ท่าเรือประมง


ท่าเรือประมง
  ท่าเรือประมง
ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยงบประมาณแผ่นดิน 3,000,000 บาท และ
งบประมาณลงทุนขององค์การสะพานปลา 919,150 บาท รวมเป็นเงิน 3,919,150 บาท เปิดให้ชาวประมงจอดเรือขนถ่ายสินค้า
สัตว์น้ำ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2515 เป็นต้นมา
     ได้จัดแบ่งพื้นที่ตามประโยชน์การใช้งานเป็น 5 ส่วน คือ 
                                
     1. ท่าเทียบเรือประมง โรงคลุมขนถ่ายสัตว์น้ำ ลานคัดเลือกปลา ซึ่งมีอยู่เดิมมีความยาวประมาณ 200 เมตร พื้นที่ประมาณ 
4,800 ตารางเมตร สามารถให้บริหารเรือประมงได้พร้อมกันครั้งละ 28-32 ลำ และได้รับงบประมาณ กจภ. ปี 2538 ขยายท่าเทียบ
เรือประมงออกไปเต็มพื้นที่ริมแม่น้ำ ความยาวประมาณ 180 เมตร โดยก่อสร้างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540 แต่ส่วนหนึ่งเป็นท่า
โม่น้ำแข็งของบริษัทเอกชนประมาณ 54 เมตร คงเหลือเป็นท่าเทียบเรือประมงสำหรับให้บริการชาวประมงเพียง 126 เมตร พร้อม
โรงคลุมและลานคัดเลือกปลา พื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร ซึ่งเมื่อรวมความยาวท่าเทียบเรือประมงทั้งหมดประมาณ 326 
เมตร สามารถให้บริการเรือประมงได้พร้อมกันครั้งละประมาณ 40-50 ลำ
     2. ตลาดจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ และโรงคลุมบรรจุสัตว์น้ำ 2 โรง เนื้อที่ประมาณ 2,500 ตารางเมตร จัดแบ่งเป็นล็อต ประมาณ 
120 ล็อต และพื้นที่สำหรับบรรจุขนถ่ายสัตว์น้ำ (ปลาเลย) สำหรับรถบรรทุก 10 ล้อ (ตู้) รวมประมาณ 15,560 เที่ยว/ปี ซึ่งไม่รวม
การขนส่งปลาไก่ประมาณ 9,000 เที่ยว/ปี
     3. พื้นที่อาคารพาณิชย์ อาคารแพปลา อาคารที่อยู่อาศัย ตลาดจำหน่ายอาหาร รวมประมาณ 175 คูหา และพื้นที่สำรองที่จะก่อ
สร้างเพิ่มเติมได้อีกประมาณ 34 คูหา
     4. พื้นที่อุตสาหกรรมพื้นฐานของการประมง และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ โรงน้ำแข็ง 1 โรง โรงงานปลากระป๋อง 1 โรง
     5. พื้นที่อุตสาหกรรมย่อยแปรรูปสินค้าสัตว์น้ำขึ้นต้น (Pre processing) จำนวนประมาณ 15 ราย และกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกัน
กับการขนส่งสินค้าสัตว์น้ำ จำนวนประมาณ 5 ราย
     ท่าเทียบเรือประมงปัตตานีให้บริการขนถ่ายสัตว์น้ำแก่เรือประมงตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุดตลอดทั้งปี ซึ่งมีหลักเกณฑ์การ
ใช้สถานที่ในการนำเรือประมงต่าง ๆ เข้าขนถ่ายสัตว์น้ำ ดังนี้
     
     1. เรืออวนล้อม อวนซั้ง ใช้สถานที่ในส่วนของท่าเทียบเรือ (ท่าเก่า) ตั้งแต่ล๊อคที่ 1-32 ตลอด 24 ชั่วโมง
     2. เรืออวนลาก ใช้สถานที่ในส่วนของท่าเทียบเรือ (ท่าเก่า) ตั้งแต่ล๊อคที่ 17-32 ระหว่างเวลา 24.00 - 09.00 นาฬิกา
     3. เรือปลาโขด (อวนดำหรืออวนล้อมทำประมงไม่เกิน 4 วัน) ใช้สถานที่ในส่วนของท่าเทียบเรือประมง (ท่าเก่า) ตั้งแต่ล๊อคที่ 
17-32 ระหว่างเวลา 09.00 - 24.00 นาฬิกา แต่หากไม่มีอวนลากหรือมีพื้นที่ว่างก็สามารถขึ้นได้ตั้งแต่ 06.00 นาฬิกา
     4. เรือทัวร์ ใช้สถานที่ทั้งในส่วนของท่าเทียบเรือประมง (ท่าเก่า) ตั้งแต่ล๊อคที่ 17-32 และท่าเทียบเรือ (ส่วนขยาย) ตั้งแต่ล๊อคที่ 
33-53 ตั้งแต่เวลา 09.00 - 24.00 นาฬิกา
     5. เรืออวนลากเล็กและเรืออวนรุน ใช้สถานที่ในส่วนของท่าเทียบเรือ (ส่วนขยาย) ตั้งแต่ล๊อคที่ 33-53 ตั้งแต่เวลา 03.00-10.00 
นาฬิกา
     ระบบซื้อขายสัตว์น้ำ
     1. ทำการซื้อขายโดยระบบการต่อรองราคา
     2. ทำการซื้อขายโดยระบบการประมูล เช่น ปลาหมึกชนิดต่าง ๆ
ที่มา.http://investment.pattani.org/pattani/investment/investment_show.php?topic_id=70





คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15495เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท