การทำงานเพื่ออุดมคติ


การทำงานเพื่ออุดมคติ

          ที่สนามบินดอนเมือง วันที่ ๑๑ กพ. ๔๙ พบหมอโกมาตร     คุยกันเรื่องจะให้คนมาสัมภาษณ์ผมเรื่องการทำงานเพื่ออุดมคติ  หมอโกมาตรต้องการทำงานวิชาการว่า จะจัดสภาพการทำงานอย่างไรให้เอื้อต่อการได้บรรลุอุดมคติส่วนตนด้วย
         เรื่องนี้คงต้องพัฒนาทักษะที่เรียกว่า alignment skill     คือการทำให้อุดมคติส่วนตน กับอุดมคติส่วนงาน ไปในแนวเดียวกัน หรือ มี alignment กัน     ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องเหมือนกันแบบพิมพ์เดียวกัน    แต่เกิดแรงเสริมซึ่งกันและกันระหว่างอุดมคติ ๒ ฐานนี้ได้

         แต่ก่อนหน้านั้นต้องพัฒนาอุดมคติส่วนตนให้ชัดเสียก่อน    น่าเสียดายที่การเลี้ยงดู  การศึกษา  และสื่อสารสาธารณะไทยไม่เพาะเลี้ยงอุดมคติในชีวิตคน    ผมใช้คำว่า “เพาะเลี้ยง” เพราะเชื่อว่าทุกคนมีเมล็ดพันธุ์แห่งอุดมคติอยู่แล้ว     ถ้าการเลี้ยงดูอบรมฟูมฟักเอื้อหรือเหมาะสม    เมล็ดพันธุ์อุดมคติในแต่ละคนที่มีอยู่ตามธรรมชาติก็จะงอกงามหยั่งรากแก้วและเติบโตมั่นคง     แถมยังขยายพืชพันธุ์ไปยังคนในครอบครัว มิตรสหาย และเพื่อนร่วมงานได้ด้วย
         และในทำนองเดียวกัน หน่วยงาน/องค์กร ก็ต้องพัฒนาอุดมคติให้ชัดเช่นเดียวกัน    ท่านที่สนใจรายละเอียดส่วนนี้ให้อ่านบันทึก The Toyota Way
         เมื่ออุดมคติส่วนงาน กับอุดมคติส่วนตน มีความประสานสอดคล้อง (align หรือมี harmony) กัน    การทำงานตามอุดมคติ และส่งเสริมอุดมคติก็จะเกิดได้ง่าย    นี่คือความเห็นข้อที่ ๑  - ต้องสร้าง alignment ระหว่างอุดมคติส่วนตน กับอุดมคติส่วนงาน
        ความเห็นข้อที่ ๒ ฟันธงเลยนะครับ    องค์กรแบบเคออร์ดิค และ KM / LO คือคำตอบ

วิจารณ์ พานิช
๑๑ กพ. ๔๙
ห้องพักรอ  สนามบินดอนเมือง

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15392เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท