เครื่องมือประมง


เครื่องมืออ้วนล้อม

    

    

                เครื่องมืออ้วนล้อม
    

    อวนล้อมจับ หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิธีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำจะปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำ แล้วทำการปิดด้านล่างของผืนอวน
หลักการหรือกรรมวิธีที่สำคัญของเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ มีดังนี้
1. ใช้วิธีปิดล้อมสัตว์น้ำ โดยการปล่อยอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่ เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ
2. ใช้กรรมวิธีปิดด้านล่างของผืนอวน (ตลอดผืน) เพื่อให้สัตว์น้ำหมดทางออกทางด้านล่างและว่ายวนเวียนอยู่ในวงอวน
3. ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ
ชนิดเครื่องมือประเภทอวนล้อมจับ เครื่องมืออวนล้อมจับเป็นเครื่องมือที่ออกแบบขึ้นมาสำหรับใช้จับสัตว์น้ำชนิดที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หรือล่อลวงให้รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ก่อน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยทำการประมงประเภทซั้ง (Fish Aggregating Device; FADs) หรือแสงไฟ หลักการเลือกใช้ขนาดตาอวนของเครื่องมือนี้ต้องไม่ทำให้สัตว์น้ำเป้าหมายหลักติดอยู่ที่ตาอวนมากเกินไป เพราะจะทำให้อวนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น กู้อวนได้ช้า และสัตว์น้ำเสียคุณภาพ ด้วยเหตุนี้อวนล้อมจับจึงมีขนาดตาอวนหลายขนาด ขึ้นอยู่กับขนาดของสัตว์น้ำเป้าหมายหลัก การเรียกชื่อเครื่องมืออวนล้อมจับของไทยส่วนใหญ่เรียกตามชาวประมง ซึ่งตั้งชื่อหลากหลาย บางชนิดเรียกชนิดสัตว์น้ำที่เป็นเป้าหมายหลัก เช่น อวนล้อมจับปลากะตัก อวนล้อมจับปลาทู อวนล้อมจับปลาโอ บางชนิดเรียกตามลักษณะและขนาดของเรือ เช่น อวนฉลอม (ใช้เรือที่มีส่วนหัว และท้ายเรือเหมือนกัน) อวนล้อมเรือหาง หรืออวนล้อมลูกหมา (ใช้เรือขนาดเล็ก) หรือเรียกตามสีของเนื้ออวน เช่น อวนดำ อวนเขียว และเรียกตามกรรมวิธีที่ใช้ล่อลวงสัตว์น้ำ เช่น อวนล้อมซั้ง อวนล้อมปั่นไฟ (ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า) อวนล้อมตะเกียง เป็นต้น วิธีการเรียกชื่อเครื่องมือแบบนี้ ยากต่อการกำหนดคำนิยาม เพราะอวนล้อมจับชนิดหนึ่งอาจเข้าหลักเกณฑ์ของอวนล้อมจับชนิดอื่นด้วย เช่น อวนล้อมจับปลากะตัก เป็นได้ทั้งอวนเขียวเพราะเนื้ออวนมีสีเขียว และอวนล้อมปั่นไฟ เพราะใช้แสงไฟล่อด้วย
ดังนั้น คณะทำงาน ฯ ของกองประมงทะเล จึงกำหนดการเรียกชื่อเครื่องมือในประเภทอวนล้อมจับเสียใหม่ โดยกำหนดให้เป็นระบบเดียวกัน คือ ใช้ขนาดตาอวนเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อข้อมูลทางการประมงทะเลในอนาคต แต่เนื่องจากอวนล้อมจับของไทยมีวิธีการปิดด้านล่างของผืนอวนอยู่ 2 วิธี คือ แบบมีสายมาน และแบบอื่นซึ่งไม่ใช้สายมาน จึงได้แยกชนิดของอวนล้อมจับออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ อวนล้อมจับมีสายมาน มี 5 ชนิด และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน มี 2 ชนิด ซึ่งแบบมีสายมานนั้นจะพบมากที่สุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 99 ของอวนล้อมจับทั้งหมด

      

     

            สายมาน (Purse Line) เป็นชื่อเรียกเชือก หรือลวดสลิงที่ร้อยผ่านห่วงโลหะวงแหวนทุกห่วง ซึ่งผูกตลอดแนวด้านล่างผืนอวน มีระยะห่างกันพอควร ชาวประมงเรียกว่า ห่วงมาน (Purse ring) ส่วนที่เป็นสายมานจะใช้เพียงเส้นเดียว แต่อวนตังเก และอวนล้อมจับปลากะตักของไทยแบบมาเลเซีย จะแบ่งสายมานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ปีกซ้าย และปีกขวา โดยปลายเชือกข้างหนึ่งของเชือกทั้งสองจะผูกกับห่วงคลายเกลียวที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอวน วิธีการปิดผืนอวนด้านล่างด้วยสายมานใช้วิธีการกว้านสายมานพร้อมกันทั้งสองข้างเก็บไว้บนเรือ จะทำให้ขอบล่างของผืนอวนมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ในที่สุดจะปิดสนิทเมื่อห่วงมานมารวมกัน แล้วนำห่วงมานขึ้นบนเรือ หรือแขวนไว้ที่เรือ ชนิดเครื่องมือที่จัดอยู่ในกลุ่มอวนล้อมจับมีสายมาน มี 5 ชนิด
     

               อวนล้อมจับสายมาน
    อวนล้อมจับชนิดนี้ชาวประมงใช้กันน้อยมาก มีเพียง 2 ชนิด ที่ยังใช้กันอยู่ คือ อวนล้อมจับปลากะตัก (อวนกลัดขอ) และอวนล้อมจับปลาหลังหิน (ปลาตามแนวหินปะการัง) ทั้งสองชนิดต่างกันที่ขนาดตาอวน ปัจจุบันคาดว่ามีจำนวนรวมกันไม่เกิน 20 ลำ เนื่องจากหาลูกเรือที่ดำน้ำได้ยาก ชาวประมงจึงปรับเปลี่ยนไปใช้อวนแบบมีสายมาน หมู่บ้านที่เป็นแหล่งกำเนิดและยังคงใช้อยู่คือ หมู่บ้านอ่าวมะขามป้อม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
 

        http://www.fisheries.go.th/DOF_THAI/Division/Web_gear/HP_main.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15408เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ไม่มีเครื่องมือประมงแบบอื่นเพิ่มเติมหรือคะ

ขอรูปด้วนนะคับ แล้วขอเครื่องมือเกี่ยวกับการประมงที่มากกว่านี้หน่อยนะคับ

ช่วนหน่อยนะคับ ส่งมาในเมล์นะคับนี้บายรักทุกคนจาก เวียร์ (ตัวปลอม)อิอิ

หามาเพิ่มหน่อยเถอะค่ะ รูปอ่ะค่ะ ไม่มีหลอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท