การเลี้ยงปลาในกระชัง


ทะเลสาบสงขลาเริ่มมีการเลี้ยงปลาในกระชังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 กระชังประกอบด้วยเนื้ออวนไนล่อน ซึ่งได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นกระชังอวนเพื่อให้คงทนและเหมาะสมกับชนิดของปลาที่เลี้ยงยิ่งขึ้น จึงมีจำนวนผู้เลี้ยงปลาในกระชังเพิ่มมากขึ้นทุกปี ชนิดของปลาที่เลี้ยงในระยะแรก ได้แก่ ปลากะพงขาว และปลากะรัง สำหรับปลากะพงขาว ในระยะเริ่มแรกที่มีการเลี้ยง ผู้เลี้ยงอาศัยพันธุ์ปลาที่รวบรวมได้จาก แหล่งธรรมชาติซึ่งพบชุกชุมบริเวณ ป่าแสม โกงกาง และบริเวณปากทะเลสาบ

     ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่มีทรัพยากรมากมายหลากหลายชนิด ทั้งนี้ เพราะทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ การทำการประมงเป็นไปในลักษณะยังชีพ เมื่อประชากรรอบ ๆ ทะเลสาบเพิ่มมากขึ้น ปริมาณการทำการประมง ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ รูปแบบการทำการประมง ได้เปลี่ยนเป็นการประมงเพื่อการค้ามากขึ้น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นของประชากร ผลจากการทำการประมงมากเกินควร ทำให้ผลผลิตจากธรรมชาติในทะเลสาบลดน้อยถอยลงโดยลำดับ ส่วนที่เหลือก็อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ไม่สามารถที่จะทำการประมงในทะเลสาบสงขลาได้อย่างเพียงพอ
การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะชดเชยหรือทดแทนในส่วนของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคและมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตทั้งในด้านชนิดและปริมาณเนื่องจากทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำที่มีความเหมาะสมในการเลี้ยงปลาในกระชังโดยมีแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย ที่สามารถใช้เลี้ยงปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ทะเลสาบสงขลาเริ่มมีการเลี้ยงปลาในกระชังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 กระชังประกอบด้วยเนื้ออวนไนล่อน ซึ่งได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเป็นกระชังอวนเพื่อให้คงทนและเหมาะสมกับชนิดของปลาที่เลี้ยงยิ่งขึ้น จึงมีจำนวนผู้เลี้ยงปลาในกระชังเพิ่มมากขึ้นทุกปี ชนิดของปลาที่เลี้ยงในระยะแรก ได้แก่ ปลากะพงขาว และปลากะรัง สำหรับปลากะพงขาว ในระยะเริ่มแรกที่มีการเลี้ยง ผู้เลี้ยงอาศัยพันธุ์ปลาที่รวบรวมได้จาก แหล่งธรรมชาติซึ่งพบชุกชุมบริเวณ ป่าแสม โกงกาง และบริเวณปากทะเลสาบลูกปลาที่รวบรวมได้มีขนาดประมาณ 10 - 15 ซม. ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 สถานีประมงน้ำกร่อย จ.สงขลา จากกรมประมง (หรือสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จ.สงขลา ในปัจจุบัน) ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธุ์ปลากะพงขาวเป็นครั้งแรกโดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่จับได้จากธรรมชาติได้ทำการสาธิตการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังอวน ทำให้อาชีพการเลี้ยงปลาในกระชังเริ่มเป็นรูปเป็นร่างที่ชัดเจน และในปีพ.ศ. 2518 กรมประมงประสบความสำเร็จในการนำพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ให้ผสมพันธุ์กันเองและวางไข่ในบ่อที่เตรียมไว้ จากผลสำเร็จดังกล่าว ทำให้สามารถผลิตลูกปลากะพงขาวได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถแจกจ่ายให้กับผู้เลี้ยงได้เพียงพอ ในส่วนของการเลี้ยงปลากะรังหรือปลาเก๋า มีการรวบรวมพันธุ์โดยการใช้กิ่งไม้จำพวกกิ่งไม้สน ย่านลิเพา ใบปรง มาผูกรวมกันเป็นมัดเรียกว่า "พุ่ม" แล้วนำไปวางไว้ในแหล่งน้ำ ตามจุดต่าง ๆ โดยผูกติดกับหลักไม้ ลูกปลาขนาดเล็กความยาวประมาณ 2 - 3 ซม. จะมาเกาะอาศัยอยู่ในพุ่มดังกล่าว การจับสามารถใช้สวิงตักพร้อมยกพุ่มสลัดเบา ๆ ก็จะได้พันธุ์ปลากะรังเพื่อนำมาปล่อยในกระชังหรือนำไปจำหน่ายต่อราคาที่ซื้อขายกันขนาด 2 - 3 ซม. ประมาณตัวละ 1 - 2 บาท
     จากการสำรวจปี 2542 พบว่าบริเวณที่มีการเลี้ยงปลาในกระชังอย่างหนาแน่น ได้แก่ บริเวณรอบ ๆ เกาะยอ (ยกเว้นด้านทิศตะวันออก) และบริเวณบ้านหัวเขา อ.สิงหนคร ซึ่งนิยมเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นส่วนมาก สำหรับบริเวณคลองปากรอ คลองหลวง และคลองชะแล้ เป็นบริเวณที่มีการเลี้ยงหนาแน่นเช่นกัน ปลาที่เลี้ยงจะมีปลากะพงขาวและปลานิลแดง ส่วนบริเวณใกล้เคียง เช่น หาดแก้ว จะพบว่ามีการเลี้ยงปลากะพงขาวและปลาเก๋าเท่านั้น เมื่อจำแนกตามแหล่งเลี้ยงพบว่าการเลี้ยงปลาในกระชังเฉพาะในทะเลสาบสงขลามีจำนวนกระชังที่เลี้ยงปลาทั้งสิ้นประมาณ 4,400 กระชัง
การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง
    ปลากะพงขาว Lates calcarifer   เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตไวสามารถเลี้ยงได้ทั้งน้ำเค็ม น้ำกร่อยและน้ำจืด พันธุ์ปลาสามารถหาได้จากโรงเพาะฟักทั้งของภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐบาลขนาดของปลาที่ปล่อยมีขนาดตั้งแต่ 5 - 8 นิ้ว โดยทั่วไปกระชังที่ใช้เลี้ยงปลากะพงขาวมีขนาด 5 x 5 x 2.5 ม.
หรือ 4 x 6 x 2.5 ม. เป็นกระชังอวนขนาดของตาอวนประมาณ 2.0 - 4.5 ซม. เนื้ออวนเบอร์ 15 อัตราการปล่อยประมาณ 300 - 450 ต่อกระชัง (ขึ้นอยู่กับระดับความลึกที่ปักกระชังด้วย) อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็นพวกปลาเบ็ดเตล็ดส่วนใหญ่เป็นปลาข้างเหลือง และปลาหลังเขียวโดยสับเป็นชิ้น ๆ พอเหมาะกับปลาขนาดที่เลี้ยง โดยให้กินทีละน้อย ๆ อย่างทั่วถึงจนสังเกตได้ว่าปลากินอิ่มจึงหยุดให้อาหาร ปลาขนาดเล็กให้กินอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ส่วนปลาใหญ่ให้อาหารวันละ หรือ วันเว้นวัน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 18 - 24 เดือน จะได้ปลาขนาด 2.5 - 3 กก. สามารถจับจำหน่ายได้ กก.ละประมาณ 95 - 100 บาทโดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่
การเลี้ยงปลากะรังในกระชัง
     ปลากระรัง Epinephelus malabaricus    หรือที่เรียกกันทั่วไปตามภาษาชาวบ้านว่า "ปลาเก๋า" เป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย และมีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม คือ ตกใจแล้วจะอยู่ในสภาวะเครียด หยุดกินอาหาร ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องเลือกสถานที่เหมาะสมที่จะตั้งกระชังสำหรับปลากะรังต้องมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อปัจจัยการเจริญเติบโตและการดำเนินการเลี้ยง

     กระชังที่ใช้เลี้ยงเป็นแบบแขวน หรือแบบลอยน้ำ เพื่อจะได้เคลื่อนที่ขึ้นลงตามระดับของน้ำทะเลเนื้ออวนใช้อวนประเภทไนล่อนหรือโพลีเอทธิลีน ขนาดเบอร์ 12 อาจจะเป็นอวนแบบมีปมหรือไม่มีปมก็ได้อวนทั้งสองแบบมีข้อดีแตกต่างกัน คือ อวนที่มีปมจะทนทานและซ่อมแซมง่ายส่วนอวนไม่มีปมตัดเย็บและสร้างกระชังได้ง่ายขนาดตาอวน 2 - 3 เซนติเมตร กระชังที่นิยมใช้มีขนาด 3x3x2.5 ลบ.ม. และ 5x5x3 ลบ.ม. กระชังที่ใช้เลี้ยงปลากระรังไม่จำเป็นต้องใช้กระชังที่กว้างใหญ่มากเกินไปเพราะนิสัยของปลาพวกนี้ชอบนอนและรวมกันเป็นกลุ่มไม่ชอบว่ายไปมาเหมือนปลาชนิดอื่น

     พันธุ์ปลาที่ปล่อยอาจจะสั่งจากสถานีเพาะเลี้ยงของกรมประมง หรือจากฟาร์เอกชนก็ได้ ขนาดลูกปลาถ้าเป็นขนาดเล็ก 1 - 2 เซนติเมตร ก็ควรนำมาอนุบาลในกระชังก่อนโดยทั่วไปใช้ขนาดกระชัง 1x2x1 ซม. เมื่อปลาโตขนาด 3 -4 นิ้วก็นำไปปล่อยเลี้ยงในกระชังใหญ่ที่เตรียมไว้และควรคัดขนาดให้มีความยาวใกล้เคียงกัน

     อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาใหญ่ ได้แก่ ปลาเป็ด หรือปลาหลังเขียวโดยสับเป็นชิ้น เล็ก ๆ ให้ขนาดพอดีกับปลา อาหารที่ให้จะต้องสด อาหารที่สดจะมีคุณภาพดีช่วยให้อัตราการแลกเปลี่ยนเป็นเนื้อสูง ระยะเวลาในการเลี้ยง 8 - 12 เดือน จะได้ปลาขนาดน้ำหนักตัวประมาณ 7 ขีด - 1.2 กก. ซึ่งเป็นปลาที่ตลาดกำลังต้องการ
การเลี้ยงปลานิลในกระชัง
     การเลี้ยงปลานิลในกระชังสิ่งสำคัญคือ การเลือกสถานที่ซึ่งจะต้องมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนา (Intensive) เน้นการจัดการเลี้ยงโดยใช้อาหารเป็นหลัก คุณภาพน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณภาพน้ำจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก การถ่ายเทน้ำหรือการไหลเวียนของน้ำจะต้องดี
กระชังที่ใช้เลี้ยงปลานิล มีรูปทรงแบบใดก็ได้ แต่ที่นิยมใช้โดยทั่ว ๆ ไปคือกระชังสี่เหลี่ยมเนื่องจากมีพื้นที่ผิวน้ำให้กระแสน้ำไหลผ่านมากกว่ากระชังรูปแบบอื่น ๆ มีขนาด 2x2x2.5 เมตร หรือ 4x2x2.5 เมตร การติดตั้งกระชังควรมีส่วนโผล่พ้นน้ำประมาณ 20 - 25 ซม. ขนาดตาอวนที่ใช้ทำกระชังจะต้องเหมาะสมกับขนาดปลาที่เลี้ยงเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีรอดไปได้ ขนาดตาอวนที่ใช้ไม่ควรเล็กกว่า 1.5 x 1.5 ซม. และกระชังควรมีฝาปิดซึ่งอาจทำจากเนื้ออวนชนิดเดียวกันที่ใช้ทำกระชังหรือวัสดุที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อป้องกันปลาที่เลี้ยงกระโดดออกนอกกระชังรวมทั้งป้องกันไม่ให้นกมากินปลาที่เลี้ยง

    อัตราการปล่อยขึ้นอยู่กับการจัดการและการวางแผนงานของผู้เลี้ยง เช่น จะเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ก็ต้องปล่อยปลาลงเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นต่ำ ๆ หรือจะยืดเวลาเลี้ยงให้นานขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากตลาดต้องการปลาขนาดเล็กผู้เลี้ยงสามารถปล่อยปลาในอัตราความหนาแน่นสูงหรือร่นระยะเวลาเลี้ยงให้สั้นลง โดยทั่วไปกระชังขนาด 2x2x2.5 เมตร จะปล่อยปลาอัตราความหนาแน่น 60 ตัว/ลบ.ม. หรือเท่ากับ 500 ตัว/กระชัง ลูกปลาขนาด 60 กรัม ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 60 วัน ก็จะได้ขนาดตลาด (ตัวละ 3 ขีด) ราคาประมาณกิโลกรัมละ 40 บาท
    การให้อาหาร อาหารที่ใช้เป็นอาหารเม็ดสำหรับปลากินพืชที่มีระดับโปรตีนร้อยละ 25 - 30 ปลานิลเป็นปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหารจริง จึงสามารถกินอาหารได้ทีละน้อยและมีการย่อยอาหาร ค่อนข้างช้า การให้อาหารครั้งละมาก ๆ จะทำให้สูญเสียอาหารและก่อให้เกิดสภาวะน้ำเสียได้ เพื่อให้ได้ประโยชน์จากอาหารเม็ดสูงสุดจึงควรให้อาหารแต่น้อยแต่ให้บ่อย ๆ โดยความถี่ที่เหมาะสมคือ ปริมาณ 4 - 5 ครั้งต่อวัน หรือย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงเช้า และบ่าย สำหรับพันธุ์ปลานิล สามารถติดต่อซื้อพันธุ์ปลาได้ที่หน่วยงานกรมประมง หรือจากทางฟาร์มของเอกชนที่มีการส่งเสริมให้เลี้ยงแบบครบวงจร คือ ตั้งแต่หาพันธุ์ปลาให้ตลอดจนรับซื้อแบบครบวงจร
     การเลี้ยงปลาในกระชังในปัจจุบัน มีการพัฒนาด้านการจัดการและรูปแบบการเลี้ยงให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันควบคู่กันไป กล่าวคือ ทะเลสาบสงขลา ณ วันนี้เริ่มเข้าสู่วิกฤติ คุณภาพน้ำเริ่มเสื่อมโทรมเนื่องจากได้รับผลกระทบทั้งจากธรรมชาติเองและจากกิจกรรมที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น การชะล้างหน้าดินลงสู่ทะเลสาบทำให้ตื้นเขิน การบลูมของแพลงก์ตอน หรือ น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเลี้ยงปลาในกระชังทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นส่วนของภาคเอกชนหรือหน่วยงานจากทางราชการต้องช่วยกันศึกษาถึงปัญหาและความเป็นไปได้ในการที่จะฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาให้มีความเสื่อมโทรมน้อยลงหรือให้มีความสมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งรวมทั้งการเข้าไปส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเพื่อที่จะพัฒนาด้านผลผลิตให้มีคุณภาพ อันนำไปสู่การเลี้ยง


http://www.sklonline.com/fish.html

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15323เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2006 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท