แผ่นพับโรคหลอดเลือดสมอง


แผ่นพับพกได้ ลองอ่านดูนะคะ

Dscn0754

เครียดค่ะ กว่าจะได้เรื่องนี้ เสร็จสมบูรณืเล่นเอาเหนื่อยค่ะ

โรคหลอดเลือดสมองแตก                        ในปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองแตกเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ  เนื่องจากโรคประจำตัว   ภาวะทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดความเครียดในชีวิตประจำวัน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกมากขึ้น และพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง จึงควรตระหนักถึงภัยของโรคหลอดเลือดสมองแตก และเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดมากขึ้น โรคหลอดเลือดสมองแตก   แบ่งเป็น  3  ประเภท1.                โรคหลอดเลือดสมองแตกที่เกิดในเนื้อสมอง  เกิดจากการแตกของหลอดเลือดแดงของเนื้อสมอง  โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง2.                โรคหลอดเลือดสมองแตกที่เกิดใต้ชั้นอะแรคนอยด์  เกิดจากการแตกของหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง  มีอาการคอแข็ง  ระดับความรู้สึกตัวลดลง3.                โรคหลอดเลือดสมองแตกที่เกิดในโพรงน้ำสมอง  เกิดจากการแตกของหลอดเลือดแดงหรือดำภายในโพรงสมอง สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก 1. ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผู้ป่วยมักจะมีความดัน    โลหิตสูงมาก่อน หรือเคยมีประวัติอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต2. หลอดเลือดสมองผิดปกติ เช่น โรคหลอดเลือดโป่งพอง โรคติด    เชื้อบางชนิด โรคภูมิแพ้ เป็นต้น3. โรคเนื้องอกบางชนิดที่โตเร็วทำให้หลอดเลือดแตก4. โรคตับ โรคไต โรคเลือดบางชนิด ทำให้เลือดออกง่ายและไหล     ไม่หยุด5. โรคพยาธิบางชนิดที่ไชหลอดเลือดให้แตก6. ผู้ป่วยที่รับประทานยาห้ามการแข็งตัวของเลือดบางชนิด7. ผู้ที่มีประวัติดื่มสุรา หรือ ยาเสพติด       การตรวจหาสาเหตุโรคหลอดเลือดสมองแตก แม้ว่าความดันโลหิตสูงจะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองแตก   แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีประวัติความดันโลหิตสูง ควรตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการหรือเอ็กซเรย์ ได้แก่         

1. ตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นโรคเลือด โรคตับ โรคไต  ตรวจการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น   

 
2. เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เพื่อบอกว่าเป็นหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ   มีเนื้องอกหรือไม่   หรือเพื่อดูว่ามีสาเหตุอื่นๆที่น่าสงสัยหรือไม่     
3. ในรายที่สงสัย อาจจำเป็นต้องตรวจเอ็กซเรย์โดยการ ฉีดสีเข้าหลอดเลือดเพื่อดูว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองหรือไม่

อาการของโรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองแตกมักเกิดขณะที่มีความดันโลหิตสูงหรือมีความเครียด เช่น มีความกังวล โกรธ ใช้สมองมากโต้เถียงกันรุนแรง ขณะเบ่งอุจจาระหรือขับรถ  ขณะมีเพศสัมพันธ์  เป็นต้น  อาการที่พบจะเกิดขึ้นทันทีทันใด1.         ปวดศีรษะรุนแรงฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน2.        ปวดคอ  คอแข็ง3.        สับสน  สื่อสารไม่รู้เรื่อง4.        อาเจียน 5.        แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว 6.        เวียนศีรษะอย่างรุนแรง  บ้านหมุน  เดินลำบากหรือเป็นลม7.         พูดไม่ชัด  พูดลำบาก   พูดตะกุกตะกัก นึกคำพูดไม่ออก  หรือไม่เข้าใจคำพูด  8.        กลืนอาหารลำบาก 9.         ถ้าเป็นมากจะซึมลง หมดสติ และเสียชีวิตได้ การปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก1. หยุดกิจกรรมทุกอย่างที่กำลังทำอยู่2. ให้นอนราบเพื่อป้องกันการหกล้มบาดเจ็บที่ศีรษะ3. ในผู้ป่วยที่หมดสติ ให้ตะแคงตัวหรือหันหน้าไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก4. รีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีไม่ว่าจะมีอาการหนักหรือเบา  ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองแตก·         โรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยง 3 - 17 เท่า ·         โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยง 3 เท่า ·         การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยง 2 เท่า ·         ไขมันเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยง 1.5 เท่า ·         โรคหัวใจ ·         ขาดการออกกำลังกาย ·         แอลกอฮอล์  ทำให้เกิดการหดเกร็งของหลอดเลือดและความดันเลือดสูง  ·         ยาเสพติดการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 

1.  การออกกำลังกายสม่ำเสมอและเพียงพออย่างเหมาะสม  อย่าทำแบบหักโหม และนานๆ ในครั้งหนึ่งๆ

2.  การควบคุมน้ำหนัก  อย่าให้อ้วนเกินไป  ลดอาหารพวกไขมันสูง
  3.  งดสูบบุหรี่                    
 4.  หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์         

 

5.  การผ่อนคลายลดความตึงเครียด  และพักผ่อนอย่างเพียงพอ

6.  มีการตรวจสุขภาพประจำปี  เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง  เบาหวาน  ไขมันในเลือดสูง  ถ้าพบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ต้องรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ 
7.  เมื่อเกิดอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง  อย่านิ่งนอนใจต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที 
8.  ในรายที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้มากกว่าคนปกติ   ต้องรับประทานยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ  จึงไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด

การรักษา             การรักษาขึ้นกับชนิด  ความรุนแรง  และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ  โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมารับการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงมากเท่านั้น   การรักษาโรคหลอดเลือดสมองแตกมีหลายวิธี ได้แก่1. การรักษาทางยา เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาและสารน้ำรักษาสมองบวม เป็นต้น2. การผ่าตัดในรายที่อาการหนัก ซึม หมดสติ มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ในสมอง เป็นต้น3. การพยาบาลและกายภาพบำบัด ป้องกันโรคแทรกซ้อน4. การรักษาโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน       การรักษาโดยการผ่าตัดการปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด1.      อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมาโรงพยาบาล  เช่น แปรงสีฟัน  ยาสีฟัน สบู่  แป้ง  ยาสระผม  กระดาษชำระ 2.      การเซ็นใบยินยอมผ่าตัด  ถ้าอายุต่ำกว่า  18 ปี  หรือผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  ต้องให้ผู้ปกครองเซ็นยินยอมแทน3.      ตรวจสอบหลักฐานการใช้สิทธิในการรักษา  เช่น  บัตรสุขภาพ  เบิกต้นสังกัด  ประกันสังคม  เป็นต้น4.      ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่  เช่น ยาลดความดันโลหิต  ยาละลายลิ่มเลือด 5.      การตรวจทางห้องปฏิบัติการ  เช่น การเจาะเลือด  เอ็กซเรย์        ตรวจคลื่นหัวใจ                                  6.      การทำความสะอาดร่างกายและผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด  : สระผม  หรือ โกนผมในเช้าวันผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ7.      ท่านจะได้รับการประเมินทางระบบประสาท  การวัดสัญญาณชีพ  8.      ท่านจะได้รับการฝึกการหายใจ  เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี9.      การงดอาหารและน้ำก่อนผ่าตัด  อย่างน้อย  6  ชั่วโมงก่อนผ่าตัด  และจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ10.  การถอดเครื่องประดับ  ฟันปลอมที่ถอดได้  ชุดชั้นใน ก่อนไปห้องผ่าตัด11.  การเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดของห้องผ่าตัด                การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพร่างกายภายหลังผ่าตัดได้เร็วและป้องกัน  ภาวะแทรกซ้อนต่างๆท่านจะได้รับการดูแลหลังผ่าตัด  ดังนี้1.      ในระยะแรกอาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ  และใช้เครื่องช่วยหายใจ  ขณะคาท่อช่วยหายใจจะพูดไม่มีเสียง  แต่สามารถติดต่อสื่อสารได้โดยการเขียน  หรือวิธีการอื่นๆ  2.      ห้ามไอแรงๆหรือเบ่งอุจจาระ  เพราะจะทำให้ความดันในกะโหลกศีรษะสูง3.      ช่วงแรกแพทย์จะให้งดอาหารและน้ำ  ท่านจะได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำแทน4.      ท่านควรมีการฝึกหายใจอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี                           5.      ให้ความร่วมมือในการประเมินสัญญาณชีพ  การประเมินทางระบบประสาท6.      การดูแลแผลผ่าตัด  หลีกเลี่ยงการนอนทับแผลผ่าตัด  ระวังไม่ให้สายระบายที่ออกจากแผลดึงรั้ง7.      การลดอาการปวดแผลผ่าตัด  หากยังงดอาหารและน้ำ แพทย์จะให้ยาฉีดทางหลอดเลือดดำ  และให้ยารับประทานแก้ปวดถ้าสามารถรับประทานอาหารได้8.      การออกกำลังกายจะช่วยส่งเสริมสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและทำให้ร่างกายมีความแข็งแรง  ถ้าผู้ป่วยยังไม่สามารถปฏิบัติเองได้ญาติสามารถออกกำลังกายให้ผู้ป่วยได้                         การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากผู้ป่วยผ่านพ้นระยะอันตรายแล้ว ต้องทำการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้มากที่สุด กลับไปอยู่ในสังคมได้ตามอัตภาพ    1. ฟื้นฟูแขนขาข้างที่อ่อนแรงโดยวิธียืดเส้นยืดสาย ขยับข้อทุกข้อช้าๆ     แต่ยืดๆ อย่าให้ข้อติดหรือบวม2. ฟื้นฟูภาษา ทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในรายที่มีปัญหาทางภาษา     เพราะหลอดเลือดสมองซีกซ้ายแตก3. ฟื้นฟูเรื่องเกี่ยวกับการกลืน การออกเสียง การขับถ่าย4. ฟื้นฟูด้านจิตใจ ให้มีกำลังใจในการช่วยตัวเอง ไม่ท้อแท้ ไม่โมโห     อารมณ์เสีย ไม่เครียด ไม่กังวล5. เสริมสร้างกำลังแขนขาข้างที่ปกติโดยการยกน้ำหนัก เพื่อช่วยเหลือ     ข้างที่ผิดปกติ6. ฝึกอาชีพใหม่ให้เหมาะสมกับสมรรถภาพที่เหลืออยู่ การเตรียมสภาพแวดล้อมที่บ้าน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการอ่อนแรงของแขนขา  หลังจากผ่านพ้นระยะวิกฤต  ผู้ป่วยเริ่มมีการฟื้นฟูสภาพร่างกาย   และเมื่อต้องพักฟื้นที่บ้านควรมีการเตรียมสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม  เช่น1. ห้องนอนผู้ป่วยควรอยู่ชั้นล่างไม่ต้องขึ้นบันไดให้ลำบาก  ใกล้    ห้องรับแขกจะดีที่สุด2. มีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆห้องนอนเพื่อความสะดวก ไม่ต้องเดินไกล3. ห้องน้ำควรมีราวสำหรับเกาะหรือเหนี่ยว ระมัดระวังการลื่นหกล้ม4. ประตูห้องควรใหญ่พอที่จะนำรถเข็นเข้าได้5. พื้นบ้านอย่าให้สูงต่ำ ถ้าจำเป็นต้องทำทางลาดให้เดินสะดวก6. ควรทำราวรอบบ้านเพื่อให้หัดเกาะเดิน                                  การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตกซ้ำ 

1. อย่าเครียด อย่าโมโหง่าย อย่าคิดมาก  ทำจิตใจให้สบาย

 
2. อย่าดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ 
3. รับประทานผักผลไม้ ช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น 
4. ดื่มน้ำมากๆ อย่ารับประทานอาหารที่มีไขมันสูง  เช่น หมูติดมัน  ป้องกันหลอดเลือดตีบตัน                                  

ดื่มน้ำสะอาด

5. ถ้ามีความดันโลหิตสูง ต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ  6. ถ้ามีโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ 

แนวทางการดูแลผู้ป่วยเมื่อกลับบ้าน 1.        การกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้เอง เช่น  การแปรงฟัน  การใส่เสื้อผ้า  หวีผม  การรับประทานอาหารด้วยตนเอง  การลุกนั่ง  การขับถ่าย  โดยอาจต้องให้ญาติช่วยตามแต่กรณี  ญาติควรให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง2.        ควรมีสิ่งเร้ากระตุ้นสมองและการรับรู้ของผู้ป่วย เช่น โทรทัศน์  วิทยุ  หนังสือพิมพ์  ปฏิทิน  การพูดคุยกับลูกหลาน  ญาติ  หรือผู้ที่คุ้นเคย  การนัดหมายรวมญาติทานข้าว3.        การจัดอาหารให้เหมาะกับโรค  กรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น  อาหารเบาหวาน  อาหารไขมันต่ำ  อาหารจืดสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง4.        <span style=

หมายเลขบันทึก: 154864เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ซี 8 นานจังส่งยัง

ขอบคุนสำหรับข้อมูลค่ะ เป็นประโยช์อย่างยิ่งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท