บายศรีอีสาน 5 ชั้น


บายศรี
พุธ 5 ธ.ค.2550

 วันนี้เป็นวันหยุดวันเฉลิมพระชนมพรรษา ตื่นแต่เช้าเพื่อไปเป็นกรรมการตัดสินการประกวดพานบายศรีอีสาน 5 ชั้น ในการบวงสรวงสมโภชน์พระบำรุงราษฎร์ (จูมมณี) และงานประเพณีบุญคูณลานกุ้มข้าวใหญ่ เฉลิมพระเกียรติมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวา มหาราช ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร โดยขับรถกระป๋องคันเล็กไปเองเดินทางประมาณ 45 กม. ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็ถึงแล้ว มีเพื่อนคราวแม่ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ชอบบายศรีมากขอไปด้วยคนหนึ่ง เลยมีเพื่อนเดินทาง

     ไปถึงประมาณแปดโมงกว่า ๆ  ก็เริ่มมีผู้แข่งขันนั่งทำงานแล้ว  ตัวเองก็เดินดูเหมือนกันว่า วัสดุที่เตรียมมานั้นเป็นวัสดุธรรมชาติตามที่กำหนดหรือไม่ เตรียมงานมาล่วงหน้าเกิน 40 เปอร์เซ็นตามที่กำหนดหรือไม่ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เยาวชน(นักเรียน) กับประเภทประชาชนทั่วไป  เท่าที่เดินดู ก็พบว่า บางทีมมีพระเณรซึ่งเป็นนักล่ารางวัลงานใบตองตามงานต่าง ๆ อยู่ 2 ทีม  มีแม่ค้าพ่อค้าร้านดอกไม้ ที่อยู่ตลาดในเมือง 2-3 เจ้าซึ่งเป็นมือปืนรับจ้างมาทำให้ในนามของตำบลหมู่บ้านนั้น ๆ  บางทีมก็มีคนแก่มานั่งทำกันงมแหย่รูเข็มบ้าง ร้อยเฟื่อง ม้วนนิ้วบายศรี น่ารักอีกแบบ บางทีมเป็นเด็กผู้ชายทั้งทีม อันนี้เห็นแล้วประทับใจ มีอยู่ 4 คนช่วยกันทำ กติกาให้ได้ถึง 10 คน แต่เธอช่วยกันทำ 4 คน แล้วท่าท่าเป็นแมนกันทั้ง 4 คนด้วย ไม่ใช้ผู้ชายนะย่ะ ทั้ง 4 ตั้งหน้าตั้งตาทำตั้งแต่แรกโดยไม่ได้เตรียมงานมาล่วงหน้าอย่างทีมอื่น ทำด้วยความเรียบง่าย ดูแล้วน่ารักดี   บางทีมก็มีเด็กมหาวทิยาลัยราชมงคลวิทยาเขตโชติเวช มาช่วยทำทั้งทีม แอบฟังนัยว่า เดินสายล่ารางวัลเหมือนกัน มาช่วยทำก็ไม่ต้องบอกว่ามันจะวิจิตรอลังการแค่ไหน ถ้าให้คะแนนก็คือเต็มร้อยไม่มีที่ติดที่ตัดเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัสดุธรรมชาติทุกขั้นตอนการประดิษฐ์ รูปแบบ รูปทรง พานรอง เครื่องตกแต่งดูมันสวยงามไปหมด  แต่มันก็ไม่ใช่ในความรุ้สึกอีกนั้นแหละคือ อันนี้ไม่ใช่คนในท้องถิ่นทำ และไม่ใช่บายศรีอีสาน เป็นประยุกต์ทั้งหมด และเป็นแบบชาววังก็ว่าได้  บางทีมก็แท็กทีมเป็นผู้ชายนะยะมาทั้งทีมเลย  บางทีมก็ใช้ข้าวเหนียวผสมสีมาปั้นแทนดอกไม้ อันนี้ตอนเดินดูถามเขาไม่บอกเป็นความลับว่าใช้สีอะไร พอตอนบ่ายรู้ว่าเป็นกรรมการเขาเลยบอกว่า เป็นสีของคั่งและสีของขมิ้นชัน    ในทีมเยาวชนทีมหนึ่งอันนี้คือจ้างแม่ค้ามาทำแต่ก็นั่งกำกับอยู่ห่าง ๆ บ่อยให้นักเรียนเป็นคนประกอบ ประกอบไปก็หันมาถามได้ว่าจะเอาอะไรวางตรงไหน วัสดุอุปกรณ์ก็เตรียมมาแบบเต็มร้อยเลยคือไม่ได้มาทำอะไรเพิ่มเลย 

       ตอนบ่าย ก็เริ่มเดินให้คะแนน กรรมการมี 6 คน เป็นผอ.ศบอ.พิบูลมังสาหาร ซึ่งรู้จักคนหนึ่ง นอกนั้นไม่รู้จักเดินดูประเภทเยาวชนก่อน แล้วกลับมานั่งคุยกัน เสร็จแล้วต่อด้วยประเภทประชาชน ถกเถียงกันคำเย็นก็ไม่เสร็จเพราะเจ้าปัญหาก็คือ ของที่นักศึกษาจากโชติเวททำนั้นมันสวยงามอลังการ จะให้ที่ 1 ก็ไม่ได้กลัวชาวบ้านประท้วง จะให้ชมเชยก็สวยเกิน  เลยเสนอแนะว่าถ้างั้นก็เพิ่มรางวัลซึ่งมีเงินเหลืออยู่ให้เป็นรางวัลประเภทบายศรีสาธิตเสียแล้วแจ้งให้เจ้าตัวเขาทราบ แต่คณะผู้จัดไม่เอาด้วยกับกรรมการบอกว่ามันไม่ใช่บายศรีอีสาน แต่ในใบที่แจ้งสมัครนั้นบอกว่าบายศรีอีสาน 5 ชั้น แบบประยุกต์ คำว่าประยุกต์นี่แหละทำให้เข้าใจกันว่าทำอย่าไรก็ได้ประยุกต์อย่างไรก็ได้ อันนี้จะโทษผู้แข่งก็ไม่ได้  ก็เลยตัดให้ไปอยู่ชมเชย แล้วมาเลือกตามที่เรียงคะแนนไว้ในใจ และถามกันทุกคนว่าจะตรงกันไหม ส่วนใหญ่ก็คือมองตรงกัน  ก็เลยเลิกถกเถียงกันเรื่องบายศรีอันสวยงามและได้ข้อสรุปผู้ที่จะได้รับรางวัลประเภทประชาชน  ส่วนประเภทเยาวชน โรงเรียนที่มาทำท่าประกอบโดยไม่ได้ทำเองนั้นก็ถูกตัดไม่พิจารณา ซึ่งจริง ๆแล้วก็ทำสวย แต่ไม่ใช่ฝีมือเด็กเป็นฝีมือแม่ค้าเลยให้ชมเชยไป  ก็ไปพิจารณาของเด็ก ๆ ที่เขามีความมุ่งมั่นทำ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้เด็กเขาได้พัฒนาฝีมือต่อไป ไม่งั้นใครจ้างแพงก็ได้รางวัลประเพณีก็จะหายไปกับการค้าและธุรกิจ และหน้าตาซึ่งต้องแลกด้วยเงินไม่ใช่กำลังกาย และความคิดของตนเอง

นักเรียนที่เริ่มต้นทำที่นี่ไม่ได้เตรียมงานล่วงหน้าเนื่องจากไม่รู้กติกา

ทีมนี้มีเณรเตรียมงานมาเกือบร้อยเปอร์เซนต์

ทีมประชาชนเตรียมงานมาบางส่วน

ทำงานเป็นทีม

อันนี้หนูทำเองค่ะ

กลุ่มคุณยายนั้งแหย่รูเข็มอยู่นานสองนาน

กลุ่มนี้ประทับใจมากทำไม่สวยแต่ความพยายมสุดสุด ทีม 4 ชาย (ชายจริงๆ)

อันนี้ที่บอกว่าใช้ข้าวเหนียวผสมคั่งและขมิ้นชันปั้นแทนดอกไม้ดูสวยแปลกตาดี

วัสดุธรรมชาตที่ใช้รองพานก็คือดินเหนียว ฟาง ต้นกล้วย แต่ส่วนใหญ่ใช้โฟมเพราะหาง่าย

ผมผู้ชายนะย่ะหัวหน้าทีม

บายศรีที่ม้วนตัวลูกแล้วถูกเสียบไม้เหมือนลูกชิ้นไว้รอเข้าตัวค่ะ

ตัวแซมที่เย็บแบบรอตกแต่งบายศรี

เข้าตัวเสร็จแล้วแช่ในน้ำมันมะกอกเพื่อความมันวาวค่ะ

มัดด้านสายสิญจค่ะ

กรรมการเดินดูประเภทเยาวชน

อันนี้ที่บอกว่าจ้างแม่ค้าตลาดทำให้แต่นักเรียนประกอบเอง สวยแต่เอาเปรียบเพื่อน

เมื่อเสร็จการให้คะแนนบายศรีจะถูกยกมาวางไว้บริเวณประกอบพิธีบวงสรวงฯและทำขวัญข้าว

ภานนี้แหละบายศรีเจ้าปัญหามันสวยเกินชาวบ้านในหมู่บ้านตำบลจะทำเองได้

ถ่ายรูปทั้งทีคนถ่านก็ถ่ายซะหน้ามืดเชียว

ทางซ้ายคืออันที่ได้ที่ 1 ประเภทประชาชนมองแล้วเป็นอีสานเลย

อันนี้ผู้ชายนะยะทั้งทีมทำอันนี้ก็มาจากตลาดเหมือนกัน ทำบายศรีพญานาค (ไม่เข้ากับงานเลย)

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บายศรีอีสาน
หมายเลขบันทึก: 151764เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถือว่าเป็นอุดมการณ์ที่ดีของคณะกรรมการ แต่ในฐานะคนนอก ผมคิดว่า การแข่งขันอะไรก็ตามโดยเฉพาะงานฝีมิอแบบนี้ ผมเองก็เคยประกวดบ้างสองสามครั้ง ซึ่งก็เจอปัญหาต่างๆนาๆที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องของผู้จักงานที่จะต้องชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ทราบถึงรายละเอียดของการแข่งขัน ผมขอย้ำเรื่องของรายละเอียดของการแข่งขันนะครับ ซึ่งมันก็อยู่ที่การสื่อสาร ถ้าผู้จัดงานสามมารถออกระเบียบและทำเนรายละเอียดของการแข่งขันได้สมบูรณื มันก็จะสามารถกำจัดปัญหาต่างๆเช่น การจ้างทำ การทำมาก่อนล่วงหน้า มีคนช่ววยมากกว่าที่กำหนด หรือการทำไม่ถูกต้องตามประเภณี

ตามที่ได้อ่านสิ่งที่คณะกรรมการตัดสิน อันสวยงามไม่ได้รางวัล อันนี้เสียดายผมไม่ได้อ่านรายละเอียดของการแข่งขัน แต่ผมคิดว่า ผู้เข้าแข่งขันพยายามทำอย่างไรก็ได้ที่ให้พานของตัวเองสวยที่สุดเด่นที่สุด ซึ่งมันเป็นความคิดสร้างสรรค์(มากกว่าประยุกต์)เพราะการทำบายศรีไม่ได้มีข้อกำหนดว่าควรทำแบบนั้นแบบนี้ เพราะประเพณีแต่ละหมู่บ้านย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา แต่สิ่งที่ชี้จำเพาะว่าเป็นบ่ายศรีอีสานหรือบ่ายศรีของถิ่นใดก็ตาม ก็คือเครื่องสังเวย ไม่ใช่ความสวยงาม หรือประยุตม์ไม่ประยุกต์ ผมเองได้สัมผัสบายศรีหลายๆที่เหมือนกัน และแต่ละที่ก็สวยๆทั้งนั้น โดยเฉพาะแถวร้อยเอ็ด ขอนก่อน สวยๆทั้งนั้น ซึ่งบายศรีอีสานที่อลังการก็จะอยู่ในตัวเมือง แต่บายศรีธรรมดาๆก็จะอยู่แถวๆชานเมือง ซึ่งถามว่า อันสวยๆงามๆ อลังการ เป็นบายศรีอีสานไหม ก็เป็น

นี่คือสิ่งที่คณะกรรมการพึงพิจารณาด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ว่าสวยเกินไปไม่ใช่บายศรีอีสาน แต่เป็นบายศรีประยุกต์ ไม่ควรได้รางวัล คณะกรรมการต้องมองให้กว้าง และสามารถตอบคำถามผู้เข้าแข่งขันได้ด้วยว่า เพราะอะไร ผลถึงออกมาเป็นอย่างนั้น ทั้งๆที่ผลงานออกมาดี คนภายนอกบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อันนี้แหละได้ที่ ๑ แน่นอน แต่ผลออกมาได้รังวัลชมเชยซะงั้น อย่างนี้ก็ไม่ใช่

เพราะฉะนั้นคณะกรรมการก็ควรพิจารณาตรงนี้ด้วย นี่เป็นการแข่งขันการทำบายศรีอีสาน ไม่ใช่บายศรีโบราณ

อยากเรียนบายศรีเพิ่ม มีคลิปสอนไหมค่ะ ถ้ามีบอกด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท