ่ายทอดความรู้สู่กันในวัด และยังได้มีการประดิษฐ์อักษรพม่าโดยยึดแบบจากอักษรมอญเพื่อใช้เผยแผ่พระศาสนา
เจ้าชายราชกุมาร(ik=d6,kiN) พระโอรสของพระเจ้าจันสิตตา ได้สร้างศิลาจารึกมยะเซดี (e,g09u) เขียนเป็น ๔ ภาษา คือ ภาษาบาลี พยู มอญ และพม่า ในด้านวรรณกรรมบาลีนั้น พระชินอัคควังสะ (ia'Nv8¤;"l) ได้เขียน ตำราสัททนิติปาฬิสัททา (lm·ou9b xj>blm·jdy,Nt) ขึ้น ซึ่งเป็นคำภีร์ที่รู้จักกันดีในแวดวงวรรณกรรมพม่ามาจนถึงปัจจุบัน
ชาวพุกามส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ มีการสร้างวัดวาอารามและเจดีย์เป็นจำนวนมาก จากการสร้างวัดและเจดีย์นั้น ได้ปรากฏงานสถาปัตยกรรมและภาพวาดที่สะท้อนถึงความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาของชาวพุกาม  อาทิ ชาวพุกามมีธรรมเนียมถวายข้าว  น้ำดื่ม หมาก ดอกไม้ และประทีปแด่พุทธเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีการประโคมดนตรี เช่น กลองและฉาบถวายองค์พระ และมีการกวาดลานวัดเป็นพุทธบูชา พระเจดีย์ที่มีชื่อของพุกาม ได้แก่ พระเจดีย์โลกะนันดา พระเจดีย์ชเวสี่โข่ง และพระเจดีย์มีงคลา เป็นต้น อีกทั้งมีพระสถูปงดงามหลายองค์ เช่น อนันดา กูบะเย้าก์จี  สัพพัญญุ และกะเดาะปะหลี่ง เป็นต้น
กล่าวกันว่า ด้วยเหตุที่ชาวพุกามสนใจศึกษาทางด้านโลกียะพร้อมไปกับโลกุตตระ จึงทำให้ชาวพุกามมีชีวิตที่สงบสุข มิเพียงในปัจจุบันชาติ หากยังส่งผลไปถึงภพหน้า แต่ในขณะที่ชาวพุกามสงบสุขอยู่นั้น  ในปี ค.ศ. ๑๒๘๓ กองทหารมองโกลตาต้าทางเหนือ ซึ่งชาวพม่าเรียกว่าคนจีน หรือตะโยะ(9U69N)นั้น ได้ยกทัพเข้าตีเมืองพุกาม เหล่าทหารพุกามได้ยกทัพไปต้านทัพมองโกลไว้ แต่ไม่ก็อาจทานได้ จึงต้องถอยร่นขึ้นไปถึงเมืองตะกอง ส่วนพระเจ้านรสีหปเต๊ะ เจ้าผู้ครองพุกามในขณะนั้นได้หลบหนีไปยังเมืองพะสิม และด้วยเหตุที่ทรงหนีทัพจีนครั้งนั้น พระองค์จึงถูกขนานพระนามว่า ตะโยะปเยมีง (9U69Ngext,'Nt) แปลว่า “เจ้าหนีจีน” แต่ถึงที่สุด กองทัพของพุกามก็ยังต้องถอยหนีออกไปจากเมืองตะกอง
หลังจากการรุกรานของจีนครั้งนั้น อีก ๔ ปีต่อม่า เมืองพุกามก็ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ทหารพุกามจึงเข้าไปยังเขตแหล่-ดวีงเพื่อขอเจรจากับจีน โดยได้ส่งพระชินทิสาปาโมกข์ไปเยือนนครปักกิ่ง มีการเจรจาในกิจทางศาสนาและการเมืองกับพระเจ้ากุบบะไลข่าน กษัตริย์ของพวกตาต้า
ในเวลานั้นเอง พื้นที่เขตแหล่-ดวีง มีเจ้าเมืองปกครองถึง ๓ องค์ คือ ราชสังจัน (ik=lWd§ ")เจ้าเมืองมีงซาย  อีงสะขยา (vl§-pk) เจ้าเมืองมักรา และ สีหตู่ (lusl^) เจ้าเมืองปีงแล เจ้าเมืองทั้ง ๓ เป็นพี่น้องเชื้อสายไทใหญ่ ราษฎรในเมืองนั้นต้องเป็นทั้งพลเรือนและทหาร และชาวพุกามและชาวไทใหญ่ที่ต่างหลบหนีภัยจากการรุกรานของมองโกลตาต้าแห่งน่านเจ้า ต่างก็ได้มาอาศัยอยู่ด้วยกันที่เมืองนี้
ราวปี ค.ศ. ๑๓๐๐  ทหารมองโกลตาต้าได้ถอยออกไปจากพุกาม  ในเวลานั้น แผ่นดินพุกามได้เกิดมีเจ้าเมืองขึ้นมากมาย ตะโดมีงพยา(l96bt,'Ntzykt) ซึ่งมีเชื้อสายกษัตริย์พุกาม และสืบวงศาจากเจ้าสีหตู (เป็น ๑ ใน ๓ เจ้าเมืองเชื้อสายไทใหญ่) ได้ยกตนเป็นกษัตริย์ พร้อมกับตั้งเมืองอังวะขึ้น ณ ตรงบริเวณตรงที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำมิจแหง่บรรจบกัน  ชาวฉาน(ไทใหญ่)ที่หลบภัยมองโกลตาต้าได้เข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของแผ่นดินฉาน ณ เมืองเชียงตุงเป็นต้น พวกฉานพวกนี้มาอาศัยในอังวะปะปนกับชาวมอญ  พม่า พยู และแต๊ะ ต่อมาเจ้าฟ้าผู้นำฉานและกษัตริย์อังวะได้สู้รบกันอยู่เนือง ๆ  ฝ่ายวงซีงมีงราชา (;oN0'Nt,'Ntik=k) ผู้รอบรู้ชำนาญทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นผู้ชี้นำการปกครองให้กับกษัตริย์อังวะ ส่วนแผ่นดินตอนล่าง มีชาวฉานบางส่วนหลบหนีภัยน่านเจ้าเข้าไปอยู่ในเขตไทย ภายหลังได้ข้ามฟากกลับมาตามเส้นทางเมาะตะมะและพะโค แล้วจึงมีผู้ตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะขึ้น นามว่า วารียู หรือ พระเจ้าฟ้ารั่ว พระองค์ได้ทรงรวบรวมคัมภีร์ธรรมศาสตร์ ต่อมาเชื้อสายของพระองค์ก็สืบต่อกันมาเป็นกษัตริย์เมืองหงสาวดี   เหตุนี้ชาวฉานจึงได้อาศัยปะปนกับชาวมอญและพม่าอยู่ ณ แห่งนั้น   ส่วนทางด้านยะไข่ มีผู้ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์โดยมิได้สืบวงศ์ร่วมกับกษัตริย์กับพุกาม โดยได้สร้างเมืองมะเย้าก์อูขึ้น  ด้วยวีรกรรมดุจเดียวกับพระเจ้าอโนรธา ที่อาศัยความเป็นเอกภาพสร้างเมืองพุกามขึ้นมา  กษัตริย์เมืองเล็กเมืองน้อยเหล่านี้ต่างต้องการกอบกู้แผ่นดินพม่าที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยให้กลับคืนมาใหม่  ในบรรดาเจ้าเมืองทั้งหลาย เจ้าแห่งอังวะและหงสาวดีต่างกรีธาทัพขึ้นเหนือลงใต้รบพุ่งกันอยู่หลายครา  แต่ด้วยพระปรีชาต่างไปจากพระเจ้าอโนรธา จึงไม่อาจสู้รบกันได้โดยเด็ดขาด พอถึงในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงหน้าฝน ก็ต้องพักรบเพื่อทำนา และพอสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวจึงได้หันมาต่อสู้กันอีก  มีครั้งหนึ่งพระเจ้าราชาธิราชได้ปิดล้อมเมืองอังวะไว้ เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร ฝ่ายอังวะได้ส่งจดหมายขอความเมตตาจากพระเจ้าราชาธิราช  พระองค์จึงได้ยุติศึกและยกทัพกลับไป และยังมีอีกคราวหนึ่งพระเจ้าราชาธิราชได้ผูกมิตรกับเจ้าเมืองต่างๆ โดยกระทำสัจจะกันที่พระเจดีย์ชเวสั่งด่อในเมืองแปร  แต่พอพ้น ๓ ปี ก็หวนกลับมาทำศึกกันอีก
เมื่อพระเจ้าอังวะและพระเจ้าราชาธิราชทั้งสองพระองค์สิ้นพระชนม์ ไฟสงครามจึงได้สงบลง  ในยุคที่เมืองเล็กเมืองน้อยรบรากัน โดยเฉพาะช่วงสมัยพระเจ้าอังวะกับหงสาวดีราชาธิราชทำสงครามกันนั้น  ได้ทำให้การสืบต่ออารยธรรมจากพุกามหยุดชะงัก ต่อเมื่อสิ้นสงครามลงจึงได้หันมาฟื้นฟูพระศาสนา  พระสงฆ์ทั้งหลายได้หันมาศึกษาพระไตรปิฎก  และมีพระสงฆ์ที่รอบรู้เกิดขึ้นมากมาย อาทิ ชินมหาสีลวังสะ ชินมหารัฏฐสาระ และชินอัคคสมาธิ แต่งกาพย์กลอนเกี่ยวกับพุทธวงศ์ และชาตินิบาต,  ชินมหาสีลวังสะแห่งอังวะได้เรียบเรียงพงศาวดารฉบับยาสะวีงจ่อ (ik=;'NgdykN) , พญาจาง (rPkdy,Nt) เจ้าเมืองหงสาวดีทรงได้เป็นผู้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ชเวดากองให้สูงขึ้น   และพระนางชินซอบุ(ia'Ng0kx6) ทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ชเวมอด่อแห่งเมืองพะโคให้สูงกว่าองค์เดิม
พระเจ้าธรรมเซดี ผู้เป็นราชบุตรเขยของพระนางชินซอบุได้ส่งพระสงฆ์จำนวน ๒๐ รูปไปยังเกาะสิงหล พระสงฆ์เหล่านี้ได้รับการยกย่องจากกษัตริย์สิงหลและได้เข้าทำพิธีบวชเป็นสงฆ์ที่ถือศีลบริสุทธิ์ในสีมากลางน้ำวัดกัลยาณี(d]ykIu) และเมื่อกลับคืนสู่หงสาวดี  พระเจ้าหงสาวดีได้อนุญาตให้พระสงฆ์เหล่านั้นยังคงทำพิธีดังกล่าวได้ที่สีมากลางน้ำกัลยาณี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง และให้ชื่อว่าอุโบสถกัลยาณีเช่นกัน  เรื่องนี้มีปรากฎในจารึกกัลยาณีที่เขียนเป็นภาษามอญและภาษาบาลี  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างพระเจดีย์ไจก์ปู่นที่เมืองหงสาวดี ซึ่งเป็นองค์พระขนาดใหญ่ ๔ องค์ ในท่านั่งหันหลังชนกัน และผินหน้าไปสี่ทิศ
ทางด้านยะไข่นั้น เมืองมะเยาก์อูเป็นร่องรอยที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนาอีกเมืองหนึ่งเช่นกัน  เจ้าอดู่มีงโหญ่แห่งเมืองมะเยาก์อูได้เขียนกลอนกล่าวถึงลำดับเชื้อสายของเจ้าหญิงยะไข่ไว้ กลอนนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความรุ่งเรืองของวรรณคดีพม่าในแดนยะไข่ได้เป็นอย่างดี
พระเจ้าอังวะ  พระเจ้าหงสาวดี และ พระเจ้ามะเยาก์อูได้ต่อสู้กันเพื่อพยายามรวมพม่าให้เป็นปึกแผ่น แต่ก็ไม่อาจทำการณ์ได้สำเร็จ  หากยังก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างเจ้าเมืองทั้งหลาย จนเกิดมีเจ้าเมืองเล็กเมืองน้อยขึ้นมากมาย  ในบรรดาเมืองเหล่านั้น  พระเจ้ามีงจีโหญ่ได้ตั้งเมืองตองอูอยู่ ณ ริมแม่น้ำสะโตง (00Ng9k'Nt) ตองอูดูจะรุ่งเรืองอย่างโดดเด่นที่สุด มีอาณาเขตกินพื้นที่ไปจนถึงก่อทูเลและรัฐคะยาปัจจุบัน  ชาวพม่าจึงมีเมืองตองอูเป็นศูนย์กลางใหม่ที่ช่วยรวบรวมชาวพม่าที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง  ในตอนที่พุกามแตกนั้น พวกมอชาน(g,kia,Nt) ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่กลุ่มหนึ่งได้เข้ามารบกวน ชาวพม่าบางกลุ่มจึงได้หลบหนีมาอยู่ที่เมืองตองอูนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ตองอูจึงเป็นเมืองที่พร้อมด้วยกำลังคน  กำลังทรัพย์ และกำลังปัญญา
พระเจ้าตะเบงชเวตี้ราชบุตรของพระเจ้ามีงจีโหญ่  และสี่งพยูมยาฉิ่งมีง หรือ พระเจ้าช้างเผือก (บุเรงนอง) ผู้เป็นราชบุตรเขยได้สืบอำนาจต่อๆกันมา ทั้งสองพระองค์ได้สร้างตองอูให้เป็นปึกแผ่นดุจเดียวกับพุกาม ทั้งพระเจ้าตะเบงชเวตี้ (ค.ศ.๑๕๓๑–๑๕๕๐) และพระเจ้าช้างเผือก(ค.ศ.๑๕๕๑–๑๕๘๑) สามารถรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยไว้ได้  ทางด้านใต้ได้ครอบครองถึงหงสาวดี  เมาะตะมะ เมาะลำไย แปร พะสิม  มยองมยะ ทะวาย และ ตะนาวศรี  ส่วนทางด้านเหนือยึดครองได้ถึงเมืองอังวะและดินแดนบนเทือกเขา  นอกจากนั้นยังได้เมืองกะแต  เชียงใหม่   ล้านช้าง  และอยุธยาเป็นเมืองขึ้น วีรกษัตริย์ทั้งสองสามารถสร้างแผ่นดินพม่าให้ฟื้นกลับมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งสองพระองค์ไม่เพียงชำนาญในการศึกเท่านั้น แต่ยังสร้างความสมานฉันท์ระหว่างชนพื้นเมืองต่างๆไว้ได้  หากตีเมืองใดได้ก็จะให้ทำสัตย์สาบาน  แล้วมักจะคืนเมืองที่ยึดได้นั้นกลับไปให้ดูแลกันเองดังเดิม  ดังเมื่อพระเจ้าตะเบงชเวตี้มีชัยต่อหงสาวดี ก็ทรงห้ามมิให้กระทำการกดขี่ข่มเหงชาวมอญ  ห้ามมิให้รื้อถอนทำลายอาคารบ้านเรือนของชาวมอญ และก็มิได้แต่งตั้งฝ่ายพม่าเป็นเจ้าเมืองปกครอง  หากแต่งตั้งให้ฝ่ายมอญปกครองกันเอง ส่วนเหล่าอำมาตย์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์นั้น ก็แต่งตั้งชาวพม่าเพียงครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งให้เป็นชาวมอญ ในสมัยพระเจ้าช้างเผือกนั้น อำมาตย์ที่เป็นที่ปรึกษา มีทั้งชาวพม่า มอญ และฉาน  กองทัพจึงเพรียบพร้อมด้วยทหารพม่า  ทหารมอญ  ทหารฉาน  ตลอดจนทหารกะเหรี่ยง  ทหารฉิ่น  ทหารกะฉิ่น และทหารละว้า
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงประทับ ณ ราชธานีหงสาวดี พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ทำพิธีราชาภิเษก ทั้งแบบประเพณีอย่างกษัตริย์พม่าแห่งพุกาม และประเพณีมอญแห่งหงสาวดี  ส่วนพระเจ้าช้างเผือกได้เผยแผ่พุทธศาสนาไปในดินแดนเทือกเขา  ส่งเสริมการปลูกข้าว  ดูแลการขนส่ง การค้าขาย  ในสมัยนั้น มีเมืองท่าเป็นศูนย์กลางการขนส่งและค้าขายอยู่หลายเมือง อาทิ  พะสิม (x6lb,N) พะโค  สิเรียม (l"]y'N) เมาะตะมะ  ในสมัยนั้น พม่ายังได้รับวัฒนธรรมจากต่างชาติ อาทิ รับวิธีทำเครื่องเขิน(p:oNt5PN)จากเชียงใหม่  และรับศิลปะการร้องรำโยดะยาจากอยุธยา เป็นต้น
ก่อนถึงศตวรรษที่ ๑๕  พ่อค้าชาวอินเดีย และอาหรับได้ล่องเรือสำเภาขนาด ๒-๓ ตัน มายังแหลมมลายูและหมู่เกาะชวา มีการรับซื้อเครื่องเทศ อาทิ  อบเชย  กานพลู  ขิง  พริกไทย เพื่อไปขายยังประเทศอิรัก บางครั้งพวกพ่อค้าเหล่านั้นได้แวะมาที่ท่าเรือพะสิม  ท่าเรือดะละ(m])  ท่าเรือสิเรียม  ท่าเรือเมาะตะมะ และท่าเรือยะไข่  โดยมักนำผ้าเข้ามาขาย เช่น กำมะหยี่  พรม  ผ้าดิบเนื้อดี และผ้าสักกะหลาด  หลังจากทำการค้าขายทางเรือกับชาวอินเดียและชาวอาหรับแล้ว จึงได้มีเรือของชาวปอร์ตุเกสเข้ามา  ชาวปอร์ตุเกส หรือที่คนพม่าเรียกว่าพวกบะหยี่จี(ri'N8yu)นั้น ส่วนใหญ่เป็นนักแสวงหาโชค
ในสมัยของพระเจ้าตะเบงชเวตี้นั้น  วาสโกดากาม่า (rdN0d6bmj8jt,) ชาวโปรตุเกสได้เดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกาใต้ไปถึงคาบสมุทรอินเดีย  นับแต่นั้นเป็นต้นมาเรือสินค้าจากโปรตุเกสและเรือฝ่ายทหารได้เดินทางมาอินเดียทุกปี  ได้มีการสร้างตึกร้านค้าในเขตพื้นที่ที่เป็นท่าเรือสำคัญในทวีปเอเชีย  ต่อมาเมืองค้าขายได้กลายสภาพเป็นเมืองปราการ   ชาวโปรตุเกสที่ติดอาวุธปืนและชำนาญปืนใหญ่ ได้ยึดเมืองท่าเป็นป้อมปราการเพื่ออาศัยเป็นฐานเข้าโจมตีดินแดนของชาวพื้นเมือง  พวกโปตุเกสมิได้ทำการค้าเพียงอย่างเดียว ยังรับจ้างผู้ปกครองของชนพื้นเมืองเป็นทหารอาสาอีกด้วย  และในกองทัพของพระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้มีการว่าจ้างทหารโปรตุเกสราว ๗๐๐ คน  นับจากสมัยนั้นมา จึงได้มีทหารชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการในราชสำนักและกองทัพพม่า
ในสมัยนันทบุเรง ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าหงสาวดีช้างเผือกนั้น พระองค์ทรงอ่อนแอทางการปกครอง จึงเป็นเหตุให้เมืองประเทศราชตีตัวออกห่าง เจ้าเมืองอังวะ  แปร และตองอู ไม่อาจจะรวมกับหงสาวดีได้ต่อไป  กษัตริย์อยุธยา และยะไข่ก็แปรพักตร์ เมื่อสิ้นสมัยของพระเจ้านันทบุเรงแล้ว ฝ่ายโปรตุเกสจึงหาทางที่จะยึดแผ่นดินพม่า  ดังนั้น ในปี ค.ศ.๑๖๐๐ ดีฟริโด(muri0N96b) ผู้นำชาวโปรตุเกส ซึ่งอยู่ในเมืองสิเรียมได้ยึดเมืองสิเรียมแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์  แต่เนื่องจากมีผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสประจำที่อินเดีย ดิฟริโดจึงเดินทางไปเมืองโกอา(86bvkt) เพื่อประกาศว่าสิเรียมเป็นดินแดนของโปรตุเกส
อะเนาก์แพะลูนมีง(vgokdNzdN]:oN,'Nt) (ค.ศ.๑๖๐๕ –๑๖๒๘) ได้สานต่อการจัดการในเรื่องเอกภาพของพม่า  พระราชบิดาของพระองค์ คือ ญองญานมีง ได้ตั้งเมืองอังวะเป็นราชธานีขึ้นใหม่ พระองค์ได้รวบรวมไพร่พลชาวพม่าและชาวฉาน แล้วยกทัพราบ ทัพม้า และทัพช้างไปยึดเมืองแปร  จากนั้นจึงยึดเมืองตองอู  ฝ่ายกษัตริย์สิเรียมนั้นก็กำลังขยายดินแดนในพม่า  โดยยกทัพจากสิเรียมเข้ายึดเมืองพะโค  พร้อมกับขยายอำนาจครอบครองกิจการการเดินเรือ โดยบังคับให้เรือต่าง ๆ ที่เคยเทียบท่าอื่น ๆ เช่น พะสิม  เมาะตะมะ  ดะโกง มาขึ้นที่สิเรียมเพียงแห่งเดียว  และทำกำแพงเมืองสิเรียมให้แข็งแกร่งแน่นหนา  เจ้าสิเรียมยังได้ขุดเจาะกรุเจดีย์ขนเงินทองไปเสีย  ส่วนที่เป็นระฆังสัมฤทธิ์ก็ทุบให้เป็นชิ้น ๆ แล้วหลอมทำกระสุนปืน จากนั้นก็ยกทัพไปโจมตีเมืองตองอู
แต่ในขณะเดียวกันนั้น อะเนาก์แพะลูนมีง ก็จัดทัพบกทัพเรือยกไปตีเมืองสิเรียมจนได้ชัยชนะ  ประหารดีฟริโดและส่งเชลยโปรตุเกสทั้งหลายไปอยู่  ณ  เมืองชเวโบ  อันที่จริง โปรตุเกสยังได้พยายามขยายดินแดนไปถึงเมืองมะเยาก์อู  และในปี ค.ศ.๑๖๑๕  ผู้นำชาวโปรตุเกสชื่อ ตีฟาโอ ได้เดินเรือมาถึงท่าเรือของพวกยะไข่  และเข้าโจมตีมะเยาก์อู  แต่กษัตริย์ยะไข่นามว่า มีงขะมอง (,'Nt-g,k'Nt) สามารถต้านทานกองทัพของพวกโปรตุเสสของไว้ได้
พระเจ้าตาลูน (lk]:oN) น้องของอะเนาก์แพะลูนมีง (ค.ศ.๑๖๒๙–๑๖๔๘) เป็นกษัตริย์ผู้เปี่ยมด้วยบารมี  สามารถปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข  มีการพัฒนาเศรษฐกิจ  กำหนดให้พ่อเมืองและหัวหน้าหมู่บ้านจัดทำรายงานตรวจสอบเรื่องจำนวนประชากร และจำนวนที่ดินทำกิน  การปกครองสมัยของพระองค์เป็นแบบสภาขุนนาง (v06v'oNt)
สมัยมีงตะแล (ค.ศ.๑๖๔๘–๑๖๖๑) พม่าต้องพบกับความยากลำบาก เพราะภัยอันเนื่องจากทหารจีนหนีทัพจากการที่ชาวแมนจู นำโดยพระเจ้าโหย่งหลี่โจมตีจีนยึดปักกิ่งไว้ได้  ราชวงศ์หมิงของจีนจึงรวบรวมทหารจำนวนหนึ่งแล้วอพยพมาที่ยูนนาน  แต่ก็ไม่อาจแอบพำนักในเขตยูนนานได้นาน  จึงได้ขออนุญาตเจ้ามีงตะแลเพื่อเข้าอาศัยในเขตพม่าพร้อมด้วยสมัครพรรคพวก  ต่อมาทหารของฝ่ายพระเจ้าโหย่งหลี่ได้เดินทางติดตามมา แต่ด้วยเข้าใจไปว่ากษัตริย์ของตนถูกจับ จึงเปิดศึกกับพม่า  โดยโจมตีตั้งแต่เขตฉานตอนบนจนถึงเจาก์แซ และตั้งถิ่นฐานมั่นคงที่เจาก์แซแหล่-ดวีง อีกทั้งยังเที่ยวตีเมืองต่างๆ เป็นเหตุให้ชาวพม่าทำไร่ทำนาไม่ได้ และประสบกับความเดือดร้อน   พอเมื่อราชวงศ์แมนจูได้อำนาจมั่นคงในจีน  ได้ส่งทัพมาร้องขอให้ส่งพระเจ้าโหย่งหลี่และผู้ติดตามพระองค์คืน  ทางพม่าก็ได้จัดการให้ตามคำขอ  จึงทำให้ความยุ่งยากยุติลง
ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิบดี(,skT,Áik=kTbx9u) ซึ่งครองอังวะเป็นองค์สุดท้าย(ค.ศ.๑๗๓๓–๑๗๕๒) ได้เกิดปัญหาทางการเมืองในราชสำนักพม่า เศรษฐกิจย่ำแย่ เจ้าเมืองกะแตแห่งมณีปุระ ซึ่งเคยส่งส่วยให้กับพม่าในสมัยพระเจ้าหงสาวดีช้างเผือก มีข้อขัดแย้งกับพม่า พวกกะแตได้เข้ามาถึงเมืองมะเยดูและสะกาย เผาบ้านเรือน แล้วกวาดต้อนผู้คนวัวควายเอากลับไปยังเมืองตน  ส่วนทางตอนเหนือและตอนใต้ก็เกิดภาวะแห้งแล้ง  พอข้าวและพืชผักไม่เพียงพอก็เกิดขโมยและโจรชุกชุม  มีผู้คิดก่อกบฏมากขึ้น  และเมื่อพวกกะแตมาทำการก่อกวนทางด้านเหนือ  เจ้าเมืองหงสาวดีซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าอังวะให้ปกครองเมืองก็กบฏต่ออังวะ  โดยอ้างว่าทหารของอังวะกดขี่ และเจ้าเมืองใหม่ไม่รอบรู้การบ้านการเมือง ดังเช่น พอเกิดข้อสงสัยว่าข้าราชการคนใดคนหนึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวมอญ พม่า หรือ ฉาน คิดกบฏ  ก็จะสั่งให้จับตัวประหาร โดยมิได้ไตร่สวน  พวกมอญ พม่า และฉานที่อยู่ใต้การนำของอูอ่องหละแห่งเมืองหงสาวดีจึงไม่อาจทนได้ จึงลอบสังหารเจ้าเมืองนั้นเสีย  อูอ่องหละประสงค์จะรวบรวมพม่าให้เป็นปึกแผ่นอย่างพระเจ้าช้างเผือก จึงตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดี  มีนามว่า พญาทะละ หรือ พัญญาทะละ(rPktm]) จากนั้นจึงได้รวบรวมไพร่พลยกไปตีเมืองแปร  ตองอู  พอในปี ค.ศ.๑๗๕๒ ก็สามารถยึดเมืองอังวะไว้ได้  พร้อมกับส่งพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดีไปยังหงสาวดี  พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดีจึงได้พระนามว่า หันตาวดีเยาก์มีง แปลว่า “ราชาผู้เยือนหงสาวดี”
ในขณะเดียวกันนั้นพวกก้วยชาน (gd:hia,Nt) จากเมืองมัตตะยาบนเทือกเขาในเขตฉานไม่พอใจจะอยู่ใต้อำนาจมอญ จึงหนีไปยังอยุธยาและมณีปุระ พร้อมกับเข้าโจมตีช่วงชิงดินแดนจากพม่าเช่นกัน ส่วนทางพม่าตอนบนนั้น ชาวพม่าที่บ้านมกโชโบและใกล้เคียงก็ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของมอญ ผู้นำชาวบ้านในการต่อต้านมอญ คือ อูอ่องเชยยะ ซึ่งภายหลังได้สถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า พระเจ้าอลองมีงตะยา (vg]k'Nt,'Nt9ikt)  ในเวลานั้น กลุ่มที่ต้องการรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นปึกแผ่น จึงมี ๒ กลุ่มคือ  กลุ่มของพัญญาทะละ และกลุ่มของพระเจ้าอลองมีงตะยา (ค.ศ.๑๗๕๒–๑๗๖๐) ทั้งสองกลุ่มนั้นมีกำลังทหารต่างเผ่าพันธุ์ ประกอบด้วยมอญ  พม่า  ฉาน  กะเหรี่ยง  ฉิ่น  และกะฉิ่น  ทหารของพัญญาทะละได้ชัยชนะตลอดลำน้ำจากเมืองหงสาวดีจนถึงอังวะ  แต่กลับปราชัยให้กับกองทัพจากเมืองมกโชโบ เมื่อคราวตีทัพถานโลงของอลองมีงตะยา  จากนั้นทหารของพัญญาทะละจึงต้องถอยร่นไปยังเมืองอังวะ   พระเจ้าอลองมีงตะยาได้เปลี่ยนชื่อเมืองมกโชโบเป็น เมืองชเวโบ และสร้างวังขึ้นมา  จากนั้นจึงได้ล่องลงมายังเมืองอังวะเข้าโจมตีกองทัพของพัญญาทะละต่อ จนถอยลงมายังหงสาวดี ส่วนที่เมืองหงสาวดีนั้นก็กำลังเกิดความวุ่นวาย  พระเจ้าอลองมีงตะยาจึงล่องตามลำน้ำอิระวดีหมายตีหงสาวดีไว้ให้ได้  ระหว่างทางก็ตีได้เมืองแปร จากนั้นจึงล่องลำน้ำลงมายึดเมืองลูนเซ  จนบรรดาหัวหน้าเมืองต่างๆอาทิ ตองอู  พะสิม  ธนุพยู่ ยอมถวายสัจจะ  เมืองลูนเซได้ชื่อใหม่ว่า มยันอ่อง(e,oNgvk'N1,bh) เพื่อเป็นนามานุสรณ์ ที่พระองค์สามารถยึดเมืองนี้สำเร็จได้โดยไว   จากนั้นได้ยกทัพไปยึดเมืองดะโกง และสั่งให้ทหารปราบข้าศึกคือพวกของพัญญาทะละจนพ่ายสิ้น  แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเมืองดะโกงเป็น ยันโก่ง(ioNd6oN) หรือ ย่างกุ้ง แปลว่า “หมดศัตรู” จากนั้น พระเจ้าอลองมีงตะยา ได้จัดเตรียมเรือรบและเรือยนต์ยกไปตีสิเรียมจนได้ชัยชนะ แล้วจึงยกทัพไปยังหงสาวดี ในการรบครั้งนั้นพัญญาทะละได้ยอมจำนนในปี ค.ศ. ๑๗๕๗  ด้วยเหตุนี้ ราชวงศ์ตองอู-หงสาวดี ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าช้างเผือกจึงสิ้นลง ด้วยผลัดเปลี่ยนยุคสมัยมาสู่ราชวงศ์คอนบอง (d6oNg4k'N) โดยมีพระเจ้าอลองมีงตะยาเป็นปฐมกษัตริย์  ในสมัยของพระองค์นั้นได้มีการจัดทัพไปตีมณีปุระถึง ๒ ครั้งจนได้ชัยชนะ พร้อมกับได้รับเอาศิลปะวิชาการต่างๆมาจากมณีปุระ  อาทิ งานทอ งานช่างทอง และวิชาดาราศาสตร์  เป็นต้น  พระเจ้าอลองมีงตะยาทรงพระประชวรและสวรรคตในขณะที่ยกทัพกลับจากศึกอยุธยา
พระเจ้าฉี่งพยูเฉี่ยน(C'Nez&ia'N) หรือ พระเจ้าช้างเผือก ราชโอรสองค์กลางของพระเจ้าอะลองมีงตะยา(ค.ศ.๑๗๖๓–๑๗๗๖) ได้ย้ายราชธานีลงไปยังอังวะ พร้อมกับสร้างราชธานีขึ้นใหม่ ในสมัยของพระองค์นั้น นอกจากจะยึดได้เมืองเชียงใหม่  มณีปุระ และอยุธยาแล้ว ยังได้ทำศึกกับจีน ในเวลานั้นฉินหลงกษัตริย์แมนจูที่ครองเมืองปักกิ่งต้องการขยายอำนาจมายังประเทศเพื่อนบ้านตามแบบอย่างกุบไลข่านกษัตริย์พวกมองโกลตาตา  พอในปี ค.ศ. ๑๗๖๕ จึงได้เข้ามาโจมตีพม่าติดต่อกันถึง ๔ ครั้ง แต่ก็ทำการไม่สำเร็จ ในครั้งล่าสุดกองทัพแมนจูถูกทหารของอังวะล้อมไว้ จนประสบกับความอดอยากด้วยขาดน้ำและอาหาร   แม่ทัพแห่งแมนจูจึงขอสงบศึก  ฝ่ายมหาสีหสุระ แม่ทัพของพม่าเล็งเห็นว่าการผูกไมตรีเป็นมิตรกับจีนจะก่อประโยชน์มากกว่า จึงได้ยอมรับคำร้องขอจากฝ่ายแมนจู นับจากนั้นมาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพม่าก็เป็นไปด้วยดี และหันมาค้าขายกันดังเดิม จีนส่งสินค้า อาทิ ผ้าไหม ผ้าแพร ผลไม้กวน แจกันเคลือบ จานเคลือบ เข็มและตะเกียง เป็นอาทิ มาขายยังพม่า ส่วนพม่าได้ส่งสินค้าไปขายยังจีน มีอาทิ ฝ้าย อำพัน และหยก เป็นต้น
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าชาวโปรตุเกสได้พยายามขยายดินแดนในแผนดินพม่า ถึงแม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็กลับร่ำรวยจากการที่ไปตั้งรกรากทำการค้าทางเรือแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันออก  ส่วนพ่อค้าชาวดัทช์  ชาวอังกฤษ และชาวฝรั่งเศสนั้น ก็เลียนแบบอย่างจากชาวโปรตุเกส จึงได้ร่วมหุ้นกันเข้ามาตั้งบริษัทในทวีปเอเชียเมื่อราวปี ค.ศ. ๑๖๐๐   ในระหว่างการทำมาค้าขายนั้น เมื่อได้รับรู้ว่าเจ้าเมืองต่างๆในแผ่นดินนี้ไม่ปรองดองกัน จึงได้เลือกคบหาแบบเฉพาะฝ่ายเพื่อสะดวกต่อการแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า ชาวดัทช์ได้เปิดบริษัทสาขาที่อังวะและพะโค อังกฤษเปิดบริษัทร้านค้าที่สิเรียม ส่วนฝรั่งเศสก็เปิดกิจการการค้าทั่วไปจนถึงเมืองพะมอ
ในขณะที่พัญญาทะละทำสงครามแข่งขันกับพระเจ้าอะลอง
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15523เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท