ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย


วันนี้ขอนำปฏิญญาผู้สูงอายุไทยมาให้ท่านผู้ที่สนใจในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อจะได้เข้าใจและทราบสิทธิเกี่ยวกับผู้สูงอายุ
ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย

ความเป็นมา

องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระยะยาวระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ

ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ สมัชชาองค์การสหประชาชาติได้รับรองสิทธิของผู้สูงอายุในด้านความอิสระ การมีส่วนร่วม การดูแลเอาใจใส่ ความพึงพอใจในตนเองและศักดิ์ศรี รวม ๒๐ ประการ

ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมภูมิภาคเอเซีย และแปซิฟิค
องค์การสหประชาชาติ ได้จัดประชุมบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิคที่เมืองเก๊า ประเทศจีน เพื่อรับรองปฏิญญามาเก๊าและแผนปฏิบัติการเรื่องผู้สูงอายุในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค

และในปี พ.ศ.๒๕๔๒ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ

สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี เป็นวัน “ผู้สูงอายุแห่งชาติ” และได้มีการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน

การจัดทำแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๔๔) การกำหนดนโยบายและมาตรการสำหรับผู้สูงอายุระยะยาว (พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๕๔) และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔) ได้กำหนดแนวทางหลักในการพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุยากจน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ได้บัญญัติถึงเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุ ในหมวดของสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยและหน้าที่ชนชาวไทยเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือ มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ และในปี พ.ศ.๒๕๔๐ หน่วยงานต่างๆ ได้พิจารณายกร่างพระราชบัญญัติสวัสดิการผู้สูงอายุ

เพื่อเป็นการนำเจตนารมณ์ในเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุ ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลักการของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุปฏิญญามาเก๊าของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค แผนงาน นโยบาย และมาตรการต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ไปสู่การปฏิบัติ ผู้แทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรผู้สูงอายุ และ
ผู้ทรงคุณวุฒิได้ร่วมกันจัดทำปฏิญญาผู้สูงอายุไทยขึ้น เพื่อถือปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้สูงอายุไทย

ปฏิญญาผู้สูงอายุไทยฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๒

--------------------------------------------

ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย

โดยที่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา ประกอบกับองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ

รัฐบาล องค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบันสังคมต่างๆ ได้จรเหนักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของผู้สูงอายุ ซึ่งได้ทำประโยชน์ในฐานะ “ผู้ให้แก่สังคมมาโดยตลอด ดังนั้น จึงควรได้รับผลในฐานะ “ผู้รับ” จากสังคมด้วย

ปฏิญญาผู้สูงอายุไทยเป็นพันธกรณี เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ จึงได้กำหนดสาระสำคัญไว้ดังนี้

ข้อ ๑

ผู้สูงอายุต้องได้รับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี ได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง และละเมิดสิทธิ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถพึ่งตนเองหรือครอบครัวได้ และผู้พิการที่สูงอายุ

ข้อ ๒

ผู้สูงอายุควรอยู่กับครอบครัวโดยได้รับความเคารพรัก ความเข้าใจ ความเอื้ออาทร การดูแลเอาใจใส่ การยอมรับบทบาทของกันและกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

ข้อ ๓

ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางสังคมอันเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต เข้าถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน เพื่อสามารถปรับบทบาทของตนเองให้สมวัย

ข้อ ๔

ผู้สูงอายุควรได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ให้สังคม มีโอกาสได้ทำงานที่เหมาะสมกับวัยตามความสมัครใจ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นชีวิตมีคุณค่า

ข้อ ๕

ผู้สูงอายุควรได้เรียนรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ต้องมีหลักประกันและสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอนามัยอย่างครบวงจร โดยเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบตามคตินิยม

ข้อ ๖

ผู้สูงอายุควรได้มีบทบาท และส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว ชุมชน สังคม โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และเข้าใจอันดีระหว่างผู้สูงอายุด้วยกัน และกับบุคคลทุกวัย

ข้อ ๗

รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องกำหนดนโยบายและแผนหลักด้านผู้สูงอายุ ส่งเสริมและประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องให้บรรลุตามเป้าหมาย

ข้อ ๘

รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องตรากฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ เพื่อเป็นหลักประกันและการบังคับใช้ในการพิทักษ์สิทธิ คุ้มครอง และจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ

ข้อ ๙

รัฐโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ประชาชน สถาบันสังคมต้องรณรงค์ปลูกฝังค่านิยมให้สังคมตระหนักคุณค่าของผู้สูงอายุตามวัฒนธรรมไทยที่เน้นความกตัญญูกตเวทีและความเอื้ออาทรต่อกัน

Declaration on Thailand’s Older Persons

On the auspicious occasion of the 72nd Birthday anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej in B.E.2542 (A.D.1999) and on the occasion of the United Nation's  International Year of Older Persons in A.D.1999,

Having realized the dignity and worth of older persons as consistently active 'contributors' to society,

Convinced that the older persons should now be reciprocated as "beneficiary" of society,

The government, non - governmental organizations, the public, and social institutions therefore have adopted this Declaration on thailand's Older Persons to affirm commitment and obligation to better the quality of life, and to promote and protect the rights of older persons, as follows:

Article 1

Older persons shall be provided with the basic necessities for living in a meaningful and dignified manner. Older persons especially those who cannot depend on themselves nor their families as well as disabled older persons, without any discrimination, shall be protected from neglect and violation of their rights.

Article 2

Older persons should stay with their families and be accorded with due respect, love, understanding, care and attention; with proper recognition for each family member's role and a view to creating a cordial and harmonious relationship.

Article 3

Older persons should have opportunity for continuous pursuit of education, learning and development of thier potential. They shall have access to information and social services necessary for their living and for understanding of social changes to adjust their roles accordingly.

Article 4

Older persons should have opportunity to pass on their knowledge and experiences tsociety, and shall have the opportunity to be employed with appropriate responsibilities for their age on their own will, with fair wages, to maintain their pride and realization of their own value.

Article 5

Older persons should be informed on how to take care of their own health. An equal access to comprehensive health care services should be ensured for older persons. They should also be provided with due care till the end of their lives when they may rest in peace according to their beliefs.

Article 6

Older persons should be allowed to play active roles in their families, communities and societies especially through associations, with a view to sharing, learning and understanding among older persons and persons of different ages.

Article 7

The state, with participation of non - governmental organizations, the public, and social institutions, shall formulate policies and master plans relating to older persons and shall, in order to attain their objectives, ensure that their implementation be undertaken by relevant agencies on continuous basis.

Article 8

The state, with participation of non - governmental organizations, the public, and social institutions, shall enact legislations concerning older persons in order ot ensure and enforce the protection of the rights and well-being of older persons and the provision of their social welfare.

Article 9

The state, with collaboration of non - govermental organizations, the public, and social institutions, shall. in accordance with Thai culture which attaches great impotance to gratitude, care and compassion, campaign to instill a social value that recognizes the worth of older persons.
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15140เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท