KM วันละคำ : 6. ไม่มีถูก ไม่มีผิด


KM วันละคำ : 6. ไม่มีถูก ไม่มีผิด

• นี่คือวาทกรรมเพื่อความเป็นอิสระ    เพื่อให้กล้าพูด กล้านำเสนอความเห็นที่ต่าง กล้าลอง
• ไม่มีถูก ไม่มีผิด ในระดับของการระดมความคิด    ในระหว่าง ลปรร.    แต่มี “ตัวเลือก” ที่จะนำไปร่วมกันทดลองปฏิบัติ
• ยังไม่มีใครรู้ ว่าตัวเลือกนั้นเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดหรือไม่    ผลของการทดลองปฏิบัติจะบอก
• ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วเห็นว่าเป็นตัวเลือกที่ผิด ก็ต้องรีบเปลี่ยนใจ   
• ตัวเลือกที่ดี จะนำไปสู่ตัวเลือกใหม่ กิจกรรมใหม่ ที่จะช่วยให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายยิ่งใหญ่ขึ้น
• จะเห็นว่าตัวเลือกที่ถูกของเมื่อปีที่แล้ว  อาจเป็นตัวเลือกที่ผิดของปีนี้    เพราะบริบทเปลี่ยนไปแล้ว
• ถูก – ผิด ไม่ใช่เรื่องตายตัว    ขึ้นอยู่กับบริบทที่หลากหลายมาก  
• ใน KM ถูก – ผิด ไม่ได้ตัดสินกันด้วยทฤษฎี    แต่ตัดสินกันด้วยผลการปฏิบัติ 
• “ไม่มีถูก ไม่มีผิด” ช่วยให้ได้ความรู้ ความคิด ที่แตกต่างหลากหลาย    เป็นเครื่องมือสร้าง diversity / heterogeneity    ช่วยให้มีตัวเลือกมากขึ้น
• หลังจากใช้ทักษะสร้างความแตกต่างหลากหลาย    ก็ต้องใช้ทักษะตรงกันข้าม คือพุ่งเป้าเลือกเพียง ๑ (หรือจำนวนน้อย) เอาไปทดลองปฏิบัติ
• เป็น “ไม่มีถูก – ผิด ตายตัว” เพื่อการสร้างสรรค์รวมหมู่     มุ่งสู่วิสัยทัศน์ร่วม เป้าหมายร่วม ขององค์กร

วิจารณ์ พานิช
๔ กพ. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือ#km
หมายเลขบันทึก: 15284เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2006 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถูก  หรือ  ผิด ?     .....   ประสบการณ์ที่มันทำให้ผมรู้สึกหดหู่มากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต

ผมทำข้อสอบภาษาเยอรมัน  และผมพลาดข้อสอบในช่วง  ตอบว่า ถูก  หรือ ผิด    ถ้าหากผมทำข้อสอบอันนี้ได้ดี  ผมก็จะผ่านการทดสอบครั้งนั้น  ซึ่งเป็นการสอบวัดภาษาก่อนเข้าเรียนในโปรแกรมของมหาวิทยาลัย    การสอบไม่ผ่านครั้งนั้น  ทำให้ผมต้องปรับวิธีการใหม่  เพื่อเตรียมเอาไว้สอบอีกครั้ง (แก้ตัว) และเป็นการสอบครั้งสุดท้าย   หากสอบไม่ผ่านอีก  ก็มหาวิทยาลัยก็จะไม่รับเข้าเรียน   มันเครียดจริงๆครับในระหว่างนั้น   จนผมต้องลุกขึ้นมาเขียนบันทึกใน diary ส่วนตัวไว้เรื่องหนึ่งที่พูดถึง  ถูก  หรือ  ผิด   เชิงตัดพ้อทำนองว่าวิธีการมันไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไรในตอนนั้น  

การสอบ เพื่อ ตัดสิน 

สอบเพื่อ หาคนเก่ง

สอบเพื่อหา ถูก ผิด

สร้าง เรื่องวุ่นวายใจได้เสมอ

การสอบหา จุดอ่อนตนเอง  สอบเพื่อให้รู้ว่า "นี่ ใช่เรา" หรือไม่

สมัยผมสอนและเรียนเมืองนอก    นักศึกษา นักเรียนไม่ลอกกัน  เพราะ การสอบ สะท้อนว่า  "ใช่ ตัวตนของเขา" 

แต่ ของไทย  เราเอาเดิมพันชีวิตการทำงาน หน้าที่ ตำแหน่ง มาปลุกปั้น จน ทำการตลาด  (โดยครู  ผู้ปกครอง สื่อ ฯลฯ) กัน   จน  การสอบ เป็น  รูเล็กๆ  ที่ ทุกคนแย่งกันหมุด

ยอมทำลาย ความคิดดีๆ ยอมโกง ยอมยัดเงินให้ ผู้บริหารโรงเรียนเสียนิสัยไปหมดแล้ว

เราตอบโจทย์ไม่ได้ เกิดมาทำไม  ----> จึงตอบไม่ได้ว่า สอบไปทำไม  ประเมินไปทำไม

 

การสอบหา จุดอ่อนตนเอง  สอบเพื่อให้รู้ว่า "นี่ ใช่เรา หรือไม่  ตอบโจทย์ การมาเกิดของเราได้หรือไม่ " =  การสอบทางโลกที่แท้จริง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท