เศรษฐกิจพม่าในสมัยสังคมนิยม


เศรษฐกิจพม่าในสมัยสังคมนิยม ๑. สมัยรัฐบาลสภาปฏิวัติและสมัยพรรคแนวทางสู่สังคมนิยม (ค.ศ.๑๙๖๒–๑๙๘๘) นับแต่วันที่ ๒ มีนาคม ค.ศ.๑๙๖๒ เป็นต้นมา
เศรษฐกิจพม่าในสมัยสังคมนิยม
๑. สมัยรัฐบาลสภาปฏิวัติและสมัยพรรคแนวทางสู่สังคมนิยม (ค.ศ.๑๙๖๒–๑๙๘๘)
นับแต่วันที่ ๒ มีนาคม ค.ศ.๑๙๖๒ เป็นต้นมาสหภาพเมียนมาได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากฐานราก ระบบเศรษฐกิจแบบเจ้าที่ดินและนายทุนของยุคเก่าถูกยกเลิกและมีการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมขึ้นใช้แทน ในการก่อตั้งระบบดังกล่าวได้มีการโอนกิจการการลงทุนเพื่อการผลิตให้เป็นของรัฐ ภาคเศรษฐกิจแบบประชากิจ(exPNl^x6b'N)จึงแพร่กระจาย
ในเบื้องตัน มีการชื้อโอนกิจการขุดเจาะน้ำมันและแร่ธาตุให้เป็นของรัฐจากบริษัทที่ร่วมทุนต่างประเทศ อาทิ บริษัทบีโอซีจำกัด และบรรษัทบะมาคอโบเลชั่นจำกัด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้โอนกิจการการผลิตน้ำมันด้านอื่นๆมาเป็นของรัฐอีกด้วย
ในปี ค.ศ. ๑๙๖๓ ได้ยึดกิจการต่อไปนี้เป็นของรัฐ ได้แก่ กิจการธนาคาร โรงงานใหญ่ๆของเอกชน โรงเลื่อย  และกิจการด้านธุรกิจต่างๆ ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ ยังได้โอนกิจการโครงงานทั้งหลายตลอดจนโรงเลื่อยและสถานประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้นอีก
นอกจากนี้ ยังได้โอนกิจการการค้าเข้าส่งออกของเอกชน กิจการจากการสัมปทาน และกิจการด้านวิศวกรรมมาเป็นของรัฐ ด้วยวิธีการดังกล่าวได้ช่วยหยุดยั้งปัญหาจากการซื้อขายสัมปทาน การลักลอบค้าเงิน การลักลอบผลิตสินค้าและการเล่นราคาจากการรวมหัวกับพวกนายทุนต่างชาติ การปล่อยให้การกระจายสินค้าต้องขึ้นอยู่กับการชักใยโดยเอกชนต่อไปนั้นไม่สอดคล้องกับนโยบายทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ดังนั้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๔ รัฐจึงต้องโอนกิจการต่างๆ อันได้แก่ ร้านขายปลีก ร้านขายส่ง ห้างร้าน และร้านค้าทั่วไปที่ค้าขายสินค้าบริโภค เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนสินค้าทั่วไปให้เป็นของรัฐทั้งหมด
จากการที่ธนบัตรราคา ๑๐๐ จั๊ต และ ๕๐ จั๊ตตกอยู่ในมือของเหล่านายทุนต่างชาติและนายทุนในประเทศ จึงทำให้มีการเล่นต่อรองราคาในการซื้อสินค้า อีกทั้งมีการซื้อหาเงินตราต่างประเทศด้วยราคาที่ไม่เป็นธรรม เหล่านี้เป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นจึงได้มีการประกาศยกเลิกธนบัตร ๑๐๐ จั๊ตและ ๕๐ จั๊ตในปี ค.ศ. ๑๙๖๔
ประเทศเมียนมาได้ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสกุลเงินสเตอร์ลิงเมื่อปี ค.ศ.๑๙๖๖ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างอิสระ และจากการถอนตัวในครั้งนั้นได้ช่วยเปิดโอกาสให้สามารถติดต่อกับตลาดการเงินโลกได้โดยอิสระ
หลังจากการโอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐแล้ว จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการพาณิชยกรรม(d6oNl:pNgitgdk'N0u)ขึ้นในปี ๑๙๖๕ เพื่อดูแลกิจการพาณิชยกรรมทั้งภายในและต่างประเทศ มีการตั้งบรรษัทพาณิชยกรรมขึ้น ๒๒ แห่ง ในระดับอำเภอก็มีการตั้งคณะพาณิชยกรรมในระดับอำเภอเพื่อดูแลการพาณิชย์ของอำเภอ และในระดับหมู่บ้านได้มอบหมายให้ร้านค้าสหกรณ์ไร่นาและกิจการร่วม(]pNpkOa'NH]6xN'oNtgxj'Nt06")ทำหน้าที่ดำเนินการจัดขายสินค้าพาณิชย์ทั้งหลาย
รัฐบาลสภาปฏิวัติได้ออกคำสั่งด้านพาณิชยกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้สหกรณ์และพ่อค้าเอกชนชื้อขายสินค้ายกเว้นได้ จากการอนุญาตดังกล่าว ช่วยให้ผู้ผลิตสินค้าพาณิชย์ผลิตสินค้ามากขึ้นและสินค้ายกเว้นต่างๆก็มีราคาถูกลง
รัฐบาลสภาปฏิวัติได้ตั้งบรรษัทนำเข้าและส่งออกสินค้าแห่งเมียนมา (e,oN,kH569Nd6oNl:'Ntd6oNgdkNx6bgitia'Nt)ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๔ หลังจากที่ยกเลิกการให้ใบอนุญาตการนำเข้าสินค้า ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในการดำเนินการด้านพาณิชยกรรมกับต่างประเทศ  โดยบรรษัทดังกล่าวจะทำหน้าที่ดูแลตรวจสอบเพื่อนำเข้าเฉพาะสินค้าที่จำเป็นสำหรับประชาชน
รัฐบาลสภาปฏิวัติได้ดำเนินการขยายกิจการขนส่งภายในและต่างประเทศ ในด้านการขนส่งทางรถไฟได้มีการขยายกิจการ ขยายเส้นทาง และดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซม ในปี ค.ศ.๑๙๖๓ได้โอนกิจการจากบริษัทขนส่งราชวัง (goexPNg9kNx6bhgCk'Ngitd6,»Iu) ให้กับคณะกรรมการขนส่งทางบก (d6oNt],NtlpNp^x6bhgCk'Ngitvz:ch)พร้อมกับเริ่มโอนกิจการการเดินรถมาเป็นของรัฐ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการขยายกิจการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ และโอนกิจการขนส่งทางทะเลเป็นของรัฐด้วยเช่นกัน ส่วนการขนส่งทางอากาศนั้นสามารถขยับขยายกิจการได้เพียงเล็กน้อยเพราะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูง
ก่อนที่จะวางแผนโครงการสหกรณ์ในด้านต่างๆให้ได้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมการสหกรณ์ขึ้นก่อน พอในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ สภาปฏิวัติได้ดำเนินโครงการสหกรณ์ขึ้น ๑ โครงการ โดยจัดให้มีคณะกรรมการสหกรณ์ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม
สภาปฏิวัติได้ตั้งระบบถือครองที่ดินการเกษตร(ge,pk0o0N)ที่เป็นธรรมเพื่อให้กิจการด้านการเกษตรได้รับการพัฒนา พร้อมกับยกเลิกระบบเช่าที่ดิน(lut0kt0o0N)เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรกรรม เกษตรกรได้รับการจัดสรรที่ทำกินตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน มีการตั้งคณะกรรมการที่ดินการเกษตรเพื่อดูแลการใช้ที่ดินการเกษตรให้ถูกต้อง และมีความพยายามที่จะพัฒนาจากการเกษตรแบบพื้นบ้าน(]dN,A]pNpk)ให้เป็นเกษตรที่ใช้เครื่องจักรกล(0dN,A]pNpk)
จากการดำเนินโครงการคลองชลประทานเพื่อการทดน้ำและป้องกันอุทกภัยได้ช่วยให้พื้นที่ชลประทานขยายตัวขึ้น ในด้านอุตสาหกรรมมีการพัฒนาตามสภาพของทรัพยากร สถานะทางการเงิน และความชำนาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตรได้ก่อตั้งกิจการอุตสาหกรรมที่สามารถส่งเสริมการเกษตร พอในปี ค.ศ.๑๙๖๔ ได้มีการออกกฎหมายป้องกันแผนสร้างเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเพื่อมิให้มีการต่อต้าน
จากการประชุมพรรคครั้งที่ ๒ ในเดือนตุลาคม ค.ศ.๑๙๗๓ ได้กำหนดให้วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศเมียนมาขึ้นมา แผนพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นแผนระยะ ๒๐ ปี โดยมีระยะดำเนินการจากปี ๑๙๗๔ - ๑๙๗๕ จนถึง ๑๙๙๓ - ๑๙๙๔ เป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวในเวลา ๒๐ เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองแบบสังคมนิยมเข้าถึงภาวะตั้งมั่นภายในปี ค.ศ. ๑๙๙๓–๑๙๙๔ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนดังกล่าว
เป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวตามรูปแบบของระบอบสังคมนิยมนั้นกำหนดให้มีการจำแนกภาคเศรษฐกิจออกเป็น ๓ ภาค ได้แก่ ภาครัฐ ภาคสหกรณ์ และภาคเอกชน
การดำเนินการทางเศรษฐกิจมีกำหนดโดยลำดับ คือ ขยายภาคการผลิตด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ประมงและป่าไม้ให้สามารถส่งออกขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ก่อตั้งกิจการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคโดยอาศัยภาคการเกษตรปศุสัตว์ ประมง และป่าไม้   ผลิตสินค้าที่สามารถทดแทนสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ขุดเจาะแร่ธาตุต่างๆเท่าที่จะทำได้ และบ่มเพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้วัตถุดิบดังกล่าว
ในการพัฒนาการผลิตได้อนุญาตให้บรรษัทต่างๆดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจโดยเอกเทศพร้อมกับมีการใช้มาตรการทั้งการให้รางวัลและลงโทษ ในขณะที่รัฐบาลเพียรพยายามดำเนินการให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจประสบผลสำเร็จนั้นพรรคแนวทางสังคมนิยมเมียนมา (e,oN,kHC6biapN]0N],Nt0fNxj9u) ก็ให้ข้อเสนอแนะเพื่อความสำเร็จของแผนพัฒนาและความเป็นอยู่อันสุขสบายของประชาชน ในกิจกรรมทางการเกษตรและการปศุสัตว์ตามศักยภาพนั้นได้เผยศักยภาพประชาชนอย่างเป็นระบบในการเคลื่อนไหวและเสียสละแรงงาน มีการดำเนินการให้สามารถรักษาตลาดข้าวในต่างประเทศพร้อมทั้งขยายการส่งออกข้าว และเกษตรกรยังได้รับผลประโยชน์มากขึ้นจากการที่ราคาชื้อขายข้าวคุณภาพดีสูงขึ้น ในด้านป่าไม้มีการดำเนินการขยายพื้นที่ป่าโดยมิให้มีการทำลายป่า และขยายปริมาณการส่งออกยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังดำเนินการจัดแสดงอัญมณีเพื่อให้เป็นกิจการใหม่ทางเศรษฐกิจ เข้าร่วมการแสดงสินค้าระดับโลก และเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
ข้อมูลจากแบบเรียนประวัติศาสตร์เมียนมา ชั้น ๑๐
(วิรัช นิยมธรรม แปล)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15518เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 17:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท