ปะการัง


ปะการังเทียม

          ปะการังเทียม
ปะการังเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำต่างๆโปรดช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไป

ปะการังเทียม การอนุรักษ์แบบใหม่
ปัจจุบันปะการังในท้องทะเลได้ถูกทำลายไปจำนวนมาก ทั้งจากการกระทำของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามาช่วยพัฒนาและฟื้นฟู โดยศึกษาวิจัยการทำปะการังเทียม เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่
สุเมธ ปุจฉาการ นักวิทยาศาสตร์หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า การทำปะการังเทียมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ในทะเล และทดแทนปะการังตามธรรมชาติที่ถูกทำลายไป หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการวิจัยปะการังเทียม ได้แก่กรมพัฒนาทางทะเลชายฝั่ง โดยร่วมมือกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยบูรพา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ส่วนการวิจัยปะการังเทียม ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพานั้น นายสุเมธ กล่าวว่า เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา สถาบันฯได้มีการจัดโครงการนำร่องทำปะการังเทียมที่จ.ระยอง โดยทดลองที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง บริเวณปากน้ำจ.ระยอง และหาดพลา โดยร่วมกับมูลนิธิสวัสดี ผลจากการดำเนินงานในครั้งนั้นทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นชาวประมงบริเวณนี้ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย แม้ปะการังเทียมจะช่วยสร้างความสมดุลของธรรมชาติ แต่ต้องคำนึงถึงวัสดุที่นำมาใช้ด้วย ซึ่งมีหลายชนิดทั้งยางรถยนต์ คอนกรีต ควรให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่จะทำปะการังเทียมถ้าท้องทะเลมีการตกตะกอนมากต้องใช้คอนกรีต ส่วนพื้นที่ที่มีการตกตะกอนน้อยใช้ยางรถยนต์ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในพื้นที่นั้น ผลที่ได้ได้รับจากทำปะการังเทียมนั้น นักวิทยาศาสตร์หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา เห็นว่า ส่งผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวด้วย นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลทุกชนิดโดยเฉพาะปลา เป็นที่หลบศัตรูภัยแก่สัตว์เล็กๆ ทำให้ไม่โดนสัตว์ขนาดใหญ่กินเป็นอาหาร และเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวประมงพื้นบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทรัพยากรทางทะเลหลายชนิดมีปริมาณลดลง เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลถูกทำลาย และมีการจับมาบริโภคมากแต่ไม่มีการเพาะพันธุ์กลับคืนสู่ธรรมชาติ ทำให้สัตว์เหล่านั้นมีปริมาณลดน้อยลง และอาจสูญพันธุ์ในที่สุด การทำปะการังเทียมจึงน่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ได้เป็นอย่างดีในอนาคต

ทั้งจากการกระทำของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามาช่วยพัฒนาและฟื้นฟู โดยศึกษาวิจัยการทำปะการังเทียม เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่นักวิทยาศาสตร์หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า การทำปะการังเทียมนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ในทะเล และทดแทนปะการังตามธรรมชาติที่ถูกทำลายไป หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการวิจัยปะการังเทียม ได้แก่กรมพัฒนาทางทะเลชายฝั่ง โดยร่วมมือกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆที่เข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยบูรพา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ส่วนการวิจัยปะการังเทียม ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพานั้น นายสุเมธ กล่าวว่า เมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา สถาบันฯได้มีการจัดโครงการนำร่องทำปะการังเทียมที่จ.ระยอง โดยทดลองที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง บริเวณปากน้ำจ.ระยอง และหาดพลา โดยร่วมกับมูลนิธิสวัสดี ผลจากการดำเนินงานในครั้งนั้นทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นชาวประมงบริเวณนี้ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย แม้ปะการังเทียมจะช่วยสร้างความสมดุลของธรรมชาติ แต่ต้องคำนึงถึงวัสดุที่นำมาใช้ด้วย ซึ่งมีหลายชนิดทั้งยางรถยนต์ คอนกรีต ควรให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่จะทำปะการังเทียมถ้าท้องทะเลมีการตกตะกอนมากต้องใช้คอนกรีต ส่วนพื้นที่ที่มีการตกตะกอนน้อยใช้ยางรถยนต์ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในพื้นที่นั้น ผลที่ได้ได้รับจากทำปะการังเทียมนั้น นักวิทยาศาสตร์หน่วยวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา เห็นว่า ส่งผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวด้วย นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลทุกชนิดโดยเฉพาะปลา เป็นที่หลบศัตรูภัยแก่สัตว์เล็กๆ ทำให้ไม่โดนสัตว์ขนาดใหญ่กินเป็นอาหาร และเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวประมงพื้นบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทรัพยากรทางทะเลหลายชนิดมีปริมาณลดลง เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลถูกทำลาย และมีการจับมาบริโภคมากแต่ไม่มีการเพาะพันธุ์กลับคืนสู่ธรรมชาติ ทำให้สัตว์เหล่านั้นมีปริมาณลดน้อยลง และอาจสูญพันธุ์ในที่สุด การทำปะการังเทียมจึงน่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ได้เป็นอย่างดีในอนาคต

อาจารย์นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่าปัจจุบันปะการังได้ถูกทำลายจากสภาวะแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ทำให้เหลือน้อยลง ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตตายไปแล้วสามารถมีชีวิตขึ้นมาใหม่ แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน ส่วนของการอนุรักษ์และการฟื้นฟูนั้นอาจารย์นรินทร์รัตน์เสนอว่าควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวไม่ให้ทิ้งขยะลงสู่ทะเล ปะการังนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลทุกชนิด ถ้าปะการังถูกทำลายจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลทั้งระบบ ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนได้เข้ามาศึกษาวิจัยการทำปะการังเทียมเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ประจำภาควาริชศาสตร์มองว่านอกจากจะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ ยังส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลเพิ่มมากขึ้นด้วย สำหรับการทำปะการังเทียมนั้นอาจารย์ประจำภาควาริชศาสตร์เสนอว่าควรมีการศึกษาวิจัยก่อนว่าพื้นที่บริเวณใดมีความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องดูทิศทางของลมที่พัดและพื้นที่บริเวณนั้นต้องไม่มีแนวปะการัง อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปะการังเทียมนั้นต้องมีความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กรณีที่มีการนำยางรถยนต์มาใช้ทำปะการังเทียมนั้นอาจารย์ภาควาริชสาสตร์มองว่า เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากยางรถยนต์มีสารเคมี ถ้าหากขาดหรือชำรุดจะกลายเป็นขยะ ทำให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม อนาคตการทำปะการังเทียมนอกจากช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติแล้วอาจารย์ภาควาริชศาสตร์มองว่ายังส่งให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องออกไปทำประมงไกลฝั่งก็สามารถทำประมงได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แม้จะสามารถสร้างปะการังเทียมขึ้นมาทดแทนได้ แต่คงไม่เหมือนปะการังที่มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติอย่างแน่นอน ดังนั้นแนวทางสำคัญคือต้องช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังที่มีอยู่ เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านี้ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ก่อนที่จะถูกทำลายไปมากกว่านี้
อาจารย์ประจำภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่าปัจจุบันปะการังได้ถูกทำลายจากสภาวะแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ทำให้เหลือน้อยลง ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตตายไปแล้วสามารถมีชีวิตขึ้นมาใหม่ แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน ส่วนของการอนุรักษ์และการฟื้นฟูนั้นอาจารย์นรินทร์รัตน์เสนอว่าควรสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวไม่ให้ทิ้งขยะลงสู่ทะเล ปะการังนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ เนื่องจากเป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลทุกชนิด ถ้าปะการังถูกทำลายจะส่งผลต่อระบบนิเวศน์ทางทะเลทั้งระบบ ปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนได้เข้ามาศึกษาวิจัยการทำปะการังเทียมเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ประจำภาควาริชศาสตร์มองว่านอกจากจะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติ ยังส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลเพิ่มมากขึ้นด้วย สำหรับการทำปะการังเทียมนั้นอาจารย์ประจำภาควาริชศาสตร์เสนอว่าควรมีการศึกษาวิจัยก่อนว่าพื้นที่บริเวณใดมีความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องดูทิศทางของลมที่พัดและพื้นที่บริเวณนั้นต้องไม่มีแนวปะการัง อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำปะการังเทียมนั้นต้องมีความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กรณีที่มีการนำยางรถยนต์มาใช้ทำปะการังเทียมนั้นอาจารย์ภาควาริชสาสตร์มองว่า เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากยางรถยนต์มีสารเคมี ถ้าหากขาดหรือชำรุดจะกลายเป็นขยะ ทำให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม อนาคตการทำปะการังเทียมนอกจากช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางธรรมชาติแล้วอาจารย์ภาควาริชศาสตร์มองว่ายังส่งให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยไม่ต้องออกไปทำประมงไกลฝั่งก็สามารถทำประมงได้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในภาวะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แม้จะสามารถสร้างปะการังเทียมขึ้นมาทดแทนได้ แต่คงไม่เหมือนปะการังที่มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติอย่างแน่นอน ดังนั้นแนวทางสำคัญคือต้องช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังที่มีอยู่ เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านี้ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ ก่อนที่จะถูกทำลายไปมากกว่านี้
www.presscouncil.or.th/~group7/index.php?option=com_content&task=view&id=119&Itemid=53

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15333เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2006 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วตาลายค่ะ  แต่จับใจความได้ว่า  ปะการัง  ควรรักษา  และจัดทำใหม่  เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำและสวยงามเพื่อการท่องเที่ยว

ครูอ้อยเคยดำน้ำดูปะการังด้วยค่ะ  สวยมากจริงๆ  มหัศจรรย์ของธรรมชาติ  จนอยากเป็นปลาการ์ตูนไปเลยค่ะ  ขอบคุณมากนะคะที่นำความรู้มาให้อ่านจนตาลายค่ะในเช้านี้  สวัสดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท