ผ้าใยบัว : งานทอท้องถิ่นจากทะเลสาบอีงเลสู่ตลาดต่างประเทศ


ในเดือนพฤศจิกายน หรือ เดือนดะส่องโมง(9oNgCk'N,6oNt) เป็นเดือนหลังออกพรรษา สำหรับชาวพม่าแล้วเดือนนี้ถือเป็นช่วงฤดูกาลของการถวายผ้าจีวรของชาวพุทธพม่า ชาวพม่าจะจัดงานถวายจีวรในงานพีธีต่างๆ เช่น งานจีวรกฐิน งานจีวรจุลกฐิน งานจีวรบังสุกุล และ งานจีวรใยบัว
ผ้าใยบัว : งานทอท้องถิ่นจากทะเลสาบอีงเลสู่ตลาดต่างประเทศ
ในเดือนพฤศจิกายน หรือ เดือนดะส่องโมง(9oNgCk'N,6oNt) เป็นเดือนหลังออกพรรษา สำหรับชาวพม่าแล้วเดือนนี้ถือเป็นช่วงฤดูกาลของการถวายผ้าจีวรของชาวพุทธพม่า ชาวพม่าจะจัดงานถวายจีวรในงานพีธีต่างๆ เช่น งานจีวรกฐิน งานจีวรจุลกฐิน งานจีวรบังสุกุล และ งานจีวรใยบัว
ในการจัดทำจีวรใยบัวนั้น จะต้องทำเป็นพิเศษ ผู้ที่จะทำเส้นไหมใยบัวจะเป็นหญิงสาวพรหมจรรย์ จำนวนราว ๓๐ คน ชำระร่างกายให้สะอาด และต้องถือศีล ๑๐ กล่าวกันว่าหากสาวใดไม่รักษาศีล มักจะทำให้เส้นใยบัวขาด
ที่มาของความเชื่อในการถวายจีวรใยบัวนั้น กล่าวว่า อิงจากหนังสือคัมภีร์พุทธศาสนา ที่ว่า หลังจากที่โลกแตกดับไป แล้วเกิดโลกใหม่ขึ้นมานั้น ในเวลานั้นพื้นที่ที่ตั้งบัลลังก์มหาโพธิที่พระพุทธองค์มีชัยเหนือมารนั้นเกิดขึ้นมาก่อนพื้นที่อื่น และภายใต้พื้นที่ที่ประดิษฐานบัลลังก์นั้นมีบัวหลวงกอหนึ่งผุดอยู่  เชื่อกันว่าหากบัวหลวงกอนี้ไม่งอกและไม่ผลิดอกบาน โลกที่พระพุทธองค์มาบังเกิดคงสูญไปเช่นกัน และในบัวบานนั้นจะมีเครื่องอัฐบริขาร(ของใช้พระ)อยู่ด้วย ๑ ชุด
ดังนั้นเมื่อพื้นดินใหม่เกิดขึ้นมาเหล่าพราหมณ์จะมาสังเกตุดูนิมิต ว่าพื้นดินแห่งใหม่นั้นจะมีพระพุทธองค์บังเกิดหรือไม่ โดยดูว่าในกอบัวนั้นมีดอกบัวบานกี่ดอก  หากไม่มีดอกบัวสักดอกเลย นั่นหมายถึงไม่มีพุทธองค์มาบังเกิด โลกแห่งนี้จะตกในความมืดมัว อบายภูมิจะมีคนพลุกพล่าน เมืองสวรรค์จะซบเซา แต่หากมีดอกบัวบาน อบายภูมิจะเหงาหงอย แต่เมืองสวรรค์จะเนืองแน่น และหากมีดอกบัวบานหลายดอก ที่นั่นก็จะมีพระพุทธองค์บังเกิดหลายองค์
เมื่อเหล่าพราหมณ์พบพื้นดินที่มีกอบัวบานจะมีความปีติและจะนำเครื่องอัฐบริขารนั้นไปเก็บรักษาไว้ในสรวงสวรรค์ และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จออกมาจากป่า เหล่าพราหมณ์ก็จะนำเครื่องอัฐบริขาร ซึ่งประกอบด้วยจีวร มาถวายพระพุทธองค์ ชาวพุทธพม่าจึงมีธรรมเนียมถวายผ้าจีวรแด่พระพุทธองค์ ซึ่งอาจเป็นผ้าที่ทำจากใยฝ้ายก็ได้ แต่สืบเนื่องจากที่หนองน้ำอีงเลมีบัวผุดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงมีการประดิษฐ์จีวรจากใยบัวแท้ๆขึ้นมา ซึ่งจีวรใยบัวที่ทอจากเส้นไหมใยบัวที่ได้มาใหม่ๆนี้จะนุ่มและมีความหอมละมุน
อย่างไรก็ตามชาวพม่าจำนวนไม่น้อยที่ไม่คุ้นเคยกับจีวรใยบัวแท้ จะเข้าใจว่าจีวรใยบัวแท้ๆนั้น เป็นจีวรที่เหล่าทวยเทพทำขึ้นมาถวายพระพุทธเจ้า มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะถักทอได้

ชาวอีงตากับผ้าใยบัว

อีงเล(v'Ntg]t)เป็นชื่อทะเลสาบน้ำจืดหรือหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศพม่า  หนองน้ำอีงเลอยู่ในรัฐฉานตอนใต้ ที่อีงเลนี้ไม่ว่าชาวพม่าหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างก็อยากไปเยือน เนื่องเพราะที่นี่มีพระเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่องชื่อ คือ พระเจดีย์ผ่องด่ออูพะยา(gzk'Ng9kNfut46ikt)   มีตลาดน้ำให้เที่ยวชม และเป็นหนองน้ำที่โอบล้อมด้วยทิวเขาสร้างสรรค์ธรรมชาติอันงดงาม  วิถีชีวิตของชาวบ้านในหนองน้ำอีงเลดูแปลกตา พวกเขายืนพายเรือด้วยเท้า ปลูกพืชผักบนแปลงสวะในหนองน้ำ นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นสถานที่ที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งผลิตมะเขือเทศแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของพม่า
ที่จริงแล้วผลิตภัณฑ์ของผู้คนที่อาศัย ณ สถานที่นี้ไม่ได้มีชื่อเสียงเพียงเพราะการเพาะปลูกมะเขือด้วยเทคนิคพิเศษเท่านั้น แต่เรื่องการทอผ้ายังเป็นที่รู้จักอีกด้วย การทอผ้าถือเป็นงานสร้างรายได้ที่สำคัญงานหนึ่งของชาวอีงตา ผ้าที่โดดเด่นของที่นี่ คือ ผ้าไหม โดยเฉพาะผ้าไหมลายบางกอก ลายเชียงใหม่ และ ที่สำคัญที่นี่ยังเป็นต้นกำเนิดของผ้าเส้นใยบัว ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าแต่หายาก
ผู้คนที่อยู่รายรอบหนองน้ำอีงเลนี้ รู้จักกันว่าคือ ชาวอีงตา(v'Ntlkt) ตามตำนานกล่าวถึงที่มาของชาวอีงตาไว้ต่างกันไป บ้างว่า ชาวอีงตาแต่เดิมก็คือชาวทวาย ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า ภายหลังได้อพยพมายังเขตหนองน้ำอีงเลในคราที่พระเจ้าอลองสี่ตู่(vg]k'Nt0PNl^)แห่งพุกามเสด็จประพาสทางน้ำมายังหนองน้ำอีงเล พระองค์ทรงให้ชาวทวายที่ติดตามมาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ หนองน้ำแห่งนี้  แต่บ้างกล่าวว่า ชาวอีงตาน่าจะเป็นชาวพุกามที่มาอาศัยอยู่ที่หนองน้ำอีงเล คราเมื่อพระเจ้าอลองสี่ตู่เสด็จมายังหนองน้ำอีงเลจึงได้เคยมีโอกาสถวายการรับใช้ พอพระพระองค์เสด็จทางน้ำสู่เมืองทวายก็ตามเสด็จและได้รับอนุญาตให้อยู่ ณ เมืองทวายนั้น    ภาษาของพวกอีงตาจึงคล้ายกับภาษาของชาวทวาย   และภาษาของชาวทวายก็มีเค้าของภาษาพม่าโบราณ ช่วยให้ย้อนไปถึงคนพุกามแต่ครั้งอดีต
ในด้านงานฝีมือทอผ้าของชาวอีงตานั้นโดดเด่นไม่แพ้กลุ่มชาวเผ่าอื่นๆ เช่น ชาวยอ(gpk)ในมณฑลมะเกว(,gd:t) ชาวยะไข่(i-6b'N)ในรัฐยะไข่ หรือ ชาวมอญในรัฐมอญ   ชาวอีงตามีชื่อเสียงมากในเรื่องการทอผ้าไหม นักท่องเทียวที่ไปเยือนหนองน้ำอีงเล มักจะเยี่ยมชมหมู่บ้านทอผ้าและหาผ้าไหมของชาวอีงตาติดมือกลับมาด้วย แต่นอกจากผ้าไหมทอมือแล้ว ชาวอีงตายังชำนาญในการทอผ้าใยบัวอีกด้วย และชาวอีงตาที่ริเริ่มผ้าใยบัวนี้ คือ ชาวอีงตาที่หมู่บ้านจายคาม(dy7b'Nt-,NtvgiahU:k) ในหนองน้ำอีงเลนั่นเอง
ที่หมู่บ้านจายคามแห่งนี้ ผลิตผ้าใยบัวที่มีคุณภาพ เป็นใยบัวจากบัวหลวงที่มีอยู่ตามหนองน้ำอีงเล โดยมีด่อเส่งอุ้ (gmK0boNf) หญิงชาวอีงตาเป็นผู้บุกเบิกงานผ้าทอใยบัว จุดประสงค์ในการผลิตผ้าทอใยบัวในเบื้องต้นนั้นก็เพื่อเย็บเป็นจีวรถวายวัดผ่องด่ออู วัดใจบ้านใจเมืองของชาวอีงตานั่นเอง   ในการทอผ้าใยบัวในสมัยของด่อเส่งอุ้นั้น จะทำโดยการซื้อก้านบัวหลวง แล้วมาปั่นเส้นใยบัวเอง ซึ่งในการเก็บก้านบัวนั้นคนเก็บจะต้องทำเนื้อตัวให้สะอาด และต้องตั้งเครื่องบูชา (v6oNtx:c) เป็นดอกไม้และประทีป  การเก็บก้านบัวจะเก็บได้มากในตอนหน้าฝน และเมื่อน้ำขึ้นท่วมต้นบัวก็จะหยุดเก็บบัว ดังนั้นการทอไหมใยบัวจึงทำได้เพียงปีละ ๖ เดือนเท่านั้น การทอผ้าใยบัวจึงมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา
หลังจากที่ดอเส่งอุ้สิ้นลง งานทอผ้าใยบัวชะงักไป  ภายหลังด่อโองจี่(gmKv6oNtEdPN)ได้สืบทอดและฟื้นฟูการทอผ้าใยบัวขึ้นมาใหม่  แต่ในสมัยนี้จะไม่ปั่นเส้นใยบัวเอง แต่จะซื้อจากชาวบ้านตามตลาดนัดหมู่บ้านรอบๆหนองน้ำอีงเล   เช่น   ตลาดนันป่าง (ooNtxoNgGt)ซึ่งเป็นตลาดนัดใหญ่ของรัฐฉานที่มีชาวบ้านจากเก้าหมู่บ้านมาขายของ  หรือ จากตลาดหยั่วม้ะเหย่บ่อ(U:k,gigxKgGt) หรือ ตลาดน้ำ เป็นต้น การคัดเลือกเส้นใยบัวนั้น ดอโองจี่ จะเลือกเส้นไหม โดยดูจากคุณภาพของเส้นใย และราคาของเส้นใยบัวจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของเส้นใย โดยราคาซื้อขายจะอยู่ในราคา ๖๐๐-๙๐๐ จั๊ต ต่อน้ำหนัก ๑ จั๊ตตา (๑ จั๊ตตา เท่ากับ ๑.๖ กิโลกรัมของไทย)  ดังนั้นผู้ขายเส้นไหมบางรายจึงคิดวิธีที่ทำให้เส้นไหมมีน้ำหนัก เช่น บางรายใช้ใยบัวที่ชุ่มน้ำมาทำเส้นไหม ซึ่งวิธีนี้เส้นใยหนักแต่เนื้อไหมไม่แน่น และทำให้เกิดรา เปื่อยยุ่ยง่าย บางรายผสมแป้งกาว บางรายผสมไนล่อน ทำให้ไม่ได้เส้นใยเนื้อดี และเป็นต้นเหตุของการขาดทุนนับแสน 
การผลิตผ้าใยบัวนั้น ยังคงทำเป็นงานหัตถกรรมครัวเรือน โดยมีคนงานไม่มากนัก เช่น กลุ่มของด่อโองจี่ จะมีคนงาน ๑๕ คน และมีลูกๆสืบทอดงานฝีมือ  งานผ้าทอใยบัวที่นี่ไม่เพียงเป็นจีวรถวายวัดเท่านั้น แต่ยังทอเป็นผ้าผืนที่นำไปประยุกต์ประดิษฐ์เป็นของใช้อื่นๆได้ ดังนั้นที่นี่จึงมีการคิดลวดลายใหม่ๆสำหรับผ้าใยบัว เช่น ลายโยเดีย เรียกว่า ลายซี(0utmu=6b'Nt) ลายเชียงใหม่ (='Nt,pNmu=6b'Nt) ลายผ้าไหม(x6bt5PNmu=6b'Nt)
สำหรับชาวพม่าเองแล้วจีวรใยบัวยังคงมีความสำคัญมาก เพราะใช้เป็นเครื่องบูชาถวายพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะในช่วงงานจุลกฐิน(,l6btld'oNt) ซึ่งชาวพม่าจะจัดงานประกวดทอจีวรถวายองค์พระเจดีย์ในหลายๆวัด แต่งานประกวดทอผ้าจีวรจุลกฐินที่โดดเด่นมาก ก็คือ งานประกวดที่พระเจดีย์ชเวดากองนั่นเอง
จีวรใยบัวที่ทอถวายพระพุทธเจ้านั้น จะต้องใช้ใยบัวมากในขนาดน้ำหนัก ๔ ปิตตา(ราว ๖.๔ กิโลกรัม) แต่ถ้าเป็นจีวรที่พระสงฆ์ใช้(จำนวน ๒ ชิ้น คือ สบงกับจีวร)จะใช้ใยบัวในขนาดน้ำหนักราว ๒ ปิตตาครึ่ง(ราว ๔ กิโลกรัม)  สีที่ใช้ย้อมใยบัว จะเป็นสีธรรมชาติ โดยแต่เดิมจะใช้สีขนุนเพียงสีเดียว แต่เป็นสี อ่อน กลาง เข้ม  ในปัจจุบันยังคงใช้สีจากเปลือกไม้ธรรมชาติ หากมีสีที่หลากหลายมากขึ้น 
จีวรใยบัวนี้จะขายในราคาผืนละ ๓ แสนจั๊ต(ราว หมื่นกว่าบาท) แม้จีวรใยบัวดูจะราคาสูง แต่ตามร้านขายผ้าใยบัวจะมีใบสั่งสินค้า(gvkNmj)เข้ามามาก ซึ่งมีทั้งที่สั่งจากในและต่างประเทศ สำหรับใบสั่งสินค้าจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นของลูกค้าชาวญี่ปุ่น โดยมีการสั่งซื้อผ้าทอใยบัวที่มีขนาด กว้างยาว ๑๘ นิ้ว และเป็นสีใยบัวตามธรรมชาติ ผ้าชนิดนี้ชาวญี่ปุ่นนำไปใช้ห่อข้าวเคารพวิญญาณบรรพ-บุรุษที่หลุมศพ บ้างนำไปทำเป็นที่รองถ้วยชา นอกจากนี้ยังนำไปทำเป็นภาพวาดพระพุทธเจ้า  นอกจากนี้ชาวต่างชาติบางกลุ่ม นิยมนำผ้าไหมใยบัวไปตัดเป็นกระโปรง หรือ เสื้อโค้ต ด้วยเหตุที่เส้นไหมใยบัวมีคุณสมบัติพิเศษที่ปรับอุณหภูมิให้ต่างกับสภาพอากาศได้  โดยในยามที่อากาศเย็นใยบัวจะอุ่น และในยามที่อากาศอุ่น ใยบัวจะเย็น และมีการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ผ้าพันคอ กระเป๋าถือสตรี  สำหรับชิ้นส่วนใยบัวที่เหลือใช้ นำไปทำไส้หมอนแทนนุ่น หรือ ทำกระเป๋าแว่นตา ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกนี้ผู้ประกอบการใยบัวบางรายได้พยามยามควบคุมคุณภาพให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ และการพัฒนาคุณภาพอย่างหนึ่งที่ผู้ส่งออกผ้าใยบัวทำก็คือการส่งผ้าใยบัวมาตัดเย็บที่กรุงเทพฯ เป็นต้น
นอกจากตลาดในประเทศ ตลาดเอเชีย เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีที่ให้ความนิยมผ้าใยบัวแล้ว ผู้ประกอบการหลายรายมองช่องทางการทำสินค้าผ้าใยบัวให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติอื่นๆที่นิยมของที่ผลิตจากธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการทำตลาดใยบัวเพื่อให้เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางขึ้น จึงอาศัยการโฆษณาในหนังสือการบินของมัณฑะเลแอร์ไลน์และทางอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
อรนุช นิยมธรรม
(ข้อมูลจากวารสาร To มิถุนายน ๒๐๐๕ และ e,oN,kTg]H56"t0",ykt ,๑๙๙๗)
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15509เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตกลงว่าผ้าใยบัวนี่ทำมาจากใยบัวหรืออะไรกันแน่คะ เพราะบางเว็บบอกผ้าใยบัวคือผ้าถุงน่องที่ทำจากไนลอนบ้า บอกว่าทำจากกากนำมันบ้าง ช่วยไขข้อข้องใจให้ทีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท