ผมเขียน Blog ทุกวัน


Private Blog นี้ ผมจัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็น "จุดปฏิบัติงานร่วมกัน" (Share Point) ภายในองค์กรธุรกิจ โดยจะเปิดบันทึกหน้าใหม่ทุก ๆ วัน เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ เข้ามารายงานกิจกรรมที่ปฏิบัติได้ตลอดเวลา

ผมเขียน Blog “สร้างสังคมฐานความรู้ ให้ชุมพรก้าวไกลด้วย IT” มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นเปิด Blog ครั้งแรกที่ blogger.com เพื่อนำเนื้อหาสาระที่ผมพูดคุยทางวิทยุ, กิจกรรมที่ผมเข้าไปมีส่วนร่วม ตลอดจนความคิดเห็นอิสระที่ผมมีในเรื่องต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพราะผมเชื่อมั่นว่า สื่อที่ดีในอนาคตจะต้องเชื่อมโยงต่อเนื่องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งทางวิทยุ, สิ่งพิมพ์ และ Internet

แต่อยู่ที่ blogger.com ค่อนข้างเหงาครับ เพราะนอกจากผู้ฟังทางวิทยุที่สนใจจริง ๆ และมีความสามารถจะเข้าไปใช้งาน Internet ได้อย่างคล่องตัว ซึ่งมีอยู่ใน จ.ชุมพร ไม่มากนัก กลุ่มอื่น ๆ ก็แทบจะเข้าไม่ถึงเลยทีเดียว เนื่องจาก blogger.com เป็น Weblog ระดับโลก ใช้ภาษาอังกฤษกันเป็นหลัก แม้ว่าจะแสดงผลเป็นภาษาไทยได้ก็เถอะ แต่ว่าไปแล้วก็เหมือนหนังสือภาษาไทยแทรกอยู่ท่ามกลางหนังสือภาษาอังกฤษในห้องสมุดระดับโลก คงมีผู้อ่านสะดุดตาบ้าง แต่เมื่ออ่านไม่ออกก็ต้องวางไว้เฉย ๆ

วันหนึ่งที่สถานีวิทยุ อสมท.ชุมพร ผมทราบจากคุณรัชนี ปิ่นทอง หัวหน้าฝ่ายรายการ ว่า ที่ Website ของผู้จัดการ ซึ่งมีผู้คนเข้าไปติดตามข่าวสารค่อนข้างมากในแต่ละวัน ก็มี Weblog ไว้บริการสมาชิกด้วยนะ แต่ใช้ชื่อว่า M-Blog โดยเข้าทาง Link หน้า HomePage ของ Website ก็จะพาไปที่ http://weblog.manager.co.th เปิดให้เราเข้าไปลงทะเบียนใช้งานกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ผมศึกษาดูอยู่พักหนึ่งเห็นว่า เป็น Weblog แบบไทย ๆ ที่มีคนเข้ามาใช้กันหนาแน่นพอสมควร แต่ละคนก็ดูท่าว่าจะเป็น Yuppy ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่ม Young Urban Professional คนทำงานแล้ว มีความคิด มี Idea ชอบแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีสาระ, ศิลปะ ฯลฯ ดู ๆ แล้วไม่ค่อยจะเป็น Blog ของพวกวัยทีน คิกขุ-อาโนเนะ ซึ่งมีอยู่มากในระบบ Internet ของบ้านเรา อ่านแล้วรู้สึกว่า Wave จะใกล้เคียงกับตัวเรา ก็เลยย้ายบ้านครั้งที่ 1 เข้าไปเปิดที่ M-Blog ตอนนี้ก็ยังมีข้อมูลติดค้างอยู่ที่ http://weblog.manager.co.th/publichome/aisune/

ช่วงที่เขียนลงใน M-Blog รู้สึกสนุกสนานพอสมควร เพราะการมีส่วนร่วมมีมาก เข้าไป Up Blog ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ความเห็นต่าง ๆ ก็มากันแล้ว นอกจากนั้น สมาชิกยังคิดค้นลูกเล่นใหม่ ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน เช่น ใส่เพลงประกอบ, เปลี่ยนสี Template ฯลฯ จำได้ว่าผมเขียนอยู่ที่ M-Blog ตั้งแต่ปลายปี ’47 จนถึงช่วงเลือกตั้งต้นปี ’48 นอกจากเรื่องไอที ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักที่เขียนเป็นประจำแล้ว ยังใส่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สส.ของ จ.ชุมพร เข้าไปอยู่หลายครั้ง

ในช่วงนั้นเองที่ผมได้มีโอกาสอ่านงานของอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ผ่านทาง Website ของ สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมไทย) www.kmi.or.th อาจารย์เขียน Blog ถ่ายทอดความรู้ไว้ที่บ้านหลังแรกที่ผมเคยอยู่ คือ blogger.com มี URL ให้เข้าไปค้นคว้าที่   http://blog-for-thai-km.blogspot.com/ อาจารย์เขียนเนื้อหาสาระพื้นฐานทางด้าน KM มากมายให้ได้เข้าไปศึกษากันตั้งแต่เบื้องต้น

ผมจึงมีโอกาสพูดคุยติดต่อกับอาจารย์มาพักหนึ่งก่อนที่ท่านจะนำคณะของ สคส.มาจัด Workshop ที่ จ.ชุมพรเมื่อวันที่ 16 พ.ค.48 ในช่วงนั้นยังได้มีจังหวะจัดให้ท่านได้สัมภาษณ์สดออกอากาศทางวิทยุเรื่อง KM ของ จ.ชุมพร และเมื่อท่านย้าย Blog ของท่านมาเผยแพร่ใน gotoknow.org ผมก็ติดตามมาอ่าน และเห็นการจัดการที่ดีของ gotoknow.org หลายประการ โดยเฉพาะการจัดรูปแบบชุมชนที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการความรู้

พอดีกับที่ผมกำลังหาทางเลือกใหม่ ๆ เพราะ M-Blog ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้งานเยอะมาก เปิดให้อ่าน Blog ที่เป็นปัจจุบันย้อนหลังไปได้ 5 ครั้งเท่านั้น ขาประจำซึ่งบางครั้งยังอยากจะอ่านบทความเก่า ๆ อยู่ ก็มักจะถามหามาอยู่เรื่อย ๆ ผมจึงย้ายบ้านเป็นครั้งที่ 2 มาอยู่บ้านใหม่ที่ http://gotoknow.org/buildchumphon โดยขออาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนหน่วยงานราชการใน จ.ชุมพร

นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้ ผมเห็นด้วยกับสภาวะที่เรียกว่า "หลงทาง" ตามที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช เขียนไว้ใน Blog ของท่านหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะเข้าไปมีบทบาทอะไรในชุมชนที่ตนเองอยู่ได้มากนัก คงทำหน้าที่เป็นแต่เพียง "Observer" ฝึกหัดขัดเกลาในกิจกรรมที่ตนเองได้เข้าไปขับเคลื่อน

ผมพยายามเรียนรู้และทดลองใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่เก็บเกี่ยวมาได้จากการศึกษางานและข้อคิดเห็นซึ่งมีอยู่มากมายใน gotoknow.org แห่งนี้ และเข้าไปมีส่วนร่วมผ่านทาง  http://gotoknow.org/buildchumphon ซึ่งเป็นงานเขียนที่มาจากการปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้เน้นหนักรูปแบบหรือพิธีกรรม แต่พยายามทดลองใช้เทคนิคทางด้าน KM กับกลุ่มเป้าหมายที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะคณะนักศึกษาที่ไปสอนอยู่ในวิชา "วิสาหกิจเพื่อพัฒนาบัณฑิต" ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ วิทยาเขตชุมพร ได้รับการทำ WorkShop โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ทางด้าน KM หลากหลายรูปแบบ แต่ไม่เคยประกาศให้รู้ตัวเลยว่า เรากำลังทำ KM กันอยู่

อีกช่องทางหนึ่งที่ผมพยายามปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแบบ "ถึงลูกถึงคน" เรียกว่า เขียน Blog กันทุกวันและพยายามกระตุ้นให้มีการสื่อสารทั้งแบบเผชิญหน้า Face-to-Face : F2F และ Blog-to-Blog : B2B กันอย่างเข้มข้น เพราะตระหนักในความจริงที่ว่า F2F ที่ใช้อยู่มีความหลุดร่วงของข้อมูลข่าวสารมาโดยตลอด การทดลองเสริมวิธีสื่อสารแบบ B2B น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ทันสมัย เก็บรายละเอียดของข้อมูลไว้ในระบบงานเพื่อการติดตามได้

ผมเลือกใช้ Private Blog ที่ http://spaces.msn.com/members/cp-online/ โดยที่จะมีเฉพาะผู้ที่ผมจะเปิด Account ให้เท่านั้นจึงจะเข้าไปใช้งานได้ ซึ่งก็เป็น Senior Staff ขององค์กร

Private Blog นี้ ผมจัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็น "จุดปฏิบัติงานร่วมกัน" (Share Point) ภายในองค์กรธุรกิจ โดยจะเปิดบันทึกหน้าใหม่ทุก ๆ วัน เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ เข้ามารายงานกิจกรรมที่ปฏิบัติได้ตลอดเวลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • เป็นการประสานงานให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stake Holder) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • เป็นการใช้สื่อ Internet ทำให้ข่าวสารที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานได้รับการบันทึก และเรียนรู้ภายในกลุ่ม
  • ทำให้ผู้บริหารได้ติดตาม รับรู้ความเคลื่อนไหวในการปฏิบัติงาน และใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาและพัฒนา

ฯลฯ

เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับ Blogger ทั้งหลายก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังครับ.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1514เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2005 01:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์ไอศูรย์ /อ. หมอวิจารณ์

            ควรมีการแนะนำ พวกเราที่เป็นมือใหม่.. อย่างเป็นทางการ         เกี่ยวกับเรื่องนี้.. ทางจังหวัดควรจัดเป็นเวทีประชาคม สัก ครึ่งวัน /  และขอความกรุณาผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านชี้แนะ.. เพราะ..ไม่ค่อยกล้าเขียนแล้วค่ะ  กลัวผิดและทำให้จังหวัดชุมพร.เสียชื่อด้วย..  ผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดชุมพรควรช่วยพวกเรา โดยเฉพาะจุดอ่อนที่ท่านมองเห็น  และช่วยเสริมจุดแข็งที่ทุกคนก็มีการตอบรับ...  ทั้งที่บางองค์กรเราก็ยังไม่มี อินเทอเน็ตใช้ แต่พอไปรับการเรียนรู้.ได้รับการกระตุกต่อมคิด ก็อยากจะตอบรับให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องทราบว่า..จริง ๆแล้วข้าราชการรุ่นเก่าก็อยากจะมีส่วนร่วมทำให้จังหวัดชุมพรเป็นเมืองที่พร้อมรับการเรียนรู้..  อยากพัฒนาตนเอง และองค์กรให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน    ข้อเสนอแนะอีกข้อ  พวกเราที่เป็นมือใหม่ เป็นไปได้มั๊ยคะ  ที่เราควรมีพื้นที่ลองผิดลองถูก ที่ผู้รู้ช่วยตรวจสอบก่อน..  จะขึ้น web  ดีมั๊ยคะ.. ขอขอบคุณจังหวัดชุมพร    อ.ไอศูรย์   อ.หมอวิจารณ์  อ.พรสกล  อ.เทียบพบ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ช่วยเป็นกระจก ให้พวกเรา .....  กระทงหลงทางค่ะ

อยากเรียนถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมืองว่า บางทีความปราถนาดี  ให้ข้าราชการระดับล่างที่อยู่ไกลปืนเที่ยง  ทำโครงการดีๆใหม่ๆ..แล้วคิดว่าพวกเราควรจะเก่งและทำได้ถูกต้องตามปรัชญาแนวคิดทฤษฎีที่ถูกต้อง มันอาจจะไม่ใช่  บางครั้งก็เป็นแบบพวกเรา แต่ก็ภูมิใจคะที่มีคนดี ๆที่มีจิตสาธารณะมาช่วย  ชี้แนะ และอาจเป็นการเป็นการหลงทางอีกอย่าง คือหลายจังหวัดเขาก็อยากเรียนรู้เรื่องนี้  แต่ยังไม่มีใครแนะให้แบบจังหวัดชุมพร  ก็อดคิดแบบเข้าข้างตัวเองว่าภูมิใจที่จังหวัดของเรามีวิสัยทัศน์ และขอเรียนว่าพวกเราก็จะพยายามต่อไป อาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านคงเป็นพี่เลี้ยงให้เราต่อไปด้วยนะคะ..ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท