บันทึก รถ2แถว


ความรู้เคลื่อนที่
มนุษย์" เรานั้นมีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหมดลมหายใจ การเพิ่มเติม
ความรู้ให้สมองอยู่เสมอจะช่วยพัฒนาการให้เกิดประโยชน์และสามารถปรับปรุงประยุกต์นำไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้ การที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้จะต้องเริ่มจากกระบวน การอ่าน แต่
ประชาชนในบ้านเมืองเรานั้นไม่ค่อยที่จะให้ความสำคัญในการอ่านมากเท่าไหร่ ซึ่งในจุดนี้เอง
"ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" จึงมีโครง
การ "อ่านหนังสือฟรีบนรถโดยสารประจำหมู่บ้าน"
        นายเรืองยศ ปรีดีมองว่ามีคิวรถโดยสารประจำหมู่บ้าน จอดอยู่ที่บริเวณข้างหอสมุดเฉลิมราชกุมารีที่อยู่บนความ
รับผิดชอบของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอยางตลาด จึงเกิดแนวคิดที่จะหาวิธีนำ
เอาหนังสือไป ให้อยู่ใกล้ประชาชน โดยเฉพาะเวลาว่าง ๆ ในการเดินทาง เป็นการพลิกโฉมห้องสมุด
ให้ไปอยู่ใกล้มือประชาชน
          ขณะนี้มีรถร่วมโครงการแล้ว 20 คัน อนาคตจะขยายเป็น 50 คัน
         นางกฤษณา ชาภูคำ บรรณารักษ์ห้องสมุดกล่าวว่า ใหบริการแลกเปลี่ยนหนังสือบนรถ
โดยสารจากการออกติดตามผลชาวบ้านมีความยินดีที่ได้ห้องสมุดให้บริการดนังสืออย่างนี้ หนังสือ
ที่ชาวบ้านอยากให้มีมากที่สุดคือวารสารการเกษตร และหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูนเด็กๆ จะชอบ
และข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ
         นายสวาท นิมาเน พนักงานขับรถ กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดีมาก ผู้โดยสารบางคนพลิกอ่าน
จนลืมลงบ้านตัวเอง ส่วนตนเองก็อ่านเหมือนกับเวลารอรถจะเข้าคิวเป็นช่วงว่างๆ ที่เกิดประโยชน์
หรือเวลาไปจอดที่บ้านลูกหลานก็ชอบอ่าน
         นายณรงค์ชัย ทิพกนก นายอำเภอยางตลาด กล่าวว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2534 อำเภอยางตลาด
จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงอนุญาต ให้จัดห้องสมุดประชาชน ตามโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระองค์
ทรงมีพระชนมายุครบ 36 พรรษา และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด
ห้องประชุม "เฉลิมราชกุมารี" ที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ลงพระนามในสมุดเยี่ยม
ณ ห้องเฉลิมพระเกียรติ บริเวณชั้น 2 ของอาคารห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี การเสด็จพระราชดำเนิน
ในครั้งนั้นยังคงความปลื้มปิติแก่พสกนิกรชาวอำเภอยางตลาดอย่างสุดพรรณา พสกนิกรที่ได้มี
โอกาสเฝ้าฯรับเสด็จในครั้งนั้นยังรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ และประทับใจในพระจริยวัตร
อันงดงามของพระองค์ท่านและยังคงอยู่ในความทรงจำจนทุกวันนี้
       สำหรับแนวทาง ในการพัฒนาห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" นายอำเภอยางตลาด
กล่าวว่าในปีพุทธศึกราช 2548 เป็นปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมี
พระชนมายุครบ 50 พรรษา ชาวอำเภอยางตลาดทั้งปวงจึงได้เกิดความคิดร่วมกันที่จะพัฒนา
ห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี" เพื่อเป็น การถวายแก่พระองค์ท่านโดยจะเปิดศูนย์การเรียนรู้
อย่างแท้จริงมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษา คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน
ในการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชนทั่วไป กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการ
บริหารท้องถิ่นเป็นศูนย์รวมการพัฒนาความรู้ พัฒนาอาชีพ พัฒนาช่างฝีมือ โดยจะให้งบประมาณจาก
ผู้ว่า ซีอีโอฯ ซึ่งการศึกษาไม่จำเป็นจะเกิดขึ้นได้แต่ในห้องเรียนเท่านั้น การศึกษามีหลากหลายรูปแบบ
เชื่อว่าทุกรูปแบบจะทำให้ทุกคนไปสู่จุดที่สำคัญที่สุด คือ อยู่กับสังคมได้อย่างมีความสุข สำหรับ
โครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนแห่งนี้ ศูนย์กลางของการเรียนรู้ชุมชนโดยเป็นพี่เลี้ยงและเชื่อมโยง
กับศูนย์การเรียนรู้ตำบลซึ่งจะจัดตั้งขึ้นทั้ง 15 ตำบล ในอำเภอยางตลาดโดยจะประสานความร่วมมือ
ณ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้ง "ศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนระดับตำบล"ขึ้น
         ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนทุกศูนย์ จะเป็นแหล่งในการใช้บริการการศึกษาแก่ชุมชนในทุกเรื่อง
ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาเพื่อชีวิตและการศึกษาตลอดชีวิตอย่างแท้จริง ในช่วงต้นพี่น้องประชาชน
ชาวอำเภอยางตลาด ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอยางตลาดจะปรับปรุงห้องสมุด
ประชาชน"เฉลิมราชกุมารี" แห่งนี้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ 2 ประการคือ
        1. แหล่งเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา นั่นก็คือ การปรับปรุงห้องสมุดในปัจจุบันให้เป็นห้องสมุดแบบ
Internet เพื่อให้ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น โดยไม่
่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
        2. แหล่งพัฒนาความรู้ชุมชน นั่นก็คือ การปรับบทบาทของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนให้เป็น
ศูนย์ในการพัฒนายกระดับความรู้แก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักการเมืองท้องถิ่น (เทศบาล
อบต.) และนักปกครองท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
รู้จักคิด พิจารณา รู้ผล เป็น Knowledge Worker ในขณะเดียวกันจะเป็นบทบาทของศูนย์ที่จะมุ่ง
พัฒนาอาชีพให้แก่กลุ่มแรงงานเพื่อยกระดับฝีมือให้เป็น Skill lalrowr เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับ
คุณภาพชีวิต
              โครงการนี้ได้รับการตอบรับที่ดี ประชาชนให้ความสนใจ ผลการตอบรับเป็นที่พึงพอ
ใจทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ใช้บริการ เราจะไม่หยุดนิ่ง จะพัฒนาและส่งเสริม การอ่านให้ครบทุก
คันรถ และจะขยายไปยังอำเภอต่างๆ โดยศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอยางตลาด
ยินดีให้คำแนะนำสำหรับผู้สนใจและเป็นที่ภาคภูมิใจที่ นายณรงค์ชัย ทิพกนกได้ให้ความ
สำคัญกับงานห้องสมุด และได้ให้คำแนะนำในการพัฒนางานห้องสมุด เพื่อทีจะก้าวไปสู่
ศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจของท้องถิ่น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1537เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2005 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากครับ ผมยังเชื่อว่าสำหรับประเทศไทยแล้ว หนังสือ (ที่อยู่ในกระดาษ) นี่ล่ะที่จะเข้าถึงคนหมู่มากได้ดีที่สุด

รถทัวร์หรือรถตู้จากหาดใหญ่ไปจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ของเราน่าจะมีโครงการลักษณะนี้บ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท