บทเรียนจากการ "สอนงาน" (6 การสอนงาน...Coaching ในงานส่งเสริมการเกษตร)


ทักษะของการเป็น Facilitator นั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น 1) ฟังเป็นมั้ย? 2) สรุปเป็นมั้ย? 3) บันทึกเป็นมั้ย? 4) กระตุ้นเป็นมั้ย? และ 5) ใช้เครื่องมือเป็นมั้ย?

  [5 วิธีการทำให้ตัว K เข้าถึงเกษตรกรฯ]

  [7 Coaching เพื่อพัฒนาบุคลากร]

    เมื่อเราได้ KM  2   ตัว คือ  Knowledge base  และ วิธีการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตร ก็จะทำให้เกิดการค้นพบถึงวิธีการ
แบบไหนบ้าง? ที่ทำให้ง่าย  ประหยัด  ฉะนั้นถ้าจะนำวิธีการดังกล่าวที่ค้นพบไปเผยแพร่ให้กับนักส่งเสริมการเกษตรคนอื่นทำนั้นเราจะทำอย่างไร?  ซึ่งก็จะมีหลายวิธีการที่เป็นเรื่องของการถ่ายทอดความรู้ เช่น  การฝึกอบรม  การฝึกปฏิบัติ  และสุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ วิธีการ Coaching หรือวิธีการสอน

     การ Coaching  จะต่างกับการสอนโดยหลักของการฝึกอบรม ก็คือว่า  การ Coaching  จะเจาะลึกลงไปถึงขั้นของการที่จะทำให้นักส่งเสริมการเกษตรมีทักษะในการที่จะใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นในการทำงานส่งเสริมการเกษตร ฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการฝึก หรือ Coaching ให้กับนักส่งเสริมการเกษตร 

     ส่วนวิธีการ Coaching นั้นมีเป้าหมายหลัก ก็คือ 1) การ Coaching  ต้องทำให้เกิดทักษะ  2)  การที่จะเป็น Coach ได้นั้น ผู้ที่เป็น Coach จะต้องรู้ว่าผู้ที่เราจะ Coach มีลักษณะอย่างไรบ้าง? ที่จะต้องปรับปรุง ก็คือ  มีวิธีการอะไรบ้าง? ที่เราจะต้องเพิ่มเติม และ 3)  เป้าหมายสุดท้ายของการ  Coaching ก็คือ  จะต้องสามารถใช้เครื่องมือตัวนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผล  ซึ่งจะมีความเข้มข้นมากกว่าการ  Training หรือการฝึกอบรม 

     ตัวอย่างของการจำเป็นต้องมี Coaching  ก็หมายความว่า (ยกตัวอย่างของเราก็คือ)  ถ้าเครื่องมือของเราที่จะเอา ตัว K เข้าไปให้
กับเกษตรกรนั้นจะเห็นได้ว่า  ในความเชื่อของยุคนี้ก็คือ  เกษตรกรมีตัว K อยู่ในตัวเองกันอยู่แล้วในแต่ละคน  การตัดสินใจของเกษตรกรที่เกิดขึ้นก็จะอยู่ภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่  ส่วนเทคนิคของกรมส่งเสริมการเกษตรที่มีอยู่ในตอนนี้ก็คือ  ตัวอย่างเช่น  การกำหนดให้มีโรงเรียนเกษตรกร (FFS) 

     ฉะนั้น ถ้าถามว่า...นักส่งเสริมการเกษตรที่จะจัดให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ภายใต้เทคนิคหรือเครื่องมือของโรงเรียนเกษตรกรนั้น “นักส่งเสริมการเกษตรคนนั้นจะต้องเป็นอย่างไร?” คำตอบก็คือ ต้องสามารถเป็นผู้ที่จะเอื้ออำนวยการเรียนรู้ หรืออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)  เพราะฉะนั้นถ้าเราจะบอกว่า “ให้นักส่งเสริมการเกษตรสามารถเป็น Facilitator ได้”  ก็หมายความว่า  นักส่งเสริมการเกษตรจะต้องมีทักษะของการเป็น Facilitator  ซึ่งทักษะของการเป็น Facilitator นั้นมีอะไรบ้าง? ยกตัวอย่างเช่น 1)  ฟังเป็นมั้ย?  2)  สรุปเป็นมั้ย?  3)  บันทึกเป็นมั้ย?  4)  กระตุ้นเป็นมั้ย?  และ 5)  ใช้เครื่องมือเป็นมั้ย? 

     ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างของการที่จะเข้าไปทำหน้าที่ Coach ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ใช้เครื่องมือย่อย ๆ ในแต่ละชิ้นที่มีอยู่นั้นทำงานได้และ ทำให้เกิดผลสุดท้ายคือ เกษตรกรสามารถที่จะใช้และมีข้อมูลประกอบในการตัดสินใจว่า  จะเชื่อหรือไม่เชื่อ, จะทำหรือไม่ทำ เป็นต้น.

คำสำคัญ (Tags): #การสอนงาน
หมายเลขบันทึก: 151048เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

  • นักส่งเสริมฯ ยังมีช่องว่างอยู่ ระหว่าง ส่วนกลาง กับ จังหวัด อำเภอ
  • จะลดช่องว่านี้ได้อย่างไร 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท