ความหมายของคำว่า วิจัย


วิจัย

การวิจัยคืออะไรการวิจัยคืออะไรความจริงคืออะไรข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับความจริงประเภทของความรู้ความจริงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์แตกต่างกันอย่างไรระดับของความรู้ความจริงพัฒนาการของวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ 

การวิจัยคืออะไร

                มีผู้ให้ความหมายของการวิจัยหลายท่าน เช่นWhitney กล่าวว่า การวิจัย คือ การเสาะแสวงหาความจริงที่เชื่อถือได้ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์Travers กล่าวว่า การวิจัย คือ กิจกรรมที่จะทำให้วิทยาศาสตร์เจริญ หรือทำให้มีการพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์สรุป ความหมายทั่วไปที่ยอมรับ คือ เป็นการเสาะแสวงหรือค้นหาความจริง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

ความจริงคืออะไร

ความจริงในความหมายเชิงวิจัยนั้น คือ ความรู้ที่เชื่อถือได้ (Reliable Knowledge) ซึ่งความรู้ที่เชื่อถือได้ นั้น ต้องเป็นความรู้ที่ได้จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับความจริง         ความจริงตามความหมายที่กล่าวมามีข้อจำกัดดังนี้
1. ปรากฏการณ์ธรรมชาติอาจจะเป็นความจริงในปัจจุบัน และจะเป็นความจริงในอนาคต ตามกฏธรรมชาติที่ว่า เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบัน ในอนาคตจะเกิดซ้ำอีก โดยยึดหลัก 3 อย่าง 1.1 หลักเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาติแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ โดยพิจารณาจากโครงสร้างที่แตกต่างกัน หน้าที่ที่แตกต่างกัน ลักษณะที่แตกต่างกัน1.2 หลักเกี่ยวกับความคงที่ หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาติจะรักษาคุณสมบัติสำคัญๆ ไว้ชั่วระยะหนึ่ง หรือมีคุณสมบัติคงที่อยู่ชั่วระยะหนึ่ง1.3 หลักเกี่ยวกับเหตุและผล หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น สามารถจะค้นหาสาเหตุ และผลได้ และเหตุจะเป็นสิ่งที่ใช้ทำนายผลได้2. ความจริงที่ยอมรับจะเป็นไปตามขบวนการทางจิตวิทยา คือ สามารถสัมผัสได้ จำได้ และเป็นเหตุเป็นผล  

ประเภทของความรู้ความจริง

ความรู้ความจริงแบ่งกว้างๆ ได้ 2 ประเภท1. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทางเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์2. สังคมศาสตร์ (Social Science) เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติ ศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร1. การควบคุม (Control) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติควบคุมได้ง่าย ส่วนสังคมศาสตร์ควบคุมยากดังนั้นการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์ยากกว่าการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เนื่องจากสังคมศาสตร์ควบคุมสิ่งที่ไม่ต้องการได้ยากกว่า2. ตัวแปร (Variables) ทางสังคมศาสตร์มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องมาก และควบคุมได้ยาก ส่วนทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมีตัวแปรน้อย และควบคุมได้3. การสังเกต (Observation) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติสังเกตได้ชัดเจน เช่น ความหนา ความกว้าง สี ฯลฯ สังเกตได้ชัดเจนและคงที่แน่นอน สังคมศาสตร์สังเกตได้ไม่ชัดเจน เพราะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซับซ้อนมาก 4. การวัด (Measurement) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติวัดได้แน่นอนและสามารถเปรียบ เทียบได้ มีมาตราวัด ในขณะที่สังคมศาสตร์วัดแล้วเปรียบเทียบได้ยาก เช่น ความชอบของคน สองคนอาจไม่เท่ากัน5. ความจริง (Fact) ความจริงในทางสังคมศาสตร์ไม่ค่อยคงที่เปลี่ยนแปรไปเรื่อยๆ ตามกฏที่กล่าวว่าความจริงหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติจะคงที่ชั่วระยะหนึ่ง เช่น ความสนใจ ถ้านำเด็ก 2 คน เพศเดียวกัน สติปัญญาเท่ากัน ให้ดูรูปภาพอย่างเดียวกัน จะพบว่าเด็กจะมอง รูปภาพนั้นไปคนละทางซึ่งแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากความสนใจไม่เท่ากัน หรือการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น หัดถีบจักรยานจนถีบได้ เรียกว่า เราได้เรียนรู้ในการขับขี่รถจักรยาน ส่วนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ พิจารณาในด้านคุณลักษณะ หน้าที่ และโครงสร้าง เช่น พูดถึงสุนัข บอกได้ทันทีว่าหน้าที่ของสุนัขนั้นทำอะไรได้บ้าง รูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร เพราะโครงสร้าง หน้าที่ และลักษณะรวมกลุ่มกัน6. การเกิดซ้ำ ปรากฏการณ์ หรือ เหตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเกิดขึ้นซ้ำๆกัน เช่น นำหินกับเหล็กมาตีกันก็จะเกิดไฟขึ้น พรุ่งนี้ทำอีกก็มีเหตุการณ์เช่นเดียวกันเกิดขึ้น ในขณะที่เหตุการณ์ทางสังคมศาสตร์เกิดขึ้นซ้ำได้ยาก เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่กรณีพฤษภาทมิฬ เหตุการณ์เครื่องบินตกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อปลายปี 2541 อยากศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาทำซ้ำอีกได้7. การทำนาย (Predictation) วิทยาศาสตร์ธรรมชาติทำนายได้แม่นยำกว่าสังคมศาสตร์

ระดับของความรู้ความจริง

ความรู้ความจริงแบ่งได้ 3 ระดับ คือ1. ระดับที่ได้จากการรับรู้ของประสาทสัมผัสโดยตรงทันทีทันใด เรียกว่า ความรู้ความจริงดิบ (Raw Fact)  2. ระดับที่ได้จากการแปลหรือตีความหมายในระดับแรก เพื่อให้ได้ความจริงเพิ่มขึ้นจากเดิมความรู้ความจริงในระดับนี้จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้แปล หรือ การตีความเป็นสำคัญ3. ระดับที่เป็นเหตุเป็นผล และความคิดรวบยอด (High Level of Reasoning Process and Conceptual in Nature) เป็นความรู้ความจริงที่ผ่านการค้นคว้า วิจัย โดยอาศัยสมมติฐานที่เชื่อถือได้มีการจัดระบบของความรู้นั้นอย่างดี ความรู้ความจริงในระดับนี้เป็นที่พึงปรารถนาในการวิจัย

พัฒนาการของวิธีการเสาะแสวงหาความรู้

1. ยุคโบราณ มนุษย์ได้ความรู้ความจริงโดยวิธีการต่างๆ เช่น  - โดยบังเอิญ (By Chance) เช่น การพบไฟฟ้า ฯลฯ  - โดยธรรมเนียมประเพณี (By Tradition) เช่น การแสดงความเคารพ ฯลฯ  - โดยผู้เชี่ยวชาญ (By Expert) คือมีคนรู้ในเรื่องนั้น และมีผู้ทำตาม  - โดยผู้รอบรู้ (By Authority) ในเรื่องนั้น และผู้อื่นได้รู้ตาม  - โดยประสบกาณ์ส่วนตัว (By Personal Experience)                 -  โดยลองผิดลองถูก (By Trial and Error) ลองเสี่ยงทำ ถ้าถูกก็เก็บจดจำไว้เป็น ความรู้ ถ้าผิดก็เป็นความรู้ว่าผิด2. ยุคอริสโตเติล (Aristotle) หลักของเหตุและผลของอริสโตเติล เรียกว่า (Syllogitic Reasoning) หรือวิธีอนุมาน (Deductive Reasoning) มี 3 ขั้นคือขั้นที่ 1 เหตุใหญ่ (Major Premise) เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้นขั้นที่ 2 เหตุย่อย (Minor Premise) เป็นเหตุเฉพาะกรณีใดๆขั้นที่ 3 สรุป (Conclusion) พิจารณาสรุปจากความสัมพันธ์ของเหตุใหญ่และเหตุย่อยตัวอย่างเหตุใหญ่ : ถ้าโรงเรียนถูกไฟใหม้ เด็กอยู่ในอันตรายเหตุย่อย : โรงเรียนถูกไฟใหม้สรุป : เด็กอยู่ในอันตราย3. ยุคฟรานซิสเบคอน (Francis Becon) กล่าวว่าการจะค้นคว้าหาความจริงนั้น ควรใช้ วิธีการสังเกตโดยตรง เมื่อได้หลักฐานจากการ สังเกตแล้ว จึงสรุปเป็นกฏเกณฑ์หรือทฤษฎี วิธีการนี้เรียกว่า การอุปมาน (Inductive Method) ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือขั้นที่ 1 มีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data)ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูล (Generalization)ขั้นที่ 3 สรุป (Conclusion)4. ยุคชาร์ล ดาวิน (Charles Dawin)ได้พัฒนาระเบียบวิธีการหาความจริงโดยนำวิธีการอนุมาน และอุปมานมารวมกัน เรียกว่า วิธีอนุมานและอุปมาน (Deductive and Inductive Method) ซึ่งเป็นรากฐานของระเบียบ วิธีวิทยาศาสตร์5. ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) เป็นวิธีการที่ใช้ค้นหาความจริงในปัจจุบันระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
             ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาและขอบเขตของปัญหา (Problem) ในขั้นแรกต้องมีปัญหา แล้วกำหนด ขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน เช่น อาหารกระป๋องที่กรมประชาสงเคราะห์นำไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยมักเน่าเสียใช้บริโภคไม่ได้ปัญหา : อาหารกระป๋องเน่าเสียใช้บริโภคไม่ได้กำหนดขอบเขตของปัญหา ว่าอาหารกระป๋องเน่าเสียพราะอะไร เช่น  - ซื้อเก็บไว้นานเกินไป  - งบประมาณมีน้อยต้องซื้อของราคาถูก  - จัดเก็บไม่ดี  - ข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นขั้นที่ 2 ตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) คือ การสันนิษฐาน หรือ คาดคะเน ทำนาย ล่วงหน้าว่าข้อค้นพบคืออะไร หรือคาดหมายคำตอบของปัญหานั้นๆ ล่วงหน้าว่าคืออะไรจากตัวอย่างปัญหาข้างต้น ตั้งสมมติฐานได้ดังนี้สมมติฐานที่ 1 อาหารกระป๋องเน่าเสียเพราะซื้อเก็บไว้นานเกินไปสมมติฐานที่ 2 อาหารกระป๋องเน่าเสียเพราะงบประมาณมีน้อยต้องซื้อของราคาถูกสมมติฐานที่ 3 อาหารกระป๋องเน่าเสียเพราะจัดเก็บไม่ดีสมมติฐานที่ 4 อาหารกระป่องเน่าเสียเพราะข้าราชการทุจริตคอร์รัปชั่นจัดซื้อของไม่มีคุณภาพขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (Collecting of Data and Analysis of Data) เช่น ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารกระป๋องและระยะเวลาที่เก็บ ศึกษาความเพียงพอของงบประมาณ ตรวจสอบวิธีขนส่ง วิธีจัดเก็บ ตรวจสอบงบประมาณราคาสินค้าในตลาด เปรียบเทียบคุณภาพสินค้ากับ ราคาขายและราคาจัดซื้อขั้นที่ 4 ตีความข้อมูล (Interpret of Data) และตรวจสอบผล (Verification) โดยนำผลจากขั้นที่ 3 มาตีความว่าเป็นคำตอบของข้อใด เช่น ตีความว่าอาหารกระป๋องเน่าเสีย เนื่องจากข้าราชการทุจริตจัดซื้อของไม่มีคุณภาพขั้นที่ 5 สรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลที่ได้จากขั้นที่ 4 เมื่อตรวจสอบคำตอบแล้ว พบว่าไม่ได้มีการเก็บอาหารกระป๋องไว้นานเกินไป งบประมาณมีเพียงพอเหลือเฟือ การจัดเก็บไม่ได้บกพร่อง สะเพร่า ราคาตลาดต่ำกว่าราคาที่จัดซื้อ สินค้าใกล้หมดอายุเมื่อจัดซื้อ จึงสรุปได้ว่า ข้าราชการทุจริต จัดซื้อของไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์จึงเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ความจริงที่เชื่อถือได้ เพราะสามารถตรวจสอบได้ว่า แต่ละขั้นตอนมีที่มาอย่างไร มีจริงหรือไม่ จากพัฒนาการของการแสวงหาความรู้ความจริงข้างต้น จะเห็นได้ว่าการวิจัยก็คือการแสวงหา ความรู้ความจริงตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นั่นเองข้อควรระวังในการเลือกปัญหาสำหรับการวิจัยได้กล่าวแล้วว่า การเลือกปัญหาในการวิจัยนับเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากเลือกโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำวิจัยจนถึงกับต้องล้มเลิกไปก็ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดดังกล่าว จึงขอเสนอข้อควรระวังในการเลือกปัญหาสำหรับวิจัยไว้ดังนี้ 1. อย่ารวบรวมข้อมูลก่อนที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจนเสียก่อน เพราะข้อมูลที่รวบรวมไว้อาจไม่ครอบคลุมปัญหานั้นอย่างสมบูรณ์ก็ได้ 2. อย่ากำหนดปัญหาสำหรับวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดยพยายามตั้งปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะข้อมูลที่มีอยู่แล้วอาจไม่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนที่จะใช้ทำวิจัยในปัญหานั้น ๆ ก็ได้ 3. หัวข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน ชื่อเรื่องวิจัยในลักษณะนี้จะทำให้การกำหนดแหล่งของข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคลาดเคลื่อน เป็นเหตุให้การสรุปผลผิดพลาดได้ 4. ตั้งปัญหาสำหรับวิจัยโดยไม่อ่านผลงานวิจัยของคนอื่นที่คล้าย ๆ กัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ไม่กว้างขวางลึกซึ้งในปัญหานั้น และอาจเกิดความยุ่งยากในการแปลความหมายข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 5. ผู้วิจัยทำการวิจัยโดยไม่มีความรู้ในสาขาวิชานั้น หรือไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีของเรื่องที่ทำวิจัยย่อมจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น การวางแผนการวิจัย การตั้งสมมติฐาน    ฯลฯ เป็นต้น 6. มีข้อตกลงเบื้องต้นของปัญหาการวิจัยไม่ชัดเจนและไม่น่าเชื่อถือ ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด อาจเป็นเหตุให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้ 7. การวิจัยที่มีหัวข้อปัญหากว้างมากเกินไป ไม่จำกัดขอบเขตจะเป็นเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่จบสิ้น เพราะไม่ทราบว่ามีขอบเขตแค่ไหน ปัญหาการวิจัย (Research Problem)

ความหมาย

ปัญหาการวิจัย (Research Problem) หมายถึง สิ่งที่ก่อให้เกิดความสงสัย ใคร่รู้คำตอบ
ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย จึงหมายถึง การระบุประเด็นที่นักวิจัยสงสัย และประสงค์ที่จะหาคำตอบ ซึ่งก็คือ ปัญหาการวิจัย นั่นเอง ฉะนั้น นักวิจัยจึงจำเป็นต้องระบุปัญหาการวิจัยให้เป็นกิจจะลักษณะ และชัดแจ้งทุกครั้งที่ดำเนินการวิจัย
                 ในการกำหนดปัญหาการวิจัย จะต้องแยกแยะให้ได้ว่า
                - อะไร คือ ตัวปัญหา
                - อะไร คือ อาการที่แสดงออกมา
                 ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง ผลิตสินค้ามีคุณภาพ เครื่องหมายการค้าได้รับการ ยอมรับจากผู้ บริโภคว่า "เป็นยี่ห้อที่ใช้ทนใช้นาน" ดำเนินกิจการด้วยดีมาโดยตลอด แต่ในระยะหนึ่งปีที่ผ่านมา (เหตุการณ์สมมติ) ต้องประสบกับสภาวะยอดขายสินค้าลดลงเรื่อยๆ ทั้งๆที่บริษัทดำเนินนโยบาย เหมือนเดิมมาโดยตลอด ในกรณีเช่นนี้ ผู้วิจัยอาจเข้าใจว่า ปัญหาในเรื่องดังกล่าว คือ ยอดขายสินค้าตกต่ำลง แต่ถ้าพิจารณาให้ถี่ถ้วน จะพบว่า สิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหานั้น คือ อาการที่แสดงออกมาเท่านั้น ตัวปัญหาหรือสาเหตุที่แท้จริงเรายังไม่สามารถให้คำตอบได้ การที่ยอดขายลดลงนั้น อาจจะ มาจาก การโฆษณาไม่ได้ผล หรือ สินค้าไม่ตอบสนองนโยบาย ประหยัดพลังงาน (เช่น ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ไม่ประหยัดน้ำมัน ฯลฯ) หรือ สินค้ามีคุณภาพลด ลง หรือ มีสินค้ายี่ห้ออื่นเข้ามาตีตลาด ฯลฯ ดังนั้น ผู้วิจัยจำเป็นต้องแยกแยะเสียก่อน ว่า อะไร คือ ปัญหา อะไร คือ อาการ เพราะหากผู้วิจัยสามารถคาด การณ์ว่า ปัญหา ควรอยู่ในแวดวงอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว หลังจากนั้นก็จะง่ายต่อการเริ่มต้น
การเลือกปัญหาการวิจัยนักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ทั่วๆไป มักคิดว่าไม่รู้จะวิจัยเรื่องอะไร หรือไม่มีเรื่องจะวิจัย หรือคิดว่า
เรื่องนี้ ปัญหานี้มีคนทำมาแล้วทั้งนั้น ขอบอกไว้ ณ ที่นี้ว่า ท่านคิดผิด เพราะแท้จริงแล้ว มีปัญหาอยู่
มากมายรอบตัวเรา เพราะ
                1. ตัวแปรที่เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ชุมชน บุคคล องค์การ วิธีการบริหาร อาชีพ สถานการณ์ ฯลฯ มีความผันแปรตลอดเวลา ยากต่อการสรุปมากกว่าเรื่องของฟิสิกส์ เคมี หรือคณิตศาสตร์
                2. ปัญหาทางสังคมศาสตร์นั้น ไม่ได้คงที่แน่นอนตลอดเวลา
                3. ปัญหา หรือ ข้อสรุปต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เคยศึกษามาแล้ว ต้องการ การตรวจสอบ เพื่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
                4. การศึกษาที่ผ่านมาต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเสมอ เพราะในช่วงเวลาที่แปรเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนไป ปัญหานั้นควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาใหม่ เนื่องจากตัวแปรใหม่มัก เกิดขึ้นอยู่เสมอ
                ด้วยเหตุนี้ นักวิจัย หรือ นักศึกษาปริญญาโทจึงไม่ควรคิดว่า ตนเองนั้นไม่มีปัญหาสำหรับทำวิจัย เพราะปัญหานั้นมีอยู่แล้วมากมาย แต่ท่านยังหาไม่พบ เท่านั้นเอง
    

แหล่งของปัญหาการวิจัย

 นักวิจัยอาจหาข้อปัญหาการวิจัยได้จากแหล่งต่อไปนี้
                1. วิเคราะห์ผลงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำมาก่อนในเรื่องที่ตนเองสนใจ และกำลังศึกษาอยู่ พร้อมทั้ง วิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ พยายามหาช่องว่าง หรือ ช่วงที่ขาดตอนสำหรับเรื่องนั้นๆ ที่เรายังไม่เข้าใจ หรือหาคำอธิบายเรื่องนั้นไม่ได้ ก็จะได้ปัญหาสำหรับการวิจัย
                2. นำคำพูด ข้อเสนอแนะของผู้รู้ต่างๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ถกเถียงหรือเป็น ข้อขัดแย้งที่ยังไม่ได้ ทำการทดลองด้วยวิธีการวิจัยมาเป็นปัญหาสำหรับการวิจัย
                3. วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น โดยพิจารณาว่าสังคมมีการ เปลี่ยนแปลงตามสภาพ เวลา และเทคนิควิทยาการต่างๆอาจทำให้เกิดปัญหาได้
                4. วิเคราะห์ปัญหาจากการสนทนา หรือปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ ในกรณีที่เป็น นักศึกษา อาจใช้วิธีปรึกษา (เท่านั้น ... อย่าไปถามว่าจะทำเรื่องอะไรดี!) กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือ อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชานั้นๆ
                5. ศึกษาปัญหาจากสถาบันต่างๆ หรือสถานที่ที่มีการวิจัย หรือบุคคลที่ทำการวิจัย โดยเข้าร่วม โครงการวิจัยนั้น ซึ่งจะช่วยให้เห็นแนวทางในการเลือกปัญหาได้
ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย
                1. รวบรวมข้อมูลก่อนที่จะให้คำจำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน เพราะข้อมูลนั้นอาจ ไม่ครอบคลุมปัญหานั้นๆอย่างสมบูรณ์
                2. หาข้อมูลที่มีอยู่แล้ว และพยายามคิดปัญหาให้เหมาะสมกับข้อมูล เพราะข้อมูลที่เก็บมาจาก แหล่งใดแหล่งหนึ่งอาจไม่มีความสมบูรณ์
                3. ข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน ทำให้ไม่ทราบแหล่งของการเก็บรวบรวม ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลหรือข้อยุติต่างๆ
                4. ทำวิจัยโดยไม่อ่านผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่คล้ายๆกัน ทำให้ผู้วิจัยมีความรู้แคบและอาจเกิด ความยุ่งยากในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
                5. ทำวิจัยโดยไม่มีความรู้พื้นฐานทางทฤษฎี หรือ ไม่มีทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานทางการวิจัย จะก่อให้ เกิดปัญหาในการวางแผนงานวิจัย หรือ การตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ
                6. ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจน ทำให้การวิจัยนั้นไม่กระจ่างชัด และผู้ทำการวิจัยไม่เห็น แนวทาง ในการทำวิจัยนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง อาจเป็นผลให้การแปลผลการวิจัยผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงได้
                7. การวิจัยที่มีปัญหาครอบจักรวาล ไม่จำกัดขอบเขต เป็นสาเหตุให้การทำวิจัยนั้นไม่รู้จักจบสิ้น เพราะไม่ทราบว่ามีขอบเขตแค่ไหน (หาที่ลงไม่ได้)
วิธีวิเคราะห์และเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัย1.   ให้เลือกปัญหาที่ตนเองมีความสนใจจริงๆ
                2.   สะสมความรู้ความจริงและทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆให้มากที่สุด
                3.   เลือกสรรความรู้ความจริงที่สะสมไว้ โดยพิจารณาที่เกี่ยวข้องจริงๆ
                4.   เขียนสมมติฐานการวิจัยให้ชัดเจน
                5.   เลือกสรรสมมติฐานที่จะมีข้อมูลมาทดสอบได้
                6.   เลือกปัญหาที่ตนเองมีความรู้พอจะทำได้
                7.   เลือกปัญหาที่ตนเองมีเครื่องมือที่จะทำวิจัยได้
                8.   เลือกปัญหาการวิจัยโดยคำนึงถึงเงิน และ เวลาพอจะทำได้
                9.   เลือกปัญหาที่มีความสำคัญพอเพียงที่จะได้รับอนุมัติให้ทำได้
                10. เลือกปัญหาที่ให้ความรู้ใหม่ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่เคยทำโดยไม่จำเป็น
                11. เลือกปัญหาที่เป็นประโยชน์ ทั้งในแง่การนำไปใช้ และเสริมความรู้ใหม่
                12. เลือกปัญหาที่จะชี้ช่องให้คนอื่นทำวิจัยต่อไปได้
ประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัย ก่อนที่จะเสนอหัวข้อ ควรพิจารณาความเหมาะสมของปัญหานั้นเสียก่อน โดยการตั้งคำถาม คำถามที่ควรถาม คือ
                1. สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยวิธีวิจัยหรือไม่ หาข้อมูลได้เพียงพอหรือไม่
                2. ปัญหามีความสำคัญพอหรือไม่
                3. ปัญหานั้นเป็นของใหม่หรือเปล่า ผลที่ได้จะเป็นประโยชน์หรือไม่
                4. ตนเองมีความสามารถจะวางแนวการศึกษาเรื่องนั้นหรือไม่
                5. มีเงินสำหรับดำเนินการเพียงพอหรือไม่
                D.B. Van Dalen เสนอแนะหลักในการพิจารณาว่าปัญหาใด ควร หรือ ไม่ควร จะวิจัย โดยตั้งคำถามตนเอง ดังนี้
                1. เป็นปัญหาที่ตนเองหวังไว้ และตรงกับความหวังของคนทั่วไปหรือไม่
                2. <span


หมายเลขบันทึก: 152311เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2007 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท